วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จวก"เพ้ง"เพิ่มความเสี่ยงด้านพลังงาน

นักวิชาการขวางนโยบาย ”เพ้ง” สั่งรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่ม 20,000 เมกะวัตต์ ระบุสวนทางแผนพีดีพี ที่ต้องการลดพึ่งพาไฟฟ้าจากต่างประเทศ ระบุยังสร้างความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางพลังงาน ชี้จับตากลุ่มนายทุนฟันผลประโยชน์เข้ากระเป๋า

    นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า จากการที่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน มอบหมายให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 เมกะวัตต์ แบ่งจากพม่า 10,000 เมกะวัตต์ และลาว 10,000 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20% จากเดิมที่แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (2555-2573) ระบุมีการรับซื้อไม่ให้เกิน 15% หรือประมาณ 8,700 เมกะวัตต์ ถือว่าเป็นเรื่องที่สวนกระแสการจัดทำแผนพีดีพีที่ต้องการลดการรับซื้อไฟจาก ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาพลังงานจากนอกประเทศ

    “นโยบายดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างมาก เพราะการปรับปรุงพีดีพีต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ว่าเห็นด้วยอย่างไรหรือไม่ ไม่ใช่กำหนดขึ้นมาเองเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับราคาค่าไฟฟ้า และการรับซื้อไฟฟ้าเป็นการรับซื้อจากกลุ่มทุนที่เข้าไปลงทุน ดังนั้นจะเป็นการเอื้อผลประโยชน์กันเองและว่ามองข้ามแผนพีดีพี” นายเดชรัตน์ กล่าว

    นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน   กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะการผลักดันให้รับซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นครั้งนี้ เป็นความจำเป็นทางธุรกิจเท่านั้น โดยเฉพาะบริษัทลูกของ กฟผ.ที่ไม่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ทั้ง บมจ.ผลิตไฟฟ้า (เอ็กโก้) และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง เนื่องจากหากมีโครงการผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน จะใช้ 2 บริษัทนี้เข้าไปร่วมทุนกับประเทศนั้นๆ และผลิตไฟฟ้าส่งกลับมาในประเทศ ซึ่งจะได้ประโยชน์เชิงธุรกิจ แต่ผู้บริโภคไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะอัตราไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น

    นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ในปี 2556 จะมีการปรับแผนพีดีพี  2013 ใหม่ โดยให้นโยบายว่าจะใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน และรับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากเพื่อนบ้านมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น จากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น  เนื่องจากได้รับรายงานว่า ปลายแผนพีดีพี (ปี 2573) ค่าไฟฟ้าจะปรับตัวสูงขึ้นไปถึงระดับ 5 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันอยู่ที่ 3 บาทต่อหน่วย ดังนั้นการปรับแผนพีดีพีใหม่จะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติลง หันมาใช้ถ่านหินและการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น.

source : http://www.thaipost.net/news/041212/66097

ขอความชัดเจนนโยบายพลังงาน กฟผ.ซื้อไฟลาวเพิ่ม-ปตท.หวั่นดีลLNGเชลก๊าซล่ม

source : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1355420510&grpid=02&catid=19&subcatid=1901#

ปตท.หวั่น เจรจาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากแหล่งเชลก๊าซสหรัฐสะดุด หลังกระทรวงพลังงานประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่ม ส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซลดลง จี้รัฐขอความมั่นใจ พร้อมให้การสนับสนุนสัญญาซื้อก๊าซ และยอมรับความเสี่ยงจากราคาปรับขึ้น-ลงในอนาคตร่วมกัน คาดราคาซื้อขายไม่เกิน 12 เหรียญ/ล้านบีทียู

แหล่งข่าวในบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในฐานะผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ฉบับล่าสุด (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อซื้อก๊าซ LNG จากแหล่งเชลก๊าซในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากราคาเนื้อก๊าซ LNG อยู่ที่ 3.5-4 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายเพื่อทำให้สถานะก๊าซเป็นของเหลวติดลบที่อุณหภูมิ 160 องศา กับค่าขนส่งทางเรือที่ 7-8 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู จนกระทั่งขนส่งมาถึงไทยราคาจะอยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู

ราคา ก๊าซ LNG จากแหล่งดังกล่าวถือว่าค่อนข้างถูก เพราะอ้างอิง Henry Hub หรือตลาดก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก แทนที่จะอ้างอิงกับราคาน้ำมันตลาดโลก เหตุผลสำคัญที่ทำให้บริษัท ปตท.สนใจซื้อก๊าซจากแหล่งนี้ เพราะมีการเตรียมที่จะผลิตก๊าซจากหลายโครงการ ทำให้มั่นใจในแง่ของความมั่นคง หากการผลิตในโครงการใดมีปัญหา ก็สามารถส่งก๊าซจากโครงการอื่น ๆ มาเสริมได้ ที่สำคัญการผลิตจากแหล่งนี้ในเฟสที่ 2 จะเข้าระบบภายในปี 2560 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้จากโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศไทยด้วย

"แห ล่งเชลก๊าซค่อนข้างตรงกับความต้องการของ ปตท. คือราคาต่ำเมื่อเทียบกับแหล่งอื่น รวมถึงโครงการนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมั่นใจได้ว่าจะมีการผลิตเกิดขึ้นแน่นอน และภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐแล้วเสร็จ ในระดับนโยบายของสหรัฐจะชัดเจนขึ้นว่าจะมีการผลักดันให้เดินหน้าพัฒนาแหล่ง ดังกล่าว และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเริ่มเข้ามาเจรจามากขึ้น"

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ที่น่าห่วงคือขณะนี้ก็คือแผนเจรจาอาจจะ "สะดุด" เนื่องจากบริษัท ปตท.ค่อนข้างกังวลใน 2 ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลและกระทรวงพลังงานมีนโยบายที่ชัดเจน คือ 1) การปรับแผนรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มเป็น 20,000 เมกะวัตต์ ตลอดทั้งแผน PDP ของนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งอาจจะกระทบต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ จึงขอความชัดเจนว่า ตามแผน PDP ความต้องการปริมาณก๊าซ LNG จะเป็นอย่างไร

และ 2) เงื่อนไขสัญญาซื้อขายก๊าซ LNG ที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา อาจจะมีรายละเอียดในบางเงื่อนไขที่อาจจะมีความ "เสี่ยง" อยู่บ้าง จึงต้องการให้กระทรวงพลังงานให้การสนับสนุนสัญญาซื้อขายดังกล่าว และเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ โดยเฉพาะในประเด็นราคาที่อาจจะมีโอกาสปรับขึ้น-ลง ตามกลไกตลาดได้

ยก ตัวอย่างเงื่อนไขสัญญาซื้อขาย คือ ราคาซื้อขายก๊าซ LNG ต้องเป็นไปตามกลไกตลาด ฉะนั้นต้อง "ยอมรับ" ราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคตด้วย นอกจากนี้ในสัญญาระบุว่า หากมีเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของปริมาณก๊าซธรรมชาติภายใน ประเทศสหรัฐ อาจจำเป็นต้องระงับการซื้อขาย-ส่งออกจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ซึ่งผู้ซื้อจะต้องแบกรับต้นทุนในกรณีเช่าเรือขนส่งก๊าซ LNG มาลอยลำรอไว้ โดยต้นทุนขนส่งด้วยเรือปัจจุบันอยู่ที่ 7-8 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู

"ปตท.ทำ หน้าที่แทนรัฐบาล ต้องยอมรับว่าการเจรจาซื้อขายก๊าซ LNG ในแต่ละแหล่งนั้นมีข้อดี-ข้อเสีย เชลก๊าซเป็นแหล่งใหญ่ที่ซัพพอร์ตได้ในระยะยาว แต่เรื่องสัญญายังต้องดูในรายละเอียดอีกมาก และก่อนที่จะมีการตกลงกันก็อยากจะขอคำแนะนำจากกระทรวงพลังงาน เพราะกฎหมายของสหรัฐอาจยังไม่ค่อยคุ้นเคยกัน เพื่อให้ยอมรับร่วมกันถึงผลที่จะ
เกิดขึ้นไม่ว่าราคา LNG จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ตาม"

แหล่ง ข่าวกล่าวอีกว่า แหล่งเชลก๊าซได้กลายเป็นแหล่งพลังงานที่ทั่วโลกจับตามองและต้องการจะเข้ามา เจรจาซื้อก๊าซ ทั้งนี้รัฐบาลของสหรัฐจะประกาศชัดเจนในช่วงต้นปี 2556 นี้ว่าจะพัฒนาแหล่งเชลก๊าซนี้อย่างไรต่อไป และอาจจะเปิดให้กับผู้สนใจเข้ามาเจรจา ฉะนั้นในช่วงนี้รัฐบาลไทยจะต้องชัดเจนแล้วว่า มีความสนใจที่จะซื้อก๊าซ LNG จากแหล่งดังกล่าวหรือไม่

เพราะกระบวนการของไทยค่อนข้างใช้เวลา หากระดับนโยบายไม่ชัดเจน ทางสหรัฐอาจจะเปิดโอกาสให้กับผู้สนใจรายอื่น ๆ ก่อน ซึ่งหากไทยต้องการจะซื้อก๊าซจากแหล่งนี้ต่อไป อาจจะต้องรอการพัฒนาในระยะที่ 3 และอาจต้องใช้เวลามากขึ้น ในขณะที่บริษัท ปตท.อาจจะต้องไปเจรจาซื้อก๊าซ LNG ในตลาดจรเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการใช้ในปี 2560

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การพัฒนาแหล่งเชลก๊าซครั้งนี้ของประเทศสหรัฐ ทำให้ปริมาณสำรองพลังงานของประเทศสูงขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการในอนาคต ส่งผลกระทบต่อราคาก๊าซธรรมชาติให้ลดต่ำลงในรอบทศวรรษ ราคาแตะอยู่ที่ 2 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู เบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าแหล่งเชลก๊าซมีปริมาณมหาศาล และค่อนข้างดึงดูดความสนใจจากบริษัทพลังงานจากทั่วโลก

โดยล่าสุด ไฟแนนเชียล ไทมส์รายงานว่า มีทั้งบริษัท ซาอุดี เบสิก อินดัสทรีส์ เป็นบริษัทปิโตรเคมีรายใหญ่ของโลกกำลังเจรจาเข้าไปลงทุนในสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีบริษัทดาว เคมีคอล, โคโนโคฟิลิปส์, เชฟรอน, รอยัล ดัตช์ เชลล์ และลีออนเดลบาเซลล์ ที่สนใจจะขยายการลงทุนเชลก๊าซด้วย

ทั้งนี้ ตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดให้บริษัท ปตท.นำเข้าก๊าซ LNG ในปริมาณ 5 ล้านตัน/ปี ตั้งแต่ปี 2559 ทั้งที่เป็นสัญญา Spot (ตลาดจร) แบบสัญญาระยะสั้น และระยะยาว โดยก่อนหน้านี้ได้ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซกับบริษัท Qatar Liquefied Gas Company Limited ในปริมาณ 2 ล้านตัน/ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2558 ในปริมาณ 1 ล้านตัน/ปี และให้เพิ่มขึ้นเป็น 2-3 ล้านตัน/ปี ในช่วงปี 2556-2557

