วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ปิโตรเลียมไทย : จากฝรั่งครอบงำสู่ขูดรีดกันเอง (1)

โดย บัณรส บัวคลี่
http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9550000041539

คนไทยเพิ่งรู้จักน้ำมันที่มาจากปิโตรเลียมในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมๆ กับการนำเข้ารถยนต์ในยุคแรก แต่น้ำมันที่มีบทบาทในวิถีชีวิตประจำวันในยุคนั้นสืบต่อมาอีกหลายสิบปีกลับ ไม่ใช่เบนซิน ดีเซลหรือน้ำมันเตา หากแต่เป็นน้ำมันก๊าดที่ใช้ได้เอนกประสงค์กว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้แสง สว่างในยามค่ำคืน
      
        แม้มนุษย์จะรู้จักและใช้ประโยชน์จากน้ำมันดิบมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่โลกก็ เพิ่งจะรู้จักอุตสาหกรรมน้ำมัน ที่หมายถึงการขุดเจาะเอาน้ำมันดิบมาเข้ากระบวนการกลั่นในศตวรรษที่ผ่านมานี่ เอง การขุดเจาะน้ำมันเพื่อการพาณิชย์ครั้งแรกเกิดในโปแลนด์ เมื่อปีค.ศ. 1853 (2396)* และขยายตัวอย่างรวดเร็วในต้นศตวรรษที่ 20 (*วิกิพีเดีย) การขยายตัวของมันสอดคล้องกับการค้นพบและพัฒนากระบวนการกลั่นน้ำมันดิบซึ่ง เริ่มครั้งแรกเมื่อปี 1851(2394) ที่สก๊อตแลนด์**และเริ่มขยายตัวในยุโรปโดยเฉพาะหลังจากการประดิษฐ์ตะเกียง น้ำมันก๊าด( Kerosene lamp) ขึ้นมาใช้ (**วิกิพีเดีย)
      
       การขุดเจาะน้ำมันและอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันของโลกยุคนี้เริ่มอย่าง จริงจังในต้นศตวรรษที่ 20 คือประมาณค.ศ.1860 (ตรงกับพ.ศ.2403-รัชกาลที่4) แม้สยามจะไม่ได้ตกเป็นประเทศอาณานิคมเหมือนกับอีกหลายๆ ประเทศ แต่ทว่าโลกทั้งใบในขณะนั้นอยู่ในยุคอาณานิคมอันเป็นผลพวงมาจากเทคโนโลยีดารา ศาสตร์และการเดินเรือผนวกกับดินปืนและการปฏิวัติอุตสาหกรรม ดังนั้นโลกที่สามจึงเป็นเป้าหมายของการกอบโกยทรัพยากรแร่ธาตุวัตถุดิบและ เครื่องอุปโภคบริโภคไปยังตะวันตก ขณะเดียวกันโลกที่สามก็มีสถานะเป็นตลาดรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและ อุตสาหกรรมของยุโรปพร้อมกันไป
      
       สยามก็เป็นประเทศแรกๆ ที่นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปโดยเฉพาะน้ำมันก๊าดมาใช้ และเริ่มนำเข้ากิจการที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันมากขึ้นๆ เช่น โรงไฟฟ้าและรถราง นำเข้ารถยนต์ และมีตะเกียงน้ำมันก๊าดใช้แพร่หลายในยุคต่อมา แม้สยามจะเริ่มโครงการสำรวจบ่อน้ำมันที่ฝาง โดยกรมพระกำแพงเพชรฯ กรมรถไฟหลวงเมื่อพ.ศ.2464 (1921) แต่ก็ไม่คืบหน้านักเพิ่งจะมาขุดเจาะนำมาใช้ได้จริงในช่วงหลังสงครามโลกครั้ง ที่สอง ในมิติของการพลังงานสถานะของสยามจึงเป็นประเทศปลายทางของอุตสาหกรรมน้ำมัน ที่กำลังเริ่มเติบโตขึ้นทั้งในยุโรปและอเมริกา
      
