วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ดุลยภาพโลกกับเออีซี-จีน โอกาสและความเสี่ยง(1)

โดย : ทิฆัมพร ศรีจันทร์
source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/asean-plus/20120627/458741/ดุลยภาพโลกกับเออีซี-จีน-โอกาสและความเสี่ยง(1).html


แกนของโลกกำลังเปลี่ยน นักวิชาการและกูรูระดับโลกวิเคราะห์ไว้อย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อแกนของโลกหมุนกลับมาสู่เอเชียมากขึ้น

ในทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 21 โลกกำลังเปลี่ยนขั้วอำนาจ จากตะวันตกสู่ตะวันออก หรือ เรียกยุคใหม่นี้ว่า “บูรพาภิวัฒน์”(1) โดยมีจีนและอินเดียเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ขณะที่รัสเซียก็กลับมาแข็งแกร่งมากขึ้น ส่วนตะวันออกกลางดินแดนแห่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ กลายเป็นนักลงทุนระดับโลก

ไม่เพียงแต่เอเชียที่เติบโตขึ้น แต่บราซิลแห่งทวีปอเมริกาใต้ก็มีเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างมากเม็กซิโกจะกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอเมริกากลาง

ด้านมหาอำนาจเดิมอย่างสหรัฐกำลังถดถอยลงทุกด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนฐานะจากเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด เป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดแทน โดยมีเจ้าหนี้ คือ จีน ญี่ปุ่นและประเทศผู้ผลิตน้ำมันแห่งตะวันออกกลาง ทำให้ขนาดเศรษฐกิจสหรัฐลดลงจาก ร้อยละ 50 ของโลก ในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เหลือเพียงร้อยละ 20 ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ในเชิงเศรษฐกิจ สหรัฐที่ประสบภาวะวิกฤติที่เรียกว่าแฮมเบอรก์เกอร์ไครซิส ส่งผลให้สหรัฐต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวอย่างยาวนาน ประมาณการว่าอีก 10 ปีข้างหน้า หรือ ปี 2019 หนี้สาธารณะของสหรัฐจะพุ่งไปอยู่ที่ 14.3 ล้านล้านเหรียญ พร้อมกับการแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนมากขึ้น

ขณะที่พันธมิตรของสหรัฐอย่างยุโรปหรือเรียกกันว่าชาติตะวันตกอีกกลุ่มหนึ่ง ก็ต้องเผชิญกับหนี้สาธารณะท่วมและคนว่างงานเพิ่ม ซึ่งหากพิจารณาสัดส่วนหนี้สาธารณะของยุโรปทั้งหมดต่อจีดีพี พบว่าอยู่ที่ ร้อยละ 90 ของผลผลิตทวีป และในช่วง 3 ปีข้างหน้า สัดส่วนหนี้ดังกล่าวจะเพิ่มเป็น ร้อยละ 100 ขณะเดียวกัน ยุโรปกำลังเข้าสู่วัยชรา หรือ ประชากรส่วนใหญ่มีอายุ สี่สิบสอง - สี่สิบหก และอัตราการเกิดต่ำ

ด้านญี่ปุ่นแม้จะอยู่ในเอเชีย แต่ได้พัฒนาเศรษฐกิจไปก้าวหน้าทัดเทียมกับชาติตะวันตกในยุคก่อนหน้านี้ แต่ขณะนี้กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก หนี้สินภาครัฐหรือ หนี้สาธารณะร้อยละ 190 ต่อจีดีพี และสังคมญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่วัยชราเหมือนกับอียู

หากพลิกปูมประวัติศาสตร์จะพบว่า ศตวรรษที่ 19 - 20 ที่ผ่านมาเป็นของตะวันตก แต่ศตวรรษที่ 21 จะเป็นของเอเชียและซีกโลกตะวันออก ทำให้ไทยและอาเซียนต้องหันมาให้ความสำคัญกับโลกตะวันออกมากขึ้น เพื่อไม่ให้ “ตกขบวน” เพราะจะพลาดโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)

พร้อมกับแกนโลกที่หมุนมายังเอเชีย ทางกลุ่มอาเซียนเองได้ตั้งเป้าหมายการรวมกลุ่มกันกระชับมากขึ้นเป็นประชาคมอาเซียนหรือเอซี โดยมีความร่วมมือในสามเสาหลัก ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม วัฒนธรรม

กล่าวสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี มีเป้าหมายการเปิดเสรี สร้างตลาดร่วมที่อนุญาตให้สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานฝีมือสามารถเคลื่อนย้ายได้ภายใต้ข้อกีดกันลดลงเพื่อสร้างฐานการผลิตร่วมกัน การเร่งส่งเสริมให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการส่งเสริมภาวการณ์แข่งขันในระบบตลาด เป็นภูมิภาคที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและเป็นภูมิภาคที่มีปฎิสัมพันธ์กับประชาคมโลกมากขึ้น(2)

โดยมีหลักไมล์สำคัญในปี 2558 ต้องรวมตัวสร้างประชาคมให้สำเร็จ ระยะเวลาเพียง 2-3 ปีที่เหลือจึงต้องเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเอง พัฒนาเมือง ตึกรามบ้านช่อง ที่อยู่อาศัยเพื่อต้อนรับการมาของนักลงทุนต่างชาติที่เห็นโอกาสตลาดเกือบ 600 ล้านคนในภูมิภาคนี้

เออีซีพัฒนามาจากการเปิดเสรีภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า ปี2535 รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ลงนามข้อตกลงเปิดเสรีสินค้าลดภาษีเหลือ0-5%ภายใน 15 ปีการลดภาษีดังกล่าวทำให้เกิดโอกาสขยายตัวทางการค้าอย่างกว้างขวาง ตลาดอาเซียนก้าวขึ้นเป็นตลาดส่งออกของไทยอันดับแรกแซงหน้าสหรัฐ ยุโรป ผู้บริโภคในแถบอาเซียนต่างให้ความนิยมและเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าไทย ในสินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องคอมพิวเตอร์ ยานยนต์ ชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และน้ำมัน

ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียน ก็มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลายประเทศมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ไม่นับรวมสิงคโปร์ที่พัฒนาไปก่อนหน้าแล้ว แต่ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนามก้าวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามท่ามกลางโอกาสของตลาดที่เปิดกว้างขึ้นอย่างที่กล่าวตอนต้น การก้าวไปสู่เออีซีก็มีความเสี่ยงไม่น้อยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันมากระหว่างอาเซียนเดิมและกลุ่มอาเซียนใหม่หรือซีแอลเอ็มวี ซึ่งระดับการพัฒนาที่ยังมีช่องว่างต่างกันมาก เช่น ประชากรสิงคโปร์กับประชากรพม่ามีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่างกันถึง 60 เท่า ระดับรายได้ที่ต่างกันส่งผลไปถึงอำนาจซื้อที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้สินค้าที่กลุ่มอาเซียนผลิตยังคล้ายกัน ส่งผลให้ชาติอาเซียนแข่งขันกันเองสูงมาก แทนที่จะมุ่งสร้างฐานผลิตร่วมกัน เช่น เวียดนามที่ให้การยอมรับว่าเป้าหมายเออีซีเป็นเรื่องยากที่จะทำให้สำเร็จตามเป้าหมายปี 2558 เนื่องจากเศรษฐกิจเวียดนามและภูมิภาคนี้ขับเคลื่อนด้วยการส่งออก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะแข่งขันกันเองและตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและสหรัฐ เมื่อเศรษฐกิจผู้นำเข้าถดถอย ผู้นำเข้าจำเป็นต้องชะลอการรับซื้อ เวียดนามจึงต้องเอาตัวให้รอดก่อน ความร่วมมือจึงอยู่ภายใต้พื้นฐานการแข่งขันและความหวาดระแวง คลางแคลงใจ หลายประเทศในอาเซียนเองก็มีแนวคิดเช่นเดียวกัน
อาเซียนยังมีจุดอ่อนและความเสี่ยงด้านการศึกษาและการพัฒนาคน โดยแต่ละประเทศใช้งบประมาณเพื่อการวิจัยและการพัฒน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในโลก การทุ่มวิจัยและพัฒนาน้อยจะทำให้ภูมิภาคมีจุดด้อยในด้านเทคโนโลยี ซึ่งทำให้ภูมิภาคยังคงเป็นผู้รับจ้างผลิตในระบบการผลิต มิใช่การสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจสมัยใหม่จากความคิดสร้างสรรค์