 

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

 

ไม่กี่ปีมานี้ คำว่า “Shale Gas” กลายเป็นศัพท์ฮิตในอุตสาหกรรมพลังงานโลก ในฐานะทางเลือกใหม่ที่จะมาแทนที่พลังงานในรูปแบบอื่นๆ ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ผันผวน และทรัพยากรพลังงานแบบดั้งเดิมที่เริ่มร่อยหรอ

Shale Gas หรือก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน ช่วยให้โลกมีปริมาณก๊าซสำรองเพิ่มขึ้นมหาศาล แต่เนื่องจากก๊าซธรรมชาติถูกกักอยู่ในหินดินดาน ทำให้กระบวนการขุดเจาะที่ซับซ้อนมากกว่าก๊าซธรรมชาติแบบดั้งเดิม ขณะที่สหรัฐค้นพบเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing หรือการขุดเจาะโดยใช้น้ำแรงดันสูง ผสมสารเคมีและทรายเพื่อให้หินแตกร้าว ซึ่งใช้ต้นทุนต่ำลงเมื่อเทียบกับการขุดเจาะในแหล่งพลังงานดั้งเดิม

  นี่ทำให้บริษัทพลังงานหลายแห่งพยายามจะเดินตามรอยความสำเร็จของสหรัฐ แต่ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายดาย เพราะปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้สหรัฐยังคงมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันค่อนข้างมาก

  ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากหินดินดานที่เพิ่งค้นพบใหม่ ช่วยปลุกอุตสาหกรรมพลังงานในอเมริกาเหนือ และกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมจากราคาพลังงานที่ต่ำลง ขณะเดียวกัน ก็พบข้อมูลว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานขนาดใหญ่อยู่นอกอเมริกาเหนือ ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนกระตือรือร้นที่จะร่วมกระแสนี้

แต่ดูเหมือนบริษัทน้ำมันหลายรายกำลังเผชิญกับอุปสรรคจากการเดินตามรอยความสำเร็จของสหรัฐในแหล่งก๊าซบนทวีปอื่นๆ โดยเหตุผลที่ทำให้ยังไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะรัฐบาลเป็นเจ้าของสิทธิแหล่งแร่ รวมถึงความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม และขาดโครงสร้างพื้นฐานในการขุดเจาะและขนส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน นอกจากนี้ ยังเป็นเพราะขาดข้อมูลทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับแหล่งพลังงานในประเทศต่างๆ ผิดกับสหรัฐที่กิจกรรมด้านขุดเจาะพลังงานดำเนินมายาวนานกว่าศตวรรษ

หมายความว่า จนถึงขณะนี้ สหรัฐและแคนาดายังคงเป็นประเทศหลักที่เก็บเกี่ยวความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจ จากการพัฒนาเรื่องก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานที่ล้ำหน้าประเทศอื่นๆ และการที่ทั้ง 2 ประเทศมีก๊าซธรรมชาติและสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอย่างล้นเหลือ มีส่วนดึงดูดให้บริษัทปิโตรเคมีและผู้ผลิตปุ๋ยเข้ามาสร้างโรงงานใหม่ แทนที่จะยกขบวนออกไปตั้งฐานผลิตนอกบ้านอย่างที่ทำมาตลอดหลายปี โดยเฉพาะรัฐเท็กซัสและนอร์ทดาโกต้าที่ได้อานิสงส์จากแหล่งพลังงานจากหินดินดาน ทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นเติบโตขึ้นจากกิจกรรมการขุดเจาะแบบใหม่

  ขณะที่โปแลนด์ ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายสำคัญในตลาดนี้ กลับต้องผิดหวัง เมื่อพบปริมาณก๊าซไม่มากอย่างที่คาดไว้ บวกับความกังวลของชุมชนเกี่ยวกับการขุดเจาะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนกฎเรื่องภาษีและค่าธรรมเนียม ส่งผลให้ “เอ็กซอน โมบิล คอร์ป” ตัดสินใจโยนผ้าขาวยอมแพ้ในโปแลนด์ หลังจากขุดเจาะก๊าซแค่ 2 หลุม โดยบริษัทให้เหตุผลว่า ไม่พบน้ำมันหรือก๊าซมากพอที่จะเดินหน้าขุดเจาะเพิ่มเติม

จีน เป็นอีกประเทศหนึ่งที่คาดกันว่าน่าจะมีน้ำมันและก๊าซจากชั้นหินดินดานมหาศาล มากกว่าในสหรัฐเสียอีก แต่ปัญหาอยู่ที่แหล่งก๊าซจากหินดินดานส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง หรือไม่ก็มีประชากรหนาแน่น นอกจากนี้ บริษัทน้ำมันยังกังวลว่าอาจไม่มีปริมาณน้ำมากพอที่จะใช้แรงดันน้ำทำให้หินแตกออก ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้สารไฮโดรคาร์บอนออกมาจากชั้นหิน

ไซมอน เฮนรี ผู้อำนวยการบริหารของโรยัล ดัตช์ เชลล์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บอกว่า การจะสร้างแท่นขุดเจาะก๊าซจากหินดินดาน อาจต้องขออนุญาตขุดเจาะพื้นที่บางส่วนของภูเขา หรือไม่ก็บนนาข้าวของใครสักคน

เช่นเดียวกับอาร์เจนตินา ที่เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งยึดคืนบริษัทของสเปนเป็นของรัฐ ก็ค้นพบแหล่งพลังงานจากหินดินดานขนาดใหญ่ที่น่าจะมีน้ำมันเกือบ 1 พันล้านบาร์เรล แต่กฎระเบียบที่เข้มงวดทำให้นำเข้าเทคโนโลยีที่จำเป็นได้ยาก เช่นเดียวกับการส่งกำไรกลับบ้าน “อาปาเช่ คอร์ป” ที่ได้สิทธิขุดเจาะแหล่งพลังงานจากหินดินดานราว 450,000 เอเคอร์ ระบุว่า อาจจะมีต้นทุนในการขุดเจาะสูงกว่าที่สหรัฐราว 2 เท่า และอาจต้องใช้ต้นทุนในการทำให้หินแตกเพื่อเริ่มการผลิตสูงกว่าราวๆ 2-4 เท่า

  ส่วนประเทศอื่นๆ อย่างฝรั่งเศส บัลแกเรีย ต่างก็ห้ามใช้เทคโนโลยีขุดเจาะด้วยแรงดันน้ำ เนื่องจากกังวลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงพับแผนพัฒนาเรื่องนี้เอาไว้ก่อน

“โจเซฟ สแตนิสลอว์” ที่ปรึกษาอาวุโสด้านพลังงานของดีลอยต์ มองว่า ยังมีโอกาสในการพัฒนาพลังงานจากหินดินดานอีกมาก เมื่ออุตสาหกรรมนี้ก้าวสู่ความจริง และเริ่มต้นจริงจัง พลังงานจากหินดินดานก็จะทะยานขึ้นเหมือนในสหรัฐ แต่ระยะเวลาอาจจะยาวนานกว่าที่หลายคนคาดคิด

เพราะความสำเร็จของสหรัฐเกิดขึ้นจากปัจจัยที่แตกต่าง เทคโนโลยีการขุดเจาะด้วยน้ำแรงดันสูงบุกเบิกโดยบริษัทขนาดเล็กที่ต้องการเสี่ยง รวมทั้งได้แรงหนุนจากเจ้าของที่ดินที่ถือสิทธิครอบครองแหล่งแร่ และพร้อมจะแลกกับผลกำไร ขณะที่อุตสาหกรรมพลังงานสหรัฐมีเครือข่ายท่อก๊าซและแท่นขุดเจาะจำนวนมาก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่ในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโลก ดังนั้น การผลิตก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานจึงเป็นโมเดลเฉพาะของสหรัฐ

  อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในบทเรียนความสำเร็จของสหรัฐ แต่มักถูกมองข้าม คือ การพัฒนาพลังงานจากหินดินดานส่วนใหญ่เป็นก๊าซจากใต้พื้นดิน จึงก่อความกังวลเกี่ยวกับการขุดเจาะในพื้นที่ของเจ้าของที่ดินที่ต้องการผลกำไร แตกต่างกับในประเทศอื่นๆ ที่สิทธิแหล่งแร่เป็นของรัฐ จึงไม่ค่อยจูงใจการขุดเจาะเชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

  ความแตกต่างอีกประการ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งพลังงานจากหินดินดานที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับสหรัฐที่ขุดเจาะแหล่งพลังงานนับหมื่นแห่ง และมีข้อมูลทางธรณีวิทยาที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ แม้ว่านักธรณีวิทยาอาจจะพอรู้ว่าแหล่งพลังงานจากหินดินดานในประเทศต่างๆ อยู่ที่ไหน แต่ไม่รู้ว่าสภาพหินแบบไหนที่เหมาะต่อการใช้เทคโนโลยีขุดเจาะด้วยน้ำแรงดันสูง

แต่การลงทุนก็อาจคุ้มค่ากับการเสี่ยง เพราะผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า ปริมาณก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานน่าจะมีอยู่มหาศาล โดยผลการศึกษาของรัฐบาลสหรัฐในปีที่แล้ว ประเมินว่า แหล่งพลังงานจากหินดินดานน่าจะมีอยู่ใน 32 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นปริมาณมากถึง 6.6 พันล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือคิดเป็นปริมาณการบริโภคทั้งโลกในขณะนี้ ได้ยาวนานกว่า 50 ปี ขณะที่สหรัฐครอบครอง 862 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือ 13% ของที่ประเมินทั้งหมด

  เพียงแต่อาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะได้ปริมาณที่มากเพียงพอ ซึ่งทั้งเชฟรอนและบริษัทอื่นๆ ต่างหวังว่าจะสร้างอุตสาหกรรมการกลั่นก๊าซจากหินดินดานในโปแลนด์ได้สำเร็จ และพบก๊าซมากพอที่จะทำให้คุ้มค่ากับต้นทุนการขุดเจาะ แต่ตอนนี้รัฐบาลยังเผชิญกับแรงต้านจากประชาชน ส่งผลให้กระบวนการออกใบอนุญาตขุดเจาะล่าช้า

  “พิออตร์ วอสเนียก” รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสิ่งแวดล้อม ของโปแลนด์ บอกว่า กฎหมายพลังงานฉบับใหม่จะจัดสรรเงินชดเชยให้รัฐบาลท้องถิ่นที่มีการดำเนินการขุดเจาะพลังงาน ซึ่งจะช่วยลดแรงต้านจากคนในท้องถิ่นได้

ขณะที่ “พิออตร์ แดมป์” ชาวบ้านที่เพิ่งขายที่ดิน เล่าว่า ถูกบริษัทกดดันให้ต้องขายที่ไป เพราะก๊าซที่อยู่ใต้ดินเป็นของรัฐ และอาจต้องเวนคืนที่ดินบางส่วนเพื่อตั้งแท่นขุดเจาะ แต่หากไม่ยอมขาย กระบวนการก็อาจยาวนานออกไปอีก

source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20121207/481176/Shale-Gas-%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99.html

ไทยตั้งรับอนาคตพลังงาน เล็งก๊าซธรรมชาติ-ถ่านหิน

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

14 ธ.ค. 2555 เวลา 10:53:26 น. 

