วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ต้องเริ่มจริงจังกับการพัฒนาพลังงานทดแทนแค่ให้ได้ครึ่งของเกาหลีใต้


  
“ภาวะโลกร้อน” เป็นอีกหนึ่งภัยธรรมชาติ ที่กำลังเกิดขึ้นในโลก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก จากที่เคยเป็นจนบางครั้งไม่สามารถพยากรณ์อากาศที่แปรปรวนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเกิดจากฝีมือของ “มนุษย์” ทั้งสิ้น

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้กับบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ที่ได้พาคณะนักเรียนจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ เชียงใหม่ ที่ชนะการประกวดผลงาน แสงแดด : สุดยอดพลังงาน แห่งอนาคต ชื่อรางวัลการขยายความรู้นวัตกรรมพลังงานแสงแดดสู่ชุมชน ภายใต้โครงการ Thailand Go Green ไปทัศนศึกษาดูงานเรื่องการใช้พลังงานทดแทน เพื่อรองรับโลกในอนาคตเมื่อน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่เกิดจากฟอสซิลหมดไป อีกทั้งเป็นการลดการก่อภาวะมลพิษ ที่เกิดจากการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงอีกด้วย

ที่ประเทศเกาหลีใต้มีความพยายามเป็นอย่างมากในการลดการใช้น้ำมัน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการสร้างก๊าซพิษต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อน จนทำให้สภาพภูมิอากาศทั่วโลกแปรปรวนไปหมด นอกจากนี้รัฐบาลของเกาหลีใต้ยังเล็งเห็นว่าในอนาคต น้ำมันจะต้องหมดลงอย่างแน่นอน จึงนำพลังงานทดแทนอื่น ๆมาใช้ และเร่งพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและความมั่นคงของการใช้พลังงานทดแทนอย่างสูงสุด เพื่อให้ลูกหลานในอนาคตมีพลังงานใช้ไม่ขาดแคลน โดยพลังงานทดแทนที่เกาหลีใต้เร่งพัฒนาในขณะนี้ ได้แก่ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของเกาหลีใต้มีลมแรงอย่างสม่ำเสมอ และมีแสงแดดแรงและยาวนานในแต่ละวัน จึงมีการติดตั้งกังหันลมในจุดที่มีกระแสลมแรง เพื่อนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ในแต่ละบ้าน รวมถึงบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ยังมีการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง ส่วนที่เกินยังสามารถส่งขายต่อให้การไฟฟ้าได้อีก ปัจจุบันเกาหลีใต้ใช้พลังงานทดแทนผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในประเทศได้เป็นสัดส่วนที่มากแล้ว ยังเหลืออีกประมาณ 30% ที่ยังใช้จากการผลิตจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ที่เกาะเจจู รัฐบาลเกาหลีใต้ใช้เป็นเมืองต้นแบบในการทดลองใช้ระบบสมาร์ทกริด (Smart Grid) ซึ่งเป็นระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล ทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าจากผู้ให้บริการไปยังผู้ใช้บริการด้วยระบบสื่อสารสองทาง เพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า ณ บ้านของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแต่ละบ้านที่ใช้ระบบนี้ต้องติดมิเตอร์ไฟแบบใหม่ ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์และโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้ตามจริง เพื่อคำนวณว่ามีการใช้ไฟฟ้าเท่าใด จุดใดใช้มาก จุดใดใช้น้อย ให้สามารถคำนวณการแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าของเมืองได้ ช่วยให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าเสถียร ลดปัญหาไฟดับในช่วงที่มีการใช้ไฟสูง ทั้งนี้เนื่องจากการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่เกิดจากการผลิตใช้เอง ส่วนเกินส่งขายภาครัฐนั้น ยังขาดการบริหารการผลิตหรือรองรับในระบบอุตสาหกรรม จึงยังไม่สามารถจัดสรรพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงได้ แต่ระบบสมาร์ทกริดจะช่วยบริหารจัดงานตรงนี้

