วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

"ทะเลรถยนต์"แห่ง"เซาเปาโล" ที่นี่รถติดยาวทั้งเมือง 180 กม.

source : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348574619&grpid=03&catid=06&subcatid=0600

หากคุณรังเกียจการจราจรในกรุงเทพฯจนแทบอยากจะอาเจียน ลองคิดถึงหัวจิตหัวใจของผู้ขับรถที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดของบราซิลดู แล้วจะรู้ว่ารถติดขั้นเทพนั้นเป็นอย่างไร




โดยเฉพาะอย่างยิ่งเย็นวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นฝันร้ายที่สุดของผู้คนที่นั่น เมื่อพบว่า สภาพการจราจรติดขัด ทั้งที่อยู่ในเมืองและต่อยาวเป็นหางว่าวออกไปชานเมือง กินระยะทางรวมกันทั้งสิ้นกว่า 180 กม.โดยเฉลี่ย ตามข้อมูลจากหน่วยวิศวกรรมจราจรของที่นั่น และอาจยาวได้ถึง 295 กม. ในวันที่เลวร้ายที่สุด

ไฟเบรคท้ายรถในยามค่ำคืนสามารถมองเห็นได้ไกลสุดสายตา การจราจรเป็นไปอย่างเชื่องช้า หยุดนิ่งสลับเคลื่อนไหว บางครั้งก็แทบไม่เคลื่อนไหวนานนับชั่วโมง

ฟาเบียนา เครสโป ผู้ขับรถรายหนึ่งกล่าวว่า มันเหมือนทะเลแห่งรถยนต์ ก่อนหน้าการแต่งงาน เธออาศัยกับครอบครัวทางตอนใต้ของเมืองเซาเปาโล ขณะที่ต้องทำงานในอีกฟากหนึ่งของเมือง แต่เมื่อแต่งงาน เธอเลือกที่จะซื้อบ้านใกล้ที่ทำงาน เพราะคิดว่าหากยังต้องผจญการจราจรเช่นนี้อีกอาจทำให้ชีวิตของเธอเหมือนตกนรก แต่หลังจากคลอดลูกคนแรก เธอต้องกลับไปช่วยธุรกิจครอบครัวที่บ้านเดิม จึงช่วยไม่ได้ที่เธอจะต้องก้มหน้ารับชะตากรรมเช่นนี้อีกครั้ง

เครสโปกล่าวว่า เฉลี่ยแล้วหนึ่งวัน เธอใช้เวลาบนท้องถนนในการเดินทางไปกลับบ้าน-ที่ทำงานเฉลี่ย 4 ชม. และว่าคนที่นี่ ล้วนแต่ตกเป็นทาสของการจราจรทั้งสิ้น วิถีชีวิตของผู้คนที่นี่ จึงต้องขึ้นอยู่กับการสัญจรเป็นหลัก




แน่นอนว่าปัญหาการจราจรติดขัด สร้างปัญหาให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนมากน้อยต่างกันในทุกประเทศ แต่สำหรับที่นี่ การต้องเผชิญกับสภาพรถติดสาหัส ถือเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันที่ประชากรกว่า 11 ล้านคนของที่นี่ต้องทำตัวให้เคยชินกับมัน

แต่ในท่ามกลางรถติดนี่เอง ที่ทำให้เธอได้พบกับสามีคนปัจจุบันเมื่อกว่า 9 ปีก่อน เครสโปกล่าวว่า ตอนนั้น เธออยู่ในรถกับเพื่อน ขณะที่เขากำลังขับรถอีกคันที่แล่นคู่กัน การจราจรติดขัด สลับหยุดนิ่งเป็นระยะๆ ทำให้เธอและเขาได้พูดคุยกันผ่านกระจกรถ กระทั่งเขาเอ่ยปากขอเบอร์โทรศัพท์ของเธอในที่สุด และความสัมพันธ์ที่ดีก็เริ่มนับแต่นั้น เธอกล่าวว่า นี่เป็นเรื่องเดียวที่ทำให้เธอรู้สึกดีกับรถติด




สถานีวิทยุ Sul America Traffic Radio ได้ออกอากาศเพื่อรายงานสภาพการจราจร รวมถึงการเสนอทางเลือกให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนของที่นี่ตลอด 24 ชม. และตลอด 7 วันต่อสัปดาห์ หลังการเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 7 ปีก่อน  ก็ได้รับความนิยมจากผู้ใช้รถใช้ถนน ที่ทำหน้าที่เป็นผู้รายงานสภาพการจราจรแบบทันท่วงทีในจุดต่างๆในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน


สถานีมีทีมนักข่าวพร้อมเฮลิคอปเตอร์ ที่จะรายงานสภาพการจราจรจากมุมสูงในจุดสำคัญของเมือง และยังมีทีมภาคพื้นดิน ที่มักจะตกอยู่ท่ามกลางการจราจรติดขัดขณะรายงานข่าวเสมอๆ หนึ่งในนั้นมีวิคตอเรีย ริเบโร ที่งานของเธอการขับรถตระเวนไปทั่วเมือง เพื่อเดินทางไปยังจุดที่มีปัญหา และหาทางลัดให้แก่ผุ้สัญจรเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤต

ริเบโรกล่าวว่า เธอทำงานที่สถานีมาตั้งแต่การก่อตั้ง และเห็นว่าการจราจรของเมืองนี้มีแต่จะเลวร้ายลง รถยนต์เพิ่มปริมาณขึ้นขณะที่ถนนเท่าเดิม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในบราซิลเติบโตอย่างมากในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่ประชาชนมีรายได้เพิ่มอันเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การซื้อรถจึงเป็นสิ่งแรกๆที่หลายคนตั้งเป้าหมาย เพื่อให้มีทางเลือกนอกเหนือจากระบบขนส่งสาธารณะ  อย่างไรก็ดี ขณะที่การบูมอย่างสุดขีดของยอดขายรถยนต์เป็นปัจจัยส่งเสริมสภาพเศรษฐกิจของบราซิล แต่นั่นยิ่งเป็นการผลักให้นครเซาเปาโล ตกอยู่ในสภาพ"ทะเลรถยนต์"อย่างช่วยไม่ได้




ริเบโรเปรียบเทียบสภาพการจราจรของที่นี่ว่าเหมือน"สงคราม" ผู้ขับรถพร้อมที่จะเห็นแก่ตัว และแก่งแย่งแข่งขัน ได้ในทันทีที่นั่งประจำอยู่หลังพวงมาลัย และสำหรับคนที่มีเงินมากพอ พวกเขาก็จะมีทางเลือกมากกว่า และ"ลอยตัว"อยู่เหนือปัญหาเหล่านี้ได้อย่างสบายๆ

ธุรกิจเช่าเฮลิคอปเตอร์ ถือเป็นทางเลือกของผู้มีฐานะดี ที่นอกจากไม่ต้องการหัวเสียกับสภาพจราจรแล้ว พวกเขายังสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับการเกิดอาชญากรรมตามท้องถนน




เซอร์จิโอ อัลซิเบียเดส ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กล่าวว่า การเช่าเฮลิคอปเตอร์เพียง 2-3 ชม. ก็สามารถช่วยให้เขา สามารถเดินทางไปทำธุรกิจในที่ต่างๆมากเท่าที่ต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากต้องเดินทางไป-กลับบนพื้นดิน ขณะที่ตัวเขาเอง นิยมใช้บริการดังกล่าวเฉลี่ยเดือนละ 2-3 ครั้ง และว่าสำหรับเขาแล้ว นี่เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทำให้เขาหาเงินได้เพิ่มขึ้น

