วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

โรงกลั่นน้ำมันในไทย

 source : http://www.vcharkarn.com/vblog/37277/3
ผู้เขียน : banjong ( นาย บรรจง บุหิรัญ )


  โรงกลั่นน้ำมันในไทยมีอยู่ 7 โรง  มีกำลังผลิตรวมกัน  1.0922 ล้านบาเรลต่อวัน หรือ 173.6  ล้านลิตรต่อวัน   ความซับซ้อน  และกำลังกลั่นน้ำมันดิบแต่ละโรงในปี 2551 มีรายละเอียดดังนี้
  

โรงกลั่น ประเภทโรงกลั่น กำลังการผลิตโรงกลั่น(บาเรลต่อวัน) กำลังการผลิตโรงกลั่น(ล้านลิตรต่อวัน)
ไทยออยล์ (TOP) คอมเพล็กซ์ 275,000 43.7
ไออาร์พีซี (IRPC) คอมเพล็กซ์ 215,000 34.2
เอสโซ่(ESSO) คอมเพล็กซ์ 170,000 27.0
สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง(SPRC) คอมเพล็กซ์ 150,000 23.8
ปตท. อะโรมาติกส์และการกลั่น(PTTAR) คอมเพล็กซ์ 145,000 (*) 23.1
บางจาก (BCP) พื้นฐาน 120,000 19.1
ระยองเพียวริฟายเออร์(RPC) คอนเดนเสท เรซิดิว 17,000 2.7
  รวม 1,092,200 173.6




                                           

   หมายเหตุ:(*)= กำลังกลั่นของโรงกลั่นPTTAR ไม่รวมกำลังกลั่นของโรงกลั่นแยกคอนเดนเสท





 1. โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์( Thai Oil Refinery)
                                                  
 2504 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งขึ้น โดยได้เข้าทำสัญญาจัดสร้าง และประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมันที่อำเภอศรีราชาในรูปแบบการสร้าง-บริหาร-โอน (Build-Operate-Transfer : BOT) เป็นระยะเวลายี่สิบปีจากกระทรวงอุตสาหกรรม 
  2507 บริษัทฯ เริ่มดำเนินกิจการโรงกลั่นน้ำมัน เมื่อการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันหน่วยแรก (TOC-1) แล้วเสร็จ ด้วยกำลังการกลั่นน้ำมันดิบจำนวน 35,000 บาร์เรลต่อวัน พร้อมใช้หน่วยแตกโมเลกุล ด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (Fluidized Catalytic Cracking Unit)
  ปัจจุบัน(2552) บริษัทฯ มีกำลังการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประมาณ 275,000 บาร์เรลต่อวัน( 43.7 ล้านลิตรต่อวัน)  คิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของกำลังการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศ
   นอกจากศักยภาพด้านกำลังการผลิตแล้ว โรงกลั่นไทยออยล์ยังได้รับการออกแบบ ให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุด จากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ดังกล่าว จึงมีกระบวนการกลั่นหลายขั้นตอน คือมีทั้งหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ หน่วยเพิ่มคุณภาพ และหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเชียแปซิฟิก

         ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป




2. โรงกลั่นน้ำมัน ปตท. อะโรเมติกส์และการ  กลั่น ( PTTAR Refinery)
    
    PTTAR เป็นโรงกลั่นน้ำมันและผลิตสารอะโรเมติกส์ครบวงจรที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียโดยปัจจุบัน PTTAR มีหน่วยกลั่นน้ำมันจำนวน 2 หน่วย คือ โรงกลั่นน้ำมันดิบประเภท Complex Refinery ขนาด 145,000 บาร์เรล ต่อวัน และ หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสทเพื่อผลิต รีฟอร์เมท ขนาด 70,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ บริษัทฯ กำลังก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2552 และจะทำให้ PTTAR มีกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นจากหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสทอีก 65,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้บริษัทยังเป็นผู้ผลิตสารอะโรเมติกส์รายใหญ่อันดับที่ 1 ในประเทศไทยโดยมีกำลังการผลิตสูงถึง 1,189,000 ตันต่อปี และเมื่อ โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แล้วเสร็จ PTTAR จะมีกำลังการผลิตสารอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นเป็น 2,228,000 ตันต่อปี
    PTTAR เป็นโรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex ที่มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงแห่งหนึ่งของเอเชีย ด้วยกระบวนการกลั่นแบบ Complex และเทคโนโลยีการผลิตในหน่วยอะโรเมติกส์ที่มีความทันสมัย ต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้ PTTAR มีความสามารถในการเลือกใช้วัตถุดิบหลากหลายที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ผลิตน้ำมันเบนซิน น้ำมันอากาศยาน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา สารเบนซีน สารพาราไซลีน สารไซโคลเฮกเซน ที่ครบถ้วนตรงกับความต้องการของตลาด  