เพื่อตั้งรับและรุกตามทิศทางพลังงานของโลก กระทรวงพลังงานร่วมกับทบวงพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA (International Energy Agency) จัดงานสัมมนาผลการศึกษา "แนวโน้มพลังงานโลกในอนาคต ฉบับปี 2555 (World Energy Outlook 2012 Launch)" โดย นายแฟตตี้ บิวโร (Dr.Fatih Birol) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ IEA ได้กล่าวถึงภาพพลังงานของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปเพราะว่า

การ "ฟื้นคืน" ของการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะการชะลอตัวการพัฒนาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาค้นพบแหล่ง "เชลก๊าซ" ส่งผลในช่วงปี 2563 นี้ สหรัฐจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติ มาเป็นผู้ส่งออกก๊าซแทน จนสามารถพึ่งพาพลังงานในประเทศได้เองในปี 2578

นอกจากนี้ทั่วโลกจะให้ความสนใจด้านพลังงานมายังภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศที่มีความต้องการใช้พลังงานสูง อย่างเช่น ประเทศจีน อินเดีย และในอาเซียน โดยเฉพาะในอาเซียนคาดว่าความต้องการใช้พลังงานจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 80

เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 35 ในช่วงระหว่างปี 2553-2557 ฉะนั้นเท่ากับว่าในอีก 25 ปีข้างหน้า ประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะมีบทบาทมากขึ้นในตลาดพลังงานโลก

"ปัจจัยหนุนมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ความจำเป็นให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการนำเข้าน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้นสูงถึง 70% ของการบริโภคในปี 2578 จากเดิมเติบโตที่ 40% ของการบริโภคในปี 2554 สวนทางกับการส่งออกก๊าซธรรมชาติที่อาเซียนได้เปลี่ยนจากผู้ส่งออกมาเป็นผู้นำเข้ามากขึ้น" นายแฟตตี้กล่าว

จากทิศทางดังกล่าวจึงชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ทั้งสหรัฐและประเทศตะวันออกกลางจะให้ความสนใจมายังประเทศอาเซียนมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2578 การผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางร้อยละ 90 จะถูกส่งตรงมายังประเทศในแถบเอเชียมากขึ้น จากเดิมที่เคยส่งออกอยู่ที่เพียงร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตรวม

และเมื่อพิจารณาจากความต้องการใช้น้ำมันในอาเซียน จีน อินเดีย และประเทศยุโรปที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยิ่งต้องจับตาท่าทีของประเทศสหรัฐว่า จะบริหารจัดการแหล่งเชลก๊าซอย่างไร

นายแฟตตี้ยังฉายภาพพลังงานของโลกต่อว่า ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ในปี 2578 จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ความต้องการใช้ถ่านหินของโลกจะเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 21 และจะเพิ่มจากความต้องการใช้ในภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนใหญ่ แต่การเปลี่ยนแปลงของราคาถ่านหินเมื่อเทียบกับราคาก๊าซธรรมชาติยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เพราะคาดว่าในปี 2568-2578 นี้ ประเทศอินโดนีเซียจะมีกำลังการผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้นจนสามารถเทียบเท่ากับปริมาณการผลิตของประเทศออสเตรเลียได้ ส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียมีกำลังผลิตถ่านหินคิดเป็น 1 ใน 4 ของปริมาณการผลิตทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น

ส่วนของพลังงานทดแทนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และขยับขึ้นมาเป็นแหล่งพลังงานอันดับ 2 ในปี 2558 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เพิ่มขึ้นคือ การอุดหนุนและคาดว่าจำนวนเงินที่ต้องใช้อุดหนุนพลังงานทดแทนทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 4.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2578 จากปัจจุบันที่อุดหนุนอยู่ที่ 88 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงการที่แผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถูกชะลอออกไปเนื่องจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมาในประเทศญี่ปุ่น

ด้าน นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) กล่าวถึงการที่สหรัฐเปลี่ยนจากผู้นำเข้ามาเป็นผู้ผลิตก๊าซและส่งออกก๊าซในอนาคตนี้ และมีความเป็นไปได้สูงที่การผลิตจะ "แซงหน้า" ประเทศซาอุดีอาระเบียได้

"ปัจจุบัน ซาอุดีอาระเบียมีการผลิตที่ประมาณ 10 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่สหรัฐสามารถผลิตได้มากกว่า 10 ล้านบาร์เรล/วัน แม้การใช้ก๊าซในสหรัฐเฉลี่ยจะอยู่ที่ 25 ล้านบาร์เรล/วัน แต่ก็ถือว่าช่วยลดปริมาณนำเข้าลงได้บ้าง" นายสราวุธกล่าว

ข้อมูลด้านพลังงานโลกในเวทีสัมมนาครั้งนี้ นายสราวุธกล่าวว่าจะถูกนำเสนอในที่ประชุม IEA ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อจัดทำเป็นทิศทางพลังงานโลกในอนาคต ฉบับปี 2555

หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอาเซียน ที่จะจัดขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนกันยายน 2556

source : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1355457256&grpid=03&catid=19&subcatid=1901

หนุน"หญ้าเนเปียร์"เป็นพลังงานทดแทนใหม่

หนุน"หญ้าเนเปียร์"เป็นพลังงานทดแทนใหม่

 
รมว.พลังงาน สั่ง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ ทำแผนผลิตไฟฟ้าจากหญ้านาเปีย คาดเปิดโครงการนำร่องได้ในเดือน ม.ค. ปีหน้า

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวในงานสัมมนา “พลังงานสีเขียว ดุลยภาพสู่ความยั่งยืน” ว่า แผนการผลักดันการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 25% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ภายใน 10 ปี มีนโยบายเร่งด่วน คือ โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์ หรือหญ้าเลี้ยงช้าง ซึ่งมีความหวานมากให้พลังงานสูง ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่างแผนสนับสนุนโครงการดังกล่าวอย่างครบวงจร ตั้งแต่สนับสนุนเกษตรกรในการปลูกหญ้าเนเปียร์ จนถึงผู้ประกอบการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าชีวภาพ คาดว่ากระทรวงพลังงานจะสามารถประกาศโครงการนำร่อง และเปิดตัวโรงไฟฟ้าต้นแบบที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ภายในเดือนมกราคม 2556

เบื้องต้นกำหนดราคารับซื้อหญ้าเนเปียร์จากเกษตรกรตันละ 300 บาท และอุดหนุนระบบฟีด อินทารีฟ หน่วยละ 4.50 บาท จากผลการศึกษาพบว่าการปลูกหญ้าเนเปียร์ 1 พันไร่ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 เมกกะวัตต์ ขณะที่การลงทุนโรงไฟฟ้าชีวภาพจะใช้เงินลงทุน 100 ล้านบาท

นายพงษ์ศักด์ กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน ตั้งเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากโครงการดังกล่าวไว้ถึง 7,000 เมกกะวัตต์ในระยะเวลา 10 ปี เชื่อว่าจะช่วยทำให้สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นเป็น 20% ส่วนอีก 5% จะมาจากพลังงานทางเลือกและจากโครงการโซล่าลูฟทอป ที่เป็นการสนับสนุนสร้างแผงผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนประชาชน ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาสัดส่วนการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน

source : http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94/193261/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88

อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน

source : http://www.komchadluek.net/detail/20121214/147116/อนาคตพลังงานไทยในเออีซี.html

รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : ความท้าทายแห่งอนาคต ด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และพลังงาน (จบ) : โดย ... ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Chodechai.energyfact@gmail.com

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 ความท้าทายทางเศรษฐกิจประการหนึ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ เรื่องพลังงาน เพราะหากเราวิเคราะห์ถึงสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย ประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานรวมกันสูงถึงกว่าร้อยละ 70 และภาคส่วนอื่นๆ รวมกันอีกประมาณร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าพลังงานชนิดต่างๆ ทั้งไฟฟ้า ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เพื่อรองรับการใช้งานภายในประเทศ

ในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการนำเข้าพลังงานสูงถึง 1.237 ล้านล้านบาท สำหรับภาพรวมพลังงานช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้าพลังงานที่ 1.105 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าพลังงานช่วง 9 เดือนแรกเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยน้ำมันดิบมีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 852,900 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.9 จากปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 รองลงมา ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 ถ่านหินเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 และไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8

สำหรับมูลค่าการใช้พลังงาน ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่าการใช้พลังงานที่ 1.607 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทุกประเภทพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งมีมูลค่าการใช้สูงสุดที่ 978,679 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61 ของมูลค่าการใช้พลังงานทั้งหมด มีมูลค่าการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 รองลงมาได้แก่ ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 และลิกไนต์/ถ่านหิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ตามลำดับ

ในด้านผลกระทบต่อภาคธุรกิจหลังการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ผมขอวิเคราะห์ประเด็นความท้าทายด้านพลังงานของไทยใน 3 มิติ ดังนี้

(1) ผลกระทบด้านราคาพลังงานของประเทศไทยจากการเปิดเออีซี สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง ผมมองว่าไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก เพราะประเทศไทยมีการเปิดเสรีอยู่แล้ว สำหรับเอทานอล เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปริมาณการผลิตเอทานอลมากที่สุดในภูมิภาค การเปิดเออีซีจะทำให้ราคาเอทานอลในประเทศดีขึ้น เพราะสามารถส่งออกเอทานอลส่วนเกินได้มากขึ้น ในด้านแอลเอ็นจี (ก๊าซธรรมชาติเหลว) ประเทศไทยนำเข้าแอลเอ็นจีในราคาตลาด (ราคาตลาดโลกที่ซื้อขายในภูมิภาคเอเชีย) เออีซีจึงไม่กระทบแอลเอ็นจีของไทย

ยังไม่จบนะครับ เพิ่งจะเริ่มต้นพื้นที่ก็หมดแล้ว ไว้สัปดาห์หน้าผมจะมาวิเคราะห์ประเด็นความท้าทายของพลังงานไทยในเออีซีต่อนะครับ

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมาร์ทกริดคืออะไร? - คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

source : http://161.200.85.41/pea-smartgrid/index.php/smart-grid/9-uncategorised

1. สมาร์ทกริดคืออะไร?
คำตอบที่ 1
ในรูปศัพท์ “สมาร์ท” แปลว่า อัจฉริยะ และ “กริด” แปลว่า โครงข่ายไฟฟ้า ดังนั้น “สมาร์ทกริด” แปลว่าโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ การอธิบายว่า “สมาร์ทกริดคืออะไร?” จะเหมือนกับสุภาษิตโบราณ “ตาบอดคลำช้าง” ตามที่แสดงในรูปข้างล่าง

