วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

10 ต้นแบบแนวคิด นวัตกรรมผลิตพลังงานสะอาด


เป็น กระแสที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นทุกขณะว่า"พลังงานทางเลือก" ประเภทต่างๆ ที่มีส่วนช่วยลดการทำลายสภาพแวดล้อมของโลกนั้น จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาขึ้นมาทดแทนการใช้พลังงานยุคเก่าอย่าง"น้ำมันเชื้อ เพลิง"

เมื่อพูดถึง"พลังงานทดแทน" มีตั้งแต่เรื่องใหญ่โต เช่น สร้างโรงงานขนาดมโหฬาร หรือพัฒนานวัตกรรมขนาดย่อมๆ สำหรับใช้"จ่ายพลังงาน" ในระดับปัจเจก หรือระดับครัวเรือน

ในวันนี้เราจะมาลองพิจารณาดูความ เป็นไปได้ของการสร้างนวัตกรรมอย่างหลัง ว่ามี"ต้นแบบ" แนวคิดอะไรบ้างที่น่าสนใจ รวบรวมข้อมูลโดยสองเว็บไซต์ดัง weburbanist.com และ techeblog.com

กังหันติดบ้าน

กังหันพลังงานลม เป็นหนึ่งในแนวคิดพลังงานทางเลือกที่พัฒนาขึ้นทั่วโลก แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีปัญหาบางประการเป็นที่ถกเถียงกันเกี่ยวเนื่องกับ"สถาน ที่" สำหรับทำฟาร์มกังหันลม

แต่ต้นแบบกังหันลมแบบ"วินด์คิวบ์" พยายามตัดตอนความยุ่งยากในการติดตั้งกังหันเทอร์ไบน์ให้เล็กลงมาเหลือเพียง รูปแบบ"กังหันลมสำหรับครัวเรือน" โดยติดตั้งเข้ากับกำแพง หรือผนังนอกบ้าน

โดยเมื่อติดตั้ง"วินด์คิวบ์" 15 ตัว จะสามารถปั่นกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ครอบครัวที่มีสมาชิกไม่เกิน 4 คน

"ไฟฟ้า" ใต้ดิน

อุปกรณ์ชื่อ"ชาร์จเจอร์ โซฟา" ดูภายนอกทำหน้าที่เป็นโซฟา ใช้นั่งรอรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือรถไฟใต้ดินที่แล่นเข้าสถานี

แต่ ถ้าดูให้ลึกจะพบว่า ข้างในโซฟามีกังหันขนาดเล็กเอาไว้"รับ" กระแสลมที่เกิดขึ้นเวลารถไฟวิ่งผ่านมา พร้อมกับทำหน้าที่ปั่นกระแสไฟฟ้าเก็บไว้

เมื่อผู้โดยสารต้อง การประจุไฟให้กับอุป กรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมือถือ หรือแท็บเล็ต ฯลฯ ก็นำสายมาเสียบดูดพลังงานออกจากเครื่องไปได้เลย

แบตเตอรี่เซลลูโลส

แบตเตอรี่ ยุคปัจจุบัน มีส่วนประกอบการผลิตของ"วัตถุมีพิษ" ในปริมาณสูง จนเป็นที่มาของการรณรงค์ให้ทิ้งแยก"แบตเตอรี่" อย่างเป็นที่เป็นทาง

หนึ่งในแนวคิดที่จะช่วยลด"พิษ" ของแบตเตอรี่ ก็คือ การใช้วัสดุจากธรรมชาติ เพื่อจ่ายพลังงาน

ยก ตัวอย่างเช่น การนำเอา"เซลลูโลส" ที่มีอยู่ในลังกระดาษเก่าๆ หรือ กระดาษแข็งเหลือใช้ มาจับใส่ไว้ในตัวแบตเตอรี่ แล้วปล่อยให้"เอนไซม์" ชนิดพิเศษย่อยสลายเซลลูโลสดังกล่าว จนเกิดพลังงานขึ้นมา

ใบไม้ชีวภาพ

"โซล่าไอวี่" คือ แผงเซลล์สุริยะที่ออกแบบมาให้มีหน้าตาคล้ายคลึง"ใบไม้"

วิธี การทำงานนั้นให้นำไปติดตั้งรอบๆ ตึก ในจุดที่มีแสงแดดตกกระทบสูง จากนั้นเจ้า"ใบไม้ชีวภาพ" ดังกล่าวจะแปรความร้อนจนกลายเป็นพลังงาน เพื่อใช้งานภายในอาคาร

