source : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1334647803&grpid=&catid=05&subcatid=0500
มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชดเชย ราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ของกระทรวงพาณิชย์
ประเด็นข้อหารือ คือ ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ เห็นชอบโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ของกระทรวงพาณิชย์ โดยเป็นการรับจำนำมันสำปะหลัง จำนวน ๑๐ ล้านตัน จำกัดปริมาณการรับจำนำรายละ ๒๕๐ ตัน เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว กระทรวงพลังงานจึงมีโครงการส่งเสริมการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังสำหรับใช้ เป็นเชื้อเพลิงให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยดูดซับปริมาณมันสำปะหลังในระบบและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานทด แทนในระยะยาว
ในการนี้ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานได้พิจารณาโครงการดังกล่าวเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ และมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิต จากมันสำปะหลัง โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลตำรวจโทวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์) เป็นประธาน และมีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานหารือปัญหาข้อกฎหมายมายังสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาใช้ในโครงการ และการจ่ายเงินชดเชยโดยตรงให้แก่โรงงานเอทานอล รวม ๒ ประเด็น ดังนี้
๑. การใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง เพื่อสนับสนุนโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น สามารถกระทำได้หรือไม่
๒. หากสามารถกระทำได้ สามารถจ่ายเงินชดเชยให้แก่โรงงานเอทานอลโดยตรง ได้หรือไม่
ต่อมา คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๕) ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน โดยมีผู้แทนกระทรวงพลังงาน (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากคำชี้แจงของผู้แทนกระทรวงพลังงานดังนี้
ในคราวที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ โดยการรับจำนำมันสำปะหลังตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอนั้น คณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รับไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาแนวทางขยายตลาดมันสำปะหลังอันจะทำให้เกษตรกรได้รับราคาที่เป็นธรรม มากขึ้น เช่น การนำมันสำปะหลังไปผลิตเป็นเอทานอลเพื่อการส่งออก เป็นต้น
ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงได้จัดให้มีโครงการรับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ โดยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลให้รับซื้อมันสำปะหลังตาม โครงการดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ผลิตเอทานอล
อย่างไรก็ดี โดยที่การผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าการผลิตเอทานอลจากมัน สำปะหลังตามราคาที่มีการซื้อขายกันในท้องตลาดและการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล
กระทรวงพลังงานจึงมีแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลโดยจะชดเชย ราคาเอทานอลโดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากเห็นว่ากระทรวงพลังงานได้เคยมีประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ให้เอทานอลและไบโอดีเซลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมัน เชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยข้อ ๔ ของประกาศกระทรวงพลังงานดังกล่าวกำหนดให้เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระ ราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงน่าจะถือได้ว่าเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการบริหารนโยบาย พลังงาน (กบง.) สามารถกำหนดเงินชดเชยสำหรับเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ของกระทรวงพาณิชย์ได้ตามข้อ ๒ ประกอบกับข้อ ๔ (๔) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
อย่างไรก็ดี กบง. เห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงมีมติให้สำนักงานนโยบายและแผน พลังงานหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำ สั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ หรือไม่ หากเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว กบง. สามารถใช้จ่ายเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิต จากมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวโดยจ่ายให้แก่โรงงานเอทานอลโดยตรง ได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม กบง. ไม่เคยกำหนดให้เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงิน เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือให้ได้รับเงินชดเชยตามข้อ ๔ (๕) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ และไม่เคยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับเอทานอล ผู้ประกอบการโรงงานเอทานอล จึงไม่เคยส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่ได้จากกระบวนการหมักพืชและผลิตภัณฑ์ของพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง อ้อย น้ำตาล กากน้ำตาล ข้าวโพด จึงมีโครงสร้างและคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างจากบรรดาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจาก ปิโตรเลียม
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๕) ได้พิจารณาข้อหารือประกอบกับคำชี้แจงของผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่าในเรื่องนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ๒ ประเด็น โดยมีความเห็นในแต่ละประเด็นดังต่อไปนี้
ประเด็นที่หนึ่ง เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ หรือไม่ เห็นว่า บทนิยามคำว่า "น้ำมันเชื้อเพลิง" ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน น้ำมันดิบสังเคราะห์ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตให้ได้ มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ก๊าซ ยางมะตอย หรือก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากปิโตรเลียมทั้งสิ้น แต่ เอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่ได้จากกระบวนการหมักพืช และผลิตภัณฑ์ของพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง อ้อย น้ำตาล กากน้ำตาล ข้าวโพด และมีโครงสร้างและคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างจากบรรดาน้ำมัน ยางมะตอย และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ อันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากปิโตรเลียม กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำชี้แจงของผู้แทนกระทรวงพลังงานว่า ในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ไม่เคยกำหนดให้เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงิน เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือให้ได้รับเงินชดเชยตามข้อ ๔ (๕) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ และไม่เคยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับเอทานอล และผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลก็ไม่เคยส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แสดงว่าแม้ กบง. เองก็เห็นว่าเอทานอลไม่เข้าลักษณะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายก รัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ จึงไม่เคยกำหนดให้เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่ง เงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือให้ได้รับเงินชดเชยตามข้อ ๔ (๕) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๔/๒๕๔๗ เพราะหากเห็นว่าเอ ทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ แล้ว สมควรที่ กบง. จะกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าเอทานอลต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิงด้วยเพื่อมิให้การจ่ายเงินชดเชยที่อาจมีขึ้นต้องเป็นภาระแก่กองทุนฯ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๕) จึงเห็นว่า เอทานอลมิใช่น้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
ประเด็นที่สอง คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมีอำนาจกำหนดให้ใช้เงินของกองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิงเป็นเงินจ่ายชดเชยราคาเอทานอลให้แก่โรงงานเอทานอลโดยตรงได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยในประเด็นที่หนึ่งแล้วว่า เอทานอลมิใช่น้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานจึงไม่มีอำนาจกำหนดให้ใช้เงินของกองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิงเป็นเงินจ่ายชดเชยราคาเอทานอลให้แก่โรงงานเอทานอลได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น