ทั้งนี้ เนื่องจาก สมาร์ทกริด ในบางประเทศ หมายถึง โครงข่ายไฟฟ้าที่สามารถ ตรวจวัด มอนิเตอร์ และควบคุมสั่งการจากระยะไกลได้ ในขณะที่ สมาร์ทกริด ในหลายประเทศ หมายถึง โครงข่ายไฟฟ้าที่สามารถบูรณาการระบบแหล่งผลิตไฟฟ้ากระจายตัว (Distributed Generation, DG) จากชีวมวล ลม และ เซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ปัจจุบัน ยังไม่มีการกำหนดคำจำกัดความหรือนิยามของ สมาร์ทกริด อย่างชัดเจนว่าสมาร์ทกริด คืออะไร อย่างไรก็ดี กระทรวงพลังงานประเทศสหรัฐ (DoE) ได้มีการนำเสนอคุณลักษณะหลักตามหน้าที่การทำงานของ สมาร์ทกริดไว้ 7 ประการ ดังนี้
  1. มีส่วนร่วมของผู้ใช้ไฟฟ้าในการบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น(Active Consumer Participation (Motivated and Includes the Customer))
  2. เพิ่มทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าและการเก็บสะสมไฟฟ้า(Accommodates Generation and Storage Options)
  3. เพิ่มการผลิตไฟฟ้าและการบริการผู้ใช้ไฟฟ้าในรูปแบบใหม่(Enables Products, Services and Markets)
  4. เพิ่มคุณภาพไฟฟ้า(Provides Power Quality)
  5. บริหารจัดการสินทรัพย์ของโครงข่ายอย่างคุ้มค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการในระบบไฟฟ้า(Optimizes Assets Operates Efficiently)
  6. สามารถคาดการณ์และตอบสนองความผิดพลาดในระบบไฟฟ้าได้รวดเร็ว(Resist Attacks (Response to Disturbances))
  7. สามารถฟื้นฟูตัวเอง (Self-Healing) จากการโจมตีและภัยธรรมชาติ (Operates Resiliently Against Attack and Natural Disaster)

คำตอบที่ 2
สมาร์ทกริด หมายถึง โครงข่ายไฟฟ้าในอนาคตโดยการหลอมรวมกันของหลากหลายเทคโนโลยีล่าสุดที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว นั่นคือ เทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ระบบอ่านมิเตอร์อัตโนมัติ (Automatic Meter Reading, AMR) และระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (Advance MeteringInfrastructure, AMI) ระบบบริหารจัดการด้านความต้องการ (Demand Side Management, DSM), รถยนต์ไฟฟ้า (Plug-in Electric Vehicle, PEV), และการเก็บรักษาพลังงาน (Storage) รวมทั้ง ระบบแหล่งผลิตไฟฟ้ากระจายตัว(Distributed Generation, DG) ฯลฯ เป็นต้น
นั่นคือ สมาร์ทกริดสามารถรวมการส่ง-จ่ายไฟฟ้า และบริการใหม่ๆ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า เข้าด้วยกัน ทำให้โครงข่ายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีความชาญฉลาดในการใช้งานรีเลย์ป้องกันและระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) ระบบตรวจวัดและควบคุมสั่งการ (Sensors and Controls)อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ,การควบคุมแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ / พลังรีแอคทีพ(วาร์)และการเก็บรักษาพลังงานของสถานีไฟฟ้าย่อย รวมทั้งมีศักยภาพที่จะช่วยลดค่าความต้องการใช้ไฟฟ้า (Demand) และเพิ่มประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปาทาน (Supply Chain)ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าทั้งหมด นั่นคือ การผลิตไฟฟ้า การส่ง การจำหน่ายหรือแจกจ่ายไฟฟ้า และบริการผู้ใช้ไฟฟ้า
ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ในอนาคตจากเครือข่ายอัตโนมัติในบ้าน (Home Area Network, HAN),อุปกรณ์เครื่องใช้อัจฉริยะ,รถยนต์ไฟฟ้า (PEV) และการควบคุมการใช้พลังงานในอาคารครบวงจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า โดยสมาร์ทกริด จะทำให้โครงข่ายไฟฟ้ามีความเชื่อถือได้ (Reliability)และมีความมั่นคง (Security) รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในรูปข้างล่างแสดงขอบเขตของสมาร์ทกริด โดยส่วนใหญ่

คำตอบที่ 3
สมาร์ทกริด สามารถบูรณาการการทำงานของผู้ใช้งานต่างๆเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ ผู้ผลิตไฟฟ้า ผู้ส่ง จ่ายไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้า ส่งและจำหน่ายไฟฟ้า อย่างปลอดภัย (Safety) มีประสิทธิภาพ (Efficiency)ยั่งยืน (Sustainability), ประหยัด (Economic) มีความเชื่อถือได้ (Reliability)และมีความมั่นคง (Security) รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environment) นอกจากนั้น สมาร์ทกริดยังสามารถรวมการส่ง-จ่ายไฟฟ้า และบริการใหม่ๆ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า เข้าด้วยกัน โดย สมาร์ทกริดมีความชาญฉลาดในการมอนิเตอร์, ควบคุม, สื่อสาร และมีความสามารถฟื้นฟูตัวเอง (Self-Healing) เพื่อ
  • ความสะดวกในการเชื่อมต่อและปฏิบัติการในระบบ DG (Distributed Generation) ที่มีขนาดและเทคโนโลยีต่างๆ
  • ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วมในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการระบบไฟฟ้า โดยการให้ข่าวสารที่สำคัญ และทางเลือกต่างๆแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า
  • ลดผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าโดยรวมลงอย่างมาก
ซึ่งจะทำให้โครงข่ายไฟฟ้ามีความยืดหยุ่นมากขึ้นและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว

คำตอบที่ 4 (http://www.alliantenergy.com)
สมาร์ทกริดคือโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้งานอุปกรณ์และระบบอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการผลิตไฟฟ้า การจัดส่งและจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีความเชื่อถือได้มากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีแบบดิจิตอล ทั้งนี้ระบบสมาร์ทกริดมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความเชื่อถือได้ของโครงข่ายไฟฟ้ามากขึ้น
องค์ประกอบที่สำคัญของสมาร์ทกริด คือการใช้งานระบบอ่านมิเตอร์อัตโนมัติ(Automatic Meter Reading, AMR) และระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (Advance MeteringInfrastructure, AMI) และเทคโนโลยีมิเตอร์อัจฉริยะซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาสมาร์ทกริด

คำตอบที่ 5 (http://www.austinenergy.com)
สมาร์ทกริดสามารถบูรณาการระบบต่างๆ นั่นคือระบบไฟฟ้า;ระบบเครือข่ายสื่อสาร ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการตรวจวัด การควบคุมและการบริหารจัดการ การผลิตไฟฟ้า การจ่าย/กระจายไฟฟ้า การจัดเก็บพลังงาน และการใช้งานพลังงานไฟฟ้า
สมาร์ทกริดในอนาคตจะมีความสามารถในการโต้ตอบแบบอินเตอร์แอกตีฟ และสามารถฟื้นฟูตนเอง (Self-healing) รวมทั้งสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ในโครงข่ายไฟฟ้าได้
สมาร์ทกริดใช้เทคโนโลยีล่าสุดที่ผ่านการพิสูจน์ใช้งานมาแล้วเพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการพลังงานในโครงข่ายไฟฟ้าและการบริการลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้าโดย:
  • การจัดการอุปทานและอุปสงค์ของพลังงานไฟฟ้า
  • การควบคุมการใช้ไฟฟ้า
  • การมอนิเตอร์ไฟฟ้าดับ
สมาร์ทกริดจะช่วยให้ผู้ควบคุมสั่งการ"สามารถมองเห็นระบบ"อย่างครบถ้วน ซึ่งจะช่วยให้โอเปอร์เรเตอร์สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาและปรับเปลี่ยนเส้นทางจ่ายไฟฟ้าได้ตามความจำเป็น รวมทั้งสมาร์ทกริดสามารถเปลี่ยนเส้นทางจ่ายไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ หากบางส่วนของระบบไฟฟ้ามีการใช้งานเกินกำลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพของโครงข่ายไฟฟ้า หรือระบบไฟฟ้ามีความสมดุลย์

คำตอบที่ 6 (http://www.coned.com)
สมาร์ทกริดสามารถหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)เข้ากับระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า และการบริการผู้ใช้ไฟฟ้า ทำให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีความสะอาดมากขึ้น (Cleaner) และมีความมั่นคงปลอดภัย มีความเชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำตอบที่ 7 (http://smartgridcity.xcelenergy.com)
เทคโนโลยีของสมาร์ทกริดสามารถเปลี่ยนปรับระบบผลิตไฟฟ้าและระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในปัจจุบันให้เป็นโครงข่ายไฟฟ้าแบบดิจิตอลที่เชื่อมต่อกัน และเป็นโครงข่ายไฟฟ้าที่ทันสมัย,การอัพเกรดโครงข่ายไฟฟ้าเหล่านี้เป็นการสร้างแนวทางใหม่สำหรับการดำเนินการด้านสาธารณูปโภคและลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้าจะมีส่วนร่วมกันในการจัดการการใช้ไฟฟ้า, สามารถประหยัดเงินค่าไฟฟ้าและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งปรับปรุงเพิ่มความเชื่อถือได้ของโครงข่ายไฟฟ้า

คำตอบที่ 8 (http://www.sdge.com/smartgrid)
สมาร์ทกริดจะเพิ่มความชาญฉลาดทางให้กับโครงข่ายไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมในปัจจุบันผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)และการใช้ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการ มอนิเตอร์และควบคุมสั่งการ โดยผสมผสานข้อมูลข่าวสารแบบดิจิตอลและความสามารถในการจัดการจากระยะไกล โดยสมาร์ทกริดจะช่วยในการ
  • ปรับปรุงความเชื่อถือได้ พิกัดขนาด และความสามารถของโครงข่ายข่ายไฟฟ้า
  • เพิ่มความมั่นคงปลอดภัย,ประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าและการส่งจ่ายไฟฟ้า และเพิ่มประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ตอบสนองและช่วยแก้ไขปํญหาไฟฟ้าดับได้อย่างรวดเร็ว
  • สร้างเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่ยืดหยุ่นต่อการโจมตีด้านไซเบอร์ และเป็นระบบเปิด (Open) รวมทั้งเป็นระบบสารสนเทศแบบไดนามิก

2. โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ กับ โครงข่ายไฟฟ้าที่เรามีในปัจจุบัน แตกต่างกันอย่างไร?
คำตอบ (http://www.duke-energy.com)
คำถามนี้ตอบยาก เพราะขึ้นอยู่กับว่า เรากำลังพูดถึงอะไร? และ เราคาดหวังให้โครงข่ายไฟฟ้าเป็นอย่างไร?
ตัวอย่างง่ายๆ คือ ถ้าคุณอยากจะเขียนจดหมายถึงใครสักคน คุณจะใช้เครื่องพิมพ์ดีด หรือ ใช้คอมพิวเตอร์? แน่นอนว่าเราคงเลือกใช้คอมพิวเตอร์ เพราะเขียนได้เร็ว ตัวหนังสือก็เลือกได้จาก font ที่ต้องการ แถมเขียนผิดก็แก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้ liquid paper(แน่นอนว่า เฉพาะคุณกับผมซึ่งมีคอมพิวเตอร์ใช้ เท่านั้น)
โครงข่ายไฟฟ้าที่เรามีในปัจจุบัน ก็เหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีด ที่ต้องเคาะตัวอักษรไปทีละตัว ลูกเล่นต่างๆ ก็แทบจะไม่มี ทั้งนี้เพราะการออกแบบโครงข่ายไฟฟ้าในอดีตมีเพียงวัตถุประสงค์เดียว คือ ส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าให้ได้ การทำงานของโครงข่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่นี้ ขึ้นอยู่กับการทำงานของอุปกรณ์จำนวนมาก แต่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ และ การทำงานร่วมกันได้อย่างอัตโนมัติ กลับแทบจะไม่มีเลย
นอกจากนั้น คุณก็ทราบดีว่าในปัจจุบันนี้ คุณจะได้รับการติดต่อจากการไฟฟ้าทุกๆ 30 วัน ซึ่งก็เป็นเพียงการแจ้งค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเท่านั้น (เรื่องตลกที่ไม่ตลก คือ ผมค้างจ่ายค่าไฟฟ้า 1 เดือน การไฟฟ้าตัดไฟฟ้าบ้านของผม แต่ผมไม่ได้จ่ายค่าบริการอินเทอร์เน็ต 2 เดือน เขาบอกว่า ไม่จ่ายค่าบริการ 3 เดือน ถึงจะยกเลิกการให้บริการค่ะ)
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน (2011) เราสามารถสื่อสารให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบว่า จะสามารถลดการใช้พลังงานได้อย่างไร? ซึ่งก็หมายถึงการที่ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถกำหนดการใช้ไฟฟ้าได้ด้วยตัวเองนั่นเอง

3. ผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ?
คำตอบ (http://www.coned.com)
ผู้ใช้ไฟฟ้าจะมีไฟฟ้าใช้เกือบตลอดเวลา เพราะระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เนื่องจากโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ช่วยลดเวลาที่เกิดไฟฟ้าดับ ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายใน การบริหารระบบไฟฟ้า และ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบไฟฟ้า

4. โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะมีประโยชน์อย่างไร?
คำตอบที่ 1 (http://www.duke-energy.com)
ด้วยเทคโนโลยีดิจิตัลอันชาญฉลาด ทำงานร่วมกับระบบจัดการพลังงานภายในบ้าน โปรแกรมประหยัดพลังงานสมัยใหม่ และเครื่องมือสื่อสารที่ก้าวหน้า เชื่อมต่อแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่ติดตั้ง ณ บ้านอยู่อาศัย หรืออาคารของผู้ใช้ไฟ เช่น แผงโซล่าร์เซลย์ที่ติดบนหลังคา ช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งกับผู้บริโภค กับการไฟฟ้า และกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้
  • ผู้บริโภคจะมีเครื่องมือช่วยตรวจสอบลักษณะการใช้ไฟฟ้าและช่วยบริหารจัดการค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้ประหยัดมากยิ่งขึ้น
  • ผู้บริโภคจะสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานได้อย่างชาญฉลาดขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งมีส่วนช่วยในการสร้างโลกใบใหม่ที่ใสสะอาดขึ้น จากการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ต่ำลงได้
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าอัจฉริยะ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊ก แห่งอนาคต จะถูกเชื่อมโยงเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อประโยชน์ทั้งกับผู้บริโภคในการซื้อไฟฟ้าจากโครงข่าย หรือผลิตไฟฟ้าใช้เองรวมทั้งขายคืนกลับเข้าสู่โครงข่าย และประโยชน์กับโครงข่ายไฟฟ้านั้นๆ ในการช่วยรักษาเสถียรภาพของโครงข่ายได้ด้วย
  • การไฟฟ้าจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุของไฟฟ้าดับได้ดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน จึงช่วยทำให้สามารถแก้ไขปัญหา และนำระบบกลับสู่สภาวะปกติเพื่อให้บริการอย่างต่อเนื่องได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  • การไฟฟ้าจะสามารถเฝ้าสังเกตุเพื่อตรวจจับเหตุขัดข้องและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันและลดระยะเวลาการเกิดไฟฟ้าดับ เพิ่มคุณภาพการให้บริการ เพิ่มความเชื่อถือได้และส่งจ่ายไฟฟ้าที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าผู้ใช้ไฟ
  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าจะสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง เพื่อช่วยในการปรับการรักษาสมดุลระหว่างกำลังผลิตและความต้องการใช้ไฟฟ้า ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ได้อย่างทันท่วงทีและอย่างประหยัด ลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาพลังงานในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีค่าสูง

คำตอบที่ 2 (http://smartgridcity.xcelenergy.com)
  • ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ามีความเชื่อถือได้สูงขึ้น ลดโอกาสการเกิดปัญหาไฟตก ไฟดับให้น้อยลง
  • มีระบบตรวจการและเฝ้าระวังโครงข่ายไฟฟ้าแบบเวลาจริง ช่วยให้การไฟฟ้าสามารถทำนายโอกาสที่อุปกรณ์แต่ละตัวอาจจะทำงานผิดพลาดหรือเสียหาย และจัดแผนการดูแลซ่อมบำรุง เพื่อป้องกันมิให้ส่งผลให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับได้
  • ในกรณีที่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับขึ้น ผู้บริโภคจะสามารถกลับมาใช้ไฟฟ้าได้ใหม่ภายในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากเทคโนโลยีกริดอัจฉริยะจะช่วยให้การไฟฟ้าสามารถตรวจสอบสถานะของมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟ และวิเคราะห์ปัญหาของการเกิดเหตุขัดข้องได้อย่างรวดเร็ว
  • ผู้ใช้ไฟที่ติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะ (Smart meter) สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานและบริหารจัดการเพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าและลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้โดยสะดวกผ่านหน้าต่างแสดงลักษณะการใช้พลังงานของผู้ใช้ด้วยระบบเว็บไซต์

คำตอบที่ 3 (http://www.connsmart.net)
ลูกค้าผู้ใช้ไฟในแต่ละพื้นที่บริการจะได้สัมผัสถึงประโยชน์ที่จะได้รับในรูปแบบที่หลากหลาย แตกต่างจากเดิม ก้าวสู่ทศวรรศหน้า การได้มีส่วนร่วมกับการไฟฟ้าในท้องถิ่น ของผู้ใช้ไฟจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้
มีข้อมูลช่วยในการตัดสินใจมากขึ้น: สามารถรับรู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้แบบเวลาจริง รับรู้ช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ผ่านเว็บไซต์ หรือในที่สุด ผ่านระบบแสดงผลบนหน้าจอที่ติดตั้งไว้ ณ บ้านอยู่อาศัย หรืออาคาร สำนักงานของผู้ใช้ไฟ
ผู้บริโภคมีทางเลือกในการประหยัด: ลดค่าไฟฟ้าของคุณได้ โดยการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง “peak” ที่อัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วยมีราคาแพงที่สุด และหากคุณต้องการ การไฟฟ้าสามารถติดตั้งระบบควบคุมในลักษณะนี้ให้เป็นแบบอัตโนมัติได้เลย
ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของการไฟฟ้า: เทคโนโลยีกริดอัจฉริยะจะช่วยให้การไฟฟ้าดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะถูกจัดสรรลงในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าจากลูกค้าผู้ใช้ไฟ ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายในการส่งเจ้าหน้าที่ไปจดบันทึกการใช้ไฟ ณ สถานประกอบการของลูกค้า จะลดลงอย่างมาก เนื่องจากมิเตอร์สามารถอ่านค่าและรายงานผลได้เองโดยอัตโนมัติ
การไฟฟ้าสามารถให้บริการที่ดีขึ้น: ด้วยเทคโนโลยีกริดอัจฉริยะ การไฟฟ้าสามารถให้บริการและแก้ไขเหตุขัดข้องให้กับลูกค้าผู้ใช้ไฟได้อย่างรวดเร็วและอย่างมีประสิทธิผล จนกระทั่งคุณอาจจะยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่ามีปัญหาเกิดขึ้น ทั้งนี้ ครอบคลุมตั้งแต่บริการตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับใบเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ไปจนถึงการนำระบบกลับมาให้บริการได้เหมือนเดิมหลังจากเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ
ลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง โดยอาศัยการใช้ประโยชน์จากแหล่งกำเนิดพลังงานและอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลายรูปแบบ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น แปลงผันเป็นพลังงานไฟฟ้าเชื่อมโยงเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่
ลดปริมาณการใช้น้ำมันและล่องรอยการปลดปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ ด้วยในอนาคตจะมีจำนวนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีสะอาดอื่นๆ ที่พัฒนาให้เป็นจริงได้ด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีกริดอัจฉริยะ

5. ทำไมเราจึงต้องพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้ชาญฉลาดกว่าในปัจจุบัน?
คำตอบ (http://norwichpublicutilities.com)
กริด หรือโครงข่ายการส่งจ่ายไฟฟ้าที่เชื่อมโยงระหว่างโรงไฟฟ้ากับความต้องการใช้ไฟฟ้าของบ้านอยู่อาศัย ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม ได้ทำหน้าที่เป็นอย่างดีมานานนับหลายปี แต่ในปัจจุบันการไฟฟ้า รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโครงข่ายฟ้าที่เคยมีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่จะสูงขึ้น (เนื่องมาจากประสิทธิภาพของระบบที่ถดถอยลง) ปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาไฟตกไฟดับบ่อยครั้งขึ้น รวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยเหล่านี้ เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนจำนวนมหาศาลเพื่อที่จะพลิกโฉมกริดไฟฟ้าจากเดิมที่เคยเป็นโครงสร้างในแนวดิ่งที่มีทิศทางการไหลของกำลังไฟฟ้าในทิศทางเดียว จากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไปสู่ผู้ใช้ไฟ ให้เปลี่ยนไปเป็นโครงสร้างในแนวราบ ที่ทั้งปริมาณการไหลของกำลังไฟฟ้า รวมถึงข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสามารถไหลไปและกลับได้ทั้งสองทิศทาง ระหว่างระบบส่งจ่าย โรงไฟฟ้า รวมจนถึงผู้ใช้ไฟ

6. ทำไมการไฟฟ้าจึงต้องลงทุนพัฒนากริดอัจฉริยะ?
คำตอบ (http://smartgridcity.xcelenergy.com)
กริดไฟฟ้าที่ใช้งานกันมาก่อนหน้านี้จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก ในช่วงกว่าร้อยปีที่ผ่านมา และด้วยความต้องการใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว เกินกว่าที่กริดไฟฟ้าเทคโนโลยีปัจจุบันจะตอบสนองได้ทันนั้น หากการไฟฟ้ามิได้พัฒนาขยายความสามารถของระบบเพื่อรองรับกับประมาณการความต้องการไฟฟ้าที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 40 ในช่วงระยะเวลาอีก 25 ปีข้างหน้า ความเชื่อถือได้ในการส่งจ่ายไฟฟ้าคงจะต้องถดถอยลงเรื่อยๆ แต่ด้วยการพัฒนาให้เกิด กริดอัจฉริยะนี้ จะทำให้วิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่ต้องการพลังงานที่สะอาดเป็นจริงขึ้นมาได้ อีกทั้งโครงข่ายไฟฟ้าจะสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟไปได้จนถึงศตวรรษหน้า

7. กริดอัจฉริยะ จะก่อให้เกิดประโยชน์อะไรได้บ้าง?
คำตอบ (http://www.connsmart.net)
เมื่อพัฒนากริดอัจฉริยะจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว โครงข่ายไฟฟ้าจะ:
  • มีประสิทธิภาพการส่งจ่ายพลังงานดียิ่งขึ้น
  • มีความเชื่อถือได้สูงขึ้น
  • มีความมั่นคงของระบบดียิ่งขึ้น
  • ปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและนำระบบกลับคืนสู่สภาวะปกติได้เองโดยอัตโนมัติ หลังเกิดเหตุขัดข้อง
  • ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการทำงานของกริดอัจฉริยะได้อย่างเต็มที่ ในหลากหลายรูปแบบ
  • รองรับกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้า โดยการลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของระบบ รองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอัจฉริยะ และรถยนต์ไฟฟ้า

8. มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดในการพัฒนากริดอัจฉริยะ?
คำตอบ (http://www.duke-energy.com)
เทคโนโลยีกริดอัจฉริยะจะเป็นกลจักรสำคัญของวิวัฒนาการด้านพลังงาน ด้วยการประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการทำงานแบบอัตโนมัติ ช่วยทำให้ผู้ใช้ไฟและการไฟฟ้าสามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งโครงข่ายพลังงานที่เชื่อถือได้ พลังงานสะอาด และมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ยอมรับได้ หากไม่เริ่มพัฒนาในวันนี้ คงเป็นการยากยิ่งที่จะผลิตและใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่าและยั่งยืนได้จริง

โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)

โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Grid เป็นโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารมาบริหารจัดการ ควบคุมการผลิต ส่ง และจ่ายพลังงานไฟฟ้า สามารถรองรับการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาดที่กระจายอยู่ทั่วไป (Distributed Energy Resource : DER) และระบบบริหารการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งให้บริการกับผู้เชื่อมต่อกับโครงข่ายผ่านมิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้ มีคุณภาพไฟฟ้าได้มาตรฐานสากล
ความอัจฉริยะนี้ เกิดจากการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ระบบสารสนเทศ ระบบสื่อสาร เข้าไว้ด้วยกันเป็นโครงข่าย ซึ่งโครงข่ายดังกล่าวจะสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่
1. อิเล็กทรอนิกส์และระบบฝังตัว (Electronics and Embedded Systems)
2. ระบบควบคุมอัตโนมัติ (System Control and Automation)
3. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)

การใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด และรู้คุณค่า เพื่อชีวิตที่สะดวกสบาย สู่สังคมและโลกที่น่าอยู่ในอนาคต
PEA SMART GRID for Smart Energy, Smart Life and Smart Community

Smart Energy : การใช้พลังงานอย่างชาญฉลาดและรู้คุณค่า
ด้วยประสิทธิภาพของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) โลกของเราจะสามารถพัฒนาพลังงานไฟฟ้าเพื่อการใช้อย่าง ชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการผลิต และส่งจ่ายพลังงานสู่ผู้ใช้ไฟฟ้า (Supply side) รวมทั้งด้านของผู้ใช้ไฟฟ้า (Demand side)

แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Electrical Energy Supply/Source)
นอกจากประกอบด้วยโรงไฟฟ้าตามรูปแบบดั้งเดิม เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน, ก๊าซ, เขื่อนพลังงานน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น แล้ว รูปแบบแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า และแนวคิดที่มีบทบาทมากขึ้นในอนาคต ได้แก่
พลังงานทดแทน (Renewable Energy) เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวภาพ ชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น
แหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ (Distributed Generation) เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็ก ติดตั้งบนหลังคาเรือน (Rooftop Photo Voltaic ) กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (Small Wind Turbine) เป็นต้น
แหล่งกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) เช่น ตัวเก็บประจุไฟฟ้าชนิดอุลตร้า (Ultra capacitor), วงล้อ Flywheel, และ แบตเตอรี เป็นต้นรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle, EV) ซึ่งมีแบตเตอรีที่เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant, VPP) เป็นการจัดการกลุ่มแหล่งจ่ายพลังงานขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีควบคุม สั่งการระยะไกลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถจ่ายไฟจากกลุ่มแหล่งจ่ายไฟข้างต้นเข้าโครงข่ายไฟฟ้าเสมือนหนึ่งจ่าย จากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในอดีต

ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Electrical Power System)
นอกจากแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะข้างต้นแล้ว โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ยังรวมไปถึงระบบไฟฟ้าอัจฉริยะที่จะ เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าอีกด้วย โดยคุณสมบัติของระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ ได้แก่
สามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ (Automation) ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะฉุกเฉิน
สามารถตรวจวัดสภาวะของระบบ (Sense and Monitor) ณ เวลาจริง
สามารถสื่อสารข้อมูลโต้ตอบ (Data Integration, Interoperability, Two-way Communication/Interactive) กับบุคคล อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และระบบงานต่างๆ ทั้งภายในการไฟฟ้า
สามารถขายและซื้อไฟฟ้ากับคู่สัญญา ซึ่งอาจจะเป็นทั้งผู้ใช้ไฟและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Producer & Consumer or Prosumer)
รองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle, EV)
รองรับบ้านเรือนที่พักอาศัย สำนักงาน และอาคารอัจฉริยะ (Smart and Green Office/Building/Home)

Smart Life : เพื่อชีวิตที่สะดวกสบาย
ผู้คนมีวิถีชีวิตในแต่ละวันอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน แหล่งเรียนรู้ ออกกำลังกาย ฝึกจิตใจและพักผ่อนตามสถานที่ท่องเที่ยว ศาสนสถาน และแหล่งบันเทิงต่างๆ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะรองรับบ้านเรือนที่พักอาศัย สำนักงาน และอาคารอัจฉริยะ (Smart and Green Office/Building/Home) ผู้ใช้ไฟสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการใช้ไฟฟ้าได้มากขึ้น (Active Consumer Participation (Motivated and Includes the Customer))
บ้านอัจฉริยะ (Smart Home)
• ประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สมาร์ทหลากหลายชนิด ที่มีสมองกลฝังตัว (Embedded System) ซึ่งจะใช้พลังงาน ไฟฟ้าน้อย ไม่ก่อปัญหามลภาวะ
• สามารถควบคุมการใช้งานได้จากระยะไกลผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สายแบบพกพา หรือผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่น มือถือ, PDA, Smart Phone, Tablet, ระบบอินเตอร์เน็ตในที่ทำงาน, ร้านอินเตอร์เน็ตทั่วไป เป็นต้น)
• รองรับรถยนต์ไฟฟ้า
• ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น Rooftop PV, Small Wind Turbine เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวที่เกิดขึ้นทำให้ ผู้ใช้ไฟเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพร้อมกันในเวลาเดียวกัน
• การไฟฟ้าจะติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meter) และอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูล (Data Concentrator Unit, DCU) สามารถส่งและรับข้อมูลต่างๆ จากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำให้เจ้าของบ้านสามารถทราบข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ค่าไฟที่ เกิดขึ้นจากการใช้ในขณะนั้น ทำให้การไฟฟ้าและเจ้าของบ้านสามารถร่วมกันจัดการการใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าของบ้านสามารถลดการใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการใช้ไฟไปใช้ไฟในช่วงที่ค่าไฟถูก

Smart Community : สู่สังคมและโลกที่น่าอยู่ในอนาคต
ชุมชนที่สมาร์ท หรือสังคมที่สมาร์ท (Smart Community or Society) หมายถึง
• ชุมชนที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างอิสระผ่านเครือข่ายสังคมดิจิตอล (Digital Social Network)
• มีระบบการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่ดี จำกัดการก่อมลภาวะ กำจัดสิ่งเหลือใช้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ พร้อมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
• มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
• จัดให้มีระบบสถานีบริการไฟฟ้าให้บริการแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า จักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถขนส่งมวลชน ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า
• มีระบบการควบคุมระบบผลิตไฟฟ้าของสมาชิกในชุมชนที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ชีวภาพ ชีวมวล ด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดจิ๋ว (Micro Turbine) เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant, VPP)
• รวมกลุ่มเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่เป็นทางเลือกอื่นๆ เพื่อลดการใช้น้ำมันและก๊าซเชื้อเพลิงลดการ นำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

SMART GRID วิสัยทัศน์การใช้พลังงานในอนาคต

source : http://www.creativethailand.org/th/creativecity/creativecity_detail.php?id=22

ภาพจาก Creative Commons (flickr.com/creativecommons) By The City of Toronto
ในวันที่การจัดการด้านพลังงานคือความท้าทายสำคัญของโลก และมนุษย์ยังไม่สามารถหาวิธีลดการบริโภคของตนเองลงได้ นอกจากการสรรหาแหล่งพลังงานทางเลือกอย่างลมและแสงอาทิตย์ที่กลายมาเป็นทางหลักในการจัดการกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานแล้ว การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือสิ่งหนึ่งที่ทุกเมืองทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ

เรากำลังพูดถึงเทคโนโลยีล่าสุดด้านการจัดการพลังงานไฟฟ้าที่กำลังเข้ามามีบทบาทในการวางโครงสร้างสาธารณูปโภคในเมืองใหญ่น้อยทั่วโลกที่มีความพร้อม ส่งผลให้แนวโน้มของเมืองในอนาคตกำลังก้าวไปสู่เมืองอัจฉริยะที่มีแนวคิดรักษ์โลกนำหน้า

“สมาร์ทกริด”(Smart Grid) คือระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สมาร์ทกริดทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าจากผู้ให้บริการไปยังผู้ใช้บริการด้วยระบบการสื่อสารสองทางเพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า ณ บ้านของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทที่ให้บริการระบบส่งจ่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริดได้พัฒนาโปรแกรมพร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้ตามเวลาจริง (Real Time) ไว้ที่แต่ละครัวเรือนว่ามีการใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่ จุดไหนใช้มากน้อยอย่างไร เพื่อช่วยคำนวณการแจกจ่ายกระแสไฟของเมือง ช่วยให้การจ่ายกระแสไฟฟ้ามีความเสถียร ลดปัญหาไฟดับในช่วงที่มีการใช้ไฟสูง ทั้งยังทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นพฤติกรรมและปรับลดการใช้พลังงานของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบสมาร์ทกริดเกิดขึ้น เป็นเพราะแนวโน้มในธุรกิจไฟฟ้าของโลกเบนเข็มมาที่การใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือพลังงานชีวภาพอื่นๆ และผู้ใช้ก็เป็นฝ่ายผลิตไฟฟ้าได้เองจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลหรือกังหันลม ซึ่งเมื่อผลิตไฟฟ้าได้เกินจากการใช้งานก็ย่อมสามารถส่งกลับไปขายให้รัฐหรือบริษัทผู้ให้บริการไฟฟ้าได้ แต่ทั้งหมดนี้ยังขาดการบริหารการผลิตหรือรองรับการจัดเก็บในระบบอุตสาหกรรม จึงไม่สามารถจัดสรรพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในระบบในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ระบบกริดอัจฉริยะนี้จึงเข้ามาช่วยจัดการการผลิต จัดเก็บ และจัดสรรพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นไม่เพียงประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ระบบนี้ยังมุ่งเน้นไปในด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงานทดแทนด้วย

