โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
2 พฤษภาคม 2555
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต) |
ความจริงแล้ว
การตอบสนองค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นโดยการวางแผนสร้างโรง
ไฟฟ้าขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามแนวทางที่
กฟผ.ถือปฏิบัติไม่ใช่ทางเลือกเดียวที่สามารถทำได้
แนวปฏิบัติที่ดีในต่างประเทศคือ
การพิจารณาวางแผนพลังงานแบบองค์รวมโดยเน้นไปในเรื่องการให้บริการพลังงาน
ไม่ใช่เพียงเรื่องการขายหน่วยไฟฟ้า
ดังนั้น การพิจารณามาตรการที่ต้นทุนต่ำที่สุดก่อนโดยการให้บริการความสะดวกสบายยังคง เดิมจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า ซึ่งหากใช้วิธีพิจารณาเช่นนี้ จะทำให้มีตัวเลือกเพิ่มขึ้น เช่น การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ สะอาด ระบบผลิตพลังงานรวม (cogeneration) รวมไปถึงการยืดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้า การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า และการสร้างโรงไฟฟ้าเสริมในที่ที่มีโรงไฟฟ้าแบบเดิมอยู่แล้ว ซึ่งการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จะมีต้นถูกกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่
รายงานผลการวิเคราะห์ของก ฟผ.เอง ได้แสดงให้เห็นว่า การจัดการด้านการใช้พลังงาน (demand side management ‐ DSM) ช่วยประหยัดไฟฟ้าโดยใช้ต้นทุนต่ำกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่กว่าครึ่ง ทั้งยังลดการสูญเสียและสูญเปล่าจากการส่งและจำหน่ายไฟฟ้าและการแปลงไฟฟ้า ตั้งแต่เชื้อเพลิงไปถึงการผลิตและส่งต่อไปยังผู้บริโภค อีกทั้งช่วยประหยัดหรือชะลอการลงทุนในระบบส่งและจำหน่ายอีกด้วย
แต่น่าแปลกใจอย่างยิ่งที่แผนพีดีพี 2010 กลับมีเพียงแค่โครงการเปลี่ยนหลอดไฟ T5 ซึ่งประมาณว่าจะลดการใช้ไฟฟ้าได้ร้อยละ 0.3 ภายในปี 2573 ถือว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับศักยภาพที่สามารถทำได้จริงสูงมาก (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในข่าวประกอบ) และเทียบกับสิ่งที่ทำกันอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก ดังเช่นในพื้นที่ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ที่ประสบความสำเร็จมานานถึง 30 ปี
แนวทางนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าประหยัดพลังงาน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ที่จะทำให้ได้ประมาณ 70,000 กิกะวัตต์ชั่วโมง ภายในปี 2573 หรือร้อยละ 20 ของไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด
คำถามคือเหตุใดกฟผ.ถึงไม่ มุ่งมั่นพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการจัดการด้านการใช้พลังงานเมื่อ เทียบกับการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่แห่งใหม่ทั้งที่ต้นทุนต่ำกว่ามาก หากไม่ใช่เพราะว่ายิ่งลงทุนมาก ยิ่งมีรายได้และกำไรมาก เพราะเป็นการลงทุนที่มีการประกันกำไรอย่างงามโดยสามารถส่งผ่านต้นทุนทั้งหมด มาให้ประชาชนแบกรับ (อ่านเพิ่มเติมในข่าวประกอบ “ชำแหละแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าใหม่ โยนภาระค่าโง่ปีละแสนล้านให้ประชาชน”)
สำหรับพลังงานหมุนเวียน ขณะนี้พลังงานชีวมวลมีปริมาณมากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของโครงการโรงไฟฟ้าหมุน เวียนที่ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งชีวมวลส่วนใหญ่ถูกนำมาผลิตไฟฟ้าแล้ว พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นอนาคตของพลังงานหมุนเวียนที่กำลังเติบโตอย่างรวด เร็ว และมีแนวโน้มแซงหน้าพลังงานชีวมวลเพราะราคาแผงโซล่าเซลล์ที่ลดลงอย่างมาก เมื่อไม่นานนี้