หน่วยกลั่นน้ำมัน กำลังการกลั่น
(บาร์เรลต่อวัน)
รายละเอียด
หน่วยกลั่นน้ำมันดิบ> 145,000
โรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex ที่มีหน่วย Hydrocracker และ Visbreaker ซึ่งสามารถเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักกึ่งเบา ซึ่งทำการกลั่นน้ำมันดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปเป็นหลัก ซึ่งอาจรวมถึงการผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์
หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 1 70,000 >หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท1 (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 1) จะทำการผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์เพื่อผลิตสารอะโรเม ติกส์
หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2 / Upgrading Complex 65,000
หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2 (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 2) และ Upgrading Complex ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยหน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์จะหน้าที่ผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโร เมติกส์ หน่วย Upgrading จะผลิตน้ำมันปิโตรเลียมสำเร็จรูปจากคอนเดนเสท เรซิดิวที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกลั่นแยกคอนเดนเสท
รวม 280,000  




 ภาพและข้อมูลจาก www.pttar.com
  
   กำลังกลั่นน้ำมันดิบของโรงกลั่นน้ำมันระยอง 145,000 บาเรลต่อวัน(23 ล้านลิตรต่อวัน) แต่ถ้ารวมกำลังกลั่นของหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสทแล้ว กำลังกลั่นจะเป็น 280,000 บาเรลต่อวัน(44.5 ล้านลิตรต่อวัน) ซึ่งจะมากกว่าโรงกลั่นไทยออย์ซึ่งมีกำลังกลั่น275,000 บาเรลต่อวัน(43.7 ล้านลิตรต่อวัน) เล็กน้อย
   คอนเดนเสทเป็นน้ำมันดิบชนิดเบามาก กลั่นแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เบาชนิดแนฟทาเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบขั้น ต้นในกระบวนการผลิตสารอะโรมาติกส์

3. โรงกลั่นน้ำมันระยองเพียวริฟายเออร์( Rayong Purifier Refinery)
                  
                                     โรงกลั่นน้ำมันคุณภาพเพื่อการบริการเป็นเลิศ
    บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด(มหาชน) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2538 โดยผู้ถือหุ้นคนไทย และบริหารงานโดยคนไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีมา เป็นเวลานาน ด้วยความมุ่งมั่นในการพึ่งพาตนเองในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการลดต้นทุน การผลิต การสร้างความแข็งแกร่งของฐานะการเงิน และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในธุรกิจเดียวกัน บริษัทฯ จึงเป็นโรงกลั่นน้ำมันขนาดกลางที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงและมีความ หลากหลายในการใช้งาน

   บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด(มหาชน) ดำเนินการแปรสภาพคอนเดนเสท เรสสิดิว ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตของ บริษัท อะโรเมติกส์(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) โดยถูกส่งผ่านท่อให้บริษัทฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มคุณค่าของวัตถุดิบจากอ่าวไทย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีที่มีคุณภาพระดับสากลแล้ว ยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันส่วนหนึ่งจากต่างประเทศ นับว่าเป็นการลดการสูญเสียรายได้ออกนอกประเทศอีกทางหนึ่ง

  โรงกลั่นน้ำมันของ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นโรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการผลิตน้ำมัน 17,000 บาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 80 ล้านลิตรต่อเดือน
                                                