การก้าวสู่เป้าหมายเออีซีของอาเซียน ยังจำเป็นต้องมีอาเซียนสปิริตและอาเซียนเฟิร์สต์ โดยทุกระดับต้องให้ความสำคัญกับอาเซียนเป็นอันดับแรก หรืออาเซียนต้องมาก่อนในทุกด้าน เพื่อผนึกความร่วมมือในการพัฒนาไปสู่ฐานการผลิตเดียวกันเหมือนกับสหภาพยุโรป หรือ อียู มีอียูเฟิร์สต์ และที่สำคัญอาเซียนต้องเชื่อมโยงกับประเทศนอกกลุ่ม โดยเฉพาะตลาดที่เปิดใหม่และมีพัฒนาการที่รวดเร็วอย่างจีน
การสร้างประชาคมยาก จะต้องสร้างสปิริตของอาเซียนขึ้นมาให้ได้เพื่อเป้าหมายรวมกันเป็นหนึ่ง เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และพลเมืองของอาเซียน โดยเฉพาะไทยฝ่ายการเมืองต้องเข้มแข็ง ถือธงนำและผลักดันจริงจังมากกว่านี้

อาเซียน-จีน

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นเศรษฐกิจโลกจะหมุนมาเอเชีย โดยจีนจะมีบทบาทสำคัญเป็นหัวเรือใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเอเชียและเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 โดยช่วง 10ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนขยายตัวแบบดับเบิลดิจิตมาโดยตลอด เพิ่งลดความร้อนแรงลงเล็กน้อยในช่วง1-2 ปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดปรับประมาณการเศรษฐกิจปี2555ของตนเองลงเหลือโตแค่ร้อยละ 7.5 แต่ไม่ได้สะท้อนนัยยะในเชิงถดถอย เพียงแค่ลดความร้อนแรงลงเท่านั้น

จีนประกาศตัวเป็นโรงงานการผลิตของโลก ผลิตสินค้าส่งออกแทบทุกรายการป้อนให้กับตลาดโลกเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศ โดยอาศัยค่าแรงงานต่ำในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการฐานการตลาดใหญ่ประชากร1.2พันล้านคน สร้างแรงจูงใจให้ทุนต่างชาติไหลเข้าไปลงทุนในจีนมากมายมหาศาลในช่วงที่ผ่านมา

การส่งออกและการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ได้ทำให้จีนสะสมความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น โดยมีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยดังกล่าวจึงผลักดันให้จีนเริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 12 ของจีนที่เน้นก้าวไปข้างนอกเพื่อรักษาความสมดุลและเน้นพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีคุณภาพ

ความสัมพันธ์ไทย-จีนและอาเซียน-จีน

ไทยกับจีนได้ตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีก่อน โดยเปิดเสรีสินค้าผัก ผลไม้ เป็นลำดับแรก ก่อนพัฒนามาอยู่ภายใต้กรอบอาเซียน-จีนในปี 2547และลดภาษีมากกว่าสินค้ามากกว่า 5,000 รายการให้เหลือร้อยละ0ในปี2553 พร้อมกับเป้าหมายเปิดเสรีบริการและการลงทุน โดยมีสินค้าสงวนให้เหลือน้อยที่สุด
การเปิดเสรีดังกล่าวสร้างโอกาสให้กับไทย จีน และอาเซียนเป็นอย่างมาก โดยจีนกลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญของอาเซียน รวมทั้งไทยในหลากหลายสินค้าทั้งชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มันสำปะหลัง ยางพารา

จีนกำหนดให้เมืองหนานหนิงเป็นศูนย์กลางเชื่อมอาเซียน และให้เมืองคุนหมิงเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมมายังเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาทางออกลงทะเล โดยการเร่งพัฒนาเส้นทางรถไฟคุนหมิงผ่านลาวมายังไทยผ่านไปมาเลเซียและสิ้นสุดที่สิงคโปร์ ด้านถนนพัฒนาเส้นทางสายอาร์เก้า อาร์สามเอ เชื่อมโยงกรอบความร่วมมืออนุภาคลุ่มน้ำโขง

ขณะเดียวกันโอกาสในการลงทุนในจีนยังเปิดกว้าง โดยเฉพาะในธุรกิจบริการหลากหลายทั้งด้านบันเทิง อาหาร การท่องเที่ยว โรงแรม ที่จีนเปิดรับนักลงทุนมากขึ้นในหลายๆมณฑล

อย่างไรก็ดีโอกาสของตลาดที่เปิดกว้างขึ้น กำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น มาพร้อมกับความเสี่ยงหลายประการในการทำการค้าการลงทุนกับจีน โดยเฉพาะมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ที่จีนนำมาใช้มากขึ้นในระยะหลัง ทั้งการตรวจสุขอนามัยพืชและสัตว์ที่เข้มข้น มาตรฐานสิ่งแวดล้อมถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้า ส่งผลให้สินค้าผัก ผลไม้ไทยเข้าไปทำตลาดจีนยากลำบากขึ้น เนื่องจากถูกกักกันที่ด่านเพื่อตรวจสอบเป็นระยะเวลาหลายวันส่งผลให้สินค้าเน่าเสีย รวมทั้งการกระจายสินค้าที่ยังไม่ได้รับการอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ทำให้สินค้าไทยเข้าไปจีนไม่คล่องตัวมากนัก

นอกจากนี้ยังมีระบบภาษีที่ซ้ำซ้อน โดยหลังจากที่สินค้าผ่านเข้าด่านไปถึงแต่ละมณฑลภายในของจีนจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกต่อหนึ่ง ส่งผลให้ผู้ส่งออกมีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการเสียภาษีซ้ำซ้อนทั้งที่ภายใต้ข้อตกลงจะมีการยกเว้นภาษี แต่อาศัยอำนาจรัฐบาลท้องถิ่นในการเก็บภาษีเพิ่ม ขณะที่ผู้ผลิตภายในได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้ผู้ส่งออกไทยค่อนข้างเสียเปรียบ

การทำการค้ากับจีนยังเสี่ยงที่จะต้องถูกลอกเลียนแบบสินค้า หรือ ปลอมแปลงสินค้าหากสินค้าไทยได้รับความนิยมทั้งปลอมแปลงแบรนด์และผสมขึ้นใหม่ เช่น นำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยไปผสมกับข้าวในจีนและระบุที่มาจากไทย ส่งผลให้คุณภาพข้าวหอมมะลิไทยเสียหายและตัดโอกาสทางการค้าของไทย
ความเสี่ยงอีกประการในการทำ การค้า การลงทุนกับจีน คือ กฎระเบียบในการทำการค้า โดยจีนมักอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวมากกว่ายึดถือกฎระเบียบ การเข้าทำตลาดจีนจึงต้องศึกษาประเพณีวัฒนธรรมให้ชัดเจน เช่น ผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ การไปเยี่ยมพบหน่วยงานรัฐหรือผุ้ใหญ่ภาคเอกชน ต้องมีสิ่งของไปคารวะจะได้รับความสะดวกมากขึ้นสะท้อนการไม่ยึดถือกฎ กติกา การค้าของจีน

จากความเสี่ยงที่ได้กล่าวมา รัฐบาลไทยและอาเซียนต้องให้ความช่วยเหลือภาคเอกชน โดยรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต้องเป็นทัพหน้าในการเจรจาแก้ไขปัญหาอุปสรรค เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะหากมีการเจรจาทบทวนข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน กลุ่มอาเซียนต้องผนึกกำลังกันกดดันให้จีนลด ละ เลิก มาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้า พร้อมกับเจรจาเปิดเสรีเพิ่มในส่วนของภาคบริการและการลงทุน ซึ่งจีนยังปิดกั้นในหลากหลายธุรกิจเพื่อให้เป็นประโยชน์กับอาเซียนอย่างแท้จริง

(มีต่อตอน2)
อ้างอิง(1)บูรพาภิวัฒน์ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (2) 10 จุดอ่อนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปิติ ศรีแสงนาม

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนวโน้มด้านพลังงาน ที่เป็นปัจจัยหลัก 3/3

การตั้งถิ่นฐาน สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ใน 100 ปี ข้างหน้า
  : แนวโน้มด้านพลังงาน ที่เป็นปัจจัยหลัก  3/3


 (Source : http://www.sunflowercosmos.org/climate_change/climate_change_home/inhabited_3.html)

 
 
การพัฒนาการด้านพลังสู่เยาวชนรุ่นใหม่เป็นสิ่งที่รัฐต้องให้ความสำคัญ
 
จิตสำนึกคือ ปัจจัยและตัวแปร เรื่องพลังงาน
 
 
ความเป็นไปได้ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ การเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานสร้างความกังขาจากเทคโนโลยีที่ยังไม่สิ้นสุด ทำให้กว่าครึ่งอาจไม่เข้าใจ ยึดติดกับรูปแบบเดิมจากพลังงานเดิมๆ ปัญหาใหญ่คือ นักการเมืองหรือรัฐ ที่จะสนับสนุน อธิบายสร้างความเข้าใจไปสู่กลุ่มประชากรของตน ได้ชัดแจ้งหรือไม่ มีองค์กรคอยสนับสนุนถึงผล ลัพธ์เช่นไร โดยจะหวังพึ่งเพียงนักวิชาการไม่เพียงพอและทันเวลา