       เว็บไซต์ของบริษัทเชลล์ (ประเทศไทย)จำกัด( http://www.shell.co.th/home/content/tha-th/aboutshell/who_we_are/history/country/ ) ระบุว่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปของไทยเกิดเมื่อพ.ศ.2435 (ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5) โดยส่วนใหญ่เป็นน้ำมันก๊าดประวัติศาสตร์ฉบับดังกล่าวทำให้เรารู้ว่า เชลล์ เป็นตัวแบบของบริษัทน้ำมันตะวันตกยุคแรก ๆ ที่ ส่งออกพลังงานชนิดใหม่ออกไปสู่โลกที่สามถึงขนาดที่มีเรือบรรทุกน้ำมันสำเร็จ รูปไว้ส่งขายโดยเฉพาะ จากนั้นก็พัฒนาสินค้าเป็น “น้ำมันก๊าดตรามงกุฎ” บรรจุปี๊บที่คนไทยยุคก่อนรู้จักคุ้นเคยกันดี จัดจำหน่ายผ่านบริษัทตัวแทนคือบริษัท บอร์เนียว จำกัด และต่อมาไม่นานกลุ่มเชลล์จึงค่อยตั้งบริษัทเอเชียติคปิโตรเลียม (สยาม) จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายเองพัฒนา “น้ำมันตราหอย” ขึ้นมาอีกแบรนด์หนึ่ง
      
        เช่นกันกับทางฝั่งอเมริกาซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมขุดเจาะและโรงกลั่นน้ำมัน ไล่เรี่ยกับทางยุโรป และมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อค้าขายกับสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยกลุ่มธุรกิจน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกที่ชื่อว่า Exxon Mobil เจ้าของตราสินค้า Exxon Esso และ Mobil ที่คนไทยรู้จักดี เว็บไซต์ของ www.esso.co.th บอกว่าบริษัทในกลุ่ม คือบริษัทสแตนดาร์ดออยล์แห่ง นิวยอร์กได้เริ่มดำเนินการในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2437 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 แต่นั่นก็เป็นแค่ตัวแทนจำหน่ายเล็กๆ ที่มียอดขายไม่มากนักตามสภาพของยุคสมัย
      
        สยามประเทศค่อยๆ รู้จักสิ่งที่เรียกว่าน้ำมันสำเร็จรูปในมากขึ้นๆ ตามลำดับที่มีการขยายตัวในการใช้ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองตอนนั้นไม่เฉพาะเรือยนต์เท่านั้น รถยนต์ก็เริ่มมีมากขึ้นบนท้องถนนทั้งแบบเบนเซินและดีเซล คนไทยในชนบทใช้ตะเกียงเจ้าพายุซึ่งต้องใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิง เริ่มมีการเก็บสต๊อก ขนส่งและจัดจำหน่ายน้ำมันไปยังต่างจังหวัดนอกกรุงเทพฯ ออกไป จึงได้มีการตราพรบ.ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง 2474 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 7) ว่าด้วยการออกใบอนุญาตสถานที่จัดเก็บ จัดจำหน่าย
      
       นี่เป็นครั้งแรกที่มีการใช้ศัพท์ “น้ำมันเชื้อเพลิง” อย่างเป็นทางการเพื่อใช้เรียกผลิตภัณฑ์จากไฮโดรคาร์บอนจัดแบ่งน้ำมันเชื้อ เพลิงเป็น 3 ชนิด (สะกดตามต้นฉบับ) คือ 1.ชะนิดไม่น่ากลัวอันตราย ที่มีขั้นเกิดไฟสูงกว่า 66 ดีกรีเซนติกราดขึ้นไป 2.ชะนิดธรรมดา หมายว่า ที่มีขั้นเกิดไฟในระวางตั้งแต่ 66 ลงมาถึง 23 ดีกรีเซนติกราด และ 3. ชะนิดน่ากลัวอันตราย หมายความว่าที่มีขั้นเกิดไฟต่ำกว่า 23 ดีกรีเซนติกราด
      
       พรบ.ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง 2474 คือการเริ่มเข้ามาควบคุมกำกับดูแลกิจกรรมเกี่ยวข้องกับน้ำมันเชื้อเพลิงและ ปิโตรเลียมของไทยในยุคแรก กำหนดปริมาณที่ต้องขออนุญาตเก็บรักษา กำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับจัดเก็บให้ห่างไกลผู้คน แม้กระทั่งการขนย้ายต้องมีสัญลักษณ์และป้าย “ไวไฟ” ติดไว้ (จนถึงวันนี้คำว่า-ไวไฟ-ที่ติดไว้ข้างรถขนน้ำมันได้ใช้มาเกิน 80 ปีแล้ว)
      