    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และช่องทางการจัดจำหน่าย บริษัทฯ จึงได้ขยายคลังน้ำมันให้ครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของประเทศ นอกจากนี้ ยังก่อตั้งสถานีบริการน้ำมัน “เพียว” และมีโครงการขยายเครือข่ายของสถานีบริการน้ำมัน “เพียว” ไปยังแหล่งชุมชนภูมิภาค เพื่อให้บริการครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ และตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค

   ภาพและข้อมูลจากhttp://www.rpcthai.com
   หมายเหตุ
     คอนเดนเสท เรสสิดิว(Condensate Residue) เป็นผลิตภัณฑ์ส่วนหนักที่ได้จากการกลั่นแยกคอนเดทเสท(condensate)ซึ่งเป็น น้ำมันดิบชนิดเบามาก



4. โรงกลั่นน้ำมันไออาร์พีซี(IRPC Refinery)
                                                   
                         
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
ชื่อเดิม: บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ เป็นบริษัทประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2521 โดยนาย ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ  ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นเขตประกอบอุตสาหกรรมภายใต้การจัดการของบริษัทฯ พร้อมด้วยสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สนับสนุนการผลิต ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก คลังเก็บน้ำมัน และโรงไฟฟ้า


  • ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2525 เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

  • พ.ศ. 2537 เริ่มธุรกิจกลั่นน้ำมันด้วยโรงกลั่นน้ำมันดิบหน่วยแรก กำลังกลั่น 26,000 บาร์เรลต่อวัน

  • พ.ศ. 2539 เพิ่มกำลังกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันดิบหน่วยแรก เป็น 65,000 บาร์เรลต่อวัน

  • พ.ศ. 2540 เดินเครื่องโรงผลิตสารอะโรมาติก (Aromatic plant) โรงผลิตก๊าซเอทิลลีน (Ethylene plant) โรงกลั่นน้ำมันหล่อพื้นฐาน (Lube base oil plant) และโรงแตกสลายโมเลกุลด้วยแคทตาลิส ( Deep catatytic cracking plant)

  • พ.ศ. 2543 เดินเครื่องโรงกลั่นน้ำมันดิบหน่วยที่2 กำลังกลั่น 150,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้กำลังกลั่นรวมเป็น 215,000 บาร์เรลต่อวัน

  • พ.ศ. 2549 ทีพีไอ เปลี่ยนชื่อเป็น ไออาร์พีซี

     


    ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง
     


       น้ำมันเบนซิน (Gasoline)

     เป็นเบนซินไร้สารตะกั่ว มีชนิด เบนซิน 95 และ เบนซิน 91 โดยผสมสารเพิ่มคุณภาพที่มีประสิทธิภาพในการชะล้างทำความสะอาดสูง ทำให้ระบบเชื้อเพลิงสะอาดอยู่เสมอ ช่วยในการเผาไหม้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและลดมลพิษอีกด้วย
       แก๊สโซฮอลล์ 95 (Gasohol 95) เป็น น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล ในอัตราส่วนร้อยละ 9 – 10 เพื่อเพิ่มค่าออกเทนให้สูงขึ้น เพื่อทดแทนสาร MTBE ที่ต้องน้ำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งน้ำมันแก๊สโซฮอล์นี้ให้คุณสมบัติการใช้งานเช่นเดียวกับ เบนซิน 95 ทุกประการ และมีสารเพิ่มคุณภาพที่ช่วยทำความสะอาดระบบป้อนเชื้อเพลิงทำให้เครื่องยนต์ เผาไหม้ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยลดเขม่าในห้องเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์สะอาด และยังช่วยป้องกันสนิมในระบบเชื้อเพลงด้วย

       น้ำมันดีเซล (Diesel)เป็น น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณกำมะถันต่ำกว่า 0.035% โดยน้ำหนัก มีค่าดัชนีซีเทนสูง และผสมสารเพิ่มคุณภาพที่เพิ่มประสิทธิภาพในการหล่อลื่นระบบปั๊มฉีดเชื้อ เพลิง ช่วยลดการสึกหรอของระบบปั๊มหัวฉีดเชื้อเพลิง
     