ยอร์ช บิททาร์ เจ้าของบริษัท เฮลิมาร์ท แอร์ แท็กซี กล่าวว่า บริษัทของเขามีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี และเฮลิคอปเตอร์ที่มีอยู่ 16 ลำ ก็แทบจะถูกใช้งานไม่ว่างเว้น และว่ายิ่งการจราจรติดมากเท่าใด ก็จะยิ่งดีกับธุรกิจของเขามากขึ้นเท่านั้น

แม้จะทำให้บางธุรกิจรับทรัพย์ไปแบบเต็มๆ แต่คลอดิโอ บาร์เบรี ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมและการข่นส่ง จากมหาวิทยาลัยเซาเปาโล กล่าวว่า รถติด ได้ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและการทำธุรกิจอย่างช่วยไม่ได้

เขากล่าวว่า หากเรามีธุรกิจรถบรรทุกส่งสินค้าหนึ่งคัน และไม่สามารถเพิ่มเที่ยวการขนส่งได้มากกว่า 6 หรือ 8 เที่ยวต่อวัน แทนที่จะได้มากถึง 16-20 เที่ยว ทำให้เราต้องเพิ่มรถบรรทุกอีกคัน ซึ่งนี่เท่ากับเป็นการเพิ่มต้นทุนให้เพิ่มขึ้นด้วย


ทางด่วน Marginal Pinheiros หนึ่งในเส้นทางสัญจรหลักของเซาเปาโล


เขากล่าวว่า เซาเปาโลมีวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญที่สามารถทำให้การจราจรของที่นี่ดีขึ้นได้บ้าง แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่าก็คือ ชาวบราซิลมีการวางแผนที่ค่อนข้างแย่ และการจราจรจะสามารถจัดการได้มากขึ้น หากเราเริ่มมองหาวิธีการที่แก้ปัญหาระยะยาวได้ ซึ่งเขามองว่าน่าจะเป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด

เขากล่าวว่า ไม่มีเมืองไหนในโลกจะสามารถจัดการเพื่อยุติปัญหารถติดได้ เพราะเมื่อการจราจรเริ่มคล่องตัว ผู้คนก็จะรีบบึ่งรถออกไปบนถนนอีกครั้ง กุญแจสำคัญก็คือ การหาจุดสมดุล ที่ซึ่งคุ้มค่ากับความพยายามที่เสียไปของผู้สัญจรโดยใช้บริการขนส่งสาธารณะ เพื่อให้เห็นว่า เป็นการเดินทางที่รวดเร็วกว่า

สิ่งที่คนเซาเปาโลต้องการที่สุด ไม่ใช่การตัดถนนเพิ่มหรือสร้างทางด่วน เพราะนั่นจะยิ่งทำให้ปริมาณรถเพิ่มขึ้นอีกไม่รู้จบ แต่เป็นการลงทุนระบบการขนส่งสาธารณะ




Source: Sao Paulo: A city with 180km traffic jams By Paulo Cabral, BBC

โรงกลั่นน้ำมันในไทย

 source : http://www.vcharkarn.com/vblog/37277/3
ผู้เขียน : banjong ( นาย บรรจง บุหิรัญ )


  โรงกลั่นน้ำมันในไทยมีอยู่ 7 โรง  มีกำลังผลิตรวมกัน  1.0922 ล้านบาเรลต่อวัน หรือ 173.6  ล้านลิตรต่อวัน   ความซับซ้อน  และกำลังกลั่นน้ำมันดิบแต่ละโรงในปี 2551 มีรายละเอียดดังนี้
  

โรงกลั่น ประเภทโรงกลั่น กำลังการผลิตโรงกลั่น(บาเรลต่อวัน) กำลังการผลิตโรงกลั่น(ล้านลิตรต่อวัน)
ไทยออยล์ (TOP) คอมเพล็กซ์ 275,000 43.7
ไออาร์พีซี (IRPC) คอมเพล็กซ์ 215,000 34.2
เอสโซ่(ESSO) คอมเพล็กซ์ 170,000 27.0
สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง(SPRC) คอมเพล็กซ์ 150,000 23.8
ปตท. อะโรมาติกส์และการกลั่น(PTTAR) คอมเพล็กซ์ 145,000 (*) 23.1
บางจาก (BCP) พื้นฐาน 120,000 19.1
ระยองเพียวริฟายเออร์(RPC) คอนเดนเสท เรซิดิว 17,000 2.7
  รวม 1,092,200 173.6




                                           

   หมายเหตุ:(*)= กำลังกลั่นของโรงกลั่นPTTAR ไม่รวมกำลังกลั่นของโรงกลั่นแยกคอนเดนเสท





 1. โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์( Thai Oil Refinery)
                                                  
 2504 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งขึ้น โดยได้เข้าทำสัญญาจัดสร้าง และประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมันที่อำเภอศรีราชาในรูปแบบการสร้าง-บริหาร-โอน (Build-Operate-Transfer : BOT) เป็นระยะเวลายี่สิบปีจากกระทรวงอุตสาหกรรม 
  2507 บริษัทฯ เริ่มดำเนินกิจการโรงกลั่นน้ำมัน เมื่อการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันหน่วยแรก (TOC-1) แล้วเสร็จ ด้วยกำลังการกลั่นน้ำมันดิบจำนวน 35,000 บาร์เรลต่อวัน พร้อมใช้หน่วยแตกโมเลกุล ด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (Fluidized Catalytic Cracking Unit)
  ปัจจุบัน(2552) บริษัทฯ มีกำลังการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประมาณ 275,000 บาร์เรลต่อวัน( 43.7 ล้านลิตรต่อวัน)  คิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของกำลังการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศ
   นอกจากศักยภาพด้านกำลังการผลิตแล้ว โรงกลั่นไทยออยล์ยังได้รับการออกแบบ ให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุด จากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ดังกล่าว จึงมีกระบวนการกลั่นหลายขั้นตอน คือมีทั้งหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ หน่วยเพิ่มคุณภาพ และหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเชียแปซิฟิก

         ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป




2. โรงกลั่นน้ำมัน ปตท. อะโรเมติกส์และการ  กลั่น ( PTTAR Refinery)
    
    PTTAR เป็นโรงกลั่นน้ำมันและผลิตสารอะโรเมติกส์ครบวงจรที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียโดยปัจจุบัน PTTAR มีหน่วยกลั่นน้ำมันจำนวน 2 หน่วย คือ โรงกลั่นน้ำมันดิบประเภท Complex Refinery ขนาด 145,000 บาร์เรล ต่อวัน และ หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสทเพื่อผลิต รีฟอร์เมท ขนาด 70,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ บริษัทฯ กำลังก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2552 และจะทำให้ PTTAR มีกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นจากหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสทอีก 65,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้บริษัทยังเป็นผู้ผลิตสารอะโรเมติกส์รายใหญ่อันดับที่ 1 ในประเทศไทยโดยมีกำลังการผลิตสูงถึง 1,189,000 ตันต่อปี และเมื่อ โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แล้วเสร็จ PTTAR จะมีกำลังการผลิตสารอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นเป็น 2,228,000 ตันต่อปี
    PTTAR เป็นโรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex ที่มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงแห่งหนึ่งของเอเชีย ด้วยกระบวนการกลั่นแบบ Complex และเทคโนโลยีการผลิตในหน่วยอะโรเมติกส์ที่มีความทันสมัย ต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้ PTTAR มีความสามารถในการเลือกใช้วัตถุดิบหลากหลายที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ผลิตน้ำมันเบนซิน น้ำมันอากาศยาน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา สารเบนซีน สารพาราไซลีน สารไซโคลเฮกเซน ที่ครบถ้วนตรงกับความต้องการของตลาด  