ความนิยมสนใจกลายเป็นกลุ่มที่มีความรู้ กลุ่มประชากรรุ่นใหม่ หรือกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องใช้ในชนบทที่ระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เป็นกลุ่มแรกๆ

คงคิดเหมือนกันเกือบทั้งประเทศ ว่าเมื่อน้ำมันแพงมีราคาสูง แก้ไขเหตุการณ์โดยเปลี่ยนเป็นระบบก๊าซ แต่ทราบหรือไม่ว่าอีกไม่นานก๊าซก็จะหมดไปอีกก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ หรืออื่นๆต่อไป นั่นคือวิถีที่จำเป็น

การเลือกใช้พลังงานแบบผสมผสาน ในชีวิตประจำวันน่าจะเป็นทางออกเหมาะสมกับสถานการณ์ และด้วยสาเหตุปลูกฝังแนวความคิดดั้งเดิมอย่างยาวนาน เป็นตัวขัดขวางเงื่อนไขการใช้พลังงาน ให้เกิดความไม่ถูกต้องมากมาย พูดคุยกันไม่รู้จบมานานนับปี เช่น

การใช้รถยนต์ส่วนตัวไปในทุกกรณี ถือเป็นค่านิยม หากไม่ขับรถไปรู้สึกไม่สะดวก ในบางกรณีอาจไม่จำเป็นก็ควรลดลงบ้างตามความเหมาะสม แท้จริงแล้วหลายประเทศเฉพาะญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ มักใช้รถส่วนตัวในวันหยุดสำหรับครอบครัวมากนานแล้ว นี้เพียงเป็นตัวอย่างแห่งค่านิยม ผสมกับความจำเป็นไม่สามารถแยกออกจากกันจากจิตสำนึกได้

เพราะฉะนั้นแนวโน้ม เรื่องพลังงานย่อมมีเรื่องจิตสำนัก รวมถึงรัฐเป็นตัวแปรเป็นปัจจัยร่วมสร้าง ความสะดวกในการเดินทาง ของประชากรให้มากขึ้นกว่าเดิม

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ประชากรรุ่นใหม่ เข้าใจสถานะได้ดีกว่า พร้อมจะยอมรับการการพลิกผันด้านพลังงาน ที่ต้องพบกับเดือดร้อนในอนาคต อย่างมีเหตุผล
 
 
กิจกรรมด้านพลังงานอนาคต อยู่กับความสามารถเยาวชนแต่ละประเทศ
 
โรงเรียนฝึกวิชาชีพ ด้านพลังงานเกิดขึ้น
 
 
แม้ว่าปัจจุบันเรารู้จักพลังงานธรรมชาติทุกชนิด แต่การแพร่หลายทางเทคนิคมีข้อจำกัดมาก เรามีช่างแอร์ ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ช่างซ่อมรถยนต์ ในทุกๆแห่งที่เราไป แต่ช่างที่ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ยังเห็นภาพไม่ชัดในขณะนี้

อนาคตจะพบเห็น ช่างเทคนิคระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ช่างซ่อมรถยนต์ระบบ Hydrogen fuel cell อย่างแพร่หลาย พร้อมมีโรงเรียนระดับวิชาชีพในด้านพลังงานเกิดขึ้น หรืออาจมีแผนกการสอนโดยเฉพาะทางที่ชัดเจนขึ้น เกิดภาพกิจกรรมการแข่งขันด้านพลังงานตั้งแต่ระดับเยาวชน

นอกจากนั้นในการคำนวณ ออกแบบยังเน้นไปในเรื่อง Green Buildings ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรด้านสถาปัตยกรรม มัณฑนะศิลป์ อย่างเข้มข้นเพื่อการประหยัดพลังงาน รวมถึงวิธีการดีไซน์ ติดตั้งถูกต้องจากข้อมูลสภาพพื้นที่ภูมิประเทศนั้นๆ
 
 
การฝึกติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ของ The Electrical Industry Training Center (EITC)
 
 
เมื่อ โลกมีความพร้อม ด้านต่างๆมากขึ้น รูปแบบอำนวยความสะดวกของพลังงาน ย่อมส่งผลในเรื่องการแข่งขัน เป็นปัจจัยทำให้ราคาถูกลง คำว่าถูกลง คงไม่ใช่ถูกเหมือนเคยแล้ว เพราะมีองค์ประกอบของลิขสิทธิ์ ความคิดบวกเป็นต้นทุนไปในสินค้านั้นๆด้วย

อย่างน้อยระยะ 10-20 ปี การปรับสภาพของระบบเศรษฐกิจ เป็นตัวบังคับไปโดยปริยายต่อปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมๆกับความเข้าใจ หลังจากนั้นรูปแบบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ใช้พลังงานชนิดใหม่ๆ จะเข้าสู่ความเป็นปกติ หลังจากการต่อสู้ทางการตลาดของโลกอย่างยาวนาน จนได้รับความนิยมในทิศทางหนึ่งทิศทางใดที่เป็นพลังงานสะอาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภูมิภาคโลก
 
 
พบเห็นสถานีจ่ายพลังรูปแบบใหม่ สำหรับชุมชน
 
 
แนวคิดและทดลองด้านอากาศยานของ NASA ตั้งแต่ ค.ศ. 2001
 
ชาวไร่ ชาวนาในชนบท มีธุรกิจใหม่ ค้าพลังงานแสงอาทิตย์
 
 
อาจมองดูเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ แต่สามารถอธิบายได้ว่า อนาคตสภาพพื้นที่น้อยลงจากการเติบโตของประชากรเมือง จำนวนความต้องการ พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ผืนดินที่เหลืออยู่ตามชนบท ที่มีแสงอาทิตย์ส่องถึง สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และจัดตั้งระบบจำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์

เนื่องจากมีพื้นที่เหลือเยอะ พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร เกิดการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านพลังงานแสงอาทิตย์เกิดขึ้นหลังจากเกิดขาดแคลน น้ำมัน ก๊าซ อย่างชัดเจน

ธนาคารให้การสนับสนุนโครงการมากขึ้น เป็นการลงทุนครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียวเกิดผลประโยชน์ วันแรกที่โครงการแล้วเสร็จ สามารถเก็บดอกผลได้ 15-20 ปี

จากการขายพลังงานไปยังผู้ใช้หรือการไฟฟ้าโดยไม่ต้องดูแลมากและไม่เสี่ยง ทั้งนี้ประชากรในเขตเมือง ไม่สามารถจะทำธุรกิจประเภทนี้ได้ง่ายเพราะขาดแคลนพื้นที่ ซึ่งต้นทุนค่าที่ดินสูงว่าชนบท

ปัจจุบันเป็นเรื่องที่ หลายประเทศได้มีการลงทุนกันแล้ว ต่อไปคาดว่าคงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก แนวโน้มเป็นอาชีพยอดนิยมในอนาคตอีกหลายร้อยปีต่อไป
 
 
Solar farm ขนาด 12 megawatt ใน Bavaria
 
 
Solar farm ขนาด 11 megawatt ใน Serpa, Portugal
 
 
Solar farm ใน North Africa
 
Energy Hydrogen Technology พัฒนาสู่ระบบสากลทั่วโลกต่อไปอีก
 
 
Hydrogen Fuel Cells system ในรถยนต์
 
  จากภาพรวมเห็นได้ว่า มีการขยายตัว พัฒนาด้านพลังที่เป็นปัจจัยหลัก เพื่อการดำรงชีพของมนุษย์ ไปในหลายๆทิศทาง แต่สุดท้ายแล้ว การใช้พลังงานรถแบบผสมผสานคาดว่า น่าจะเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ด้วยความสะดวกสามารถปรับใช้ตามลักษณะสภาพแวดล้อม ในภูมิภาคต่างๆของโลกได้

ต้องยอมรับว่า สถานการณ์เปลี่ยนแปลงของอากาศ มีผลกระทบต่อการเลือกใช้พลังงานจากธรรมชาติ เพราะฉะนั้นแนวคิด ที่ใช้เทคโนโลยี่แบบผสมผสานคงจะได้เปรียบกว่ายิ่งขึ้น

เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 2004 DTE Energy Hydrogen Technology เป็นการสาธิตและออกแบบ เพื่อใช้เป็นระบบสากล จาก Hydrogen gas ในน้ำผสานกับพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไบโอ พลังงานลม หรือจากพลังไฟฟ้า อย่างหนึ่งอย่างใดโดยเก็บกักไว้ภายใต้แรงกดดัน นำมาแปลงรูปแบบให้เป็นพลังงานเพื่อ สำนักงานขนาดเล็กต่อหนึ่งชุด บ้านอยู่อาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือนต่อหนึ่งชุด หรือรถยนต์ได้ติดต่อกัน 3 วัน ให้ความสะดวกมากยิ่งขึ้น

ขณะนี้อยู่ในขั้นการทดลอง มุ่งเน้นให้สามารถใช้ได้ ในสภาพความเป็นจริง สร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดได้จริง พร้อมทั้งประหยัดมีมาตรฐานความปลอดภัยเป็นประเด็นสำคัญ แนวความคิดจะยุติปัญหามลพิษในอากาศ ต้นเหตุของปฏิกิริยาเรือนกระจก จากการใช้เชื้อเพลิงชนิดฟอสซิล และเป็นช่วยประหยัดต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโลก
 
ข้อสรุปโดยภาพรวม เรื่องแนวโน้มด้านพลังงานที่เป็นปัจจัยหลักใน 100 ปี
 
 
เชื่อว่าเกิดการปฎิวัติการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานบนโลกครั้งใหญ่
ด้วยความจำเป็น 3 ปัจจัยหลัก คือ

1.เชื้อเพลิงประเภท ฟอสซิล เริ่มขาดแคลนทำให้มี ต้นทุนสูงขึ้นพร้อมกับนักลงทุนมีช่องทางเก็งกำไรสินค้าพลังงาน ยิ่งเพิ่มราคาอย่างไร้จุดหมาย

2.ต้นทุนของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เริ่มถูกลงด้วยการพัฒนาด้านเทคนิคใหม่ๆ พร้อมเกิดความสะดวกในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซื้อหาง่ายขึ้น    ในทำนองเดียวกัน ราคาค่าไฟฟ้าในทั่วโลกขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พลังงานจากธรรมชาติ เริ่มมีจุดคุ้มทุนที่เห็นชัดยิ่งขึ้น

3.ประชากรโลกให้ความสนใจ ช่วยกู้วิกฤตโลกร้อนโดยจิตสำนึกมากขึ้นและเข้าใจถึงความจำเป็น ท้ายที่สุดมีความคุ้นเคยขึ้น เกิดความนิยมด้วยผลการประหยัดเป็นตัวเกื้อหนุน

เกิดผลกระทบสู่ระบบตลาด ธุรกิจเกี่ยวข้องกับ พลังงานประเภท ฟอสซิล ในทางตรงและทางอ้อม เช่น ตลาดหุ้นน้ำมันซบเซา ธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงเปลี่ยนแปลงแปลงไป ระบบขนส่ง คมนาคมมีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่

ระบบเครื่องใช้ไฟฟ้า จากระบบ AC สู่ระบบ DC บางส่วนหรือจัดทำเป็น 2 ระบบ เพื่อการใช้งานในครัวเรือน โดยมีปัจจัยเสริมด้านการตลาดประกอบ ที่จะทำให้เชื่อถือเข้าใจถึงพลังงานแบบใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย ในระดับอุตสาหกรรมอาจได้รับการพัฒนาไปในหลายทางเลือกโดยมุ่งเน้น เรื่องพลังงานสะอาด ประหยัดกว่า แต่ก็จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมด้านเทคโนโลยี เช่น จากพลังงานแสงอาทิตย์,
Hydrogen fuel cell หรือไบโอดีเซล กระทั้งระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ถ้าเป็นการลงทุนใหม่ทั้งระบบ อาจทำให้ต้นทุนการขายสินค้าภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นในเบื้องต้น

ระบบรถยนต์ ขนส่งแนวโน้มสู่ พลังงานแบบ Hydrogen fuel cell และ Solar cell ไปพร้อมๆกัน ความนิยมขึ้นอยู่กับระบบใดมีความสมบูรณ์มากกว่า ค่าเฉลี่ยต้นทุนบวกความคล่องตัว สะดวกกว่า เป็นปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และอาจมีการแย่งตลาดจากรถยนต์ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี (Hybrid cars) ได้เช่นกัน

ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับบ้านเรือนประชากร ประเทศที่มีระบบพลังงานจากน้ำหรือลม จากเดิมอยู่แล้วย่อมได้เปรียบในเรื่องต้นทุน แต่จำนวนที่ต้องเพิ่มกำลังการผลิตเป็นปัญหาหลักของรัฐบาลแต่ละประเทศ อาจไม่ทันการที่จะต้องก่อสร้างใหม่ โดยหันมาสนับสนุนให้เอกชน จัดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าเป็นเครือข่ายจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม ตามความเหมาะสมแต่ละภูมิภาคจนเกิดเป็นอาชีพธุรกิจใหม่อย่างกว้างขวาง

อย่างไรก็ตามเงื่อนไข พลังงานที่ปัจจัยหลักจากธรรมชาติ ยังมีให้มนุษย์เลือกใช้อย่างไม่สิ้นสุดอีกนับพันล้านปี ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแรงลมพลังงานน้ำ พลังงานไฮโดรเจน ในกลไกของ ระบบจักรวาล ที่ยังส่งผลมาสู่ระบบสุริยะ และโลก

เชื่อว่าท้ายที่สุด รูปแบบการพัฒนาพลังงานที่เป็นปัจจัยหลัก ของมนุษย์ในอนาคตก้าวไปสู่แบบ Hybrid คือการผสมผสาน ใช้พลังงานร่วมโดยมี พลังงานตัวหลักในชนิดหนึ่งชนิดใด ตามแต่ลักษณะของสภาพภูมิประเทศ กล่าวคือ ประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร มีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวหลัก โดยมี พลังงานไฮโดรเจน หรือ พลังงานน้ำจากเขื่อนเป็นตัวรอง ขึ้นอยู่กับกรณีที่นำไปใช้งานในแต่ละประเภท

ระยะต่อไป สามารถพัฒนา การรับพลังงานจากค่ารังสี Infrared ในเงื่อนไข Nanotechnology ได้เป็นผลสำเร็จสู่ด้านพาณิชย์และอุตสาหกรรม โฉมหน้าของพลังงานอาจเปลี่ยนไปอีก

โดยกลุ่มประเทศที่ได้เริ่มใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานธรรมชาติอื่นๆในยุคนี้ จะมีความได้เปรียบและปรับตัวได้โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป ส่วนประเทศที่มีความเดือดร้อนหนัก คือ ประเทศที่ใช้รูปแบบพลังงานธรรมชาติอย่างล้าช้า

แนวโน้มด้านพลังงาน ที่เป็นปัจจัยหลัก 2/3

การตั้งถิ่นฐาน สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ใน 100 ปี ข้างหน้า
    ตอน: แนวโน้มด้านพลังงาน ที่เป็นปัจจัยหลัก  2/3

 (Source : http://www.sunflowercosmos.org/climate_change/climate_change_home/inhabited_2.html)

 
 
แถบสีน้ำตาลเข้ม สีส้ม และเหลือง แสดงค่าศักยภาพรังสี แสงอาทิตย์สูงตามลำดับ
 
คำตอบเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ ของประเทศไทย
 
 
ความเหมาะสมและแนวโน้มที่เป็นไปได้ จากข้อมูลการสำรวจ ของสำนักงาน พลังงานแสงอาทิตย์ พบว่าพื้นที่ในประเทศไทย มีศักยภาพสูงเพียงพอที่จะรับ รังสีดวงอาทิตย์ ในครัวเรือนทั่วประเทศถึง 99%

โดยตัวเลข รายวันเฉลี่ยต่อปี
ในช่วง 19-20 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 14.3% ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ในช่วง 18-19 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 50.2% ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ในช่วง 17-18 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 27.9 % ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ในช่วง 16-17 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 07.1% ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ในช่วง 15-16 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 00.5% ของพื้นที่ทั้งประเทศ

เท่ากับมีค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ 18.2 MJ/ตรม.ต่อวัน เพราะฉะนั้นนับว่า มีโอกาสใช้ พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดปี เกือบทั่วประเทศมีความได้เปรียบ กว่าพลังงานอื่นๆ
 
 
แผนที่แสดงพลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์ ค่าเฉลี่ยทั้งปี
สีแดงแสดงความเข้มข้นสูงสุดของรังสี ภาพรวมโลกจะรับค่ารังสีราว 45-47%
 
