วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 - 2574)

แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 - 2574)

1. สมมติฐานที่ใช้ในการคาดการณ์ความต้องการพลังงานในอนาคต ประกอบด้วย
(1) อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลร
วมของประเทศ (GDP) เฉลี่ยร้อยละ 4.3ต่อปี
(2) อัตราการเพิ่มของประชากรประมาณร
้อยละ 0.3 ต่อปี และ
(3) แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นใช้ข้อมูลส
ถิติย้อนหลัง 20 ปี จาก ปี 2533 - ปี 2553 โดยได้ใช้ ปี 2553 (ค.ศ.2010) เป็นปีฐาน

2. วัตถุประสงค์ของแผน เพื่อกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางในการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของประเทศในระยะสั้น 5 ปี และระยะยาว 20 ปี ทั้งในภาพรวมของประเทศ และในรายภาคเศรษฐกิจที่มีการใช้พลังงานมาก ได้แก่ ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคอาคารธุรกิจ และภาคบ้านอยู่อาศัย

3. เป้าหมาย เพื่อลดความเข้มการใช้พลังงาน (energy intensity) ลง 25% ในปี 2573 เมื่อเทียบกับปี 2553 หรือต้องลดการใช้พลังงานลงให้ได้อย่าง น้อย 38,200 ktoe ทั้งนี้ หากคำนวณค่า EI โดยใช้ปี พ.ศ. 2548 เป็นปีฐาน ไทยสามารถลด EI ได้ถึงร้อยละ 55 ซึ่งเกินกว่าค่าเป้าหมายของเอเป
ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 
(1) การใช้มาตรการผสมผสานทั้งการบังคับ และการส่งเสริมสนับสนุนจูงใ
(2) การใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบ
ในวงกว้าง สร้างความตระหนัก การเปลี่ยนพฤติกรรมและทิศทางตลาด
(3) การให้เอกชนเป็นหุ้นส่วนสำค
ัญในการส่งเสริมและดำเนินการ
(4) การกระจายงานอนุรักษ์พลังงา
นไปยังหน่วยงานที่มีความพร้อม
(5) การใช้มืออาชีพและบริษัทจัด
การ พลังงาน (ESCO) เป็นกลไกสำคัญ และ
(6) การเพิ่มการพึ่งพาตนเอง และโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีปร
ะสิทธิภาพสูง

กลยุทธ์และมาตรการในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วยกลยุทธ์ 5 ด้าน ได้แก่
(1) กลยุทธ์ด้านการบังคับด้วยกฎระเบียบและมาตรฐาน อาทิ การบังคับให้ติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงาน (mandatory labeling)
(2) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงาน เช่น การสนับสนุนการดำเนินการของบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO)
(3) กลยุทธ์ด้านการสร้างความตระหนักและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
(4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ
(5) กลยุทธ์ด้านการพัฒนากำลังคนและความสามารถเชิงสถาบัน

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จะก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน ขั้นสุดท้ายในปี 2573 รวมเท่ากับ 38,200 ktoe และลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ประมาณ 130 ล้านตัน หากคิดเป็นมูลค่าทางการเงินจะส่งผลให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ 707,700 ล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น