สหภาพ พม่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ อันได้แก่ มณฑลยูนนานของสาธารณรัฐประชาชนจีน กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เวียตนาม สหภาพพม่า และประเทศไทย โดยมีพื้นที่ประมาณ 677,000 ตารางกิโลเมตร ภาคเหนือพื้นที่เป็นภูเขาสูงปกคลุมด้วยป่าไม้ ภาคกลางเป็นพื้นที่ป่าไม้ ภาคใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีชายแดนติดต่อกับประเทศอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย อ่าวเบงกอน และทะเลอันดามัน ในปัจจุบัน สหภาพพม่ามีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 48 ล้านคน ในอดีตแรงงานจำนวนมากเป็นพวกแรงงานไร้ฝีมือ ทั้ง นี้ มีสาเหตุมาจากการปิดประเทศ เป็นเวลานานของสหภาพพม่า ทำให้แรงงานในประเทศขาดการฝึกฝน ขาดประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ และขาดความเข้าใจในระบบการค้าเสรี ซึ่งเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี สหภาพพม่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าอย่างมาก โดยเฉพาะพลังน้ำ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ประกอบกับ นับตั้งแต่ปลายปี 2531 เป็นต้นมา หลังจากที่รัฐบาลของสหภาพพม่า ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารประเทศ จากระบบการวางแผนจากส่วนกลาง เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีมากขึ้น โดยดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านการค้าเสรี และเปิดโอกาสให้ต่างประเทศ เข้ามาลงทุน เพื่อส่งเสริมการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าในสหภาพพม่า ทั้งในแง่การตอบสนองต่อความต้องการใช้ภายในประเทศและการส่งออกไฟฟ้าไปยัง ประเทศเพื่อนบ้าน การจัดองค์กรสาขาพลังงานไฟฟ้าของสหภาพพม่า กระทรวง การไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่า (Ministry of Electric Power : MOEP) ประกอบด้วย 2 หน่วยงานใหญ่ที่สำคัญได้แก่ กรมพลังงานไฟฟ้า (Department of Electric Power) และการไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่า (Myanma Electric Power Enterprise : MEPE) กระทรวงการไฟฟ้าเป็นหน่วยงานที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 โดยสภาเพื่อการพัฒนาและสันติภาพของรัฐ (The State Peace and Development Council) ได้มีคำสั่งที่ 1/97 ให้แยกงานด้านไฟฟ้าออกมาต่างหากจากกระทรวงพลังงาน (Ministry of Energy : MOE) ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานในสาขาพลังงานไฟฟ้ามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น สำหรับภารกิจหลักของกรมพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ที่เพิ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นพร้อมๆ กับการจัดตั้งกระทรวงฯ มีหน้าที่ รับผิดชอบด้านนโยบายและการวางแผนด้านกิจกรรมไฟฟ้าของประเทศ และทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ของกระทรวงการไฟฟ้า โดยจะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กับนโยบายพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ในส่วนของการไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่าจะมีหน้าที่ความร้บผิดชอบที่สำคัญในการ ดำเนินการด้านการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง และการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประเทศอย่างเพียงพอ สถานการณ์ด้านการใช้และการผลิตไฟฟ้าของประเทศ จาก การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ของสหภาพพม่าทั้งทางด้านการค้า และการลงทุนซึ่งได้เพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่มีการเปิดประเทศเป็นต้นมา ได้มีผลทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นจาก 332 เมกะวัตต์ ในปี 2532 เป็น 850 เมกะวัตต์ ในปี 2541 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี และเพื่อตอบสนองกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศดังกล่าว การไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่าได้ขยายกำลังผลิตไฟฟ้าของเครื่องกังหันก๊าซ และไฟฟ้าพลังน้ำให้สูงขึ้น โดยในปี 2541 มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 1,035 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็นระบบผลิตไฟฟ้าแบบเครือข่าย (National Grid System) จำนวน 876 เมกะวัตต์ และนอกระบบเครือข่าย (Outside Grid or isolated System) อีกจำนวน 159 เมกะวัตต์ ภาพรวมของทรัพยากรน้ำ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ 1. ทรัพยากรน้ำ เนื่อง จากพื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นที่ราบสูง โดยมีทิวเขาทอดยาวจากทิศเหนือและจรดมาทางใต้ ประกอบกับได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้สหภาพพม่ามีฝนตกชุก และมีทรัพยากรน้ำอย่างมากมายล้นเหลือ ในลุ่มน้ำบริเวณ Ayeyarwady, Sittaung, Thanlwin และ Chindwin จากรายงานผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ทรัพยากรน้ำเหล่านี้สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้สูงถึง 37,000 เมกะวัตต์ โดยในจำนวนนี้จะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ประมาณ 25,000 เมกะวัตต์ และที่เหลือจะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดกลาง และขนาดเล็กซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้อีกเป็นจำนวนมากกระจายในบริเวณพื้นที่ ทั่วไปของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้สหภาพพม่าได้ดำเนินการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และผลิตได้เพียง 320 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.86 ของศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดเท่านั้น 2. ถ่านหิน ได้ มีการประเมินว่าสหภาพพม่ามีปริมาณถ่านหินสำรองรวมทั้งสิ้นประมาณ 200-230 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถ่านหินประเภท Sub-bituminous และอยู่บริเวณพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ โดยมีเหมืองอยู่ 2 เหมือง ได้แก่ เหมืองถ่านหิน Kalewa ขนาดกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น ประมาณ 12,900 ตันต่อปี และเหมืองถ่านหิน Namma ขนาดกำลังการผลิต 25,810 ตันต่อปี อย่างไรก็ดีแหล่ง Kalewa จะเป็นแหล่งถ่านหินที่รัฐบาลของสหภาพพม่าพิจารณาว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนา เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ได้ ในอนาคต 3. ก๊าซธรรมชาติ ใน ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบนบกได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าแบบ กังหันก๊าซจำนวน 2 หน่วย โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าหน่วยละ 100 เมกะวัตต์ และเนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบนบกมีค่อนข้างจำกัด รัฐบาลแห่งสหภาพพม่าจึงได้มีการพัฒนาและสำรวจหาแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ในทะเล แหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สำคัญซึ่งถูกค้นพบแล้ว คือ ยาดานา คาดว่าจะมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองรวมทั้งสิ้น 10 trillion ลูกบาศก์ฟุต และเยตากุนอีก 1.2 trillion ลูกบาศก์ฟุต ใน ครั้งหน้าเราจะมาพูดกันถึงข้อที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และความร่วมมือกับประเทศเรา ติดตามอ่านกันให้ได้นะครับ... |
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555
มารู้ลึก..เรื่องไฟฟ้าในพม่ากันเถอะ.. (ตอนที่ 1)
source :http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=16&cno=3075
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น