ความเข้าใจเบื้องต้น เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์
 
 
ข้อมูลพื้นฐานของ แสงของรังสี ดวงอาทิตย์ จากตำแหน่งดวงอาทิตย์ในท้องฟ้า เรื่องแรก เป็นตัวกำหนดและคำนวณอธิบายถึง ความสามารถจะนำมาใช้งาน

แสงของรังสีดวงอาทิตย์ ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลก เรียก Extraterrestrial radiation (รังสีจากนอกอวกาศ) ค่าเฉลี่ย 1367 Watts/ตรม.อาจมีค่าสูงต่ำ ±3% ขึ้นอยู่กับวงโคจรระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งบางช่วงเข้าใกล้กันและโลกมีแกน (Axis) ที่เอียงขณะหมุนรอบดวงอาทิตย์ จึงเป็นมูลเหตุของฤดูกาล

โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดแปลงแปลงเล็กน้อย เกี่ยวกับเวลามาตรฐาน ท้องถิ่น เวลาที่แตกต่างกัน เรียกว่า Equation of time(เวลาเส้นศูนย์สูตรโลก) เรานำมาประกอบการเดินเรือในมหาสมุทร ที่นำทางโดยดวงดาว หรือดวงอาทิตย์

ดังนั้นจึงต้องนำมาเป็นข้อมูล คำนวณตำแหน่ง การให้พลังงานจากดวงอาทิตย์และ สิ่งที่ต้องทราบเพิ่มเติมอีกประการคือ เวลาขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์เพื่อเป็นข้อมูล ระยะช่วงวันยาว สั้นแต่ละวันของการให้แสงของรังสีดวงอาทิตย์

ด้วยเวลา ที่ต่างๆกันในแต่ละพื้นที่ และฤดูกาลที่ต่างกัน การหักเหของแสง ในชั้น บรรยากาศของโลก ซึ่งอาจเบาบางมาก แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญควรนำมาคำนวณด้วย ยกตัวอย่างกรณี นี้เพื่อในเห็นภาพชัดขึ้น เรารดน้ำบนพื้นให้เปียกอาจใช้เวลาหลาย ชั่วโมงกว่าจะแห้งสนิท ถ้าไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์ แต่หากแสงอ่อนๆส่องมาถึงพื้นนั้นจะแห้งภายในไม่กี่นาที

รังสีของดวงอาทิตย์ เกิดจากเงื่อนไขหลอมละลายผสมกันของอะตอม (Fusion) ภายในแกนกลาง และพัฒนาการเป็น ความร้อนสู่ชั้นนอกซึ่งเย็นตัวกว่า เกิดเป็น ชั้นบรรยากาศของรังสี ส่องมาสู่โลก โดยรังสีดังกล่าวมีความร้อนไม่มากไปกว่า 5,800 Kelvin

บนชั้นนอกของดวงอาทิตย์ แต่มีระยะความกว้างของคลื่นมาก 200-50,000 nm โดย 47% เป็นแสงที่มองเห็น (Visible wavelengths) มีระยะความกว้างของคลื่น 380-780 nm ส่วนคลื่น Infrared ที่กว้างกว่า 780 nm ขึ้นไป มี 46% และคลื่น Ultraviolet ที่ต่ำกว่า 380 nm มี 7% มองไม่เห็นรวมเป็น Extraterrestrial solar radiation (รังสีดวงอาทิตย์จากนอกอวกาศ)

บางกรณีมีการสะท้อนกลับไปกลับมา จากชั้นบรรยากาศในบางพื้นที่เป็นเรื่องมี ความสำคัญเช่นกันโดยเฉพาะบริเวณที่ปกคลุมด้วยหิมะ จะสะท้อนกลับได้ดี แต่ทั้งหมด แสงของรังสีดวงอาทิตย์ จะฉายแสงลงมาบนพื้นผิวตามแนวตรงเป็นการบวกเพิ่มเติมกันระหว่าง Diffuse radiation และ Normal irradiance เรียกว่าGlobal irradiance
 
 
การฉายแสงของดวงอาทิตย์ เป็นแนวตรงทุกฤดูกาล แต่โลกเอียงทำให้ค่ารังสีรับไม่เท่ากัน
 
 
ถ้าพื้นผิวที่รับแสงเอียงกระดก ก็มีผลต่อการฉายแสงลงมาบน พื้นผิวตามแนวตรง จะทำให้ทั้งหมดของการฉายแสง Diffuse radiation ร่วมกับ Direct normal ลงบนพื้นผิวที่เอียงกระดกบวกเพิ่ม กับการสะท้อนกลับจากพื้นด้านล่างเป็นธรรมดาของ ลักษณะพื้นผิวดังกล่าว

ค่าแสงของรังสีดวงอาทิตย์ ทวีคูณมากขึ้นโดยเฉพาะอยู่ในมุม Zenith (เหนือศีรษะ) เป็นการทำมุมเหมือนตัว T จากนั้นน้อยลงตามลำดับ ตามแนว เหนือ-ใต้ของแกนโลก ลักษณะโดยตรงของผิวพื้นที่เอียงกระดกของโลก เป็นอุปสรรคต่อการฉายแสงแบบ Direct normal

ช่วงกลางวันที่ท้องฟ้าไม่มีเมฆ รังสีของดวงอาทิตย์กระจายตัวและถูกดูดกลืนในชั้นบรรยากาศประมาณ 25% เท่ากับมีค่า แสงของรังสีดวงอาทิตย์ เฉลี่ยราวๆ 1,000 Watts/ตรม. เรียกว่า Direct normal irradiance (การส่องสว่างโดยตรงแบบปกติ) หรือลำแสงปกติ (Beam irradiance) ถ้าแสงนั้นมีการกระจัดกระจายส่องจากพื้นผิวโลก กลับสู่อวกาศเรียกว่า Diffuse radiation (รังสีที่พร่ากระจาย)

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดของโลกมีความเกี่ยวข้องกับ ดวงอาทิตย์ไม่ใช่เฉพาะเรื่องแสง ที่ได้รับในรูปแบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่กล่าวถึงเท่านั้น ดวงอาทิตย์มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก มากมายกว่าเข้าใจได้ในขณะนี้

เชื่อว่าพลังงานสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับฤดูกาลบนโลกอย่างลึกๆมากนานแล้ว ขณะนี้พึงเริ่มการศึกษาว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ จะมีผลกระทบอื่นๆบนโลก ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือไม่
 
 
บางส่วนของรังสี สะท้อนออกไปในอวกาศ
 
 
Solar car ยาว 3.6 เมตร น้ำหนัก 280 กิโลกรัม ความเร็วเฉลี่ย 110 กม./ชั่วโมง
ใช้แบตเตอรี่แบบ NiMH 100 amp/ชั่วโมง 72 V. ( ปี 2008 ประมาณ 4 ล้านบาทในยุโรป)
 
อนาคตระบบคมนาคม ด้วยพลังงานสะอาดขึ้นตามลำดับ
 
  ประวัติศาสตร์เรื่องคมนาคม ที่ผ่านมาในระยะ 30 ปีนี้ จาก ค.ศ.1970 ในโลกมีรถยนต์ 200 ล้านคัน ตัวเลขปัจจุบัน ค.ศ.2006 ในโลกมีรถยนต์รวมแล้ว มากกว่า 850 ล้านคัน อนาคตในปี ค.ศ. 2030 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่า

เป็นตลาดใหญ่ด้วยความปรารถนาที่ผู้คนต้องอย่างไม่ยุติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประสบสภาวะเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงขึ้น แต่เราต้องมีพื้นที่สำหรับด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีการคมนาคมเป็นสิ่งเชื่อมโยง

รูปแบบสามารถพบเห็นการปรับเปลี่ยนในขณะนี้ คือ การเปลี่ยนไปใช้ก๊าซ การใช้น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันจากถั่วเหลือง จากข้าวโพด ปาล์ม แต่ปัจจัยใช้จากพืชจะมีผลกระทบ ในการสูญเสียพื้นที่ปลูกพืชอาหารสำหรับมนุษย์ำไปด้วย

ค่าเฉลี่ยในการเดินทาง ต้องลดลงจากการใช้พลังงานครึ่งหนึ่ง ด้วยรถรางหรือรถไฟฟ้าแทนรถยนต์ สถานการณ์ข้างหน้า การปฏิวัติพลังงานรถยนต์ เกิดขึ้นอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ แม้ในวันนี้ มีแต่รถขนาดเล็กราคายังสูง สมรถนะความเร็วและระบบต่างๆเริ่มสมบูรณ์ขึ้น ตามลำดับ
 
