วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รู้หลักใช้ ''ไฟฟ้า'' อย่างประหยัด ควบคุมรายจ่ายคำนวณได้ด้วยตนเอง


ในยุครัดเข็มขัดที่ของกินของ ใช้นับวันจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนค่าสาธารณูปโภค อย่างค่าไฟฟ้า ก็มีข่าวว่าในเดือนหน้าจะปรับขึ้นอีก อย่างนี้ย่อมส่งผลกับรายจ่ายของทุกครัวเรือนไม่มากก็น้อย อะไรที่พอประหยัดได้ตอนนี้เห็นทีต้องช่วยกันประหยัดแล้วล่ะ

ในภาวะที่อากาศร้อนอบอ้าว ทำให้แต่ละบ้านใช้ไฟฟ้ากันมากขึ้น ทั้งพัดลมและเครื่องปรับอากาศ เป็นผลให้ค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพื่อไม่ให้ค่าไฟฟ้าที่ใช้ต้องเป็นรายจ่ายที่เกินความจำเป็น ทุกครัวเรือนจะต้องวางแผนลดค่าใช้ไฟฟ้าเพื่อควบคุมรายจ่ายในส่วนนี้

คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน แสดงทรรศนะในเรื่องนี้ว่า ผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือในภาคอุตสาหกรรม จะรู้ค่าไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละเดือนได้จากใบแจ้งค่าไฟฟ้า สำหรับค่าไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายในแต่ละเดือนนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ในส่วนแรกเรียกว่า ค่าไฟฟ้าฐาน คือ ต้นทุนพื้นฐานในการพัฒนาเครือข่ายไฟฟ้า เป็นการกำหนดจากค่าลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า ค่าสายส่งไฟฟ้า  สถานีจ่ายไฟฟ้า ค่าเชื้อเพลิง ค่าบริหารจัดการ เงินเดือนพนักงาน และค่าบำรุงรักษา โดยจะเป็นค่าไฟฟ้าที่สะท้อนมาจากรายจ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตของประเทศ โดยค่าไฟฟ้าฐานที่ใช้ในปัจจุบันตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ ก.ค. 2554-ธ.ค. 2558 จะแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ตามขนาดของผู้ใช้ไฟฟ้า คือ บ้านอยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก กิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง ส่วนราชการและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร สูบน้ำเพื่อการเกษตร และไฟฟ้าชั่วคราว

ต่อมา คือ ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ที่รู้จักกันใน ค่า Ft เป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเชื้อเพลิงที่ใช้มีหลากหลายชนิดแต่ละชนิดราคาก็แตกต่างกันขึ้น-ลง ตามสภาพเศรษฐกิจ และค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า ซึ่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2555 จะปรับเป็น 0.30 บาท ต่อหน่วย

สุดท้าย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยตามหลักการภาษีแล้ว ผู้ใช้สินค้าหรือผู้ขอรับบริการ จะเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งค่าไฟฟ้าก็เช่นเดียวกัน ผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคิดจากค่าไฟฟ้าฐานรวมกับค่า ไฟฟ้าผันแปร ในอัตราร้อยละ 7

’การเสียค่าไฟฟ้านั้น จะกำหนดว่า ใครใช้ไฟน้อยก็จ่ายน้อย ส่วนใครที่ใช้ไฟมากก็ต้องจ่ายมาก ทั้งประชาชนและในภาคอุตสาหกรรม ส่วนใครใช้ไฟไม่ถึงตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ก็ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า ตรงนี้จะคล้ายกับการเสียภาษี คือ คนที่ได้เงินเดือนมากก็ต้องเสียภาษีมาก คนที่ได้เงินน้อยก็เสียภาษีน้อย ใครที่เงินเดือนไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ก็ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งจะต่างจากการซื้อของที่ยิ่งซื้อมากจะราคาถูกลงหรือได้ลดราคา