     น้ำมันเตา (Fuel Oil)  แบ่งออกเป็น 2 เกรด  
          1.น้ำมันเตาเอ (FOA)  มี ค่าความหนืดไม่สูงกว่า 80 เซนติสโตก ซึ่งเป็นความหนืดที่ไม่ต้องอุ่นมากนักก็สามารถฉีดเป็นฝอยได้เผาไหม้ง่าย เหมาะสำหรับโรงงานที่ใช้น้ำมันเตาไม่มากนัก ใช้อุปกรณ์หัวเผาประเภทที่ออกแบบสำหรับน้ำมันที่ค่อนข้างใสและต้องการเผา ไหม้ที่สะอาด ไม่มีควันดำ เขม่า ละออง ถ่าน หรือก๊าชกำมะถันสูง เช่น อุตสาหกรรมเซรามิก, กระเบื้อง และโรงงานที่ตั้งใกล้แหล่งชุมชน
         2.น้ำมันเตาซี (FOC)  มี ค่าความหนืดไม่สูงกว่า 180 เซนติสโตก การใช้น้ำมันเตาเกรดนี้จำเป็นต้องมีระบบส่งน้ำมันที่ดี สามารถส่งน้ำมันได้ตลอด และกรองสิ่งสกปรกออกได้ นอกจากนี้ หัวเผายังต้องสามารถอุ่นน้ำมันให้ได้ความหนือที่หัวฉีดต้องการ มักใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานปานกลาง ถึงขนาดใหญ่
    ก๊าชหุงต้ม (LPG) นำไปใช้เป็นแก๊สหุงต้มในครัวเรือน และเป็นใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์

     


  ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและยางมะตอย
    น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน( Lube Base Oils )
      60 SNO  เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันหล่อลื่น ประเภทส่งกำลัง น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า น้ำมันหมักปอ น้ำมันที่ใช้กับเครื่องทำความเย็น เป็นต้น

     
 150 SNO   นำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันหล่อลื่นสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตทุกชนิด     

      500 SNO 
นำไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์ทุกชนิด

      150 BS 
นำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องจักรที่มีแรงเสียดทานมาก เช่น เครื่องยนต์รถบรรทุก, รถไฟ, เครื่องเรือเดินทะเล และยางสังเคราะห


    น้ำมันอะโรมาติก(Aromatic Extract)
       ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต SBR (Styrene-butadiene-Rubber)  ยางรถยนต์ และผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ น้ำมันหล่อลื่นที่ต้องการความหนืดสูงมาก น้ำมันหยอดทิ้ง จาระบี , เป็นส่วนผสมที่ช่วยในการดัดโค้งพลาสติกได้ที่อุณหภูมิต่ำ และผงหมึก เป็นต้น

 
ไขดิบ(Slack Wax)       เป็น ไขผลึกของแข็งที่อยู่ในน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งเป็นผลพลอยได้จากหน่วย ( Propane Dewaxing Unit ) ใน Lube Base Refinery ซึ่ง Slack Wax สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าต่อไป เช่น  paraffin wax , microcrystalline wax และ lube base oil Group III

  
   ยางมะตอย(ASPHALT)       แบ่ง 2 เกรดหลัก ได้แก่ แอสฟัสต์ซีเมนต์ AC 60/70 และ AC 80/100 ซึ่งมีคุณสมบัติในการยึดและประสาน พร้อมป้องกันการซึมผ่าน ใช้ราดพื้นถนน , ยางกันซึม 
 




5. โรงกลั่นน้ำมันบางจาก ( Bangchak Refinery )
                                                 