 
หนุ่มสาวรุ่นใหม่จะยอมรับรถระบบมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่คล้ายรถตุ๊กๆได้หรือไม่
ความเร็ว 85 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในระยะทาง 150 กิโลเมตร ซึ่งมีจำหน่าบแล้วเช่นกันในยุโรป
 
 
ต้นแบบเรือพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้ข้ามฟากแม่น้ำในแถบยุโรป
 
 
ภาพรวมของการคมนาคม มิใช่เฉพาะในเขตเมืองเท่านั้น ที่มีความสำคัญ อนาคตของการแสวงหาหาอาหารจากทะเล มหาสุมทร จะสิ้นเปลืองค่าเชื้อเพลิงมากมาย ต่อไปเมื่อทรัพยากรในทะเลน้อย หายากขึ้น การใช้เวลาในเส้นทางคงต้องเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายขึ้นอีกมาก รวมถึงระบบขนส่งทางทะเลที่เชื่อมโยงส่งสินค้ากัน อาจเห็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดต้นทุนแทนน้ำมัน

นอกจากพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ ในศตวรรษนี้แล้ว สิ่งที่ยังมีมากมายจนใช้ไม่มีวันหมดตราบใด ในจักรวาลยังคงอยู่คือ Hydrogen ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าธาตุทั้งมวล วันนี้พบว่าเกิดเป็นไอจากการเปลี่ยนแปลงของก๊าซมีเทน มีมากในน้ำและก๊าซธรรมชาติ

ใน 1 แกลลอน Hydrogen (-253 องศา) มีน้ำหนัก 0.27 Kg. น้ำมันหนัก 2.72 Kg. หากในปริมาตรน้ำหนัก 1 ปอนด์ (0.45 Kg.) เท่ากัน รถที่ใช้น้ำมันเดินทางได้เพียง 19 กิโลเมตร รถที่ใช้ Liquid Hydrogen เดินทางได้ถึง 53 กิโลเมตร (เป็นตัวเลขในการทดลอง)

สามารถนำมาประดิษฐ์รูปแบบใหม่ เรียกว่า Hydrogen fuel cell ใช้กับรถยนต์ได้ แล้วจะเป็นพลังงานที่น่าสนใจ ในที่สุดจะนำมาใช้กับระบบบ้านอยู่อาศัยได้เช่นกัน เป็นหนทางเลือกแห่งอนาคต
 
 
Hydrogen fuel cell Car ค่ายจากญี่ปุ่น
 
 
เครื่องบินอนาคตใช้ Hydrogen fuel cell โดยการค้นคว้าทดลองสำหรับ
เครื่องบิน Airbus เป็นผลสำเร็จแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2005
 
 
สถานีจ่าย Hydrogen fuel cell พัฒนาโดย UK Energy Research Centre
 
 
การขับเคี่ยวของเทคโนโลยี่การคมนาคม จะรุนแรงขึ้นเพราะเป็นตลาดใหญ่มาก ยังเป็นเรื่องจำเป็นของประชากรโลกทุกคน ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ใดของโลก ต้องมีการเดินทาง ระบบรถยนต์แบบ 2 ระบบ (Hybrid cars) ดูเหมือน ยอมรับมากขึ้น

มีโครงการจูงใจให้เห็นถึงความ สะดวกโดย สามารถเติมพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้จากบริเวณลานจอดรถทั่วไป ติดตั้งระบบไว้ ใช้เวลาเติมไม่กี่นาทีก็เต็ม

อย่างไรก็ตาม จะขึ้นกับมีผู้มีอำนาจในภาครัฐ มีส่วนกำหนดทิศทางพลังงานด้านคมนาคมด้วย เช่น หากผู้มีอำนาจมีส่วนได้เสียกับอุตสาหกรรมน้ำมันนำเข้าการจะพัฒนาให้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ อาจไม่ได้รับการสนับสนุนเต็มที

ในทางตรงกันข้าม หากผู้มีอำนาจมีส่วนได้เสียกับอุตสาหกรรมรถยนต์ อาจจะได้รับการสนับสนุนรถยนต์ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานใหม่ เพื่อการขยายตัวทางการตลาดในประเทศนั้นๆ แต่ท้ายที่สุดทางออกที่จะชนะเรื่องพลังงานสำหรับรถยนต์ คงมีแนวโน้มเป็นประเภท รถยนต์ไฟฟ้า เพราะเป็นพลังงานที่มั่นคง ทุกประเทศสามารถผลิตเองได้ ต่างจากก๊าซและน้ำมันที่มีแหล่งขุดเจาะในบางประเทศ
 
 
ลานจอดรถเอนกประสงค์ Googleได้ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์กันแดดกันฝน
เป็นแนวโน้มต่อไปพบเห็นต่อไปได้ ในประเทศที่สนับสนุน เรื่องประหยัดพลังงาน
 
การพัฒนาการขั้นต่อไปเพื่ออนาคต ให้ง่าย และสะดวกขึ้น
 
 
รูปแบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เเป็นแผ่นๆ PV module ในวันนี้มีการพัฒนาเป็นแบบ ม้วนโค้งดัดงอ เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน ขณะนี้สามารถทำเป็นแผ่นฟิลม์บางๆ เพื่อนำไปติดตั้งกับหลังคา

สินค้าของอนาคตจำนวนมาก เริ่มจะมีระบบ Solar cell เข้ามาเป็น Option โดยเน้นสู่กลุ่มทันสมัย มีจำนวนที่ใช้มากขึ้น เช่น โทรศัพท์มือถือ วิทยุ เครื่ิองปรับอากาศ พัดลม คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ใช้ในกลางแจ้ง

ปัญหาส่วนใหญ่ของอุปกรณ์หลายชนิด ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตในประเทศจีนพบว่าด้อยคุณภาพ ด้วยเน้นต้นทุนต่ำ ขายตามความนิยม เมื่อนำไปใช้ไม่คุ้มค่าทำให้เสื่อมศรัทธาต่อสินค้าในกลุ่มนี้ไปโดยปริยาย
 
 
Solar panels แผ่นฟิลม์บาง พัฒนาเพื่อบ้านอยู่อาศัย อาคาร ในอนาคต
 
 
Solar panels พัฒนาการใช้ในกองทัพสหรัฐมาก่อนหน้านี้
 
 
รถยนต์รุ่นเก่าใช้น้ำมันและก๊าซ จะถูกปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า จากแบตเตอรี่
 
 
ชีวิตประจำวันอนาคต ไม่พ้นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ต้องมีติดตัว
 
 
สินค้าใหม่ๆ ออกแบบอยู่บนเงื่อนไข Solar panels
 
 
แม้แต่แฟชั่นมีแนวคิด Solar cell เข้าไปเกี่ยวข้อง
 
 
ต่อไปข้างหน้าจะพบเป็นลักษณะนำมาทาแทนสีทาบ้าน สามารถทาหลังคา ทาผนัง โดยไม่ต้องติดตั้งแผง Solar cells แม้แต่อาจพ่นบนตัวถังรถยนต์ เพื่อการเก็บค่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ขณะที่ขับบนท้องถนนไปในตัว ด้วย Nanotechnology นำสารกึ่งตัวนำผสม ลงในสีเพื่อไม่ให้มีข้อจำกัดในการรับแสงแล้วแปลงพลังงานดังกล่าว เข้าระบบเพื่อการใช้งาน

นอกจากนั้น การที่นักวิทยาศาสตร์ รู้ว่า รังสีของดวงอาทิตย์ที่มากับแสงทำให้ได้พลังงานบางส่วนเท่านั้น ต่อไปจะมีการพัฒนาไปสู่ วิธีการเก็บรังสี อื่นๆ เช่น รังสี Infrared เพื่อให้ได้ รับค่าของพลังงานเพิ่มขึ้นไปอีก หากเป็นเช่นนั้นทำให้ความคุ้มค่าในเรื่อง Solar cell มากขึ้น โดยมีขนาดแผงรับที่เล็กลง
 
 
อยู่ในระหว่างการพัฒนา เพื่อให้รับค่ารังสี Infrared
 

แนวโน้มด้านพลังงาน ที่เป็นปัจจัยหลัก 1/3

การตั้งถิ่นฐาน สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ใน 100 ปี ข้างหน้า
   ตอน: แนวโน้มด้านพลังงาน ที่เป็นปัจจัยหลัก 1/3

( Source : http://www.sunflowercosmos.org/climate_change/climate_change_home/inhabited_1.html )