ความจริงนี่น่าจะเป็นข่าวดี แต่ความไม่แน่นอนในนโยบายของรัฐทำให้มีปัญหา กลายเป็นข้อจำกัดอันสำคัญของพลังงานหมุนเวียนโดยรวม
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2553 ให้พักการรับคำร้องขอขายไฟฟ้าจากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนที่ยื่นคำร้องแล้วให้ลดการรับซื้อ ให้วางหลักทรัพย์ค้ำประกัน และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุน เวียน เพื่อกำกับดูแลให้การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้เป็นไป ตามนโยบาย โดยอ้างความชอบธรรมว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคจากราคาค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น และสัญญาซื้อขายพลังงานหมุนเวียนบางประเภทอาจทำให้เกิดการเก็งกำไรได้
เหมือนเช่นเคย คณะกรรมการบริหารมาตรการฯ ส่วนใหญ่มาจาก กฟผ.และหน่วยงานรัฐ ไม่มีตัวแทนผู้บริโภคหรือประชาชน ด้วยองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ที่ขาดการแยกแยะระหว่างการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และการประกอบการ ก่อให้เกิดความสับสนซ้ำซ้อน ไม่ชัดเจน ขาดความโปร่งใสและธรรมาภิบาล และอาจเป็นช่องทางให้เกิดการแทรกแซงทางการเมือง ทำให้เกิดข้อกังขาว่ากระบวนการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการฯ เป็นประโยชน์ เป็นธรรม และปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองและผลประโยชน์ของภาคธุรกิจหรือไม่
คณะกรรมการบริหารมาตรการฯ ไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนว่า โครงการใดจะได้รับการพิจารณาก่อนหลัง และโครงการใดจะได้รับอนุญาตให้ “ลัดคิว” ได้ทำให้เกิดช่องว่าในการแสวงหาประโยชน์ของผู้มีอำนาจในการอนุมัติโครงการ การออกกฎระเบียบใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นอุปสรรคและมีการเตะถ่วงการพิจารณาคำร้องให้ล่าช้า ความไม่แน่อนนี้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนที่ต้องกู้ยืมเงินลงทุนจากธนาคาร
ไม่น่าเชื่อว่า คณะกรรมการบริหารมาตรการฯ ได้แช่แข็งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โดยยังไม่มีการรับคำร้องโครงการใหม่ และตั้งแต่คณะกรรมการบริหารมาตรการฯ เริ่มดำเนินงานมามีโครงการพลังงานหมุนเวียนเพียงไม่กี่โครงการที่ใช้เชื้อ เพลิงชนิดอื่นที่ผ่านการพิจารณาไปถึงขั้นการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
แม้จะยังไม่มีการตอบรับคำร้องโครงการใหม่ๆ แต่มีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ รวมกำลังการผลิต 2,100 เมกะวัตต์ และอีก 2,500 เมกะวัตต์ ของพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ที่ได้รับสัญญาซื้อขายแล้วกำลังเดินหน้าก่อสร้าง พร้อมกับมีการเก็งกำไรสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ลงนาม แล้วอย่างคึกคัก มีรายงานว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้านั้นมีราคาสูงกว่าหนึ่งล้านบาทต่อเมกะวัตต์
แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2553 - 2573 กำหนดให้ในช่วงระหว่างปี 2554 และ 2573 มีพลังงานหมุนเวียนใหม่สะสม 4,617 เมกะวัตต์ ปริมาณนี้น้อยกว่า 4,622 เมกะวัตต์ ของโครงการพลังงานหมุนเวียนที่เดินเครื่องแล้วรวมกับโครงการใหม่ที่ลงนาม สัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ณ เดือนก.ย. 2554 ดังนั้น ตัวเลขพลังงานหมุนเวียนของแผนพีดีพี 2010 จึงค่อนข้างต่ำ ยิ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับการก่อสร้างและการทดสอบระบบของโครงการผู้ผลิต ไฟฟ้ารายย่อยหรือเอกชนใช้เวลาน้อยกว่าสองปี อีกทั้งราคาของพลังงานแสงอาทิตย์และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ กำลังลดลง
