วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์: วิกฤตพลังงานกับทิศทางการเชื่อมโยง AEC และไทย 2/4

งานสัมมนาทางวิชาการ ศูนย์อาเซียนศึกษา สปท.ครั้งที่ 4/45 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 ณ อาคารพฤกษชาติพระทรงชัย สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงพลังงาน

ภาพรวมด้านพลังงานภายในประเทศ
การใช้พลังงานของเราเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจัยอันดับหนึ่งคือประชากรเพิ่ม เศรษฐกิจกำลังพัฒนา และความเป็นอยู่ของประชากรที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น การใช้พลังงานในปีที่ผ่านมาสูงถึง 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 20% ของ GDP ของประเทศ การนำเข้าน้ำมันปีที่ผ่านมาสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบค่อนข้างมาก สามารถผลิตได้ 1 แสนกว่าบาร์เรลล์ต่อวัน การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี การสร้างโรงไฟฟ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เราพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก เรานำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากลาวประมาณ 4 เขื่อน



ปัจจุบันไทยประสบปัญหาเรื่องการสร้างความยอมรับโครงการด้านพลังงาน ทางกระทรวงตระหนักดี และตั้งสำนักการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เพื่อทำหน้าที่ทั้งด้าน CSR และการ PR เชิงพื้นที่ ผ่านสื่อ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ส่วนอีกสำนักหนึ่งคือศึกษามิติพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งรัฐบาลที่แล้วได้ขอชะลอไปอีก 3 ปี

ประเด็นท้าทายด้านพลังงาน
ราคาน้ำมันดิบค่อนข้างสูง ปริมาณสำรองพลังงานของไทยมีจำกัด ถ้าเราไม่ใช้ก๊าซจะใช้อะไรแทนได้บ้าง ถ้าน้ำมันก็มีราคาสูง ก๊าซธรรมชาติพอได้แต่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นิวเคลียร์ก็พอสู้ได้แต่ยังต้องพิจารณาอยู่



สถานการณ์นิวเคลียร์ของอิหร่านและผลกระทบต่อช่องแคบฮอร์มุซ
อิหร่านเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบอันดับ 2 ของ OPEC วันหนึ่งได้ 3.5 ล้านบาร์เรลล์ ทั่วโลกใช้ประมาณ 85 ล้านบาร์เรลล์ ขณะที่ไทยใช้ 8 แสนบาร์เรลล์ หรือ 1 % ถ้าดูแล้ว รัสเซีย อเมริกา และจีนผลิตน้ำมันเยอะมาก แต่ใช้เองภายในประเทศค่อนข้างมาก ขณะที่กลุ่มประเทศผลิตได้ 30 ล้านบาร์เรลล์ แต่ใช้เองก็ค่อนข้างมากเช่นกัน
worst case น่าจะเกิดจากอิสราเอลบุกอิหร่าน จะเป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน ซึ่งเป็นผลกระทบเพียง 2 ประเทศ แต่ถ้าอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซ ที่มีการขนน้ำมันแต่ละวันไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาร์เรลล์ ที่ยังไม่รวมถึงเรือขนส่งก๊าซธรรมชาติ เรือบรรทุกก๊าซหุงต้ม เรือบรรทุกสินค้าอุปโภคบริโภค
ล่าสุด อิสราเอลก็หารือกับสหรัฐว่าคงไม่บุก แต่สหรัฐเองก็ดูมีทีท่าไม่แน่ใจ เราจะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งสหรัฐ และมีสงคราม มักจะได้เป็นต่อ แต่ถ้าคะแนนนิยมของโอบามาตก ก็อาจจะกลืนน้ำลายตนเองได้ เรื่องการเมืองอะไรก็เกิดขึ้นได้นะครับ
ในส่วนของประเทศไทย กระทรวงพลังงานได้ติดตามอย่างใกล้ชิด และมีการสำรองปริมาณน้ำมันตามกฎหมาย และกำลังพิจารณาถึงพื้นที่ที่จะสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้น



ภาคพลังงานในมิติของอาเซียน
มีการประชุมในระดับรัฐมนตรี และมีการประชุมในกรอบต่างๆ ถึง 7 ด้านด้วยกัน ในอนาคตด้านพลังงานที่เป็นส่วนของก๊าซธรรมชาตินั้นจะทำเป็นกรอบพหุภาคีจะต้องมีระเบียบที่ชัดเจน กระทรวงพลังงานได้ติดตามดูแล้ว แต่ในอาเซียนมีความเหลื่อมล้ำในมิติการพัฒนาด้านกฎระเบียบ ซึ่งทำให้ยังไม่มีข้อตกลง คงต้องรอดูในปี 2020
ขณะที่สายส่งไฟฟ้ายังเป็นความร่วมมือแบบทวิภาคี ในอนาคตถ้าจะมี ASEAN Power Grid นั้น ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเป็น hub ในการซื้อไฟของภูมิภาค ถึงจุดหนึ่งเมื่อรวมเป็น AEC ซึ่งเป็น Single Market นั้น ไทยมีศักยภาพในการผลิตน้ำได้ค่อนข้างมาก เพราะมีน้ำเยอะ ขณะที่ลาวประชากรน้อย หากสร้างเขื่อนจะไม่มีทางคุ้มทุน การสร้างเขื่อนในลาวและส่งไฟมาไทย จะเป็นการใช้ทรัพยกรที่มีประสิทธิภาพมาก

Source : http://www.siamintelligence.com/energy-crisis-linkages-aec-and-thailand-2-4/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น