                                                   
     บริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทน้ำมันของคนไทย ประกอบธุรกิจนำน้ำมันดิบจากแหล่งตะวันออกกลาง ตะวันออกไกล และจากแหล่งน้ำมันดิบภายในประเทศเข้ามากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปด้วยกำลังผลิตสูงสุด 120,000 บาร์เรลต่อวัน โดยโรงกลั่นของบริษัทฯ เป็นประเภท Simple Refinery (Hydroskimming) ที่ทำการแยกองค์ประกอบในน้ำมันดิบออกเป็นน้ำมันชนิดเบา ชนิดหนักปานกลาง และชนิดหนักในสัดส่วนตามธรรมชาติของน้ำมันดิบแต่ละชนิด และอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) ภายใต้โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน หรือ Product Quality Improvement (PQI) ซึ่งเป็นกระบวนการแปลงน้ำมันชนิดหนัก บางส่วน(น้ำมันเตา) ให้เป็นน้ำมันชนิดเบา (น้ำมันเบนซินและดีเซล) ที่มีมูลค่าสูง ซึ่งจะทำให้กลายเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จราวปลายปี 2551 และในปี 2549 บริษัทฯ ได้มีการติดตั้งหน่วยผลิตไบโอดีเซลขึ้นภายในโรงกลั่นน้ำมัน โดยใช้น้ำมันพืชใช้แล้วเป็นวัตถุดิบหลัก ปัจจุบันผลิตอยู่ประมาณ 20,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งไบโอดีเซลที่ได้จะนำไปผสมเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลสูตร บี5
   


น้ำมันพลังงานทดแทน


เครื่องเบนซิน


เครื่องดีเซล

 
น้ำมันเชื้อเพลิง


เครื่องเบนซิน

เครื่องดีเซล

น้ำมันเตา

   

              




6. โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่( Esso Refinery)
                                       
                                
                                                        โรงกลั่นเอสโซ่ศรีราชา

           นับเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทและเป็นสิ่งยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการจัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ทรงคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทย จากจุดเริ่มต้นที่มีการผลิตน้ำมันเพียง 7,000 บาร์เรลต่อวัน ปัจจุบัน  โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชามีกำลังการผลิตกว่า 170,000 บาร์เรลต่อวัน

โรงกลั่นของเอสโซ่ถือเป็นกำลังสำคัญในการจัดหาและผลิตพลังงานเพื่อใช้ภาย ในประเทศ  ความสำเร็จของโรงกลั่นเอสโซ่ศรีราชา เกิดจกความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน และการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีระดับโลกจากเอ็กซอนโมบิล

ในปัจจุบัน โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา มีหน่วยผลิตสำคัญในกระบวนการกลั่นดังนี้



  • หน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (Atmospheric Pipestill) ทำหน้าที่กลั่นน้ำมันดิบเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆ




  • หน่วยแปรสภาพน้ำมันหนักให้เป็นน้ำมันเบา (Fluidized Catalytic Cracking Unit) ทำหน้าที่แปรสภาพน้ำมันเตาให้เป็นน้ำมันดีเซลและเบนซิน




  • หน่วยเพิ่มออกเทนเพื่อผลิตน้ำมันเบนซินชนิดต่างๆ (Continuous Catalytic Reformer) ทำหน้าที่เพิ่มค่าออกเทนให้น้ำมันเบนซิน




  • หน่วยกลั่นสุญญากาศ (Vacuum Pipestil)l ทำหน้าที่ผลิตยางมะตอยคุณภาพสูง และป้อนวัตถุดิบให้หน่วยแปรสภาพน้ำมันหนักให้เป็นน้ำมันเบา




หน่วยแยกกำมะถัน (Sulfur Recovery Unit) ทำหน้าที่แยกกำมะถันในการผลิตน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ เพื่อช่วยรักษาสภาพแวดล้อม



ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง




ภาพและข้อมูลจาก www.exxonmobil.com


7. โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง           ( SPRC Refinery)


  การก่อตั้งและการดำเนินงาน    ปี 2535 ได้รับสัมปทานการกลั่นน้ำมัน
    ปี 2539  เริ่มประกอบกิจการการกลั่นน้ำมัน
    ปี 2542 สิงหาคม ร่วมดำเนินการแบบพันธมิตรกับ บริษัท น้ำมันโรงกลั่นระยอง จำกัด(RRC) หรือ  PTTAR
               บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด (ARC) ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการโรงกลั่นของบริษัท SPRC และ PTTAR

  สัดส่วนผู้ถือหุ้น
    เชพรอน(Chevron)   64%
    ปตท(PTT)              36%
 
  กำลังกลั่นน้ำมันดิบ
    ปัจจุบันโรงกลั่นSPRC มีกำลังกลั่นน้ำมันดิบ  150,000 บาเรลต่อวัน( 23.8 ล้านลิตรต่อวัน) ใหญ่เป็นอันดับ4 ของประเทศ
      