เราจะสามารถใช้ประโยชน์จาก พลังงานหมุนเวียนได้มากกว่านี้หากรัฐบาลขจัดอุปสรรคที่กล่าวมาข้างต้น และเพิ่มการวิจัยเรื่องกำลังการผลิตพึ่งได้ที่มีประสิทธิภาพของพลังงานหมุน เวียนในไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแปรผันความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทยในแต่ละ ฤดูกาลและในช่วงกลางวัน เพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าใหม่เพิ่มเติม
ส่วนทางเลือกในการผลิตพลังไฟฟ้าและความร้อนร่วมที่มีประสิทธิภาพสูงหรือ “โคเจนเนอเรชั่น” ซึ่ง มีตัวอย่างที่ดีกรณีสนามบินสุวรรณภูมินั้น มีศักยภาพอีกมากโดยเฉพาะการผลิตแบบโคเจนเนอเรชั่นขนาดเล็กตั้งแต่ 400 กิโลวัตต์ ถึง 10 เมกะวัตต์ ที่ผลิตไอน้ำและไฟฟ้าเพื่อทำความเย็นในอาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า หน่วยราชการ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งงานศึกษาของ Menke และคณะ (2006) พบว่า มีศักยภาพรวมถึง 3,500 เมกะวัตต์
ปัจจุบัน โครงการผลิตไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่นที่อยู่ในกระบวนการและได้ลงนามในสัญญา ซื้อขายไฟฟ้าแล้ว มีกำลังการผลิตรวมกัน 6,624 เมกะวัตต์ โดยแผนพีดีพี 2010 กำหนดไว้เพียง 7,137 เมกะวัตต์ แต่แผนพีดีพี 2012 ตั้งเป้ากำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่นเพิ่มขึ้นรวม 11,825 เมกะวัตต์
โดยมาจาก 1) โครงการที่ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือได้รับการตอบรับจากกฟผ.แล้ว ณ เดือนก.ย. 2554 รวม 6,624 เมกะวัตต์ 2) งานศึกษาของ Menke ที่ระบุว่า โครงการโคเจนเนอเรชั่นประเภทระบบทำความเย็นขนาดเล็ก ที่มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ ณ ปี 2549 จำนวน 3,500 เมกะวัตต์ 3) สมมุติฐานโอกาสในการลงทุนโครงการเจนเนอเรชั่นสำหรับทำความเย็น ที่จะโตตามเศรษฐกิจในอนาคตในช่วง 18 ปีข้างหน้าโดยใช้อัตราการเพิ่มของศักยภาพโครงการในปัจจุบันเป็นฐานการ ประเมินขั้นต่ำ ประมาณ 1,700 เมกะวัตต์
โครงการขยายท่อส่งก๊าซฯ ของปตท. ยังเป็นการเพิ่มโอกาสการลงทุนโครงการโคเจนเนอเรชั่นให้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก แต่ปัญหาคือ ปตท. เป็นผู้ผูกขาดท่อส่งก๊าซฯ ทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายท่อส่งก๊าซฯ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเครือข่ายก๊าซฯ การแข่งขันด้านราคา ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตของโครงการโคเจนเนอเรชั่นได้
นอกเหนือจากนั้น ยังมีทางเลือกการยืดอายุโรงไฟฟ้าและการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ข้อเสนอแผนพีดีพี 2012 ของ คริส กรีเซน และ ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน ไม่ได้ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่เป็นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ ก๊าซฯ หรือโครงการนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ เนื่องจากมีต้นทุนสูง มีผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมสูง มีความเสี่ยงสูง มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงต่ำ จึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการตอบโจทย์เรื่องความมั่นคงทางพลังงานของไทย
การคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมาก ที่สุด การลดปริมาณสำรองไฟฟ้าตามเกณฑ์มาตรฐาน และการมองหาทางเลือกอื่นโดยให้น้ำหนักกับการจัดการการใช้พลังงาน หรือโครงการระบบโคเจนเนอเรชั่น การเลือกยืดอายุโรงไฟฟ้าและปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม รวมทั้งการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน พร้อมกับวิจัยเพื่อให้พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานพึ่งได้ในช่วงต้องการใช้ ไฟฟ้าสูงสุด โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ถ่านหิน ก๊าซฯ หรือพลังน้ำขนาดใหญ่ จะประหยัดงบลงทุนได้ถึง 2.7 ล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้ประชาชน “เหยื่อรายสุดท้าย” ไม่ต้องถูกมัดมือชกให้มาแบกรับภาระการลงทุนจำนวนมหาศาลนี้โดยไม่มีทางหลีก เลี่ยง
