วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

"ย่ำโคลนให้เป็นก๊าซ" ไอเดียหัวใสจาก มทร.ธัญบุรี

source : http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9550000033571


 
      ในภาวะที่ราคาแก๊สหุงต้มกำลังขยับราคาขึ้น ส่งผลให้พ่อบ้านแม่บ้านได้รับผลรับกระทบ และต้องปรับตัวไปตามๆกัน ไม่ว่าจะเป็นการประหยัด และลดการใช้ในปริมาณที่น้อยลง หรือการหาพลังงานขึ้นมาทดแทน อย่างแก๊ซชีวภาพที่ได้จากมูลหมู มูลวัว ที่มีการนำมาใช้แล้วอย่างแพร่หลายและก็มีประสิทธิภาพ 
นศ.มทร.ธัญบุรีและอาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าของผลงาน
       นักศึกษาจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สร้างชุดเก็บแก๊สชีวภาพจากโคลนขึ้น เพื่อศึกษาพัฒนา และจะนำไปใช้ได้จริงในอนาคต ซึ่งเจ้าของผลงาน ได้แก่ นายพงศ์วรรธน์ ประเสริฐไพบูลย์, นายชัยวัฒน์ ภิรมย์กล่ำ และนายธีรพงษ์ สันป่าแก้ว โดยมีอาจารย์ชัยรัตน์ หงส์ทอง เป็นที่ปรึกษา
ย่ำโคลนให้ก๊าซชีวภาพเข้าสู่ลูกบอล
      
เก็บก๊าซชีวภาพจนเต็มลูกบอลแล้ว
       เจ้าของผลงานเล่าถึงวิธีการกักเก็บก๊าซชีวภาพจากโคลนว่า ใช้ผู้ปฏิบัติงานสองคนลงไปย่ำ (การกระตุ้น)ให้แก๊สที่ทับถมอยู่ในโคลนด้านล่างลอยตัวขึ้นมาสู่ชุดเก็บที่อยู่ด้านบน และปล่อยให้แก๊สผ่านเข้าลูกบอลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 นิ้ว แล้วนำไปทดลองขั้นต้นกับหัวเตาก๊าซชีวภาพสามารถจุดไฟได้ หลังจากนั้นนำไปวัดค่าโดยเครื่องมือวัดก๊าซชีวภาพแบบพกพารุ่น GFM 416
       "ผลปรากฏว่ามีค่าก๊าซชีวภาพประมาณร้อยละ 20.8 และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณร้อยละ 0.8 ส่วนที่เหลือเป็นก๊าซชนิดอื่น ๆ เช่น ออกซิเจน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจน และไอน้ำใช้เวลาเพียง 11.16 นาทีในการลงไปเก็บแก๊สชีวภาพก็สามารถนำไปเปิดใช้งาน ได้เฉลี่ย 6.01 นาที โดยการใช้งานจริงได้ทำการทอดไข่สามารถทอดได้จำนวน 2 ฟองต่อการเก็บก๊าซชีวภาพ 1 ครั้ง" 
      
       เจ้าของผลงานยังบอกว่า ตั้งใจที่จะพัฒนาชุดเก็บแก๊สให้มีขนาดพกพา เพื่อความสะดวกเมื่อต้องเดินทางและต้องหุงต้มหาอาหาร เพียงแค่มีชุดเก็บแก๊สชีวภาพแบบพกพา พอเห็นแหล่งน้ำก็สามารถลงไปเก็บแก๊สมาใช้หุงต้มได้อย่างที่ไม่ต้องเสียเงิน อีกทั้งในอนาคตยังจะมีการพัฒนาการเก็บและบรรจุแก๊สชีวภาพจากโคลนสำหรับเก็บไว้ใช้ในครัวเรือนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น