นอกจากนี้ระบบสมาร์ทกริดจะช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน สามารถกำหนดได้ว่าจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใดในบ้านเมื่อไหร่ สามารถตั้งเวลาให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานในเวลาต่างได้ตามต้องการ โดยระบบจะตัดไฟและจ่ายไฟตามที่ตั้งไว้ได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี โดยรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ตั้งหน่วยงาน SMART GRID INFORMATION CENTER มาศึกษาทดลองระบบสมาร์ทกริดอย่างจริงจัง รวมถึงมีการศึกษาทดลองเรื่องการใช้รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนอีกด้วย ที่ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดเรื่องแบตเตอรี่ที่มีราคาสูง อีกทั้งใช้เวลาในการชาร์จไฟนาน อย่างไรก็ดีที่กรุงโซล มีการนำรถบัสที่ใช้พลังงานไฟฟ้าวิ่งรับส่งนักท่องเที่ยวที่ต้องการขึ้นไปเที่ยวโซลทาวเวอร์ จากด้านล่างที่เป็นที่จอดรถ พาขึ้นสู่จุดท่องเที่ยว ระยะทางไม่ถึง 1 กม. เพื่อลดมลพิษในการนำรถส่วนตัวขึ้นไป

นอกจากพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ที่เกาหลีใต้ ยังมีการใช้พลังงานที่เกิดจากการฝังกลบขยะ นั่นคือก๊าซมีเทน ถือว่าเป็นการบริหารจัดการในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมาก สำหรับบริเวณที่มีการฝังกลบขยะ รัฐบาลจะมีการพัฒนาพื้นที่ ณ จุด ๆ นั้นให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งกำลังพัฒนาหลุมฝังกลบขยะเป็นสวนสาธารณะที่สวยงาม โดยที่นี่อยู่ห่างจากกรุงโซลประมาณ 40 นาที มีพื้นที่ขนาด 20 ล้าน ตร.ม. ซึ่งเป็นหลุมฝังกลบขยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ฝังกลบขยะที่เก็บกวาดจากกรุงโซล อินชอน และคยองคี วันละประมาณ 18,000 ตัน ซึ่งการแปรรูปนี้ ทางเกาหลีตั้งชื่อว่า ดรีมปาร์ค ที่เป็นทั้งสวนธรรมชาติ สำหรับประชากรในเมืองหลวง เป็นทั้งที่จัดแข่งกอล์ฟ ว่ายน้ำ แข่งม้า ฯลฯ ในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์อินชอนปี 2014

ในส่วนของประเทศไทย ภาครัฐได้มีการสนับสนุนพัฒนาการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยกระทรวงพลังงานมีแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ซึ่งได้เริ่มมาแล้วตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเอกชนหลายแห่งให้ความสนใจในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในส่วนของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) มีแผนลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Sunny Bangchak ทั้งหมด 500 เมกะวัตต์ ประกอบไปด้วย 1. โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระยะที่ 1 อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดตั้ง 44 เมกะวัตต์ ซึ่งได้ขายไฟฟ้าบางส่วนตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมจำหน่ายไฟฟ้าทั้งโครงการภายในเดือน ม.ย. นี้ ซึ่งจะทำให้บางจากฯ มีรายได้ในปีนี้เพิ่มขึ้น 400 ล้านบาท 2. โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระยะที่ 2 ตั้งอยู่ที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 50 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน โครงการเริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะเสร็จภายในต้นปี 2556 นี้ 3. โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระยะที่ 3 ติดตั้งรวม 75 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ระหว่างเตรียมการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้าง คาดแล้วเสร็จภายในปี 2557 รวมการติดตั้งทั้งสิ้น 170 เมกะวัตต์ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัท บางจากฯ มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) เพิ่มขึ้น 2,800 ล้านบาทต่อปี

นางฉวีวรรณ เกียรติโชคชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร และชุมชนสัมพันธ์ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า นอกเหนือจากโครงการลงทุนที่กล่าวไป บริษัทฯ ยังเล็งเห็นความสำคัญของการปลูกฝังเยาวชนให้เรียนรู้และเห็นคุณค่าของพลังงานทดแทนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดโครงการประกวดเพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของพลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ Thailand Go Green ตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการปีละ 500 กว่าแห่ง จนถึงปัจจุบันเข้าร่วมแล้วกว่า 2,500 แห่ง มีเยาวชนเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนถึง 3 ล้านคน ซึ่งบางจากจะเดินหน้าโครงการปลูกฝังความรู้เรื่องนี้แก่เยาวชนอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเรื่องสำคัญ โดยปีต่อไปจะจัดประกวดให้เยาวชนคิดค้นนวัตกรรมเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ ให้สามารถเอาพลังงานทดแทนมาใช้ในการดำรงชีวิตในขณะที่เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งใกล้ตัวเราเข้ามาทุกที

