วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ต้านไฟฟ้าชีวมวลสระแก้วกระชากไมค์แย่งพูด

ชาวบ้านรวมตัวต้านโรงงานไฟฟ้าชีวมวล แย่งกันพูดอุตลุด ส่งเสียงโห่ไล่ นัดชี้แจงอีกครั้ง 21 มิ.ย.

จากกรณียื่นหนังสือหนังสือคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เกี่ยวกับการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานชี วมวล บริษัท แก้วลำดวน เพาเวอร์ซับพลาย จำกัด ม.14 ต.ศาลาลำดวน อ.ศาลาลำดวน จ.สระแก้ว ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.54 หลังจากนั้นมีการประชุมหารือระดับจังหวัด และสั่งการให้ สำนักงานอุตสาหกรรม นำคณะกรรมการลงพื้นที่ชี้แจงชาวบ้าน โดยกำหนดพื้นที่ให้มากขึ้น

ล่าสุดวันนี้(15 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ณ ศาลาวัดหนองหิน ม.8 ต.ศาลาลำดวน จะมีการจัดเวทีชี้แจงหลังมีข่าวลือ ปัญหามลพิษจากการใช้พลังงานจากถ่านหิน และปัญหาน้ำเสีย โดยมีเจ้าหน้าที่และฝ่ายวิศวกรโรงงาน ฯ พร้อมด้วย นายวันชัย เกาะสูงเนิน หน.ฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรม - เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง นายนิด สมบูรณ์ ผู้ใหญ่ ม.8 นำชาวบ้านมารับทราบข้อมูลของโรงงานฯ

แต่บริเวณด้านนอกศาลาก็มีกลุ่มของนายจำนง การดี แกนนำผู้คัดค้าน ฯ และชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งประมาณ 30 คน กระจายอยู่ด้านนอกพร้อมป้ายประท้วงขับไล่ ส่งเสียงดังอยู่ด้านนอก โดยฝ่ายอุตสาหกรรมได้เข้าเจรจาขอให้ชาวบ้านได้ฟังข้อมูลการชี้แจง ข้อกังวลฯและการดำเนินงานก่อน และพร้อมที่จะให้ผู้คัดค้านซักถามข้อมูล

ต่อมา แกนนำฯ ได้นำชาวบ้านเข้าไปรับฟัง แต่เพียงแค่การแนะนำหน่วยงานและฝ่ายผู้นำท้องถิ่น นายจำนง แกนนำฯ ได้ลุกขึ้นขอไมค์จากผู้ใหญ่บ้านขอพูดก่อนว่า พื้นที่การสร้างโรงงานไฟฟ้าไม่ใช่หมู่นี้ จึงไม่อยากให้ชาวบ้านรับฟัง พร้อมกล่าวโจมตี นายก อบต.ศาลาลำดวน ,กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน ม.14 ว่ามีการปลอมแปลงเอกสารชื่อ ตลอดจนแจ้งว่าฝ่ายแกนนำได้นำเรื่องไปฟ้องศาลอาญา ซึ่งจะนัดไต่สวนในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ และถ้าจะมีการคุย ต้องการให้ไปคุยกันที่ บ้านของตนเองใน หมู่ 14 ซึ่งจะต้องมี เจ้าของโรงงาน ฯ ผู้ว่าฯและชี้แจงต่อหน้าประชาชน ถ้าชาวบ้านเห็นด้วยและยอมรับโรงงาน ตนเองก็จะยุติบทบาท แต่ถ้าชาวบ้านไม่เอา ตนเองก็จะเดินหน้าที่ไปจากนั้นเตรียมจะเริ่มโจมตีผู้นำท้องถิ่นฯ

จากนั้นเกิดยื้อแย้งไมโครโฟนเพื่อชี้แจง และให้อยู่ในความสงบ ชาวบ้านหลายคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุต่างตกใจ โดยผู้ใหญ่ ม.8 ในฐานะเจ้าของพื้นที่เข้ามาทักท้วงขอให้ฟังคำชี้แจงก่อน หากสงสัยให้ซักถาม และวางตัวเป็นกลาง แต่ในขณะเดียวกัน แกนนำหลายคนได้พาชาวบ้านที่นั่งอยู่ลุกฮือออกไปจากศาลา และออกไปตะโกนด่าคนที่นั่งอยู่ด้านใน โดยบางรายมีอาการมึนเมา ด่าทอคำหยาบคาย จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้ามาระงับเหตุ ด้านผู้ใหญ่ ม.8 ก็แจ้งชาวบ้านว่า ใครมีความประสงค์จะรู้ข้อมูลก็ขอให้นั่งฟังอย่างสงบ แต่ยังมีชาวบ้านอีกกลุ่มฟังข้อมูลจากโรงงานและอุตสากรรม ท่ามกลางเสียงโวยวายจากด้านนอก
การชี้แจงของโรงงานฯ ใช้เวลาประมาณ กว่าชั่วโมง โดยจากข้อซักถามของชาวบ้านหลายคนได้ยินกระแสข่าวลือเรื่องสุขภาพว่าต่อไปจะ ไม่สามารถกินน้ำฝนได้ การเกษตรไม่ได้ จะมีมลพิษทางอากาศสุขภาพร่างกายแย่ ตลอดจนข่าวลือถึงการนำถ่านหินมาใช้ในโรงงานและนิวเคลียร ซึ่งหลังรับทราบข้อมูลเบื้องต้นของโรงงาน ฯ ทำให้หลายคนสลาย

