วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

อนาคตพลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง?(จบ)

อนาคตพลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง? (จบ) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

 

          มาคุยกันต่อถึงอนาคตพลังงานไทยครับ ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราใช้พลังงานต่อประชากรในเกณฑ์สูง แม้ว่าข้อมูลจาก Energy Information Administration ของสหรัฐอเมริกาจะระบุว่าไทยสามารถผลิตก๊าซได้อันดับที่ 24 ของโลก (http://www.eia.gov/countries) แต่ทราบหรือไม่ว่าเราสามารถผลิตก๊าซได้เพียงร้อยละ 1.1 ของการผลิตก๊าซทั่วโลกเท่านั้น ในขณะที่สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ผลิตได้ถึงร้อยละ 19.3 และร้อยละ 18.4 เพียงแค่ 2 ประเทศ รวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก

          นอกจากนั้น จากเว็บไซต์อีไอเอเช่นกันที่บอกว่า ในขณะที่เราผลิตก๊าซได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลก แต่เรามีปริมาณการใช้ก๊าซของไทยสูงเป็นอันดับที่ 20 ของโลก และเป็นผู้นำเข้าอันดับที่ 21 ของโลกเลยทีเดียว พูดง่ายๆ ก็คือ เราใช้มากกว่าเราผลิตได้ เพราะอย่างนี้เราจึงต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศถึงจะเพียงพอกับความต้องการ ใช้ของเรา และข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งคือเราต้องนำเข้าก๊าซจากพม่าตั้งแต่ปี 2541 และเพราะความต้องการใช้พลังงานของเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงตอนนี้ก๊าซจากประเทศเพื่อนบ้านก็ยังไม่พอ ดังนั้น ในปี 2554 เราจึงต้องนำเข้าก๊าซในรูปของของเหลว หรือ LNG (Liquefied Natural Gas) ที่ต้องผ่านการควบแน่นให้เป็นของเหลว และขนส่งมาไกลจากตะวันออกกลางทำให้ก๊าซมีราคาแพงนั่นเอง
          ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าประเทศไทยมีแหล่งพลังงานเยอะมากหรือไม่ นั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่าเราผลิตได้มากขนาดไหน หรือผลิตได้เป็นอันดับที่เท่าไหร่ของโลก แต่ประเด็นสำคัญคือเราผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ พูดง่ายๆ คือเราใช้มากกว่าที่ผลิตได้นั่นเอง ดังนั้น จะเห็นว่าประเทศเรายังไม่สามารถพึ่งพาตนเองในด้านพลังงานได้เลย ซึ่งเป็นมานานแล้ว และในอนาคตจะยิ่งเป็นมากขึ้น หากเรายังไม่รู้จักประหยัดพลังงานกันอย่างจริงจัง
          โดยอนาคตเราจะต้องนำเข้าก๊าซสูงถึงร้อยละ 50 ของปริมาณการใช้ทั้งหมดของประเทศ โดยนำเข้าในรูปของก๊าซแอลเอ็นจีซึ่งมีราคาแพง เพราะก๊าซในอ่าวไทยใกล้จะหมดลงไปทุกที เราจะต้องซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น จากสัดส่วนปัจจุบันที่ร้อยละ 3 ของปริมาณการใช้ทั้งหมด เป็นร้อยละ 21 เพราะเราปฏิเสธการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศ เมื่อเราต้องพึ่งพิงพลังงานจากภายนอกมากขึ้นเรื่อยๆ ความมั่นคงด้านพลังงานเราก็จะน้อยลง และต้นทุนด้านพลังงานจะสูงขึ้น

          ลองคิดดูว่าลูกหลource :านของเราจะอยู่กันอย่างไร ในภาวะที่พลังงานในประเทศถูกบรรพบุรุษถลุงใช้อย่างฟุ่มเฟือย เพราะคิดไปว่าเรามีแหล่งพลังงานมากเพียงพอที่จะเอามาใช้กันได้อย่างถูกๆ โดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่ากัน หากเราไม่ทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น การประหยัดการใช้พลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน และการหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม อนาคตพลังงานไทยก็น่าเป็นห่วงจริงๆ ครับ


--------------------
(อนาคตพลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง? (จบ) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจ และพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) <Chodechai.energyfact@gmail.com>)

source : http://www.komchadluek.net/detail/20120810/137259/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%28%E0%B8%88%E0%B8%9A%29.html#.UFn-o65-m1s

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น