ดังนั้น การพิจารณามาตรการที่ต้นทุนต่ำที่สุดก่อนโดยการให้บริการความสะดวกสบายยังคง เดิมจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า ซึ่งหากใช้วิธีพิจารณาเช่นนี้ จะทำให้มีตัวเลือกเพิ่มขึ้น เช่น การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ สะอาด ระบบผลิตพลังงานรวม (cogeneration) รวมไปถึงการยืดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้า การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า และการสร้างโรงไฟฟ้าเสริมในที่ที่มีโรงไฟฟ้าแบบเดิมอยู่แล้ว ซึ่งการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จะมีต้นถูกกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่
รายงานผลการวิเคราะห์ของก ฟผ.เอง ได้แสดงให้เห็นว่า การจัดการด้านการใช้พลังงาน (demand side management ‐ DSM) ช่วยประหยัดไฟฟ้าโดยใช้ต้นทุนต่ำกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่กว่าครึ่ง ทั้งยังลดการสูญเสียและสูญเปล่าจากการส่งและจำหน่ายไฟฟ้าและการแปลงไฟฟ้า ตั้งแต่เชื้อเพลิงไปถึงการผลิตและส่งต่อไปยังผู้บริโภค อีกทั้งช่วยประหยัดหรือชะลอการลงทุนในระบบส่งและจำหน่ายอีกด้วย
แต่น่าแปลกใจอย่างยิ่งที่แผนพีดีพี 2010 กลับมีเพียงแค่โครงการเปลี่ยนหลอดไฟ T5 ซึ่งประมาณว่าจะลดการใช้ไฟฟ้าได้ร้อยละ 0.3 ภายในปี 2573 ถือว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับศักยภาพที่สามารถทำได้จริงสูงมาก (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในข่าวประกอบ) และเทียบกับสิ่งที่ทำกันอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก ดังเช่นในพื้นที่ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ที่ประสบความสำเร็จมานานถึง 30 ปี
แนวทางนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าประหยัดพลังงาน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ที่จะทำให้ได้ประมาณ 70,000 กิกะวัตต์ชั่วโมง ภายในปี 2573 หรือร้อยละ 20 ของไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด
คำถามคือเหตุใดกฟผ.ถึงไม่ มุ่งมั่นพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการจัดการด้านการใช้พลังงานเมื่อ เทียบกับการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่แห่งใหม่ทั้งที่ต้นทุนต่ำกว่ามาก หากไม่ใช่เพราะว่ายิ่งลงทุนมาก ยิ่งมีรายได้และกำไรมาก เพราะเป็นการลงทุนที่มีการประกันกำไรอย่างงามโดยสามารถส่งผ่านต้นทุนทั้งหมด มาให้ประชาชนแบกรับ (อ่านเพิ่มเติมในข่าวประกอบ “ชำแหละแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าใหม่ โยนภาระค่าโง่ปีละแสนล้านให้ประชาชน”)
สำหรับพลังงานหมุนเวียน ขณะนี้พลังงานชีวมวลมีปริมาณมากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของโครงการโรงไฟฟ้าหมุน เวียนที่ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งชีวมวลส่วนใหญ่ถูกนำมาผลิตไฟฟ้าแล้ว พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นอนาคตของพลังงานหมุนเวียนที่กำลังเติบโตอย่างรวด เร็ว และมีแนวโน้มแซงหน้าพลังงานชีวมวลเพราะราคาแผงโซล่าเซลล์ที่ลดลงอย่างมาก เมื่อไม่นานนี้
ความจริงนี่น่าจะเป็นข่าวดี แต่ความไม่แน่นอนในนโยบายของรัฐทำให้มีปัญหา กลายเป็นข้อจำกัดอันสำคัญของพลังงานหมุนเวียนโดยรวม