หน่วยกลั่นน้ำมัน กำลังการกลั่น
(บาร์เรลต่อวัน)
รายละเอียด
หน่วยกลั่นน้ำมันดิบ> 145,000
โรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex ที่มีหน่วย Hydrocracker และ Visbreaker ซึ่งสามารถเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักกึ่งเบา ซึ่งทำการกลั่นน้ำมันดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปเป็นหลัก ซึ่งอาจรวมถึงการผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์
หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 1 70,000 >หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท1 (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 1) จะทำการผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์เพื่อผลิตสารอะโรเม ติกส์
หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2 / Upgrading Complex 65,000
หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2 (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 2) และ Upgrading Complex ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยหน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์จะหน้าที่ผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโร เมติกส์ หน่วย Upgrading จะผลิตน้ำมันปิโตรเลียมสำเร็จรูปจากคอนเดนเสท เรซิดิวที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกลั่นแยกคอนเดนเสท
รวม 280,000  




 ภาพและข้อมูลจาก www.pttar.com
  
   กำลังกลั่นน้ำมันดิบของโรงกลั่นน้ำมันระยอง 145,000 บาเรลต่อวัน(23 ล้านลิตรต่อวัน) แต่ถ้ารวมกำลังกลั่นของหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสทแล้ว กำลังกลั่นจะเป็น 280,000 บาเรลต่อวัน(44.5 ล้านลิตรต่อวัน) ซึ่งจะมากกว่าโรงกลั่นไทยออย์ซึ่งมีกำลังกลั่น275,000 บาเรลต่อวัน(43.7 ล้านลิตรต่อวัน) เล็กน้อย
   คอนเดนเสทเป็นน้ำมันดิบชนิดเบามาก กลั่นแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เบาชนิดแนฟทาเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบขั้น ต้นในกระบวนการผลิตสารอะโรมาติกส์

3. โรงกลั่นน้ำมันระยองเพียวริฟายเออร์( Rayong Purifier Refinery)
                  
                                     โรงกลั่นน้ำมันคุณภาพเพื่อการบริการเป็นเลิศ
    บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด(มหาชน) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2538 โดยผู้ถือหุ้นคนไทย และบริหารงานโดยคนไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีมา เป็นเวลานาน ด้วยความมุ่งมั่นในการพึ่งพาตนเองในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการลดต้นทุน การผลิต การสร้างความแข็งแกร่งของฐานะการเงิน และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในธุรกิจเดียวกัน บริษัทฯ จึงเป็นโรงกลั่นน้ำมันขนาดกลางที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงและมีความ หลากหลายในการใช้งาน

   บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด(มหาชน) ดำเนินการแปรสภาพคอนเดนเสท เรสสิดิว ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตของ บริษัท อะโรเมติกส์(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) โดยถูกส่งผ่านท่อให้บริษัทฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มคุณค่าของวัตถุดิบจากอ่าวไทย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีที่มีคุณภาพระดับสากลแล้ว ยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันส่วนหนึ่งจากต่างประเทศ นับว่าเป็นการลดการสูญเสียรายได้ออกนอกประเทศอีกทางหนึ่ง

  โรงกลั่นน้ำมันของ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นโรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการผลิตน้ำมัน 17,000 บาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 80 ล้านลิตรต่อเดือน
                                                
    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และช่องทางการจัดจำหน่าย บริษัทฯ จึงได้ขยายคลังน้ำมันให้ครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของประเทศ นอกจากนี้ ยังก่อตั้งสถานีบริการน้ำมัน “เพียว” และมีโครงการขยายเครือข่ายของสถานีบริการน้ำมัน “เพียว” ไปยังแหล่งชุมชนภูมิภาค เพื่อให้บริการครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ และตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค

   ภาพและข้อมูลจากhttp://www.rpcthai.com
   หมายเหตุ
     คอนเดนเสท เรสสิดิว(Condensate Residue) เป็นผลิตภัณฑ์ส่วนหนักที่ได้จากการกลั่นแยกคอนเดทเสท(condensate)ซึ่งเป็น น้ำมันดิบชนิดเบามาก



4. โรงกลั่นน้ำมันไออาร์พีซี(IRPC Refinery)
                                                   
                         
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
ชื่อเดิม: บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ เป็นบริษัทประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2521 โดยนาย ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ  ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นเขตประกอบอุตสาหกรรมภายใต้การจัดการของบริษัทฯ พร้อมด้วยสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สนับสนุนการผลิต ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก คลังเก็บน้ำมัน และโรงไฟฟ้า


  • ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2525 เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

  • พ.ศ. 2537 เริ่มธุรกิจกลั่นน้ำมันด้วยโรงกลั่นน้ำมันดิบหน่วยแรก กำลังกลั่น 26,000 บาร์เรลต่อวัน

  • พ.ศ. 2539 เพิ่มกำลังกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันดิบหน่วยแรก เป็น 65,000 บาร์เรลต่อวัน

  • พ.ศ. 2540 เดินเครื่องโรงผลิตสารอะโรมาติก (Aromatic plant) โรงผลิตก๊าซเอทิลลีน (Ethylene plant) โรงกลั่นน้ำมันหล่อพื้นฐาน (Lube base oil plant) และโรงแตกสลายโมเลกุลด้วยแคทตาลิส ( Deep catatytic cracking plant)

  • พ.ศ. 2543 เดินเครื่องโรงกลั่นน้ำมันดิบหน่วยที่2 กำลังกลั่น 150,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้กำลังกลั่นรวมเป็น 215,000 บาร์เรลต่อวัน

  • พ.ศ. 2549 ทีพีไอ เปลี่ยนชื่อเป็น ไออาร์พีซี

     


    ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง
     


       น้ำมันเบนซิน (Gasoline)

     เป็นเบนซินไร้สารตะกั่ว มีชนิด เบนซิน 95 และ เบนซิน 91 โดยผสมสารเพิ่มคุณภาพที่มีประสิทธิภาพในการชะล้างทำความสะอาดสูง ทำให้ระบบเชื้อเพลิงสะอาดอยู่เสมอ ช่วยในการเผาไหม้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและลดมลพิษอีกด้วย
       แก๊สโซฮอลล์ 95 (Gasohol 95) เป็น น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล ในอัตราส่วนร้อยละ 9 – 10 เพื่อเพิ่มค่าออกเทนให้สูงขึ้น เพื่อทดแทนสาร MTBE ที่ต้องน้ำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งน้ำมันแก๊สโซฮอล์นี้ให้คุณสมบัติการใช้งานเช่นเดียวกับ เบนซิน 95 ทุกประการ และมีสารเพิ่มคุณภาพที่ช่วยทำความสะอาดระบบป้อนเชื้อเพลิงทำให้เครื่องยนต์ เผาไหม้ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยลดเขม่าในห้องเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์สะอาด และยังช่วยป้องกันสนิมในระบบเชื้อเพลงด้วย

