วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

"อุ้มค่าไฟ"แค่วาทกรรมการเมือง

source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/sanya/20120423/447960/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87.html


ต้องจับตาค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ เอฟที ของเดือนพ.ค.-ส.ค. 2555 ซึ่งจะเคาะราคาในกลางสัปดาห์นี้ ที่ไม่ต้องลุ้น คือ

  ค่าไฟปรับขึ้นแน่นอนในงวดนี้ เนื่องจากต้นทุนค่าไฟที่เกิดเฉพาะในงวดนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ระบุออกมาแล้วว่าขึ้นไปกว่า 30 สตางค์ต่อหน่วยแล้ว

ยังไม่รวมภาระสะสมจากที่ไม่ได้ปรับค่าเอฟทีตาม ต้นทุนในรอบที่ผ่านๆ มา รวมถึงเหตุสอดแทรกที่เกิดขึ้นต่างๆ นานาในระหว่างรอบอีก เช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติหยุดส่งบ้าง การเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำซึ่งต้นทุนต่ำได้น้อยกว่าแผนบ้าง หรือแม้แต่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด หรือพีค ที่ทำลายสถิติรอบแล้วรอบเล่า จนทะลุ 25,178 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา และคงไม่หยุดเท่านี้ เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นยังมีผลต่อไปตลอดหน้าร้อนปีนี้ หรือจนถึงเดือนพ.ค. รวมต้นทุนส่วนนี้อีกหลายสิบสตางค์ต่อหน่วย

 อย่าง ไรก็ตาม ค่าไฟเป็นสินค้าการเมืองประเภทหนึ่ง ที่ไม่ได้ปรับขึ้นแบบสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แม้จะมีสูตรคำนวณราคา ซึ่งเป็นมาตรฐาน และเปลี่ยนแปลงทุกๆ 4 เดือนก็ตาม เพราะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองในแต่ละช่วงว่า สมควรจะเคาะตัวเลขสวยๆ กันอย่างไร

 ปัจจัยค่าครองชีพก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้องคิดรอบ ด้าน แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องฟังฐานเสียงประชาชนด้วยว่าจะปรับค่าเอฟทีอย่างไรไม่ ให้กระทบฐานเสียงมากเกินไป แม้จะรู้ในใจว่าต้นทุนพลังงานแทบทุกประเภท ซึ่งไม่มีวันจะกลับไปอยู่ในระดับต่ำได้เหมือนในอดีต เรียกได้ว่าเป็นนโยบายสองหน้าที่ไม่สามารถเดินไปไปด้วยกันได้

 แต่ ที่แน่ๆ แม้จะกดให้ค่าเอฟทีต่ำลง ให้คงที่ หรือปรับเพียงเล็กน้อยไม่ครอบคลุมต้นทุนจริง สุดท้ายประชาชนต้องแบกรับภาระ โดยมีการพูดถึงภาระสะสมระดับ 10,000 ล้านบาท จากนโยบายตรึงค่าไฟรอบที่ผ่านๆ มา ซึ่งส่งทอดต่อเนื่องจากรัฐบาลสู่รัฐบาล และรอวันที่จะกลับมาใส่เป็นต้นทุนแทรกซึมในค่าไฟแต่ละงวดนับจากนี้ เพื่อให้ภาระดังกล่าวหายไป เพราะไม่มีใครจะยอมรับไว้ แม้แต่งบประมาณแผ่นดิน

 “ไม่ มีของฟรี” ในโลกใบนี้ เป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้จากค่าเอฟที แม้ในบางงวดจะไม่ได้ปรับขึ้น แต่ต้นทุนที่ยังค้างอยู่ไม่ได้หายไปไหน ยังมีตัวเลขเป็นภาระที่จับต้องได้ และพอกพูนทุกวัน ซึ่งสุดท้ายประชาชนต้องจ่ายอยู่ที่ว่าจะเป็นคนรุ่นไหนจ่ายเท่านั้น ดังนั้นการตรึงราคาพลังงาน เพื่อเป็นของขวัญกับประชาชนเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีเสมอไป
 การตรึงราคาพลังงาน การเข้าไปแทรกแซงเพื่อดูแลประชาชน จึงเป็นแค่วาทกรรมทางการเมือง ที่ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายเพื่อสร้างความชอบธรรมกับประชาชนชั่วคราวเท่านั้น

 การ ประหยัดพลังงาน เพื่อทำให้เงินในกระเป๋าเพิ่ม และลดรายจ่ายของเราทุกคนเป็นเรื่องน่ายินดีกว่า และน่ายินดีกว่านั้น คือ การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าที่ทำให้มีส่วนช่วยประเทศช่วยโลก ไม่ถึงขนาดต้องใช้ชีวิตอย่างลำบาก แต่หากทุกภาคส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย ก็ขึ้นชื่อว่าได้ทำหน้าที่ "พลเมือง" เต็มขั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น