นายสนิท แย้มเกสร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สพฐ. กล่าวว่า สพฐ. เริ่มทำโครงการส่งเสริมเยาวชนเรียนรู้พลังงานทดแทน ตั้งแต่เริ่มผลิตไบโอดีเซล ก๊าซโซฮอล์ จนถึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ส่งผล กระทบต่อโลกน้อยกว่าจากน้ำมัน เราต้องยอมรับว่าในอนาคตน้ำมันดิบจะหมดลง จึงจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานทดแทนอื่น ซึ่งช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ด้วย ที่ต้องเริ่มปลูกฝังกับเด็กและเยาวชนตอนนี้ เพราะในอนาคตเด็กเหล่านี้จะต้องเป็นผู้นำต่อไป เด็กเหล่านี้จะต้องอยู่ต่อในสภาวะของโลกที่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยเคยริเริ่มการใช้แผงโซล่าร์เซลในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์มานานแล้ว ที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะราคาแพง และขาดการสร้างความสำนึกให้คนเห็นความสำคัญ คิดว่ามีเงินซื้อน้ำมันใช้ แต่ทุกวันนี้ต้องกลับมาคิดแล้วว่าหากน้ำมันหมดจะทำกันอย่างไร ซึ่งในต่างประเทศคิดเรื่องนี้และมีการพัฒนาพลังงานทดแทนไปอย่างกว้างขวางแล้ว ถึงเวลาที่ต้องปลูกฝังให้เด็กเติบโตอย่างมีจิตสำนึกในเรื่องนี้ และรัฐบาลควรเดินหน้าสนับสนุนอย่างจริงจัง เหมือนที่ประเทศเกาหลีใต้ ที่มีความพยายามอย่างมากในการใช้พลังงานทดแทนอื่น เพื่อไม่ต้องตกเป็นเบี้ยล่างของประเทศผู้ค้าน้ำมัน และช่วยลดสภาวะโลกร้อน

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คนไทยทุกคนควรให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน หากน้ำมันหมดสิ้นไป แล้วลูกหลานเราในวันข้างหน้าจะอยู่อย่างไร ในเมื่อเราไม่สร้างพื้นฐานพลังงานทดแทนที่ดีทิ้งไว้ให้ตั้งแต่วันนี้.

ประพิม เก่งกรีฑาผล

Source : http://www.dailynews.co.th/thailand/116804

1 ความคิดเห็น:

  1. Assalamualaikum Warahmatullahi Wabarakatuh

    ประเทศ: อินโดนีเซีย
    ชื่อ: Queen Jamillah
    ที่อยู่: Nusa Lembongan
    โทรศัพท์: +62 856-9328-4991
    WhatsApp: +62 856-9328-4991
    e_mail: queenjamillah09@gmail.com
    เป็นเวลาสองปีแล้วที่ฉันได้แสดงประจักษ์พยานถึงวิธีการที่ฉันยืม 700 ล้านจาก บริษัท เงินกู้ Iskandar Lestari และบางคนสงสัยฉันเพราะระดับของผู้โจมตีทางอินเทอร์เน็ตของฉันสามารถพิสูจน์ให้คุณเห็นทุกสิ่งที่ Bunda Iskandar ไม่ใช่ผู้ให้กู้ที่หลอกลวง ทำให้ฉันมีรอยยิ้มอีกอย่างหนึ่งเพราะหลังจากผ่อนชำระรายเดือนของสินเชื่อที่ฉันยืมมาก่อนฉันขอร้องแม่ว่าฉันอยากจะขยายธุรกิจของฉันต่อไปดังนั้นฉันจึงส่ง 2.7 พันล้านหลังจากผ่านกระบวนการทางกฎหมายธุรกรรมของฉันได้รับการอนุมัติจากทางการ และภายในสามวันกระบวนการทางกฎหมายสำหรับการส่งเงินให้กู้ยืมไปยังบัญชีธนาคาร Rakyat อินโดนีเซียของฉันนั้นทำได้อย่างง่ายดาย ฉันไม่มีความท้าทายกับธนาคารอินโดนีเซียเพราะคุณ Iskandar และทีมผู้บริหารจาก บริษัท ISKANDAR LESTARI LOAN ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ให้กู้ที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้ไม่มีปัญหาใด ๆ สำหรับความช่วยเหลือทางการเงินติดต่อ ISKANDAR LENDERS วันนี้
    e_mail: [iskandalestari.kreditpersatuan@gmail.com]

    Waalaikumsalam Warahmatullahi Wabarakatuh

    ตอบลบ