แม้ว่าชื่อของมันจะไม่คุ้นหูคนทั่วไป แต่แนวคิดกริดอัจฉริยะนี้ก็มีขึ้นมาตั้งแต่ยุคอนาล็อกแล้ว และเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีต่างๆ เอื้อให้แนวคิดสุดล้ำจากอดีตเป็นจริงขึ้นมา บริษัทและองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้าจึงทุ่มทุนวิจัยและพัฒนาสมาร์ทกริดเพื่อนำมาใช้อย่างจริงจัง โครงการนำร่องในการทดสอบการใช้งานสมาร์ทกริดจึงกำลังเบ่งบานขึ้นในหลายประเทศของยุโรป หลายเมืองในอเมริกา และประเทศในเอเชียที่สนใจการลงทุนพัฒนาเพื่ออนาคต เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น


ภาพจาก http://2.bp.blogspot.com, www.touchstoneservices.co.uk
การคำนวณอันชาญฉลาด

  เพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานของสมาร์ทกริด ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณแบบกริด (Grid Computing) เสียก่อน กริดคอมพิวติ้ง คือ การคำนวณซึ่งเกิดจากการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงหลายเครื่องมาทำงานเชื่อมต่อกัน เพื่อให้ได้การประมวลผลที่มีประสิทธิภาพในการคำนวณที่ละเอียดซับซ้อน สมาร์ทกริดจึงทำงานคล้ายกับอินเทอร์เน็ต ที่มีเราเตอร์ (Router) ในการเชื่อมต่อข้อมูล สมาร์ทกริดก็มีมิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meter) ที่ปรับปรุงการอ่านค่าการใช้ไฟให้ละเอียดยิ่งขึ้น ทำงานร่วมกับ "อุปกรณ์ควบคุมพลังงานภายในบ้าน" ที่ส่งสัญญาณคล้ายเรื่องรับส่งสัญญาณโทรทัศน์หรืออินเทอร์เน็ตไร้สาย เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และส่งสัญญาณโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้ว่าการใช้พลังงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ และผู้ใช้ยังสามารถตรวจสอบการใช้งานได้จากเว็บของผู้ให้บริการผ่านคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย

การวางแผนเพื่อมุ่งหน้าไปสู่เมืองอัจฉริยะด้วยสมาร์ทกริด ต้องวางโครงสร้างให้ครบวงจรทั้งระบบตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ และการส่งจ่ายไฟฟ้า ซึ่งละเอียดไปจนถึงการใช้งานในแต่ละเต้าเสียบของบ้านเลยทีเดียว และต้องมีการสื่อสารสองทางในทุกขั้นตอน ซึ่งมาจากการวางโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะหรือสมาร์ทกริดที่ผสานรวมโครงสร้างพื้นฐานของระบบส่งไฟฟ้าที่มีอยู่เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารอย่างกลมกลืน

โครงสร้างหลักคร่าวๆ นี้อาจเพิ่มเติมและเปลี่ยนไปตามวิธีการของบริษัทผู้ให้บริการและความเหมาะสมของแต่ละเมือง ส่วนการกระตุ้นการใช้งานจะเน้นสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมในการแบ่งปันข้อมูลการวางแผนใช้ไฟฟ้า เช่น การเลี่ยงไปใช้ไฟในเวลาที่ไม่ค่อยมีคนใช้กันซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยถูกกว่าช่วงพีค หรือการแชร์เคล็ดลับการลดพลังงานกับเพื่อนบ้าน ไปจนถึงการตั้งรางวัลให้กับผู้ที่สามารถลดพลังงานได้มากกว่าใคร เป็นต้น
 
ตลาดใหม่ ที่ใหญ่ “ระดับโลก”

ด้วยแนวโน้มในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่หัวก้าวหน้ามากมายจะกระโดดลงมาจับตลาดเทคโนโลยีเพื่อพลังงานสะอาดกันถ้วนหน้า แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ระบบสมาร์ทกริดนั้นเป็นโครงข่ายอันใหญ่ ซึ่งเกิดจากการทำงานสอดประสานกันของเทคโนโลยีย่อยๆ อีกที นวัตกรรมที่ว่านี้จึงมีทั้งด้านอุปกรณ์ ซอฟท์แวร์ และนวัตกรรมด้านการจัดการอีกมากมาย เช่น อุปกรณ์มิเตอร์อัจฉริยะ, ผู้ให้บริการเครือข่าย, ระบบการจัดการการใช้พลังงานในครัวเรือน-สำนักงาน, ระบบการจัดการข้อมูลของหน่วยวัด เป็นต้น ฉะนั้น ภายใต้ร่มคันใหญ่ของสมาร์ทกริดจึงมีบริษัทที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ทำงานร่วมกันอยู่ อย่างไอบีเอ็มที่ถือเป็นบริษัทระดับแนวหน้าในการบูรณาการองค์ความรู้สมาร์ทกริด และมีโครงการนำร่องด้านการจัดการสาธารณูปโภคมากมาย รวมถึงงานวิจัยและทดลองใช้สมาร์ทกริดในอเมริกาและยุโรป และเป็นส่วนหนึ่งในโครงการระดับนานาชาติในการวางระบบสมาร์ทกริดที่ประเทศมอลต้า เมืองอัมสเตอร์ดัม และอีกหลายประเทศทั่วโลก นอกจากสมาร์ทกริดแล้ว ไอบีเอ็มยังสร้างโครงการ Smarter City แผนผังเมืองที่อัจฉริยะรอบด้าน ไม่เพียงแค่สาธารณูปโภคเท่านั้นอีกด้วย

อีกหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอทีที่ได้ประยุกต์ความเชี่ยวชาญด้านนี้มาใช้กับการประมวลผลเพื่อบริหารจัดการกับระบบสาธารณูปโภคได้ดีคือซิสโก้ หนึ่งในผู้พัฒนาระบบสมาร์ทกริดรายแรกๆ ที่มีองค์ความรู้เฉพาะและได้ทำโครงการนำร่องน้อยใหญ่มากมาย เช่น โครงการวางระบบสมาร์ทกริดกับกลุ่มตัวอย่างเล็ก 70 หลังคาเรือนในเยอรมนี และเป็นพาร์ทเนอร์กับไอบีเอ็มในการเปลี่ยนเมืองอัมสเตอร์ดัมให้ก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยสมาร์ทกริด เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีผู้เล่นหลักในตลาดอีกหลายบริษัทไม่ว่าจะเป็นจีอี,ซิลเวอร์สปริง,เอ็นแม็กซ์,หรือเซลอีเนอร์จี เพราะโอกาสกำลังเปิดกว้างสำหรับธุรกิจไฟฟ้าในเมืองแห่งอนาคต กระทั่งกูเกิลก็มองเห็นศักยภาพที่จะลงทุนในธุรกิจพลังงานนี้ด้วยการเตรียมพร้อมในทุกด้านเพื่อสร้างโปรแกรมที่จะรองรับการใช้งานพลังงานในครัวเรือนที่ชื่อว่า The PowerMeter ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับมิเตอร์อัจฉริยะ โดยจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ให้สามารถกำหนดการใช้งานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงตั้งโปรแกรมเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ใช้ไฟในช่วงที่มีราคาต่ำโดยสามารถดูค่าไฟได้ในแบบรีลไทม์และปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าตามการวิเคราะห์ของซอฟท์แวร์ เพื่อให้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สำหรับกูเกิลที่เคยออกแบบโปรแกรมสำหรับการใช้งานต่างแบบบนแพลทฟอร์มต่างๆ จึงถือว่ามีพื้นฐานดีเยี่ยมในการลงสนามการจัดการพลังงานในรูปแบบดิจิทัลอย่างมาก

SMART GRID
วิสัยทัศการใช้พลังงานในอนาคต

โครงการนำร่องกับเมืองหัวก้าวหน้า

 ระบบการทำงานของสมาร์ทกริดจะต้องถูกวางรากฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าทั้งระบบจึงจะคุ้มค่าการลงทุน เพราะมูลค่าโครงสร้างพื้นฐานของสมาร์ทกริดนั้นสูงได้ถึงกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขึ้นอยู่กับพื้นที่เมืองหรือประเทศ) การจะเปลี่ยนแปลงจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐเป็นสำคัญด้วย เรามาดูตัวอย่างเมืองที่ได้ร่วมกับบริษัทผู้ให้บริการทดลองระบบสมาร์ทกริดกัน

มอลต้า
กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้านสาธารณูปโภค


 มอลต้า ประเทศเกาะในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีประชากรราวสี่แสนคนบนพื้นที่ที่เล็กกว่าวอชิงตันสองเท่าได้มอบสัมปทานให้ไอบีเอ็มเข้ามาออกแบบและเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณูปโภคทั้งน้ำและไฟฟ้าของประเทศ ในส่วนของไฟฟ้าได้เปลี่ยนมิเตอร์วัดแบบอนาล็อก 250,000 เครื่อง มาเป็นมิเตอร์อัจฉริยะทั้งหมด พร้อมติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบการใช้งานตามเวลาจริงเพื่อช่วยวางแผนการใช้งานพลังงาน รวมถึงมีทางเลือกในการควบคุมการใช้โดยการจ่ายค่าไฟในระบบพรีเพด (Pre-paid) โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2008 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2012

ชิคาโก
สมาร์ทกริดกับอาคารในเมืองใหญ่


สมาร์ทกริดกับอาคารในเมืองใหญ่ในชิคาโก (ภาพจาก www.archpaper.com)
ชิคาโก เมืองผู้นำในนวัตกรรมด้านสาธารณูปโภคไฟฟ้าและอุตสาหกรรมพลังงานก็ไม่พลาดที่จะทดลองระบบสมาร์ทกริดซึ่งสนับสนุนการการผลิตพลังงานสะอาด แม้ว่าความหนาแน่นของตึกรามบ้านช่องและประชากรจะถึงจุดสูงสุดมาตั้งแต่ปี 1960จนไม่สามารถสร้างตึกใหม่ที่มาพร้อมกับนวัตกรรมสีเขียวเฉกเช่นเมืองที่เติบโตใหม่ได้ แต่กับตึกที่มีอยู่เดิมนั้น ชิคาโกก็ได้ปรับปรุงให้มีฟังก์ชั่นการผลิตพลังงานไฟฟ้าและใช้นวัตกรรมการประหยัดพลังงานใหม่ๆ อยู่เสมอ เมื่อมีความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าของเมืองมาสู่สมาร์ทกริดจาก BOMA (Building Owners and Managers Association) องค์กรที่บริหารจัดการด้านทรัพย์สินของชิคาโกกับ ISTC (Illinois Science and Technology Coalition) ซึ่งทำงานด้านวิจัยและพัฒนา ร่วมด้วยกลุ่มองค์กรอื่นๆ ที่สนใจสมาร์ทกริดช่วยกันจัดหาทุนในการสร้างระบบนี้ขึ้นมา โครงสร้างดังกล่าวจึงกำลังก่อตัวขึ้นกับกลุ่มอาคารที่อาสาเข้าร่วมโครงการ เริ่มตั้งแต่ต้นสายการผลิตไฟฟ้า การเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้ ไปจนถึงการส่งจ่ายพลังงานที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ ผลการทดลองได้ถูกประมวลไว้เป็นภาพกราฟิกซึ่งแทนที่การใช้พลังงานด้วยสีแดง (ใช้มาก) สีส้ม (ปานกลาง) ไปจนถึงสีเขียว (ประหยัดพลังงานได้มากที่สุด) ทำให้เห็นว่าอาคารหลายแห่งได้เปลี่ยนเป็นสีเขียวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และหลายครั้งก็สลับบทบาทกันตามวาระ บางทีก็เป็นผู้ใช้ไฟตัวยง และบางทีก็กลายเป็นผู้ผลิตไฟอย่างเหลือเฟือส่งไปยังอาคารข้างเคียงได้ ตัวอย่างที่ดีเหล่านี้ทำให้ความร่วมมือนี้กำลังขยายผลไปยังอาคารอื่นๆ และมีความมุ่งมั่นว่าจะทำให้เมืองชิคาโกเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสมาร์ทกริดเลยทีเดียว