       น้ำมันดีเซล (Diesel)เป็น น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณกำมะถันต่ำกว่า 0.035% โดยน้ำหนัก มีค่าดัชนีซีเทนสูง และผสมสารเพิ่มคุณภาพที่เพิ่มประสิทธิภาพในการหล่อลื่นระบบปั๊มฉีดเชื้อ เพลิง ช่วยลดการสึกหรอของระบบปั๊มหัวฉีดเชื้อเพลิง
     

     น้ำมันเตา (Fuel Oil)  แบ่งออกเป็น 2 เกรด  
          1.น้ำมันเตาเอ (FOA)  มี ค่าความหนืดไม่สูงกว่า 80 เซนติสโตก ซึ่งเป็นความหนืดที่ไม่ต้องอุ่นมากนักก็สามารถฉีดเป็นฝอยได้เผาไหม้ง่าย เหมาะสำหรับโรงงานที่ใช้น้ำมันเตาไม่มากนัก ใช้อุปกรณ์หัวเผาประเภทที่ออกแบบสำหรับน้ำมันที่ค่อนข้างใสและต้องการเผา ไหม้ที่สะอาด ไม่มีควันดำ เขม่า ละออง ถ่าน หรือก๊าชกำมะถันสูง เช่น อุตสาหกรรมเซรามิก, กระเบื้อง และโรงงานที่ตั้งใกล้แหล่งชุมชน
         2.น้ำมันเตาซี (FOC)  มี ค่าความหนืดไม่สูงกว่า 180 เซนติสโตก การใช้น้ำมันเตาเกรดนี้จำเป็นต้องมีระบบส่งน้ำมันที่ดี สามารถส่งน้ำมันได้ตลอด และกรองสิ่งสกปรกออกได้ นอกจากนี้ หัวเผายังต้องสามารถอุ่นน้ำมันให้ได้ความหนือที่หัวฉีดต้องการ มักใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานปานกลาง ถึงขนาดใหญ่
    ก๊าชหุงต้ม (LPG) นำไปใช้เป็นแก๊สหุงต้มในครัวเรือน และเป็นใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์

     


  ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและยางมะตอย
    น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน( Lube Base Oils )
      60 SNO  เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันหล่อลื่น ประเภทส่งกำลัง น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า น้ำมันหมักปอ น้ำมันที่ใช้กับเครื่องทำความเย็น เป็นต้น

     
 150 SNO   นำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันหล่อลื่นสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตทุกชนิด     

      500 SNO 
นำไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์ทุกชนิด

      150 BS 
นำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องจักรที่มีแรงเสียดทานมาก เช่น เครื่องยนต์รถบรรทุก, รถไฟ, เครื่องเรือเดินทะเล และยางสังเคราะห


    น้ำมันอะโรมาติก(Aromatic Extract)
       ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต SBR (Styrene-butadiene-Rubber)  ยางรถยนต์ และผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ น้ำมันหล่อลื่นที่ต้องการความหนืดสูงมาก น้ำมันหยอดทิ้ง จาระบี , เป็นส่วนผสมที่ช่วยในการดัดโค้งพลาสติกได้ที่อุณหภูมิต่ำ และผงหมึก เป็นต้น

 
ไขดิบ(Slack Wax)       เป็น ไขผลึกของแข็งที่อยู่ในน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งเป็นผลพลอยได้จากหน่วย ( Propane Dewaxing Unit ) ใน Lube Base Refinery ซึ่ง Slack Wax สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าต่อไป เช่น  paraffin wax , microcrystalline wax และ lube base oil Group III

  
   ยางมะตอย(ASPHALT)       แบ่ง 2 เกรดหลัก ได้แก่ แอสฟัสต์ซีเมนต์ AC 60/70 และ AC 80/100 ซึ่งมีคุณสมบัติในการยึดและประสาน พร้อมป้องกันการซึมผ่าน ใช้ราดพื้นถนน , ยางกันซึม 
 




5. โรงกลั่นน้ำมันบางจาก ( Bangchak Refinery )
                                                 
                                                   
     บริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทน้ำมันของคนไทย ประกอบธุรกิจนำน้ำมันดิบจากแหล่งตะวันออกกลาง ตะวันออกไกล และจากแหล่งน้ำมันดิบภายในประเทศเข้ามากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปด้วยกำลังผลิตสูงสุด 120,000 บาร์เรลต่อวัน โดยโรงกลั่นของบริษัทฯ เป็นประเภท Simple Refinery (Hydroskimming) ที่ทำการแยกองค์ประกอบในน้ำมันดิบออกเป็นน้ำมันชนิดเบา ชนิดหนักปานกลาง และชนิดหนักในสัดส่วนตามธรรมชาติของน้ำมันดิบแต่ละชนิด และอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) ภายใต้โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน หรือ Product Quality Improvement (PQI) ซึ่งเป็นกระบวนการแปลงน้ำมันชนิดหนัก บางส่วน(น้ำมันเตา) ให้เป็นน้ำมันชนิดเบา (น้ำมันเบนซินและดีเซล) ที่มีมูลค่าสูง ซึ่งจะทำให้กลายเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จราวปลายปี 2551 และในปี 2549 บริษัทฯ ได้มีการติดตั้งหน่วยผลิตไบโอดีเซลขึ้นภายในโรงกลั่นน้ำมัน โดยใช้น้ำมันพืชใช้แล้วเป็นวัตถุดิบหลัก ปัจจุบันผลิตอยู่ประมาณ 20,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งไบโอดีเซลที่ได้จะนำไปผสมเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลสูตร บี5
   


น้ำมันพลังงานทดแทน


เครื่องเบนซิน


เครื่องดีเซล

 
น้ำมันเชื้อเพลิง


เครื่องเบนซิน

เครื่องดีเซล

น้ำมันเตา

   

              




6. โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่( Esso Refinery)
                                       
                                
                                                        โรงกลั่นเอสโซ่ศรีราชา

           นับเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทและเป็นสิ่งยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการจัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ทรงคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทย จากจุดเริ่มต้นที่มีการผลิตน้ำมันเพียง 7,000 บาร์เรลต่อวัน ปัจจุบัน  โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชามีกำลังการผลิตกว่า 170,000 บาร์เรลต่อวัน

โรงกลั่นของเอสโซ่ถือเป็นกำลังสำคัญในการจัดหาและผลิตพลังงานเพื่อใช้ภาย ในประเทศ  ความสำเร็จของโรงกลั่นเอสโซ่ศรีราชา เกิดจกความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน และการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีระดับโลกจากเอ็กซอนโมบิล

ในปัจจุบัน โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา มีหน่วยผลิตสำคัญในกระบวนการกลั่นดังนี้



  • หน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (Atmospheric Pipestill) ทำหน้าที่กลั่นน้ำมันดิบเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆ




  • หน่วยแปรสภาพน้ำมันหนักให้เป็นน้ำมันเบา (Fluidized Catalytic Cracking Unit) ทำหน้าที่แปรสภาพน้ำมันเตาให้เป็นน้ำมันดีเซลและเบนซิน




  • หน่วยเพิ่มออกเทนเพื่อผลิตน้ำมันเบนซินชนิดต่างๆ (Continuous Catalytic Reformer) ทำหน้าที่เพิ่มค่าออกเทนให้น้ำมันเบนซิน