       แต่กฏหมายดังกล่าวก็แค่การกำกับป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อผู้คนและ ทรัพย์สินสาธารณะเป็นหลักใหญแต่ไม่ได้คลุมไปถึงราคา น้ำมันเชื้อเพลิงจึงถูกบริษัทฝรั่งที่นำเข้า 2 รายใหญ่จากฝั่งอเมริกา และจากฝั่งยุโรปรวมหัวกันกำหนดราคาขาย
      
        เอกสารประวัตินโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงาน โครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงาน ของประเทศไทย : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (มรกต ลิ้มตระกูล – เรียบเรียง เทียนไชย จงพีร์เพียร – บรรณาธิการ) ได้กล่าวถึงการที่ไทยถูกเอาเปรียบโดยรวมหัวกันกำหนดราคาของบริษัทต่างชาติ ช่วงดังกล่าวว่า
      
        “ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยต้องสั่งซื้อน้ำมันจากต่างประเทศ ผ่านบริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอยู่ในประเทศไทย ในขณะนั้นมีอยู่ 2 บริษัท คือ บริษัทแสตนดาร์ดแวคคัมออยล์ของอเมริกา (ปัจจุบัน คือ บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด) และบริษัทรอยัลดัทช์ปิโตรเลียมของอังกฤษกับฮอลแลนด์ (ปัจจุบัน คือ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด)
      
        บริษัททั้งสองมีสัญญาส่วนแบ่งการตลาดต่อกัน คือบริษัทของอเมริกามีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศจีนและญี่ปุ่นร้อยละ 80 บริษัทของอังกฤษกับฮอลแลนด์มีส่วนแบ่งร้อยละ 20 แต่บริษัทอังกฤษกับฮอลแลนด์มีส่วนแบ่งในประเทศแถบอินโดจีน คือ ไทย แหลมมลายู พม่า และอินเดีย ร้อยละ 80 ส่วนบริษัทของอเมริกามีส่วนแบ่งร้อยละ 20 บริษัททั้งสองจึงรักษาระดับราคาเพื่อให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ทำให้บริษัทของคนจีน หรือของคนไทยที่ตั้งขึ้นต้องล้มไปเพราะ ไม่สามารถสู้สองบริษัทดังกล่าวนี้ได้ ดังนั้น ราคาน้ำมันในประเทศไทยจึงถูกผูกขาดโดยบริษัท ดังกล่าวที่จะตั้งราคาขายเท่าใด ทางราชการและประชาชนก็ต้องซื้อในราคานั้น ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศในช่วงนั้นแพงมากเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันในตลาดโลก”

      
        (เรื่องราวการผูกขาดของ Standard Vacuum Oil Company ของสหรัฐอเมริกากับ Royal Dutch Petroleum รวมหัวกันกำหนดราคาในเอเชียถูกกล่าวถึงในหนังสือ Japanese Industrial Governance: Protectionism and licensing state เขียนโดย Yul Sohn สำนักพิมพ์ Routledge ได้กล่าวไว้ในบทที่ 4 Politics for protection-Petroleum ถึงบทบาทการผูกขาดรวมหัวกันของสองบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ดังกล่าวต่อญี่ปุ่น ในต้นศตวรรษที่ 19และการพยายามปลดแอกของญี่ปุ่นจากการครอบงำดังกล่าว)
      
       บทเรียนของบรรพชน: จะปลดแอกฝรั่ง
      
        ในยุคนั้นประเทศสยามไม่เคยมีจินตนาการนึกถึงการเป็นผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง เอง เพราะบ่อน้ำมันฝางที่มีก็ยังไม่คืบหน้าใดๆ ในการขุดเจาะ เทคโนโลยีการกลั่นก็ไม่มีจึงต้องอาศัยการ “นำเข้า” น้ำมันสำเร็จรูปมาจำหน่ายปลีก ซึ่งมีบริษัทต่างชาติ 2 เจ้าคือ กลุ่มเอสโซ่ กับ กลุ่มเชลล์ รวมหัวกันขาย จึงเป็นโครงสร้างที่ขาดความมั่นคงเพราะในยุคนั้น น้ำมันเริ่มกลายเป็นปัจจัยสำคัญไม่เฉพาะต่อด้านเศรษฐกิจหรือการคมนาคมเท่า นั้นหากยังมีความสำคัญต่อการทหารและความมั่นคงด้วย
      
        หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 รัฐบาลในยุคนั้นมีหลักการสำคัญประการหนึ่งคือหลักประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เริ่มมีสำนึกความเป็นชาตินิยม รวมถึงเห็นความสำคัญของน้ำมันในฐานะยุทธปัจจัยจึงได้ตรา พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2481 ที่มีเนื้อหาก้าวหน้าไปจากพรบ.ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง 2474 ไปไกลโขเพราะมุ่งปลดแอกการผูกขาดราคาของบริษัทต่างชาติ โดยระบุในมาตรา 14 เรื่องการกำหนดราคาให้รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงเศรษฐการ)กำหนดราคาขายน้ำมัน เชื้อเพลิงทั้งส่งและปลีกรวมทั้งขายเฉพาะท้องถิ่นไว้ด้วย และยังกำหนดให้บริษัทนำเข้าสำรองน้ำมันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของที่ได้รับ อนุญาต (มาตรา11)
      
        กฎหมายฉบับนี้จึง“เป็นเรื่อง” ขึ้นมาเพราะทั้งสแตนดาร์ดวาคัมออยล์ (เอสโซ่) และรอยัลดัทช์ปิโตรเลียม (เชลล์) รับไม่ได้กับเงื่อนไขชาตินิยม ไม่เสรีอะไรเช่นนี้ (แต่การรวมหัวกำหนดราคาถือว่าเป็นเสรี-ฮา) จึงถอนตัวจากตลาดเมืองไทยไปในเวลาต่อมา
      
        มองย้อนกลับไปเมื่อครั้งนั้น (2481) จะพบว่า รัฐบาลคณะราษฏร์ที่มีหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เริ่มได้กลิ่นสงครามโลกครั้งใหม่และมีการเตรียมความพร้อมหลายประการเพื่อรับ มือเช่น การสำรองทองคำแท่งแทนเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงความสนิทสนมกับทางญี่ปุ่นมากขึ้นเป็นลำดับโดยจนกระทั่งช่วงเกิด สงครามอินโดจีน (พิพาทไทย-ฝรั่งเศสที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูม พ.ศ.2483-84)
      
        เอกสารประวัตินโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงาน สะท้อนออกมาได้ชัดเจนถึงความพยายามของคนในยุคก่อนที่พยายามจะปลดแอกตนเองจาก การผูกขาดครอบงำ พยายามจะยืนบนขาตัวเองในเรื่องการพลังงานให้จงได้เพราะรู้ดีว่ากิจการด้าน นี้มีความสำคัญโยงไปถึงความมั่นคงแห่งรัฐด้วย
      
       “หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองรัฐบาลยุคนั้นให้ความสำคัญกับการจัดหา น้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากเห็นว่าเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญของประเทศ จึงมอบหมายให้ นายวนิช ปานะนนท์ (คณะราษฏรสายพลเรือน) เป็นผู้ดำเนินการจัดการเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิง ...จากนั้น ได้ตั้ง"แผนกเชื้อเพลิง" ขึ้นในกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2476 และกระทรวงกลาโหมได้มอบหมายให้นายวนิช ปานะนนท์ เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อน้ำมันจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย ให้แก่ส่วนราชการ ทำให้สามารถซื้อน้ำมันได้ถูกลงและประเทศสามารถประหยัดเงินได้ประมาณปีละแสน เศษและต่อมาคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ยกฐานะแผนกเชื้อเพลิงขึ้นเป็น "กรมเชื้อเพลิง" เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2480”
      
       ก็น่าสังเกตว่าอธิบดีกรมเชื้อเพลิงคือ นายวนิช ปานะนนท์ ผู้ซึ่งดูแลเรื่องน้ำมันมาตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งสองนายวนิชคนดังกล่าวก็ถูกมองว่าสนิทสนมกับ ฝ่ายญี่ปุ่นมากเป็นพิเศษ การตราพรบ.น้ำมันเชื้อเพลิง 2481 เพื่อดัดหลังบริษัทต่างชาติสร้างความมั่นคงทางพลังงานสำรองให้กับประเทศก็มี ผลมาจากการดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นของตัวแทนรัฐบาลไทย ขณะที่ในยุคนั้นญี่ปุ่นมีนโยบายชัดเจนเรื่องความเป็นจักรวรรดินิยมปลดแอกการ เอาเปรียบของต่างชาติ และที่สำคัญญี่ปุ่นเป็นชาติที่เผชิญกับการเอาเปรียบรวมหัวกำหนดราคาของ บริษัทต่างชาติมาก่อน
      