แต่ค่าไฟฟ้าจะคิดตรงกันข้าม คือ ถ้ายิ่งใช้มาก ค่าไฟฟ้าจะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งเรียกอัตราการเก็บค่าไฟฟ้าชนิดนี้ว่าอัตราก้าว หน้า เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้ามีจำกัดและต้องนำเข้าจากต่างประเทศการ ใช้ไฟฟ้าที่มากก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงต้องตั้งราคาค่าไฟฟ้าให้เป็นอัตราก้าวหน้า เพื่อให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นและใช้อย่างประหยัด”

รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวต่อว่า การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ซึ่งในปัจจุบันนับว่ามีความจำเป็นในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะอุปกรณ์ในบ้านหลายชนิดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า บ้านบางหลังไม่มีเครื่องปรับอากาศ แต่ต้องการใช้แสงสว่าง ก็ต้องมีหลอดไฟ มีพัดลม หม้อหุงข้าว ค่าไฟฟ้าอาจจะไม่มากนัก แต่อีกหลายบ้านมีไมโครเวฟ เครื่องทำน้ำอุ่นมีตู้เย็นหลายตู้ มีเครื่องปรับอากาศหลายเครื่อง เพิ่มเข้าไปอีกจึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ มีกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกันโดยสังเกตได้จากคู่มือการใช้งานหรือแถบป้ายที่ติด อยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ ยิ่งมีกำลังวัตต์มากก็จะใช้ไฟมาก อย่าง เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้าแบบที่มีเครื่องอบผ้า  เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องเป่าผม เครื่องปิ้งขนมปัง หากใช้โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นก็จะต้องเสียค่าไฟฟ้าที่สูงโดยไม่จำเป็นเช่น กัน

“บางครั้งประชาชนเกิดความชะล่าใจว่า ไฟฟ้าที่ใช้ได้มาแบบง่าย ๆ เพียงแค่กดปุ่มหรือเพียงแค่เสียบปลั๊กก็ได้ไฟฟ้าใช้แล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริง ไฟฟ้ากว่าจะได้มาให้ใช้กันนั้นจะต้องมีการวางแผนที่ละเอียดมากทั้งทางด้าน เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มีขั้นตอนและต้นทุนในการผลิตที่สูง หากประชาชนช่วยกันประหยัดไฟ  ความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จำนวนมากอย่างรวดเร็วก็อาจจะชะลอออกไป ได้  ในทำนองเดียวกันถ้าประชาชนใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย มองแค่ว่ามีกำลังจ่ายค่าไฟได้ การสร้างโรงงานไฟฟ้าก็มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาเป็นแผนวางไว้ เพราะกำลังในการผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนใช้ไม่เพียงพอกับความต้องการ”

การประหยัดไฟฟ้าเพื่อลดค่าไฟในบ้านทำได้หลายวิธีด้วยกัน อย่างช่วงนี้เวลาจะสร้างบ้านหรือซ่อมแซมบ้าน รวมทั้ง ระบบไฟฟ้า เรื่องของแสงสว่าง ควรใช้อุปกรณ์และหลอดไฟชนิดประหยัดพลังงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่เป็นหลอดนีออนแบบผอมแทนหลอดแบบธรรมดา ซึ่งจะช่วย ประหยัดไฟฟ้าร้อยละ 10 หรือใช้หลอดคอมแพ็กฟลูออเรสเซนต์ ที่เป็นหลอดตะเกียบแทนหลอดไส้  ซึ่งจะช่วยประหยัดไฟฟ้าร้อยละ 75 ใช้โคมสะท้อนแสงแบบประสิทธิภาพสูง รวมทั้งใช้บัลลาสต์อิเล็ก ทรอนิกส์แทนบัลลาสต์แบบธรรมดา

สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นในครัวเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ ซึ่งต้องยอมรับว่า ระยะนี้อากาศร้อนอบอ้าวเครื่องปรับอากาศจึงเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของ ประชาชนเป็นอย่างมาก ฉะนั้น จึงควรเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง เพราะหากห้องใหญ่ใช้เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กไปเครื่องก็จะทำงานตลอดไม่ได้ หยุดพัก และถ้าใช้เครื่องขนาดใหญ่เกินไปก็จะใช้ไฟมากโดยไม่จำเป็น