กระดาษเซลล์สุริยะ

แม้เวลาจะผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ต้นทุนการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ หรือ แผงเซลล์สุริยะ ก็ยังไม่ลดลงในระดับที่น่าพอใจ

ล่า สุด คณะนักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเส็ตต์ (เอ็มไอที) จึงคิดค้นนวัตกรรมการพิมพ์"เซลล์สุริยะ" ลงบนวัสดุที่หาได้ง่าย เช่น กระดาษธรรมดา รวมถึงแผ่นพลาสติกบางๆ แล้วค่อยต่อเข้ากับวงจรผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกนวัตกรรมที่น่าสนใจ และมีความเป็นไปได้ในการนำออกสู่ตลาด แต่ยังต้องใช้เวลาพัฒนาต่อไปอีกระยะ

พลังงานข้างถนน

แนวคิดของระบบ"โวลแตร์ เวอร์ติเคิล เทอร์ไบน์" ก็คือ การนำเอา"กังหันเทอร์ไบน์" แนวตั้งจำนวนมากไปติดตั้งเรียงรายตามริมถนน

วิธีการทำงาน อาศัย"แรงลม" จากการวิ่งของรถไป"หมุน" หรือ"ผลัก" กังหัน เพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าเพื่อเก็บไว้ใช้

คนถีบจักร

ต้น แบบระบบ"กรีนวีลล์" หรือ ล้อสีเขียว ก็สืบเนื่องมาจากไฟฟ้าที่ได้มาตอนที่นักวิทยา ศาสตร์จับ"หนู" ไปถีบจักรขนาดจิ๋วในกรงห้องทดลองนั่นเอง

แตกต่างกันตรงที่"กรี นวีลล์" จะไปติดตั้งอยู่ตามสวนสาธารณะ และสถานที่ออกกำลังกายกลางแจ้งตามเมืองต่างๆ โดยเปิดให้นักวิ่งจ๊อกกิ้งขึ้นไปวิ่งเพื่อ"ปั่น" พลังงานเก็บไว้ แล้วจ่ายออกไปหล่อเลี้ยงไฟถนน, ไฟจราจร รวมถึงระบบไฟทั้งหลายที่อยู่ใกล้เคียง

ชาวเมืองที่มาวิ่งก็ได้ออกกำลัง ไปพร้อมๆ กับผลิตไฟฟ้าไปในตัว

หางไดนาโม

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ ใครเห็นวูบแรกก็คงคิดว่า ออกเพี้ยนๆ ประหลาดๆ อยู่ไม่น้อย

มีชื่อเรียกว่า"กรีน เอิร์จ" (Green Erg) ทำหน้าที่เป็น"ไดนาโม" ปั่นไฟส่วนบุคคล

ผูก เข้ากับเอวเวลาจะออกไปเดินนอกบ้าน เจ้าไดนาโมก็จะคอยปั่นไฟเก็บไว้ เพื่อนำไปใช้ชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ

ปัจจุบัน เริ่มมีการทดลองใช้ Green Erg กันบ้างแล้วในแอฟริกา

ไฟฟ้าฉุกเฉิน

คุณสมบัติของเครื่อง"เดอะยิลล์" ในภาพนี้ เป็นอุปกรณ์เก็บพลังงานเอาไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

จุด เด่นอยู่ตรงที่เสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าจนเต็ม 4 ชั่วโมง จะสามารถนำไปใช้จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ได้ 3 วันเต็มๆ

นอกจากนั้น ยังใช้เสียบเชื่อมต่อรับพลังงานจากเซลล์สุริยะ และกังหันเทอร์ไบน์ได้ด้วย

"สี" สุริยะ

มหาวิทยาลัย"นอ เทรอดาม" นำเสนอต้นแบบการสร้าง"เซลล์สุริยะ" แห่งอนาคต โดยไม่ต้องพึ่งพาการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้ยุ่งยาก เปลืองงบประมาณ

เพราะสามารถนำคุณสมบัติของเซลล์สุริยะมาผสมอยู่ใน"สี"

ยามจะใช้ก็แค่ทาสีดังกล่าวลงบนพื้นผิวที่ต้องการ เพื่อใช้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า

source : http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNakE0TURVMU5RPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1pMHdOUzB3T0E9PQ== 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น