       พัฒนาการต่อเนื่องหลังจากที่ออกกฎหมายน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วรัฐบาลยุค นั้นยังได้จัดตั้งโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของประเทศ มีกำลังการกลั่น 1,000 บาร์เรล/วัน ตั้งอยู่ที่ช่องนนทรี...เป้าหมายก็เพื่อหยั่งขายืนได้ด้วยตนเองไม่ต้องยืม จมูกฝรั่งหายใจ แต่ก็ไม่วายที่จะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันเพราะหลายปัจจัยแวดล้อมโดยเฉพาะเกิด สงครามในยุโรปจนรัฐบาลพิบูลสงครามต้องตราพรบ.ปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง 2483 ขึ้นมาบังคับใช้ ประชาชนจะซื้อต้องมีใบคำร้อง (ถ้าเพื่อใช้เองใบละ 5 สตางค์ ถ้ายื่นคำร้องเพื่อขายใบละ 10 สตางค์) และยื่นใบคำร้องเสร็จแล้วจะได้ใบอนุญาตซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องจ่ายค่าใบอนุญาต 20 สตางค์ แต่ถ้าเป็นใบอนุญาตขายจ่ายใบละ 1 บาท)
      
       พรบ.ปันส่วนน้ำมันถูกใช้ยาวนานจากพ.ศ. 2483 มาตลอดจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทางหนึ่งสะท้อนความเป็นปกติที่ยุคสงครามทุกอย่างต้องขาดแคลน แต่อีกทางหนึ่งกลับสะท้อนถึงความมั่นคงของชาติที่ไม่มีแหล่งน้ำมันเป็นของตน เองต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก และคงจะมีผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชนอยู่ไม่น้อยดังปรากฏในกระทู้ถามที่ 28/2485 ของส.ส.จังหวัดระยอง นายเสกล เจตสมมา ต่อการปันส่วนน้ำมันที่ดูเหมือนไม่เท่าเทียมระหว่างผู้มีรถยนต์ส่วนตัวกับ ประชาชนธรรมดาว่า 1.หากงดการปันให้กับรถยนต์เอกชนจะได้หรือไม่ ? และ 2.ตัดการจ่ายน้ำมันให้รถส่วนตัวมาเพิ่มให้รถยนต์โดยสารจะได้หรือไม่ ?
      
       ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (จอมพลป.ควบตำแหน่งนายกฯ กลาโหม และต่างประเทศในยุคสงคราม) ได้ลุกขึ้นตอบว่า ทำไม่ได้ เพราะที่คณะกรรมการปันให้รถส่วนตัวเดือนละ 10 ลิตรถือว่าน้อยอยู่แล้วเผื่อกรณีฉุกเฉินและการเดินเครื่องยนต์ไม่ให้รถเสีย หาย ส่วนการปันให้กับรถโดยสารเพิ่ม ตอบว่าถ้างดกลุ่มเอกชนมาปันให้รถโดยสารจะเพิ่มได้ไม่มาก ยังไม่คุ้มที่จะทำ
      
       จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองจบลงพร้อมกับการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น 2 ตัวแทนบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ค่ายยุโรป และอเมริกาคือเชลล์และเอสโซ่เดินทางมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ
      
       เหตุการณ์ตรงขุดนี้เอกสาร “ประวัตินโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงาน” ระบุว่าผู้บริหารของบริษัทน้ำมันดังกล่าวมีสถานะเป็น “เป็นเจ้าหน้าที่น้ำมันเชื้อเพลิงของสหประชาชาติ” ทำให้นึกถึงบริษัทน้ำมันเครือข่ายจอร์จ บุช-ดิก เชนีย์ เดินทางเข้าอิรักพร้อมกับกองทหารเพื่อทำมาหากินในนามของผู้รับชัยชนะ เช่นเดียวกันเลย...เชลล์และเอสโซ่ยื่นข้อเสนอถึงรัฐบาลไทยให้ปลดพันธนาการพร บ.น้ำมันเชื้อเพลิง 2481 ที่ควบคุมผู้นำเข้าเข้มงวด บังคับสำรองน้ำมันและบังคับกำหนดราคาขาย
      
