วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

โรงกลั่นน้ำมันความมั่นคงทางพลังงาน(จบ)

โรงกลั่นน้ำมัน...ธุรกิจแห่งความมั่นคงทางพลังงาน (จบ) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

 

          สัปดาห์ที่แล้ว ผมค้างไว้ที่เรื่องผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่น ก็มาต่อกันเลยนะครับ โดย 6. น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel) เครื่องยนต์ดีเซล เป็นเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน คือการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความร้อน ซึ่งเกิดขึ้นจากการอัดอากาศอย่างสูงในลูกสูบ มิใช่เป็นการจุดระเบิดของหัวเทียน เช่นในเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน 


          7. น้ำมันเตา (Fuel Oil) น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาต้มหม้อน้ำ และเตาเผาหรือเตาหลอมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เรือเดินสมุทรและอื่นๆ และ 8. ยางมะตอย (Asphalt) ยางมะตอยเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนที่หนักที่สุดที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันเชื้อ เพลิง และนำยางมะตอยที่ผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพจะได้ยางมะตอยที่มีคุณสมบัติดี ขึ้น
          ในปัจจุบันประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันรวมทั้งสิ้น 7 แห่ง กำลังการกลั่นรวม 1.23 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดย ปตท.เข้าไปถือหุ้น 5 แห่ง คิดเป็น 36% ของกำลังการกลั่นทั้งหมด คือ 1. โรงกลั่นน้ำมันบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) มีกำลังการผลิต 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน 2. โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ที่มีกำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน 3. โรงกลั่นน้ำมันไออาร์พีซีมีกำลังการผลิต 215,000 บาร์เรลต่อวัน 4. โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง มีกำลังการผลิต 1.5 แสนบาร์เรลต่อวัน และ 5. โรงกลั่นน้ำมันบางจาก มีกำลังการผลิต 1.2 แสนบาร์เรลต่อวัน
          ส่วนโรงกลั่นน้ำมันอีก 2 แห่งถือหุ้นโดยบริษัทเอกชน คือโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทเอสโซ่ มีกำลังการผลิต 177,000 บาร์เรลต่อวัน และโรงกลั่นน้ำมันระยองเพียวริฟายเออร์ มีกำลังการผลิต 1.7 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จากข้อมูลนี้ เราก็น่าจะพอวางใจได้ว่า เหตุการณ์ไฟไหม้ไม่น่าจะกระทบต่อการผลิตน้ำมันให้เพียงพอสำหรับใช้ภายใน ประเทศมากนักเพราะยังมีกำลังการผลิตจากโรงกลั่นอื่นๆ มาทดแทนได้อย่างแน่นอน
          หลายคนอาจจะมองว่าธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันเป็นธุรกิจผูกขาดที่มีกำไรเยอะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในการทำธุรกิจย่อมต้องมีวัฏจักรทั้งขึ้นลงเป็นธรรมดา ธุรกิจโรงกลั่นก็เช่นเดียวกันที่มีทั้งขึ้นลง โดยเฉพาะค่าการกลั่นที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ตามอุปสงค์ อุปทานของน้ำมันสำเร็จรูป
          นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีการเปิดเสรีโรงกลั่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เพื่อต้องการให้เอกชนมีส่วนร่วมในกิจการพลังงาน และสนับสนุนให้มีการสร้างโรงกลั่นในประเทศเพื่อผลิตน้ำมันให้ได้เพียงพอกับ ความต้องการใช้ภายในประเทศ รวมทั้งให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดวิกฤติพลังงาน ประเทศไทยจะมีน้ำมันสำเร็จรูปเพียงพอต่อความต้องการ ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้า

          ทั้งหมดนี้ เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของไทยครับ อีกทั้งประเทศไทยยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินที่สามารถกลั่นน้ำมันดิบและส่ง ออกเป็นรายได้ให้ประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วยครับ


--------------------
(โรงกลั่นน้ำมัน...ธุรกิจแห่งความมั่นคงทางพลังงาน (จบ) : คอลัมน์ รู้ทันกระแส เศรษฐกิจและพลังงาน : โดย ... ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

source :http://www.komchadluek.net/detail/20120727/136187/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%28%E0%B8%88%E0%B8%9A%29.html#.UFn-Ea5-m1s

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น