สำหรับการใช้เครื่องปรับอากาศอย่างประหยัดสามารถทำได้โดยเมื่อกลับบ้านมา แล้วอย่าเพิ่งเปิด ให้เปิดพัดลมไล่ความร้อนเสียก่อนประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่อเปิดใช้งานแล้วควรปิดก่อนเวลาเลิกงานอย่างน้อย 30 นาที เพราะความเย็นยังมีผลอยู่ถ้าไม่เย็นพอก็ให้เปิดพัดลมแทน ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟได้ทำอย่างนี้ทุกวัน เดือนหนึ่งจะเป็นการประหยัดค่าไฟไปได้ 15 ชั่วโมง ถ้าบ้านหลังหนึ่งมีเครื่องปรับอากาศ 3 เครื่อง ก็ช่วยประหยัดไปได้  45 ชั่วโมง ตลอดจนต้องมีการบำรุงรักษาไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศที่มีคุณภาพดีแค่ไหน ก็ตาม เพื่อให้เครื่องสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยหมั่นทำ ความสะอาดทุก 6 เดือน

ไม่เพียงเท่านี้ สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องฝึกวินัยในการประหยัดไฟ ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ คือ ไม่ใช้ให้ปิด จะใช้ก็เปิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรก็ตาม ยกเว้น ตู้เย็น รวมทั้ง อย่าใช้นานเกินความจำเป็น อย่าง เครื่องเป่าผม วิธีที่จะไม่เปิดนาน คือ เช็ดผมให้หมาด ๆ เสียก่อนแล้วค่อยใช้เครื่องเป่าผมอย่าเป่าผมในขณะที่ผมยังเปียก ๆ เพราะเปิดนาน 1 นาที ก็เป็นค่าไฟที่เพิ่มขึ้นแล้ว อย่าใช้นานพยายามใช้เท่าที่จำเป็นก็จะช่วยประหยัดได้  ถ้าใช้แบบไม่คิดอะไร ค่าใช้จ่ายที่สูงก็จะย้อนกลับมาในใบแจ้งค่าไฟฟ้า

นอกจากการประหยัดในการใช้เครื่องไฟฟ้าแต่ละประเภทแล้ว การประมาณค่าไฟฟ้าโดยการคำนวณด้วยตนเองจะทำให้รู้ว่า หากลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใดประเภทหนึ่งจะประหยัดค่าไฟเท่าใดได้ด้วย ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้ประชาชนสามารถวางแผนประหยัดรายจ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าได้ ด้วยตนเอง

ทั้งนี้การช่วยกันประหยัดไฟฟ้าสามารถทำได้ ตั้งแต่หน่วยเล็ก ๆ ของสังคม อย่างที่บ้าน ไปจนถึงหน่วยใหญ่ อย่าง องค์กร หน่วยงาน  หรือโรงงานอุตสาหกรรม หากลงมือทำกันอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ทำเป็นนิสัย ก็จะเป็นการช่วยลดกำลังการผลิตไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง  ในขณะเดียวกันก็เป็นการประหยัดสตางค์ในกระเป๋าของประชาชนด้วยเช่นกัน.
การคิดค่าไฟฟ้าด้วยตนเอง
1.การจำแนกอัตราค่าไฟบ้านอยู่อาศัยทั่วไป จะต้องดูข้อหมายเหตุข้างต้นก่อนว่าจะถูกจัดอยู่ในอัตราค่าไฟฟ้าที่เท่าไหร่
2.การคิดค่าหน่วยไฟฟ้าตามประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
กรณีติดตั้งมิเตอร์ขนาดมากกว่า 5 แอมแปร์สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิต คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง มีสูตรการคำนวณดังนี้
กำลังไฟฟ้า(วัตต์)ชนิดนั้นๆ x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า  x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน1,000  = จำนวนหน่วยที่ใช้ตัวอย่าง บ้านอยู่อาศัยทั่วไป มีการใช้ไฟดังต่อไปนี้  สมมุตินาย ก. มีเครื่องใช้ไฟฟ้า 7 อย่างดังนี้
1. มีหลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง