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2553 ให้พักการรับคำร้องขอขายไฟฟ้าจากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนที่ยื่นคำร้องแล้วให้ลดการรับซื้อ ให้วางหลักทรัพย์ค้ำประกัน และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุน เวียน เพื่อกำกับดูแลให้การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้เป็นไป ตามนโยบาย โดยอ้างความชอบธรรมว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคจากราคาค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น และสัญญาซื้อขายพลังงานหมุนเวียนบางประเภทอาจทำให้เกิดการเก็งกำไรได้
เหมือนเช่นเคย คณะกรรมการบริหารมาตรการฯ ส่วนใหญ่มาจาก กฟผ.และหน่วยงานรัฐ ไม่มีตัวแทนผู้บริโภคหรือประชาชน ด้วยองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ที่ขาดการแยกแยะระหว่างการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และการประกอบการ ก่อให้เกิดความสับสนซ้ำซ้อน ไม่ชัดเจน ขาดความโปร่งใสและธรรมาภิบาล และอาจเป็นช่องทางให้เกิดการแทรกแซงทางการเมือง ทำให้เกิดข้อกังขาว่ากระบวนการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการฯ เป็นประโยชน์ เป็นธรรม และปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองและผลประโยชน์ของภาคธุรกิจหรือไม่
คณะกรรมการบริหารมาตรการฯ ไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนว่า โครงการใดจะได้รับการพิจารณาก่อนหลัง และโครงการใดจะได้รับอนุญาตให้ “ลัดคิว” ได้ทำให้เกิดช่องว่าในการแสวงหาประโยชน์ของผู้มีอำนาจในการอนุมัติโครงการ การออกกฎระเบียบใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นอุปสรรคและมีการเตะถ่วงการพิจารณาคำร้องให้ล่าช้า ความไม่แน่อนนี้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนที่ต้องกู้ยืมเงินลงทุนจากธนาคาร
ไม่น่าเชื่อว่า คณะกรรมการบริหารมาตรการฯ ได้แช่แข็งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โดยยังไม่มีการรับคำร้องโครงการใหม่ และตั้งแต่คณะกรรมการบริหารมาตรการฯ เริ่มดำเนินงานมามีโครงการพลังงานหมุนเวียนเพียงไม่กี่โครงการที่ใช้เชื้อ เพลิงชนิดอื่นที่ผ่านการพิจารณาไปถึงขั้นการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
แม้จะยังไม่มีการตอบรับคำร้องโครงการใหม่ๆ แต่มีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ รวมกำลังการผลิต 2,100 เมกะวัตต์ และอีก 2,500 เมกะวัตต์ ของพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ที่ได้รับสัญญาซื้อขายแล้วกำลังเดินหน้าก่อสร้าง พร้อมกับมีการเก็งกำไรสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ลงนาม แล้วอย่างคึกคัก มีรายงานว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้านั้นมีราคาสูงกว่าหนึ่งล้านบาทต่อเมกะวัตต์
แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2553 - 2573 กำหนดให้ในช่วงระหว่างปี 2554 และ 2573 มีพลังงานหมุนเวียนใหม่สะสม 4,617 เมกะวัตต์ ปริมาณนี้น้อยกว่า 4,622 เมกะวัตต์ ของโครงการพลังงานหมุนเวียนที่เดินเครื่องแล้วรวมกับโครงการใหม่ที่ลงนาม สัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ณ เดือนก.ย. 2554 ดังนั้น ตัวเลขพลังงานหมุนเวียนของแผนพีดีพี 2010 จึงค่อนข้างต่ำ ยิ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับการก่อสร้างและการทดสอบระบบของโครงการผู้ผลิต ไฟฟ้ารายย่อยหรือเอกชนใช้เวลาน้อยกว่าสองปี อีกทั้งราคาของพลังงานแสงอาทิตย์และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ กำลังลดลง
เราจะสามารถใช้ประโยชน์จาก พลังงานหมุนเวียนได้มากกว่านี้หากรัฐบาลขจัดอุปสรรคที่กล่าวมาข้างต้น และเพิ่มการวิจัยเรื่องกำลังการผลิตพึ่งได้ที่มีประสิทธิภาพของพลังงานหมุน เวียนในไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแปรผันความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทยในแต่ละ ฤดูกาลและในช่วงกลางวัน เพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าใหม่เพิ่มเติม