นางรัตนา อายุ 42 ปี ชาวบ้าน ม.9 เปิดเผยว่า ตนเองอยู่ต่างหมู่บ้านแต่ได้ยินกระแสข่าวมากมายจึงเกิดความวิตกกังวล เลยเดินทางมาฟังข้อมูล ซึ่งก็สบายใจ เพราะชาวบ้านเองก็ไม่มีความรู้ ไม่รู้จักคำว่า ชีวมวล ซึ่งจริงๆแล้วก็คือ เศษไม้ หรือส่วนที่เหลือของผลผลิตทางการเกษตร อย่างอ้อย ,มันสัมปหลัง เมื่อรับทราบข้อมูลแบบนี้ก็สบายใจและไม่วิตกแต่อย่างใด เช่นเดียวกันชาวบ้านที่หลายคนที่คลายความกังวลใจในกระแสดังกล่าว

ด้าน นายพัฒนชัย ชัยมงคล วิศวกรโรงงาน เปิดเผยว่า ยืนยันโรงงานไฟฟ้าชีวมวล คือการนำวัสดุเหลือใช้ทางผลผลิตทางการเกษตรมาใช่ เช่น แกลบ ฟางข้าว ทลายปาล์ม ใยปาล์ม เหง้ามัน เศษไม้ เปลือกไม้ ชานอ้อย เป็นพลังงานหมุนเวียนปลูกทดแทนได้ และที่สำคัญคือไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ได้ดำเนินงานตามกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตโรงงาน ซึ่งกำหนดโดยกรมโรงงานอุตสากรรมซึ่งโรงงานเองก็ไม่ได้เข้าข่ายที่ส่งผลกระทบ รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องผ่านกระบวนการ EIA แต่ก่อนหน้าที่ได้ชี้แจงและนำชาวบ้านไปดูข้อมูลตลอดการปิดประกาศไปแล้ว ซึ่งโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาด 9.6 เมกกะวัตถ์ การใช้น้ำก็มีการขุดบ่อ 2 แห่ง ซึ่งไม่ได้ดึงน้ำจากคลองมาใช้ และ ไม่มีกระบวนการปล่อยน้ำเสียอย่างที่หลายคนกังวล เพราะเป็นระบบไอน้ำ โดยเฉพาะการเผาไหม้ก็ไม่มีค่าเกิดอันตราย วัสถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงก็มาจากเปลือกไม้ที่ โรงงานมีอยู่มาก เพราะเป็นโรงงานที่เป็นพลังสะอาด ไม่ได้ใช้ถ่านหินอย่างที่หลายคนปล่อยข่างลือออกมา และถ้ามีการตั้งโรงงานแล้วประชาชนในพื้นที่ยังจะได้รับประโยชน์จากงบพัฒนา ท้องถิ่นอีกซึ่งระบุตามข้อกฏหมายและอื่นๆอีกมากมาย ส่วนกรณีที่เกิดการคัดค้านนั้น ทางโรงงานฯมองว่าจริงๆแล้วอาจจะมีมูลเหตุบางอย่างที่ลึกๆกว่านี้ที่ใช้โรง งานอ้างและดึงเข้าไปเกี่ยวคือ การเมืองในระดับท้องถิ่นมากกว่า

นายวันชัย เกาะสูงเนิน หน.ฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การอนุญาตเรื่องโรงงาน ได้ยื่นใบขออนุญาติประกอบกิจการและเอกสารต่างๆ มีการพิจารณาตามขั้นตอน ซึ่งทาง บ.แก้วลำดวน เพาเวอร์ซับพลาย จำกัด ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องทำผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA จึงไม่ถือเป็นโรงงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน โดยการประกาศกระทรวงลงวันที่ 22 กค 51 จึงรับฟังความคิดเห็นประชาชน โดยการปิดประกาศให้ทางการเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน ณ ที่ทำการ อบต.ศาลาลำดวน ที่ว่าการอำเภอและ สำนักงานอุตสากรรม และในช่วงเวลานั้นก็ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จนเรื่องดังกล่าวผ่านการอนญาติของกรมโรงงาน ฯในช่วงเดือน มีนาคม 2554 และจึงมีกลุ่มคัดค้านขึ้นมาใช้ช่วงนี้ดังกล่าว

โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วจึงได้ทางโรงงาน ฯเปิดเวทีรับฟังการชี้แจงของชาวบ้านโดยขยายวงกว้างมากขึ้นเพื่อสร้างความ เข้าใจ และลดกระแสข่าวลือต่างๆที่ทำให้ชาวบ้านวิตกกังวล ในเรื่องถ่านหินและนิวเคลียร ตลอดจนการขัดแย้งในพื้นที่ จึงกำหนดพื้นที่ และให้ทาง ส.อุตสาหกรรมเข้ามาร่วมด้วย ซึ่ง 2 ครั้งที่ผ่านมา คือ 14-15 มิย 54 นี้ก็มีแกนนำผู้คัดค้าน เข้ามาป่วนจนชาวบ้านไม่ได้รับฟังข้อมูลและวักข้อสงสัย ส่วนการยื่นข้อเสนอให้มีการเจรจาและชี้แจงที่บ้านของแกนนำโดยของทางจังหวัด ลงไปด้วยนั้น เบื้องต้นจะนำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ส่วนการดำเนินการชี้แจงข้อมูลที่สร้างความเข้าใจกับชาวบ้านนั้นอาจจะต้อง ดำเนินการต่อไป ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการ ฯ ซึ่งจะมีอีกครั้ง ในวันที่ 21 มิ.ย.54

source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20110615/395698/ต้านไฟฟ้าชีวมวลสระแก้วกระชากไมค์แย่งพูด.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น