จะใช้ไฟฟ้าวันละ (40x10x6) 1,000 = 2.4 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x2.4)  = 72 หน่วย
2. หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที

จะใช้ไฟฟ้าวันละ (600x1x 0.5) 1,000 = 0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ  (30x 0.3) = 9 หน่วย
3. ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 หลัง เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน 8 ชั่วโมง

จะใช้ไฟฟ้าวันละ (125x 1x 8) 1,000 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x 1) = 30 หน่วย
4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 8 ชั่วโมง  สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 5 ชั่วโมง

จะใช้ไฟฟ้าวันละ (1,300x 1x 5) 1,000 = 6.5 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x 6.5) = 195 หน่วย
5.  เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง  สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง

จะใช้ไฟฟ้าวันละ (2,000x 1x 8) 1,000 = 16 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x16) = 480 หน่วย
6. เตารีดไฟฟ้าขนาด 800 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 1 ชั่วโมง

จะใช้ไฟฟ้าวันละ (800x 1x 1) 1,000 = 0.8 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.8) = 24 หน่วย
7. ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง

จะใช้ไฟฟ้าวันละ (100x 1x 3) 1,000 = 0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x 0.3) = 9 หน่วย

รวมใช้ไฟฟ้าต่อเดือนทั้งหมด = (72+9+30+195+480+24+9)  = 819 หน่วย/เดือนเท่ากับอัตราค่าไฟฟ้าตาม 1.2 (ตามกรอบที่กำหนด)3. การคำนวณค่าไฟฟ้า    819 หน่วย/เดือน 

ส่วนที่ 1 ค่าไฟฟ้าฐาน

1.1 ค่าพลังงานไฟฟ้า

ค่าไฟฟ้า หน่วยละ(บาท)

150 หน่วยแรก 2.7628 150  2.7628 414.42

250 หน่วยถัดไป (151-400) 3.7362 250  3.7362 934.05

มากกว่า 400 หน่วย 3.9361 419  3.9361 1,649.2259

รวมเป็นค่าพลังงานไฟฟ้า2,997.70  1.2 ค่าบริการ38.22

รวมค่าไฟฟ้าฐาน 2,997.70 + 38.223,035.92
ค่าไฟฟ้าผันแปร(Ft) ณ เดือนมิถุนายน  2555 เท่ากับ 0.30 บาทต่อหน่วย

ส่วนที่ 2 ค่าไฟฟ้าผันแปร(Ft)

จำนวนพลังงานไฟฟ้า  ค่า Ft 0.30 819  0.30 245.70

รวมเป็นเงิน3,035.92+245.703,281. 62ส่วนที่ 3 ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft)7  100(3,035.92+245.70)7229.713100
รวมเงินค่าไฟฟ้า 3,281.62+229.713 3,511. 333
•ค่าไฟฟ้า = (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าบริการ) + ค่า Ft + VAT 7%
•หากติดตั้งมิเตอร์ขนาด 5 แอมแปร์ ก็จะคำนวณลักษณะเดียวกัน แต่ใช้อัตราตาม 1.1
โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปี พ.ศ. 2554-2558
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย วัดและโบสถ์ของศาสนาต่าง ๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
1.1 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

อัตรารายเดือน ค่าพลังงานไฟฟ้า
15 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก ( หน่วยที่ 1–15 ) หน่วยละ 1.8632 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16–25)  หน่วยละ 2.5026 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26–35) หน่วยละ 2.7549 บาท
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36–100) หน่วยละ 3.1381 บาท
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101–150) หน่วยละ 3.2315 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151– 400) หน่วยละ 3.7362 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 3.9361 บาทค่าบริการ (บาท/เดือน ) : 8.19
1.2 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน

อัตรารายเดือน ค่าพลังงานไฟฟ้า150 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก ( หน่วยที่ 1–150 )หน่วยละ 2.7628 บาท250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151– 400 )หน่วยละ 3.7362 บาทเกินกว่า 400 หน่วย ( หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป )หน่วยละ 3.9361 บาทค่าบริการ (บาท/เดือน ) :38.22
ทีมวาไรตี้

source : http://www.dailynews.co.th/article/224/115744

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น