พลังงานเชื้อเพลิงประเภท ฟอสซิล จะต้องยุติลง


ปัจจัยหลักการดำรงชีพ พลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด เดิมด้วยพัฒนาการของมนุษย์จากอดีตที่อยู่ในถ้ำ มีความจำเป็นเพียงใช้พลังงาน สำหรับหุงต้มหาอาหารความฉลาด ของมนุษย์ต่อมาทำให้ มีความสามารถนำพลังงานต่างๆ ตั้งแต่ฟืน ถ่าน ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซ มาใช้อำนวยความสะดวกสบาย ด้านต่างๆมากขึ้น เช่น ผลิต เป็นพลังงานไฟฟ้า หรือ สำหรับยานพาหนะเพื่อคมนาคม ตามลำดับ

จากป่าไม้นำมาใช้เป็นฟืน ถ่านเริ่มหมดไป ปัจจุบันน้ำมันดิบเริ่มพร่องไปอีกคาดว่าราว 60 ปี ข้างหน้าอาจเกิดขาดแคลน ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกได้รุนแรงขึ้น แม้ว่าวันนี้ถ่านหิน และก๊าซ อาจยังพอมีอยู่ แต่ภายในอีกไม่กี่ร้อยปี จะเข้าสู่ภาวะขาดแคลนเช่นกัน

สิ่งที่ประจักษ์ก่อนที่จะขาดแคลนไปทั้งหมด เข้ามาเกี่ยวข้องคือ ปัญหาของเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก ปริมาณเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง ประเภทฟอสซิลปริมาณสูงขึ้นมาก ก๊าซคาร์บอนเป็นปรากฏการณ์ ปฏิกิริยาเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิโลกสูง จึงเกิดการรณรงค์เพื่อให้ ลดการใช้พลังงานที่เป็นปัญหาต่อ
โลก มีแนวโน้มเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ จากประชาคมโลก

แม้ว่าเราอาจมีพลังงานน้ำจากเขื่อน เพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ก็ไม่เพียงพอต่ออัตราการ เพิ่มอย่างรวดเร็วของประชากร การสร้างเขื่อนเพิ่ม เป็นประเด็นมีฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ตลอดเวลา ด้วยเรื่องที่อาจกลายเป็นการทำลายระบบนิเวศอันเหลืออยู่อย่างน้อยนิด ในแต่ละประเทศเมื่อเทียบอัตราส่วนประชากร

ทางออกเรื่องสร้างโรงฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ยังมีการคัดค้าน อย่างกว้างขวางมาก เนื่องจากมีอัตราความเสี่ยงสูง ต่อเนื่องอีกนับหลายพันปี ของกัมมันตรังสีซึ่งไม่สามารถทำลายให้สิ้นซาก เป็นทางออกเริ่มตีบตัน ต่อการหาพลังงานทดแทน

ด้วยเหตุผลดังกล่าว หากเกิดการยุติหมดลง ของเชื้อเพลิง และหาทางออกใหม่ไม่ได้ชัดเจน ประชากรต้องประสบวิกฤต เรื่องพลังงาน ส่งผลต่อไปยังระบบการดำรงชีพอย่างแน่นอน


ความเป็นอยู่ในอดีตมนุษย์ 4,000 ปีที่แล้ว จากหลักฐานทางโบราณคดี


ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก มี 480 แห่งใน 44 ประเทศ เมื่อ ปี ค.ศ.1986 โรงผลิตไฟฟ้า Chornobyl nuclear power station (USSR, Ukraine) เกิดระเบิด มีผู้เสียชีวิต 31 คน บาดเจ็บพิการ จากกัมมันตรังสี 1,000 คนในทันที และต้องอพยพทิ้งบ้านเรือน 135,000 คน หลังจากเกิดเหตุไปแล้ว ประมาณว่ามี ผู้เสียชีวิต จากโรคมะเร็งภายหลัง ราวนับหมื่นราย

อีกนับร้อยแห่งจะยังไม่เกิดปัญหาเช่นนี้ ก็คงไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย 100% เพราะกัมมันตรังสี อาจรั่วออกมาปะปนในอากาศได้ตลอดเวลา สู่ชั้นบรรยากาศผสมกับฝนตกลงเป็นฝนกรด บางแห่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใต้ดิน Yucca Mountain ในอเมริกามีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้ำใต้ดิน โดยแทบไม่ทราบล่วงหน้าเลย  การแผ่กระจาย รังสีเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง

ในทางทฤษฎี การขจัดทิ้งปริมาณมากๆของ Uraniun แม้ว่ามีระบบที่ฝังลงสู่ใต้ชั้นลึกของดินก็ตาม การแผ่กระจายของรังสี อาจมีผลกระทบอนาคตในระยะยาวพันปี โดยยังไม่เข้าใจถ่องแท้ การขจัดสิ่งเหลือใช้ของกากกัมตรังสีมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาด้านพลังงานด้วยการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ใชทางออกที่ดีต่อประชากรโลกโดยรวม กลับอาจนำปัญหาใหญ่หลวงมาสู่ประเทศนั้นๆได้ จึงเป็นเรื่องกังวลใจต่อกรณีนี้เสมอมา

และเชื่อว่าโอกาส ได้รับความเห็นชอบจากประชากรแต่ละประเทศ น้อยลงทุกวัน


Chornobyl nuclear power station (USSR, Ukraine) เกิดปัญหาเมื่อ ค.ศ. 1986


Solar Cells เป้าหมายแรก พลังงานทดแทนในอนาคต


ย้อนกลับไปเมื่อ ค.ศ. 1953 ด้วย Bell telephone มีปัญหาระบบโทรคมนาคม ขณะนั้น ต้องการที่จะใช้แบตเตอรี่ชนิดแห้ง จึงมอบหมายให้ Bell laboratories ทำการทดลองว่าสามารถ จะเก็บประจุไฟฟ้าได้หรือไม่ ปรากฏว่าค้นพบว่า

สามารถเก็บกักไว้ได้ใน Solar cells จึงเกิดแนวคิดต่อเนื่อง ทดลองพบว่า ธาตุ Selenium solar cells ขนาด 1 ตรม. สามารถเก็บไฟฟ้าได้ 5 watts ซึ่งยังน้อย แต่นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นครั้งแรก

ภายหลังมีการพัฒนาจนพบว่า ธาตุ Silicon มีคุณสมบัติดีกว่า ท้ายสุด ค.ศ. 1954 ได้ทดลองสำเร็จและสร้างเป็น PV module เป็นครั้งแรกของโลกถือว่าถือว่าเป็นยุคเริ่มต้น ในการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และได้นำมาใช้กับดาวเทียม ยานสำรวจ อวกาศ หุ่นยนต์ขนาดเล็ก ส่งไปสำรวจพื้นผิวดาวเคราะห์ต่างๆ ปัจจุบันยังสามารถ
ใช้งานได้ปกตินับหลายปีต่อเนื่อง


PV module ชุดแรกของโลก เมื่อปี ค.ศ. 1954 ของ Bell Solar Battery
ขณะนั้นยังไม่ได้ทำเป็นเชิงทางการค้า แต่ได้แสดงให้คนทั่วไปได้รู้จัก


ยานสำรวจอวกาศ ดาวเทียมทุกลำ ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์


พลังงานแสงอาทิตย์คือ ทางออกที่ปลอดภัย แต่ลงทุนสูงจริงหรือ


ความกระตือรือร้น ของการเตรียมการเรื่องพลังงานนับวันยิ่งเข้มข้นขึ้น คำตอบส่วนใหญ่ มุ่งไปที่พลังงานจาก ดวงอาทิตย์  พลังงานจากไบโอดีเซล พลังงานจากลม พลังงานน้ำจากเขื่อน ปัญหาคือ อะไรเหมาะ อะไรดีกว่าอะไร

ประเด็นสำคัญต้องย่อมรับคำว่า เคยชินและสะดวก แน่นอนตลอด 100 ปี ความสะดวกสบายด้วยพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน หากเป็นพลังงานชนิดอื่น จำต้องลดความสะดวก เช่น ก่อนหน้านี้คือ พลังงานไอน้ำ

การจำยอม ซื้อหาพลังงานที่แพงขึ้นจากผู้ผลิต เพราะน้ำมัน ก๊าซ มีไม่พอเพียงและไม่มากเหมือนเดิมแล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่า โดยหลายประเทศส่วนใหญ่ แม้แต่ประเทศไทย ก็มิได้นิ่งนอนใจกับปัญหาการขาด แคลนพลังงาน ทางออกอยู่หลายวิธี ทั้งนี้คงขึ้นกับองค์ประกอบของฐานะการลงทุน หรือคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ที่อาจได้รับผลกระทบในด้านต่างๆมากน้อยเพียงใด

ในประเทศอเมริกา The world's largest solar thermal power plant ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 มีเป้าหมาย สร้างแผงรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ (Photovoltaics) เรียกว่า PV บริเวณ Southwest จำนวน 30,000 ตารางไมล์ให้แล้วเสร็จภายในปี 2050 ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าทดแทนจากการใช้น้ำมัน