อันดับที่ โรงกลั่น      กำลังกลั่นน้ำมันดิบ 2008
    บาเรลต่อวัน ล้านลิตรต่อวัน
1 ไทย ออยล์ (TOP)          275,000 43.7
2 ไออาร์พีซี (IRPC)          215,000 34.2
3 เอสโซ๋ (ESSO)          170,000 27.0
4 สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง(SPRC)          150,000 23.8
5 ปตท อะโรมาติกส์และการกลั่น (PTTAR)          145,000 23.1
6 บางจากปิโตรเลียม (BCP)          120,000 19.1
7 ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC)            17,000 2.7
  รวม       1,092,000 173.6



10 ความคิดเห็น:

  1. เราจะติดต่อส่งน้ำมันดิบจากต่างประเทศมาขายให้บริษัทโรงกลั่นน้ำมันในไทยต้องติดต่อแผนกจัดซื้อฝ่ายไหนยังไงมั่งคะ? บริษัทเราสามารถส่งน้ำมันดิบมีคุณภาพส่งมาขายให้ประเทศไทยได้เดือนละ 10. ล้านบาร์เรลค่ะ. จัดซื้อบริษัทไหนสนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ 081-652-5151 ค่ะ.

    ตอบลบ
  2. เราเป็นตัวแทนเจ้าของบ่อน้ำมันดิบต่างประเทศ มีน้ำมันดิบจากต่างประเทศเพื่อขายให้บริษัทโรงกลั่นน้ำมันในไทย บริษัทเราสามารถส่งน้ำมันดิบมีคุณภาพส่งมาขายให้ประเทศไทยได้ 7 ล้านบาร์เรล ต่อเดือน ฝ่ายจัดซื้อบริษัทไหนสนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ 094 874 2624 ค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอไอดีไลน์ด้วยครับ

    ตอบลบ
  4. ทั้งสองท่านนะครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ10 มกราคม 2562 เวลา 18:59

    บริษัทท่านใด อยากได้ผู้ร่วมงาน ที่มีโรงงานได้มาตรฐาน มีเนื้อที่ใช้สอยถึง เกือบ 30 ไร่ ทำงาน ในส่วน Engineering / Procurement / Construction / Maintenance / Febrication และเคยร่วมงานกับบริษัทใหญ่ๆ ในอุตสาหกรรม อาทิ เช่น QTEC/GSK/IRPC , SUZER/GSK/IRPC , PTTGC 4, SINO-THAI/JKC , HDMS/IRPC , VIP/THAI OIL , PG , TVC , SMART CON , HMC , UNITHAI ,TANTAWAN , PTT ME , เป็นต้น ติดต่อเพื่อให้ทางบริษํท โปรเทคฟิลด์ จำกัด เข้าพบและนำเสนอ Company Profile ได้โดย ติดต่อ นางสาว ปุณณดา เกิดศิริ Secretary to MD & Project Coordination E-Mail : punnada@protechfield.com หรือติดต่อโดย TEL.092-9245693 ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
  6. บริษัทเอสพี รีไฟน์เนอร์รี่ จำกัด ผู้ผลิดและจำหน่ายน้ำมันเตาทดแทน Pyrolysis
    บริษัทหรือโรงงานใดสนใจสินค้าน้ำมันเตาทดแทนของเรา ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 082-5266247 K.ฐิติชญา
    Line id sutasineeprangtong เว็บไซต์บริษัท http://www.sp-refinery.com

    ตอบลบ
  7. ผมเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์นวัตถกรรม จากประเทศเยอรมัน สามารถช่วยการกลั่นให้มี น้ำมันมากขึ้น และ emulsion น้อยลงครับ สนใจทักไลน์ครับ ไอดี 0824881277 เพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิมครับ
    email: ss.seangsanun@gmail.com

    ตอบลบ
  8. ผมรับซื้อของเสียจากการกลั่นน้ำมัน(คล้ายเม็ดพลาสติก) สารCatalyric จำนวนมาก ติดต่อ 0925565445 Line id popmotif

    ตอบลบ