วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

มารู้ลึก..เรื่องไฟฟ้าในพม่ากันเถอะ.. (ตอนจบ)

source : http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=16&cno=3083


ว่ากันต่อเลยเพื่อไม่ให้เสียเวลากับเรื่องแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำของประทศเพื่อนบ้านเรากันเลยครับ 

แผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำของสหภาพพม่า
ใน ปัจจุบันสหภาพพม่ามีการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กังหันก๊าซ กังหันไอน้ำ และโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันดีเซล แต่เนื่องจากการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำจะต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูง และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างยาวนานกว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแบบกังหันก๊าซ และโรงไฟฟ้าแบบพลังความร้อนร่วม ดังนั้นการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำให้ใช้ได้ทันตามความต้องการนั้น จะต้องมีการพัฒนาและวางแผนในระยะยาวทั้งในแง่ของการตอบสนองต่อความต้องการ ใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน

โครงการ ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญที่ถูกบรรจุอยู่ในแผนดำเนินการของการไฟฟ้าแห่ง สหภาพพม่า ในปัจจุบันมี 25 โครงการ โดยมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นจำนวน 12,898 เมกะวัตต์ ได้แก่
1. โครงการ Thanlwin (Tasang) 3,600 เมกะวัตต์
2. โครงการ Thanlwin (Ywathit) 3,500 เมกะวัตต์
3. โครงการ Tamanthi 1,200 เมกะวัตต์
4. โครงการ Yeywa 600 เมกะวัตต์
5. โครงการ Shwezaye 600 เมกะวัตต์
6. โครงการ Tanintharyi 600 เมกะวัตต์
7. โครงการ Hutgyi 400 เมกะวัตต์
8. โครงการ Mawlaik 400 เมกะวัตต์
9. โครงการ Bilin 280 เมกะวัตต์
10. โครงการ Paunglaung 280 เมกะวัตต์
11. โครงการ Nam Kok 150 เมกะวัตต์
12. โครงการอื่นๆ 1,288 เมกะวัตต์
รวม 12,898 เมกะวัตต์

ความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้ากับประเทศไทย
รัฐบาล ไทยและรัฐบาลสหภาพพม่า ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ณ กรุงเทพมหานคร โดยทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมและร่วมมือกันพัฒนาโครงการไฟฟ้าในสหภาพพม่า เพื่อจำหน่ายให้กับประเทศไทยในปริมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งในการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้ง 2 ฝ่าย ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า โดยในส่วนของฝ่ายไทยมีผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  (กฟผ.) เป็นประธาน และมีคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการกองสนเทศเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ และมีผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ ส่วนทางด้านสหภาพพม่า รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการส่งออกไฟฟ้ามายังประเทศไทย (The Committee on the Implementation of Power Export Program to Thailand) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานความร่วมมือในการพัฒนาโครงการดังกล่าว แล้วเช่นกัน

ความคืบหน้าในการหารือเพื่อขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย
คณะ กรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลทั้งของฝ่ายไทยและฝ่ายสหภาพพม่า ได้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2541 ที่เมืองท่าขี้เหล็ก จังหวัดเชียงตุง สหภาพพม่า เพื่อดำเนินการพิจารณาในรายละเอียดของโครงการที่จะมีการรับซื้อไฟฟ้าจาก สหภาพพม่าให้ได้ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2553 

โดยได้ข้อสรุปที่สำคัญดังนี้
1.โครงการผลิตไฟฟ้าที่ฝ่ายสหภาพพม่าเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณา มีจำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย
โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ มีจำนวน 3 โครงการ ในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่ โครงการ Nam Kok ขนาด 55 เมกะวัตต์ โครงการ Hutgyi ขนาด 400 เมกะวัตต์ โครงการ Tasang ขนาด 3,600 เมกะวัตต์
ทั้ง นี้ โครงการ Nam Kok ได้ลดขนาดกำลังการผลิตจากที่กำหนดไว้ในแผนดำเนินการเดิม จาก 150 เมกะวัตต์ เหลือเพียง 55 เมกะวัตต์ เนื่องจากข้อจำกัดของสภาพภูมิประเทศและธรณีวิทยาของที่ตั้งเขื่อน
โครงการ ผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle) มีจำนวน 1 โครงการ ในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่ โครงการ KANBAUK ขนาด 1,500 เมกะวัตต์
2. กฟผ. ได้แจ้งให้ฝ่ายพม่าทราบว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. (พ.ศ. 2541-2554) ชุด PDP 97-02 ได้กำหนดตัวโครงการผลิตไฟฟ้าที่จะจัดหาเข้าระบบไว้ครบถ้วนตามความต้องการใช้ ไฟฟ้าของประเทศ จนถึงปี 2549 แล้ว ดังนั้น ฝ่ายไทยจะพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า ในปริมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ได้เฉพาะในช่วงระหว่างปี 2550-2553 เท่านั้น

3. กฟผ. ได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการกำหนดเส้นทางแนวสายส่งไฟฟ้าที่จะ เชื่อมโยงบริเวณชายแดน ระหว่างประเทศสหภาพพม่ากับประเทศไทยไว้แล้ว 5 เส้นทาง และได้เสนอให้ฝ่ายพม่าพิจารณาแล้ว โดยเส้นทางที่เลือกไว้เหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ป่าบริเวณชายแดนของทั้ง 2 ประเทศ น้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น จะหลีกเลี่ยงพื้นที่ป่าบริเวณ 1A พื้นที่สำหรับสัตว์ป่าอาศัย และพื้นที่ป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติ ได้แก่
เส้นทางที่ 1 บริเวณอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
เส้นทางที่ 2 บริเวณอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
เส้นทางที่ 3 บริเวณอำเภอเมือง (บ้านห้วยน้ำขาว) จังหวัดกาญจนบุรี
เส้นทางที่ 4 บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
เส้นทางที่ 5 บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทั้ง 2 ฝ่าย เห็นควรให้แต่ละฝ่ายดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นภายใต้คณะกรรมการเพื่อ ดำเนินการรับซื้อและส่งออกไฟฟ้าจากสหภาพพม่า เพื่อศึกษาในรายละเอียดของเส้นทางแนวสายส่งไฟฟ้าที่เหมาะสมดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องพาดผ่านพื้นที่ป่าบริเวณชายแดนของทั้ง 2 ประเทศต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น