  • หน่วยกลั่นสุญญากาศ (Vacuum Pipestil)l ทำหน้าที่ผลิตยางมะตอยคุณภาพสูง และป้อนวัตถุดิบให้หน่วยแปรสภาพน้ำมันหนักให้เป็นน้ำมันเบา




หน่วยแยกกำมะถัน (Sulfur Recovery Unit) ทำหน้าที่แยกกำมะถันในการผลิตน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ เพื่อช่วยรักษาสภาพแวดล้อม



ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง




ภาพและข้อมูลจาก www.exxonmobil.com


7. โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง           ( SPRC Refinery)


  การก่อตั้งและการดำเนินงาน    ปี 2535 ได้รับสัมปทานการกลั่นน้ำมัน
    ปี 2539  เริ่มประกอบกิจการการกลั่นน้ำมัน
    ปี 2542 สิงหาคม ร่วมดำเนินการแบบพันธมิตรกับ บริษัท น้ำมันโรงกลั่นระยอง จำกัด(RRC) หรือ  PTTAR
               บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด (ARC) ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการโรงกลั่นของบริษัท SPRC และ PTTAR

  สัดส่วนผู้ถือหุ้น
    เชพรอน(Chevron)   64%
    ปตท(PTT)              36%
 
  กำลังกลั่นน้ำมันดิบ
    ปัจจุบันโรงกลั่นSPRC มีกำลังกลั่นน้ำมันดิบ  150,000 บาเรลต่อวัน( 23.8 ล้านลิตรต่อวัน) ใหญ่เป็นอันดับ4 ของประเทศ
      



อันดับที่ โรงกลั่น      กำลังกลั่นน้ำมันดิบ 2008
    บาเรลต่อวัน ล้านลิตรต่อวัน
1 ไทย ออยล์ (TOP)          275,000 43.7
2 ไออาร์พีซี (IRPC)          215,000 34.2
3 เอสโซ๋ (ESSO)          170,000 27.0
4 สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง(SPRC)          150,000 23.8
5 ปตท อะโรมาติกส์และการกลั่น (PTTAR)          145,000 23.1
6 บางจากปิโตรเลียม (BCP)          120,000 19.1
7 ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC)            17,000 2.7
  รวม       1,092,000 173.6



วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

อนาคตพลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง?(จบ)

อนาคตพลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง? (จบ) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

 

          มาคุยกันต่อถึงอนาคตพลังงานไทยครับ ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราใช้พลังงานต่อประชากรในเกณฑ์สูง แม้ว่าข้อมูลจาก Energy Information Administration ของสหรัฐอเมริกาจะระบุว่าไทยสามารถผลิตก๊าซได้อันดับที่ 24 ของโลก (http://www.eia.gov/countries) แต่ทราบหรือไม่ว่าเราสามารถผลิตก๊าซได้เพียงร้อยละ 1.1 ของการผลิตก๊าซทั่วโลกเท่านั้น ในขณะที่สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ผลิตได้ถึงร้อยละ 19.3 และร้อยละ 18.4 เพียงแค่ 2 ประเทศ รวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก

          นอกจากนั้น จากเว็บไซต์อีไอเอเช่นกันที่บอกว่า ในขณะที่เราผลิตก๊าซได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลก แต่เรามีปริมาณการใช้ก๊าซของไทยสูงเป็นอันดับที่ 20 ของโลก และเป็นผู้นำเข้าอันดับที่ 21 ของโลกเลยทีเดียว พูดง่ายๆ ก็คือ เราใช้มากกว่าเราผลิตได้ เพราะอย่างนี้เราจึงต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศถึงจะเพียงพอกับความต้องการ ใช้ของเรา และข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งคือเราต้องนำเข้าก๊าซจากพม่าตั้งแต่ปี 2541 และเพราะความต้องการใช้พลังงานของเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงตอนนี้ก๊าซจากประเทศเพื่อนบ้านก็ยังไม่พอ ดังนั้น ในปี 2554 เราจึงต้องนำเข้าก๊าซในรูปของของเหลว หรือ LNG (Liquefied Natural Gas) ที่ต้องผ่านการควบแน่นให้เป็นของเหลว และขนส่งมาไกลจากตะวันออกกลางทำให้ก๊าซมีราคาแพงนั่นเอง
          ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าประเทศไทยมีแหล่งพลังงานเยอะมากหรือไม่ นั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่าเราผลิตได้มากขนาดไหน หรือผลิตได้เป็นอันดับที่เท่าไหร่ของโลก แต่ประเด็นสำคัญคือเราผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ พูดง่ายๆ คือเราใช้มากกว่าที่ผลิตได้นั่นเอง ดังนั้น จะเห็นว่าประเทศเรายังไม่สามารถพึ่งพาตนเองในด้านพลังงานได้เลย ซึ่งเป็นมานานแล้ว และในอนาคตจะยิ่งเป็นมากขึ้น หากเรายังไม่รู้จักประหยัดพลังงานกันอย่างจริงจัง
          โดยอนาคตเราจะต้องนำเข้าก๊าซสูงถึงร้อยละ 50 ของปริมาณการใช้ทั้งหมดของประเทศ โดยนำเข้าในรูปของก๊าซแอลเอ็นจีซึ่งมีราคาแพง เพราะก๊าซในอ่าวไทยใกล้จะหมดลงไปทุกที เราจะต้องซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น จากสัดส่วนปัจจุบันที่ร้อยละ 3 ของปริมาณการใช้ทั้งหมด เป็นร้อยละ 21 เพราะเราปฏิเสธการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศ เมื่อเราต้องพึ่งพิงพลังงานจากภายนอกมากขึ้นเรื่อยๆ ความมั่นคงด้านพลังงานเราก็จะน้อยลง และต้นทุนด้านพลังงานจะสูงขึ้น

          ลองคิดดูว่าลูกหลource :านของเราจะอยู่กันอย่างไร ในภาวะที่พลังงานในประเทศถูกบรรพบุรุษถลุงใช้อย่างฟุ่มเฟือย เพราะคิดไปว่าเรามีแหล่งพลังงานมากเพียงพอที่จะเอามาใช้กันได้อย่างถูกๆ โดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่ากัน หากเราไม่ทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น การประหยัดการใช้พลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน และการหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม อนาคตพลังงานไทยก็น่าเป็นห่วงจริงๆ ครับ


--------------------
(อนาคตพลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง? (จบ) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจ และพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) <Chodechai.energyfact@gmail.com>)

source : http://www.komchadluek.net/detail/20120810/137259/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%28%E0%B8%88%E0%B8%9A%29.html#.UFn-o65-m1s

อนาคตพลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง?(1)

อนาคตพลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง? (1) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

           วันนี้ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ทิศทางราคาน้ำมันในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อจากนี้ไป ผมจะขอวิเคราะห์ทิศทางสถานการณ์น้ำมันจากข้อมูลล่าสุดที่เรามีอยู่นะครับ ก่อนอื่นทรัพยากรปิโตรเลียมในโลกนั้นมีอยู่อย่างจำกัด จากปริมาณน้ำมันสำรองทั่วโลกที่มีอยู่คาดว่าเราจะสามารถมีน้ำมันใช้ได้อีก 46 ปี ก๊าซธรรมชาติจะมีใช้ได้อีก 59 ปี ส่วนปริมาณถ่านหินจะมีสำรองใช้ได้อีก 118 ปี แน่นอนว่าภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นพื้นที่ที่มีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรอง มากที่สุดในโลกกว่าร้อยละ 50 ในขณะที่ถ่านหินสำรองจะกระจายตัวอยู่ในหลายภูมิภาคทั้งยุโรป อเมริกา และเอเชีย สำหรับประเทศไทย เรายังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 