       ในที่สุดรัฐบาลไทยในยุคนั้นก็ต้องยอมตามคำขอของบริษัทน้ำมันตะวันตก ที่เข้ามาพร้อมกับผู้ชนะคือกองกำลังทหารสหประชาชาติในนามของการเรียกร้องการ ค้าเสรี
      
       1 เมษายน 2489 รัฐบาลไทยได้ออกพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง มีเนื้อหาแค่ 3 มาตรา ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
      
       เอกสาร “ประวัติศาสตร์การพลังงานไทยเอกสารนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิด เสรีด้านพลังงานโครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงาน :สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน” (ที่ผู้เขียนใช้อ้างอิงบ่อยครั้ง) มีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยในจุดนี้ เพราะระบุว่า การยกเลิกกฎหมายเกิดในสมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีตามปรากฏที่เขียนว่า
      
        “นาย เจ.เอ.อีแวน ผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด และนายอี.พี.เจ. ผู้จัดการบริษัทแสตนดาร์ดแวคคัมออยล์ จำกัด เป็นเจ้าหน้าที่น้ำมันเชื้อเพลิงของสหประชาชาติร่วมเดินทางมาด้วย และได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เพื่อเจรจาเรื่องการค้าน้ำมันเสรี จนมาถึงปี พ.ศ. 2489 สมัยที่นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี บริษัทน้ำมันต่างชาติได้ขอเข้ามาทำการค้าในประเทศและขอให้รัฐบาลยกเลิกพระ ราชบัญญัติ น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2481 โดยอ้างว่าไม่เป็นการค้าเสรีในที่สุดก็มีการตกลงยกเลิกพระราชบัญญัติดัง กล่าว”
       

       เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาระบุว่าผู้ลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการคือ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจากนายควง อภัยวงศ์ ที่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแค่ระยะสั้นๆ ประมาณ 3 เดือนเท่านั้น (จุดตรงนี้น่าที่สนพ.น่าจะปรับแก้ต่อไป)
      
        โดยที่สุดแล้ว บริษัทน้ำมันตะวันตกอาศัยจังหวะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ชนะสงครามกลับเข้า มาสู่ตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงและกดดันรัฐบาลไทยให้ยกเลิกกฎหมายควบคุมผู้นำเข้า ควบคุมราคาจำหน่าย (ส่ง ปลีก และพื้นที่เฉพาะ) ทำให้รัฐบาลต้องหันไปใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการค้ากำไรเกินควรมาควบคุม ราคาขายปลีกตามต่างจังหวัดแทน ซึ่งเนื้อแท้ก็คือการควบคุมคนไทยที่อยู่ปลายทางของสินค้าในฐานะผู้ค้า ปลีกรายย่อย ไม่สามารถเข้าไปควบคุมบริษัทฝรั่งผู้นำเข้า ผู้เก็บกักสำรองน้ำมันดังที่เคยทำมา
      
        ประวัติศาสตร์น้ำมันเชื้อเพลิงในยุคต้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงยุค ที่ประเทศไทยเริ่มค้นพบหลุมก๊าซธรรมชาติสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประมาณพ.ศ. 2524 จึงเป็นช่วงเวลาของบริษัทน้ำมันต่างชาติมีบทบาทและอิทธิพลครอบงำตลาด ขณะที่รัฐบาลไทยแต่ละยุคก็พยายามจะดิ้นรนขยับขยายเพิ่มความมั่นคงด้าน พลังงานเชื้อเพลิงไปทีละขั้นทีละเล็กละน้อย ใช้เวลาร่วม 50 ปีกว่าที่กิจการสัญชาติไทยจะมีบทบาทและอิทธิพลครอบตลาดบนพื้นฐานของการค้นพบ แหล่งก๊าซและปิโตรเลียมจำนวนมากบนผืนแผ่นดินไทย
      
       แต่น่าเสียดายที่กิจการรัฐวิสาหกิจสัญชาติไทยกลับกดขี่ขูดรีดเสียยิ่งกว่ายุคฝรั่งครอบงำ !
      
       (มีต่อตอนต่อไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น