หากสามารถผลิตได้เกินความต้องการ จะทำการเพิ่มความดันอัดเก็บไว้ในโพรงถ้ำใต้ดิน สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เป็นเทคโนโลยี่ใหม่ จะพัฒนาให้สมบูรณ์ภายในปี ค.ศ. 2020 เช่นกัน


The world's largest solar thermal power plant ประเทศอเมริกา


มีแผนการณ์ ร่วมกันนำเอาพลังงานจากดวงอาทิตย์ ในรูปแบบต่างๆ
มาผสมผสานกันดังนี้

1. Technology Photovoltaics    (เซลล์แสงอาทิตย์)
    มีเป้าหมายเรียกว่า Solar farms บนพื้นดิน 30,000 ตารางไมล์
    จะได้กระแสไฟฟ้า 2,940 GW

2. Technology Compressed-Air Energy storage
   (การเพิ่มความดันพลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์)
   ไว้ในโพรง ถ้ำใต้ดิน 535 ล้านลูกบาศก์ฟุต โดยสามารถนำกลับมาใช้สำหรับกลางคืน ได้ 558 GW

3. Technology Concentrated Solar power
   (การรวมพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์จากแหล่งอื่น)
    มีเป้าหมาย บนพื้นดิน 16,000 ตารางไมล์ จะได้กระแสไฟฟ้า 558 GW 

โดยรวมแล้วสามารถขยายรองรับการปล่อย กระแสไฟฟ้าแรงสูงแบบใหม่(New High-voltage DC) ยาวได้ระหว่าง 100,000-500,000 ไมล์

ว่ากันตามจริงแล้ว ในหลายประเทศนั้นได้นำพลังต่างๆ จากธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า นับกันมากกว่า 10-20 ปีขึ้นไป และไม่ได้สร้างปัญหาผลกระทบดังทุกวันนี้ ตัวอย่างจากนับหลายสิบแห่ง เช่น

     Virginia - Pumped storage station


เขื่อนแรงดันน้ำ (Virginia - Pumped storage station) ตั้งอยู่ที่ประเทศอเมริกา
Bath County, Virginia ใช้กังหันหมุนผลิตกระแสไฟฟ้า จำนวน 6 ชุดผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2,100 MW ใช้สำหรับ 6 รัฐในอเมริกาเริ่มผลิตมาตั้งแต่ ค.ศ.1985

      Itaipu - Hydro power station


เขื่อนพลังงานน้ำ (Itaipu - Hydro power station) ตั้งอยู่ที่ประเทศ Brazil ใช้กังหันหมุนผลิตกระแสไฟฟ้า จำนวน 17 ชุด ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 12,870 MW (10 เท่าของโรงงานผลิตไฟฟ้าแบบนิวเคลียร์) เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้ามาตั้งแต่ค.ศ. 1984 ป้อนกระแสไฟฟ้าใช้ในประเทศ Brazil ได้ 26% และประเทศParaguay ถึง 78%

      La Rance - Tidal power plant


เขื่อนพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง หรือคลื่นน้ำ (La Rance - Tidal power plant)ตั้งอยู่ที่ Mont Saint Michel ประทศฝรั่งเศล ใช้กังหันหมุนผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 24 ชุด ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 68 MW ป้อนไฟฟ้าได้ 160,000 ครัวเรือน

      Offshore wind farms


กังหันพลังลมใกล้ฝั่ง (Offshore wind farms) ตั้งอยู่ที่ประเทศ Denmark มี 2 แห่งแต่ละแห่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 160 MW ขณะนี้หลายแห่งกำลังอยู่ระหว่างพัฒนา เมื่อเสร็จสมบูรณ์ สามารถจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 322-420 MW

นอกจากนั้นยังมีในบางประเทศ เช่น ไอซ์แลนด์ นำพลังงานความร้อนใต้พื้นโลกมาผลิตเป็นพลังงานใช้ในหลายรูปแบบ การนำพลังงานลักษณะดังกล่าวมาใช้จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะที่ตั้งของภูมิประเทศ เช่น ใกล้แนวภูเขาไฟ ใกล้แหล่งน้ำร้อนใต้พื้นโลก

นั่นหมายความว่า หลายประเทศหันมาเตรียมพร้อม เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานจากธรรรมชาติที่ทดแทน แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ของสภาพภูมิประเทศ ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากต้นทุน ไม่ต้องซื้อหาตราบชั่วชีวิต โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ทุกคนสามารถเก็บเกี่ยวนำมาใช้ได้โดย ไม่ต้องมีข้อห้าม สิทธิ์ทางกฎหมายใดๆ ตราบมีแสงอาทิตย์ส่ิองลงมาถึงบ้าน

สำหรับในแถบเส้นสูตรศูนย์ เช่นประเทศไทย พลังงานแสงอาทิตย์จะได้เปรียบเปรียบกว่าพลังลม ด้วยเหตุที่อยู่ในเขตรับรังสีจากดวงอาทิตย์ ส่วนพลังงานลมอาจจะไม่คุ้มค่าด้วยกลไกอากาศเขตร้อน ที่จะยกตัวสูง และพัดลาดต่ำลงสู่เขตอบอุ่น จึงสังเกตเห็นว่าหลายประเทศ ในเขตอบอุ่น เขตหนาว มีโครงกังหันลมมากมายกว่า พลังงานแสงอาทิตย์

ในทางตรงกันข้ามส่วนเขตร้อนก็เน้นหนัก มาด้านพลังงานจากแสงอาทิตย์ และแน่นอนที่สุด ประชากรโลกต้องมารวมกันใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากทั้ง 2 ระบบมากขึ้น

แต่เวลาที่จะเกิดปัญหากับประชากรนั้นไม่ได้คอยใคร หนทางที่เป็นไปได้ ก็คือต้องช่วยตนเองในระดับหนึ่ง หากสามารถกระทำได้ เพื่อลดภาระค่าน้ำมันที่แพง อนาคตก็กลายเป็นของมีค่า แพงกว่าอาหาร

แม้ว่าในช่วงวิกฤตเศษฐกิจโลก ปี 2008-2009 ทำให้จับจ่ายน้อยลง ส่งผลต่อราคาน้ำมันถูกลงกว่าก่อนหน้านี้ ราคาน้ำมันที่ต่ำลงไม่มีความยั่งยืน หากเศษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ราคาน้ำมันคงถีบตัวขึ้นไปอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นเป้าหมายของวงการค้าน้ำมันอยู่แล้ว

ความจำเป็นที่จะต้อง สร้างวิธีผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไว้ใช้เองในบ้านถึงอาจไม่สะดวกนัก คงดีกว่าไม่มี หลายคนคงบอกว่าเป็นไปได้ยาก เพราะต้นทุนแพง ในความจริงคำว่าแพง เพราะเปรียบเทียบ กับค่ากระแสไฟฟ้าที่จ่ายไป ระยะยาวมีความคุ้มค่าอย่างเห็นได้ชัด เฉพาะอย่างยิ่งมีเทคนิคใหม่เกิดขึ้นเสมอมา สามารถประหยัดการลงทุนได้มากขึ้นตามลำดับ มีสะดวกขึ้นของระบบ แน่นนอน
มีความปลอดภัยกว่า ซึ่งในประเทศแถบยุโรปได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้มีแรงจูงใจต่อการลงทุนในครัวเรือน

ในทุกวันนี้ มีอีกหลายประเทศค่า กระแสไฟฟ้าอยู่ในระดับราคาต่ำ แต่ข้างหน้าจะไม่ต่ำเหมือนเดิม ด้วยต้นทุนน้ำมัน และเงื่อนไขสัญญาเกียวโต ที่ทุกประเทศต้องร่วมแก้ไขปัญหา ด้วยเหตุผลสำคัญอีกประเด็น คือ ถ้าประชากรโลกแต่ละบ้านใช้ แผงพลังงานแสงอาทิตย์สัก 2 แผ่น ที่มีขนาด 800 Kwh จะสามารถลดการเกิดก๊าซเกิดคาร์บอนได้ 1,000 ปอนด์ ต่อครอบครัว

อย่างไรก็ตามขณะนี้ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยนั้นยังไม่ประสบผลสำเร็จด้วยในครั้งแรกการลงทุนสูงมาก มีระยะคืนทุนที่ยาวนานและภาครัฐไม่ให้การสนับสนุนในเขตเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่สิ้นเปลืองสูง นโยบายหลายครั้งเหมือนดูสับสน มุ่งเป้าอย่างไม่ตรงประเด็น คล้ายหาคะแนนนิยม มากกว่าตั้งใจจริง