          ในปี 2554 ประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานขั้นต้นเป็นปริมาณ 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยกว่าร้อยละ 80 เป็นการนำเข้าเป็นน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าพลังงานสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาทในปี 2554 ซึ่งปริมาณการน้ำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 80 และร้อยละ 22 ของการใช้ตามลำดับ ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซฯ สูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค รองจากประเทศสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และพม่าเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานเป็นหลัก
          นอกจากนี้ การใช้พลังงานของประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ โดยการบริโภคพลังงานของประเทศไทยสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศอื่นเมื่อเทียบ กับรายได้ และแนวโน้มประสิทธิภาพการใช้พลังงานยังไม่ดีขึ้น ราคาพลังงานที่ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การใช้พลังงานไม่มีประสิทธิภาพ
          หลายท่านอาจเข้าใจว่าประเทศไทยสามารถผลิตพลังงานได้ แต่แท้จริงแล้วจะเห็นว่า ในปีที่ผ่านมา (2554) เรามีศักยภาพในการผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ 154,000 บาร์เรลต่อวัน แต่นำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำมันในโรงกลั่นได้เพียง 115,000 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น ในขณะที่มีปริมาณการใช้ภายในประเทศสูงถึงกว่า 8 แสนบาร์เรลต่อวัน
          นอกจากนี้ น้ำมันที่เราหาได้เองในประเทศนั้นไม่สามารถนำมาใช้กับโรงกลั่นในบ้านเราได้ ทั้งหมด เพราะน้ำมันบางแหล่งก็มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตและเทคโนโลยี ของโรงกลั่นในเมืองไทย ทุกวันนี้ ประเทศไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางเฉลี่ยวันละ 616,000 บาร์เรลมาเป็นวัตถุดิบในการกลั่น
          สรุปก็คือบ้านเราไม่ได้มีน้ำมันมากเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ เราจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศส่วนใหญ่ต่อไป เราควรต้องประหยัดการใช้น้ำมันเพื่อลดภาระการนำเข้าและสูญเสียเงินออกนอก ประเทศ

        
--------------------
(อนาคต พลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง? (1) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) <Chodechai.energyfact@gmail.com>)

source :  http://www.komchadluek.net/detail/20120803/136750/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%281%29.html#.UFn-m65-m1s

โรงกลั่นน้ำมันความมั่นคงทางพลังงาน(จบ)

โรงกลั่นน้ำมัน...ธุรกิจแห่งความมั่นคงทางพลังงาน (จบ) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

 

          สัปดาห์ที่แล้ว ผมค้างไว้ที่เรื่องผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่น ก็มาต่อกันเลยนะครับ โดย 6. น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel) เครื่องยนต์ดีเซล เป็นเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน คือการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความร้อน ซึ่งเกิดขึ้นจากการอัดอากาศอย่างสูงในลูกสูบ มิใช่เป็นการจุดระเบิดของหัวเทียน เช่นในเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน 


          7. น้ำมันเตา (Fuel Oil) น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาต้มหม้อน้ำ และเตาเผาหรือเตาหลอมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เรือเดินสมุทรและอื่นๆ และ 8. ยางมะตอย (Asphalt) ยางมะตอยเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนที่หนักที่สุดที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันเชื้อ เพลิง และนำยางมะตอยที่ผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพจะได้ยางมะตอยที่มีคุณสมบัติดี ขึ้น
          ในปัจจุบันประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันรวมทั้งสิ้น 7 แห่ง กำลังการกลั่นรวม 1.23 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดย ปตท.เข้าไปถือหุ้น 5 แห่ง คิดเป็น 36% ของกำลังการกลั่นทั้งหมด คือ 1. โรงกลั่นน้ำมันบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) มีกำลังการผลิต 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน 2. โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ที่มีกำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน 3. โรงกลั่นน้ำมันไออาร์พีซีมีกำลังการผลิต 215,000 บาร์เรลต่อวัน 4. โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง มีกำลังการผลิต 1.5 แสนบาร์เรลต่อวัน และ 5. โรงกลั่นน้ำมันบางจาก มีกำลังการผลิต 1.2 แสนบาร์เรลต่อวัน
          ส่วนโรงกลั่นน้ำมันอีก 2 แห่งถือหุ้นโดยบริษัทเอกชน คือโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทเอสโซ่ มีกำลังการผลิต 177,000 บาร์เรลต่อวัน และโรงกลั่นน้ำมันระยองเพียวริฟายเออร์ มีกำลังการผลิต 1.7 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จากข้อมูลนี้ เราก็น่าจะพอวางใจได้ว่า เหตุการณ์ไฟไหม้ไม่น่าจะกระทบต่อการผลิตน้ำมันให้เพียงพอสำหรับใช้ภายใน ประเทศมากนักเพราะยังมีกำลังการผลิตจากโรงกลั่นอื่นๆ มาทดแทนได้อย่างแน่นอน
          หลายคนอาจจะมองว่าธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันเป็นธุรกิจผูกขาดที่มีกำไรเยอะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในการทำธุรกิจย่อมต้องมีวัฏจักรทั้งขึ้นลงเป็นธรรมดา ธุรกิจโรงกลั่นก็เช่นเดียวกันที่มีทั้งขึ้นลง โดยเฉพาะค่าการกลั่นที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ตามอุปสงค์ อุปทานของน้ำมันสำเร็จรูป
          นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีการเปิดเสรีโรงกลั่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เพื่อต้องการให้เอกชนมีส่วนร่วมในกิจการพลังงาน และสนับสนุนให้มีการสร้างโรงกลั่นในประเทศเพื่อผลิตน้ำมันให้ได้เพียงพอกับ ความต้องการใช้ภายในประเทศ รวมทั้งให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดวิกฤติพลังงาน ประเทศไทยจะมีน้ำมันสำเร็จรูปเพียงพอต่อความต้องการ ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้า

          ทั้งหมดนี้ เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของไทยครับ อีกทั้งประเทศไทยยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินที่สามารถกลั่นน้ำมันดิบและส่ง ออกเป็นรายได้ให้ประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วยครับ


--------------------
(โรงกลั่นน้ำมัน...ธุรกิจแห่งความมั่นคงทางพลังงาน (จบ) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

source :http://www.komchadluek.net/detail/20120727/136187/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%28%E0%B8%88%E0%B8%9A%29.html#.UFn-Ea5-m1s

โรงกลั่นน้ำมันความมั่นคงทางพลังงาน(1)

โรงกลั่นน้ำมัน...ธุรกิจแห่งความมั่นคงทางพลังงาน (1) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ) 

 

          เหตุการณ์เพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจากที่สุขุมวิท 64 ทำให้หลายท่านอาจกลับมาสนใจกิจการโรงกลั่นน้ำมันของไทยว่า มีความเป็นมาอย่างไรและมีความสำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจ ก่อน อื่นผมขออธิบายว่า การกลั่นน้ำมัน หรือภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Oil refinery นั้น คือกระบวนการแปรรูปจากน้ำมันดิบเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆ ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยกระบวนการกลั่นน้ำมันยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เป็นผลพลอยได้นอกจากผลิตภัณฑ์น้ำมัน เช่น ถ่านโค้ก (Coke) และยางมะตอย (Asphalt) เป็นต้น


         ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบประกอบไปด้วย 1.ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas : LPG) หรือก๊าซหุงต้ม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนบนสุดของหอกลั่นในกระบวนการกลั่นน้ำมัน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีจุดเดือดต่ำมาก จะมีสภาพเป็นก๊าซในอุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น ในการเก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะต้องเพิ่มความดันหรือลดอุณหภูมิ เพื่อเปลี่ยนสภาพจากก๊าซเป็นของเหลว ซึ่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวใช้เป็นเชื้อ เพลิงได้ดี และเวลาลุกไหม้ให้ความร้อนสูง และมีเปลวสะอาด การใช้ประโยชน์ ก็คือ การใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์และรถยนต์ รวมทั้งเตาเผาและเตาอบต่างๆ
          2. น้ำมันเบนซิน (Gasoline) น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน หรือเรียกว่าน้ำมันเบนซิน ได้จากการปรับแต่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันโดยตรง และจากการแยกก๊าซธรรมชาติเหลว น้ำมันเบนซินจะผสมสารเคมีเพิ่มคุณภาพ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น เพิ่มค่าออกเทน สารเคมีสำหรับป้องกันสนิมและการกัดกร่อนในถังน้ำมันและท่อน้ำมัน เป็นต้น
          3. น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินใบพัด (Aviation Gasoline) ใช้สำหรับเครื่องบินใบพัด มีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำมันเบนซินในรถยนต์ แต่ปรุงแต่งคุณภาพให้มีค่าออกเทนสูงขึ้น ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของเครื่องบินซึ่งต้องใช้กำลังขับดันมาก
          4. น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น (Jet Fuel) ใช้เป็นเชื้อเพลิงไอพ่นของสายการบินพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ มีช่วงจุดเดือดเช่นเดียวกับน้ำมันก๊าดแต่ต้องสะอาดบริสุทธิ์มีคุณสมบัติ บางอย่างดีกว่าน้ำมันก๊าด
          5. น้ำมันก๊าด (Kerosene) ประเทศไทยรู้จักใช้น้ำมันก๊าดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่เดิมใช้เพื่อจุดตะเกียงแต่ปัจจุบันใช้ประโยชน์หลายประการ เช่น เป็นส่วนผสมสำหรับยาฆ่าแมลง สีทาน้ำมันชักเงา ฯลฯ

----------
(หมายเหตุ : โรงกลั่นน้ำมัน...ธุรกิจแห่งความมั่นคงทางพลังงาน (1) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) <Chodechai.energyfact@gmail.com>)
----------


source : http://www.komchadluek.net/detail/20120720/135570/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%281%29.html#.UFn9TK5-m1s

นโยบายพลังงาน'LPG'ใครได้ใครเสีย(จบ)

นโยบายพลังงานก๊าซแอลพีจี ใครได้ ใครเสีย (จบ) : รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

           มาพูดถึงนโยบายการขึ้นราคาแอลพีจีกันต่อครับ โดยเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 รัฐบาลได้มีมติปรับราคาจำหน่ายแอลพีจีให้แก่ภาคการใช้แอลพีจีต่างๆ โดยกำหนดให้ครัวเรือนตรึงราคาถึงสิ้นปี 2555 ในขณะที่ภาคขนส่งตรึงราคาถึงวันที่ 15 มกราคม 2555 และตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ให้เริ่มทยอยปรับขึ้นเดือนละ 0.75 บาทต่อกก. ส่งผลให้ราคาขายปรับขึ้นไปเป็น 21.13 บาทต่อกก. ก่อนที่รัฐบาลจะมีมติให้ชะลอการปรับโครงสร้างราคาพลังงานเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน  

         แต่ล่าสุดรัฐบาลได้เห็นชอบให้มีการปรับราคาแอลพีจีภาคขนส่งขึ้นจากเดิมอีก ครั้งในอัตรา 0.25 บาทต่อกก. เป็น 21.38 บาทต่อกก. โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป 

          ในด้านภาระการเงินที่ต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยให้แก่ผู้ นำเข้า ซึ่งเงินดังกล่าวมาจากไหนถ้าไม่ใช่เงินที่เก็บจากผู้บริโภคน้ำมันเอง ในปี 2554 ราคาแอลพีจีในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นถึง 846 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่ราคาแอลพีจีที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในประเทศก็ยังคงถูกควบคุมโดยภาครัฐให้ อยู่ในระดับต่ำกว่าราคาแอลพีจีในตลาดโลก ทำให้กองทุนน้ำมันต้องแบกรับภาระการนำเข้าเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2551 สะสมถึงปัจจุบันคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท
          หากภาครัฐยังคงตรึงราคาก๊าซแอลพีจีต่อไป ก็เท่ากับว่าเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนใช้แอลพีจีมากขึ้น ทั้งๆ ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาที่สูง (30 บาทต่อกก.) ปัจจุบันมีการเก็บเงินส่วนหนึ่งจากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด รวมทั้งราคาก๊าซแอลพีจีในรูปของเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อใช้ในการชดเชยแอลพีจี
          ด้วยเหตุนี้ การอุดหนุนด้านราคาก๊าซแอลพีจี จึงไม่ต่างจากการนำเงินที่คนส่วนใหญ่จ่ายทุกครั้งที่เติมน้ำมัน ไปอุดหนุนคนกลุ่มเล็กๆ ที่ใช้เชื้อเพลิงยานพาหนะราคาถูก เจ้าของโรงงานที่เห็นโอกาสในการลดต้นทุน ในจังหวะที่มีความต่างด้านราคาเชื้อเพลิงมากๆ รวมทั้งยังเปิดช่องให้แก่ขบวนการลักลอบนำออกไปจำหน่าย แทนที่จะนำเงินนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง 

          ผมคิดว่า ทางออกที่ดีที่สุดในการใช้พลังงานในโลกยุคใหม่ที่ไม่ได้ผูกขาดเฉพาะกับ น้ำมันเชื้อเพลิงเท่านั้น แต่ยังมีทางเลือกอื่นๆ สมควรให้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดแข่งขันกันโดยปราศจากการแทรกแซงใดๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าจากราคา คุณภาพ และความเหมาะสมจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ แทนการแทรกแซงด้านราคา ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ตามมาเป็นลูกโซ่อย่างไม่คาดฝัน ดังเช่นกรณีของก๊าซแอลพีจีครับ


--------------------
(นโยบายพลังงานก๊าซแอลพีจี ใครได้ ใครเสีย (จบ) : รู้ทันกระแส เศรษฐกิจ และพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) <Chodechai.energyfact@gmail.com>)

sour ce : http://www.komchadluek.net/detail/20120824/138383/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99LPG%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%28%E0%B8%88%E0%B8%9A%29.html#.UFn7Ia5-m1s

นโยบายพลังงาน'LPG'ใครได้ใครเสีย(1)

นโยบายพลังงานก๊าซแอลพีจี ใครได้ ใครเสีย (1) : รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

 