โบลเดอร์
เมืองแห่งสมาร์ทกริดเต็มรูปแบบ


 เมืองโบลเดอร์ในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้ชื่อว่าเป็น Smart City ด้วยระบบสมาร์ทกริดที่วางให้กับครัวเรือนในระยะที่ 1 ราว 45,000 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นโครงการที่เซลอีเนอร์จี (XEL Energy) ทำร่วมกับเมืองโดยประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ภายใต้การวางระบบสมาร์ทกริดตลอดทั้งเมือง ครัวเรือนแต่ละหลังจะได้รับมิเตอร์อัจฉริยะ ทำงานร่วมกับชุดเครื่องมือส่งสัญญาณทางอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น นอกจากมอนิเตอร์ที่เห็นเป็นตัวเลขจากอุปกรณ์เหล่านี้ ผู้ใช้ยังสามารถตรวจสอบการใช้งานได้ทางเว็บของเซลอีเนอร์จี ซึ่งแสดงผลการใช้งานไฟฟ้าของครัวเรือนนั้นๆ อย่างละเอียด เปรียบเทียบให้เห็นเป็นกราฟที่ดูง่าย สามารถนำไปวางแผนการใช้งานเพื่อประหยัดเงินและประหยัดพลังงาน นอกจากนั้นสมาร์ทกริดยังช่วยให้ไฟฟ้าในเมืองมีความเสถียรยิ่งขึ้นด้วยระบบจัดเก็บ - ส่งจ่ายไฟฟ้าที่ดี และเครือข่ายการสื่อสารสองทางตลอดทั้งระบบ ทำให้รู้จุดที่เกิดปัญหา สามารถเข้าไปแก้ไขได้ทันที การร้องเรียนเรื่องไฟดับและไฟตกตั้งแต่ติดตั้งสมาร์ทกริดเมื่อปี 2006 - 2009 ในโครงการระยะที่ 1 จึงลดลงถึงร้อยละ 90 ขณะนี้กำลังขยายโครงการไปสู่ระยะที่ 2เพื่อให้สมาร์ทกริดครอบคลุมการใช้งานไปทั้งเมือง
เทคโนโลยีที่ดี คือเทคโนโลยีที่เอื้อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในอนาคต ร้อยละ 70 ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเมือง เมืองจึงต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ฉลาด เพื่อสร้างรูปแบบการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน อันหมายถึงการไม่เบียดเบียนสิทธิในการใช้ทรัพยากรของคนรุ่นหลังเช่นเดียวกัน

เรื่องโดย อาศิรา พนาราม

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความจำเป็นกับการสร้างโรงไฟฟ้าในไทย ?

source : http://www.thainews-online.com/index.php?mo=3&art=42015307

กลับมาดูที่ประเทศไทย ทำไม ? มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ? ที่ประเทศไทยจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาด มาเริ่มดูจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในระยะยาว หรือ พีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 คือ ตั้งแต่ ปี 2553 - 2573 ที่ได้กำหนดไว้ว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ สัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า จะต้องมาจากก๊าซธรรมชาติสูงที่สุด 58% รองลงมาพลังงานหมุนเวียน 18% ถ่านหินนำเข้า 12% ถ่านลิกไนต์ 7% และนิวเคลียร์ 5% ตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่เป็น 55,065 เมกะวัตต์ เพราะในอีก 10 - 15 ปีข้างหน้า แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังจะหมดไป ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าของคนไทยกลับเพิ่มขึ้นทุกปีและจะพุ่งสูงขึ้นถึง 60,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573 โดยในปีนี้ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือ พีค ก็เกือบ 26,000 เมกะวัตต์

ทำให้หน่วยงานหลักในการจัดหาไฟฟ้าเพื่อป้อนให้กับประเทศ อย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ต้องเร่งหาข้อสรุปเพื่อเดินหน้าผลิตไฟฟ้าป้อนความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ป้องกันปัญหาไฟตกไฟดับที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

นายพงษ์ดิษฐ พจนา ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ. เปิดใจว่า อยากเสนอรัฐบาลให้ยกระดับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้เป็น "วาระแห่งชาติ" เพื่อหาข้อสรุปว่า ในอนาคตการผลิตไฟฟ้าของประเทศจะต้องใช้เชื้อเพลิงใดเป็นหลัก เช่น พลังงานหมุนเวียน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน นิวเคลียร์ น้ำ เพื่อจะได้ลงทุนก่อสร้างได้ถูกต้องตามความต้องการ เพราะปัจจุบันทางเลือกของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามีไม่มาก โดยทางเลือกที่ยังสามารถดำเนินการได้ คือ 1.โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด 2.โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 3.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4.โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5. การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ 6. การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า และ 7. การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แน่นอนว่าแต่ละทางเลือกย่อมมีทั้งข้อดี และข้อจำกัดในตัวเอง ซึ่งการที่รัฐบาล และประชาชน จะต้องยอมรับผลที่จะตามมาด้วย เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้ก๊าซธรรมชาติที่ในอนาคตในอ่าวไทยจะหมดไป ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจีจากต่างประเทศ การพึ่งพาการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน หากมีปัญหาเกิดขึ้นในอนาคต อาจทำให้ราคาเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาค่าไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วย

โดยต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ต้องยอมรับว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีต้นทุนถูกที่สุดอยู่ที่หน่วยละ 2.30 บาท และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ แต่คงยากที่จะเกิดขึ้นที่ประเทศไทยในเร็ว ๆ นี้ เพราะสังคมไทยยังยอมรับไม่ได้ ขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด มีต้นทุนเพียง 2.36 บาทต่อหน่วย และมีปริมาณสำรองที่ใช้ได้มากถึง 200 ปี

ส่วนพลังงานหมุนเวียน ทั้งพลังน้ำ พลังลม ขยะ แสงอาทิตย์ ที่แม้สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่มีความไม่แน่นอนเพราะผลิตไฟฟ้าได้เพียงวันละ 5-6 ชั่วโมง แถมยังมีต้นทุนสูง โดยการผลิตไฟฟ้าจากลม มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 5-6 บาทต่อหน่วย แสงอาทิตย์ มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 8-9 บาทต่อหน่วย ชีวมวล ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 2.80 - 3.50 บาทต่อหน่วย ขณะที่ก๊าซธรรมชาติมีต้นทุนอยู่ที่ 3.20 บาทต่อหน่วย

นอกจากนี้ กฟผ.ยังต้องการให้รัฐบาลเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน เช่น การกำหนดโซนนิ่งเขตอุตสาหกรรมกับไฟฟ้าให้อยู่ใกล้กัน การจัดหา การเวนคืนที่ดิน การสื่อสารกับประชาชน เป็นต้น รวมถึงการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม นายพงษ์ดิษฐ ยังย้ำด้วยว่า การตัดสินใจดังกล่าวจะต้องเร่งดำเนินการ เพราะหากไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มในปี 2557 อาจเกิดปัญหาไฟฟ้าดับเป็นโซน ๆ ก็ได้

จากแผนพีดีพี 2010 และราคาต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ถูกรองลงมาจากนิวเคลียร์ ที่ขณะนี้บ้านเรายังไม่สามารถดำเนินการได้ และไม่รู้ว่าอนาคตจะสามารถสร้างได้หรือไม่นั้น ทำให้โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด เป็นตัวเลือกหลักที่เกือบจะดีที่สุดในขณะนี้ ที่ กฟผ.เลือกที่จะก่อสร้างภายในปี 2556 เพราะมีราคาค่าไฟถูก มีปริมาณสำรองที่มากเพียงพอ โดยเลือกพื้นที่ก่อสร้างในพื้นที่ภาคใต้ ที่จังหวัดกระบี่ เพราะเป็นพื้นที่เดิมที่โรงไฟฟ้าอยู่แล้ว และความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ก็มีค่อนข้างมาก โดยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 2,500 เมกะวัตต์ แต่ผลิตได้แค่ 2,100 เมกะวัตต์ สวนทางอัตราการใช้ไฟฟ้าเติบโตปีละ 6% ทำให้การก่อสร้างน่าจะสัมฤทธิ์ผลได้มากกว่าพื้นที่อื่น ๆ โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท กำลังการผลิตโรงละ 800 เมกะวัตต์

นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมนิวเคลียร์ กฟผ. กล่าวย้ำว่า กฟผ.มีความจำเป็นจะต้องเลือกเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด เพราะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังจะหมดภายในอีก 20 ปี ขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่มีความชัดเจนไปจนถึงปี 2563 การนำเข้าแอลเอ็นจีราคาก็สูงขึ้นทุกวัน โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขยายได้ไม่มากเท่าที่ควร ทำให้ถ่านหินสะอาดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้

ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด จะมีการจัดทำประชาพิจารณ์ และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรือ EHIA เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาที่จะนำโมเดลจากญี่ปุ่น ทั้งในเรื่องของระบบ การก่อสร้างและวิธีปฏิบัติงานของโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบเปิด มิตสุอุระ เมืองนางาซากิ และโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบปิดอิโซโกะ เมืองโยโกฮามา มาถ่ายทอดให้ชุมชนกระบี่เกิดความมั่นใจถึง มาตรฐานความปลอดภัยและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ตามปกติ

ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อขออนุมัติดำเนินการ เมื่อกระบวนการผ่านทุกอย่างไปจนถึงขั้นเริ่มก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนพร้อมเปิดใช้ได้ในปี 2562 ทั้งนี้หากโรงไฟฟ้าสามารถสร้างได้ตามแผน การกำหนดเส้นทางขนส่งถ่านหินสะอาดไปยังโรงไฟฟ้าจะต้องใช้เรือขนส่งขนาด 1.5 แสนตันต่อเที่ยว วันละ 2 เที่ยว เพื่อเก็บสต๊อกถ่านหินไว้เป็นเชื้อเพลิง เพื่อสำรองไว้ใช้ให้ได้ 30-45 วัน โดยจะเป็นการนำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าป้อนให้กับประเทศเราต่อไป

นั่นเป็นเพียงการผลิตไฟฟ้าส่วนหนึ่งเพื่อนำมาตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเราที่นับวันจะมีแต่เพิ่มขึ้น แต่การผลิตไฟฟ้าในพื้นที่อื่น ๆ หรือ จากเชื้อเพลิงอื่น ๆ ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าอนาคตประเทศเราจะใช้เชื้อเพลิงใดเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า และราคาค่าไฟฟ้าในอนาคตจะเป็นอย่างไร และประเทศเราจะมีไฟตกไฟดับหรือไม่ คงไม่ใช่อยู่ที่มือ กฟผ.เพียงอย่างเดียวคงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชนอย่างเราๆ และรัฐบาลว่าอยากให้อนาคตไฟฟ้าไทยเป็นแบบไหน ?