          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นโยบายของรัฐบาลในการควบคุมราคาก๊าซแอลพีจีเป็นเจตนาดีในการช่วยเหลือภาค ครัวเรือนให้ใช้เชื้อเพลิงสะอาด ในราคาไม่สูงมาก และลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งปริมาณการใช้ในภาคครัวเรือนไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากจนเป็นภาระ แต่เมื่อเกิดวิกฤติราคาน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ.2550 ทำให้มีรถยนต์ปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนเป็นภาระกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องนำเงินมาอุดหนุนด้านราคา

          ทั้งนี้ หากประเทศไทยยังต้องมีการตรึงราคาก๊าซแอลพีจีต่อไป จะเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานที่ไม่ถูกต้อง เป็นการใช้พลังงานที่มีราคาถูกแบบสิ้นเปลืองและไม่รู้ค่า เพราะรัฐช่วยแบกรับภาระบางส่วนไว้ ทำให้ผู้ใช้พลังงานไม่รู้สึกว่าต้องช่วยกันประหยัดพลังงาน ระดับราคาพลังงานที่ต่ำเป็นปัจจัยให้เกิดการเร่งให้นำทรัพยากรของชาติมาใช้ อย่างรวดเร็วและอาจไม่เหลือทรัพยากรพลังงานแก่คนรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป 
          ดังนั้น ในระยะสั้น การตรึงราคาก๊าซแอลพีจีอาจช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ แต่ในระยะยาวก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องต่างๆ อาทิ 1.ไม่ส่งเสริมการประหยัดและการใช้พลังงานทดแทน 2.ไม่ช่วยลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้า 3.สูญเสียเงินตราต่างประเทศ 4.ฐานะการคลังอ่อนแอ (การขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะ) และ 5.ลักลอบส่งออกก๊าซแอลพีจีไปประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในปัจจุบัน ราคาแอลพีจีของไทยยังต่ำกว่าเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดการลักลอบส่งออกขายประเทศเพื่อนบ้าน คาดว่าปริมาณการลักลอบไม่ต่ำกว่า 5,000 ตันต่อปี
          การปล่อยลอยตัวราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงการนำพลังงานไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูง สุด เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในระยะยาว ในปี 2554 ไทยมีปริมาณการผลิตก๊าซแอลพีจี ประมาณ 5 ล้านตันต่อปี ในขณะที่มีปริมาณการใช้สูงถึงเกือบ 6.5 ล้านตันต่อปี
          จากสถานการณ์การนำเข้าก๊าซแอลพีจีของไทยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ภาครัฐต้องมีนโยบายลอยตัวราคาก๊าซแอลพีจีเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 โดยที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบให้ปรับราคาก๊าซแอลพีจี ณ โรงกลั่น ให้สะท้อนราคาตลาดโลกมากขึ้น โดยกำหนดให้ราคาก๊าซแอลพีจี ณ โรงกลั่นเท่ากับ 76% อิงราคาก๊าซแอลพีจีตลาดโลก และ 24% อิงราคาควบคุมปัจจุบันที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (10,323 บาทต่อตัน) ในขณะที่ราคา ณ โรงแยกก๊าซคงที่ที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (10,323 บาทต่อตัน) 
          หากไม่ปรับราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีให้สะท้อนราคาตลาดโลก จะส่งผลให้การใช้และการนำเข้าให้สูงเกินกว่าขีดความสามารถในปัจจุบัน และภาระกองทุนน้ำมันฯ จะเพิ่มขึ้น แม้จะมีการปรับราคา ณ โรงกลั่นของกลุ่มโรงกลั่น


source : http://www.komchadluek.net/detail/20120817/137788/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99LPG%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%281%29.html#.UFn7PK5-m1s


เปิดหลักฐานฯราคาก๊าซหุงต้ม

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เยอรมนีเปิดตัวรถบัสยาวที่สุดในโลก 101 ฟุตจุได้256คน

source :
ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กันยายน 2555
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000109077

       เดลิเมล์ - เยอรมนีเปิดตัว "ออโตแทรม เอกซ์ตรา แกรนด์" รถบัสยาวที่สุดในโลกช่วงต้นสัปดาห์ โดยมันมีความยาวเกือบ 101 ฟุต และสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า 250 คน แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
      
       ออโตแทรม เอกซ์ตรา แกรนด์ พัฒนาโดยเหล่านักวิจัยด้านระบบสาธารณูปโภคและการจราจรของสถาบันฟรอนโฮเฟอร์ โดยมันมี 4 ตอน ความยาวราวเกือบ 101 ฟุต(ราว 31 เมตร) สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ทั้งหมด 256 คน และข่าวดีสำหรับผู้ที่รักสิ่งแวดล้อมก็คือรถบัสคันนี้ใช้พลังงานไฟฟ้า
       รถบัสยาวเฟื้อยคันนี้ถูกเปิดตัวที่เมืองเดรสเดน ทางตะวันออกของเยอรมนีเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา และมันจะเริ่มวิ่งทดสอบภายในเมืองดังกล่าวภายใต้การดูแลของสำนักงานขนส่งท้อ นถิ่นเร็วๆนี้ ขณะที่ได้มีคำสั่งซื้อรถบัส ออโตแทรม เอกซ์ตรา แกรนด์ มาจากปักกิ่งและเซียงไฮ้ แล้ว แม้จะมีราคาสูงถึง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ราว 315 ล้านบาท)ต่อคัน
      
       มัตธีอัส คลิงเกอร์ ผู้อำนวยการของสถาบันฟรอนโฮเฟอร์ เผยว่า "นวัตกรรมของออโตแทรม ไม่ใช่แค่ความยาวของมัน แต่ยังรวมไปถึงประสิทธิภาพทั้งหมดของมันที่สามารถหักเลี้ยวเหมือนรถบัสขนาด เล็ก 12 เมตรทั่วๆไป" เขากล่าว "มันไม่มีปัญหาด้านการเข้าโค้งและทรงตัว แต่เราก็จำเป็นต้องตระหนักว่ารถบัสความยาวเช่นนี้ ส่งผลกระทบต่อการจราจรในเมืองหรือไม่"
       รถบัสคันนี้เป็นส่วมผสมระหว่างความจุผู้โดยสารที่พอๆกับรถไฟขบวน เล็กๆคันหนึ่ง แต่สามารถเคลื่อนไหวเหมือนรถบัสและขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไฮบริด ที่จะทำการชาร์จไฟเข้าสู่แบตเตอรี่โดยอัตโนมัติในขณะขับขี่
      
       ขณะเดียวกันพนักงานขับรถก็ไม่จำเป็นต้องไปสอบใบอนุญาตขับขี่พิเศษ เนื่องจากรถโดยสารคันนี้ติดตั้งระบบพวงมาลัยที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
       ด้วยที่ระบบนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและมีราคาถูกกว่าระบบการ เดินรถไฟ จึงจุดชนวนให้หลายเมืองสอบถามเกี่ยวกับรถบัสยาวที่สุดในโลกนี้มาเป็นจำนวน มาก "ออโตแทรม ถูกมองว่ามีความเหนือกว่าหากเทียบกับระบบรถไฟรางเบา" คลิงเกอร์กล่าว
      
       ขณะที่ ออโตแทรม เอกซ์ตรา แกรนด์ ถูกยกให้เป็นรถบัสที่มีความยาวที่สุดในโลก รถบัสที่จุมากที่สุดในโลกได้แก่นิว ไลเนอร์ ซีรีส์ ของจีน ซึ่งสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 300 คนบนรถบัสที่มีความยาว 82 ฟุต(ราว 25 เมตร)