ส่วนทางเลือกในการผลิตพลังไฟฟ้าและความร้อนร่วมที่มีประสิทธิภาพสูงหรือ “โคเจนเนอเรชั่น” ซึ่ง มีตัวอย่างที่ดีกรณีสนามบินสุวรรณภูมินั้น มีศักยภาพอีกมากโดยเฉพาะการผลิตแบบโคเจนเนอเรชั่นขนาดเล็กตั้งแต่ 400 กิโลวัตต์ ถึง 10 เมกะวัตต์ ที่ผลิตไอน้ำและไฟฟ้าเพื่อทำความเย็นในอาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า หน่วยราชการ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งงานศึกษาของ Menke และคณะ (2006) พบว่า มีศักยภาพรวมถึง 3,500 เมกะวัตต์
ปัจจุบัน โครงการผลิตไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่นที่อยู่ในกระบวนการและได้ลงนามในสัญญา ซื้อขายไฟฟ้าแล้ว มีกำลังการผลิตรวมกัน 6,624 เมกะวัตต์ โดยแผนพีดีพี 2010 กำหนดไว้เพียง 7,137 เมกะวัตต์ แต่แผนพีดีพี 2012 ตั้งเป้ากำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่นเพิ่มขึ้นรวม 11,825 เมกะวัตต์
โดยมาจาก 1) โครงการที่ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือได้รับการตอบรับจากกฟผ.แล้ว ณ เดือนก.ย. 2554 รวม 6,624 เมกะวัตต์ 2) งานศึกษาของ Menke ที่ระบุว่า โครงการโคเจนเนอเรชั่นประเภทระบบทำความเย็นขนาดเล็ก ที่มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ ณ ปี 2549 จำนวน 3,500 เมกะวัตต์ 3) สมมุติฐานโอกาสในการลงทุนโครงการเจนเนอเรชั่นสำหรับทำความเย็น ที่จะโตตามเศรษฐกิจในอนาคตในช่วง 18 ปีข้างหน้าโดยใช้อัตราการเพิ่มของศักยภาพโครงการในปัจจุบันเป็นฐานการ ประเมินขั้นต่ำ ประมาณ 1,700 เมกะวัตต์
โครงการขยายท่อส่งก๊าซฯ ของปตท. ยังเป็นการเพิ่มโอกาสการลงทุนโครงการโคเจนเนอเรชั่นให้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก แต่ปัญหาคือ ปตท. เป็นผู้ผูกขาดท่อส่งก๊าซฯ ทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายท่อส่งก๊าซฯ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเครือข่ายก๊าซฯ การแข่งขันด้านราคา ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตของโครงการโคเจนเนอเรชั่นได้
นอกเหนือจากนั้น ยังมีทางเลือกการยืดอายุโรงไฟฟ้าและการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ข้อเสนอแผนพีดีพี 2012 ของ คริส กรีเซน และ ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน ไม่ได้ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่เป็นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ ก๊าซฯ หรือโครงการนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ เนื่องจากมีต้นทุนสูง มีผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมสูง มีความเสี่ยงสูง มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงต่ำ จึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการตอบโจทย์เรื่องความมั่นคงทางพลังงานของไทย
การคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมาก ที่สุด การลดปริมาณสำรองไฟฟ้าตามเกณฑ์มาตรฐาน และการมองหาทางเลือกอื่นโดยให้น้ำหนักกับการจัดการการใช้พลังงาน หรือโครงการระบบโคเจนเนอเรชั่น การเลือกยืดอายุโรงไฟฟ้าและปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม รวมทั้งการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน พร้อมกับวิจัยเพื่อให้พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานพึ่งได้ในช่วงต้องการใช้ ไฟฟ้าสูงสุด โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ถ่านหิน ก๊าซฯ หรือพลังน้ำขนาดใหญ่ จะประหยัดงบลงทุนได้ถึง 2.7 ล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้ประชาชน “เหยื่อรายสุดท้าย” ไม่ต้องถูกมัดมือชกให้มาแบกรับภาระการลงทุนจำนวนมหาศาลนี้โดยไม่มีทางหลีก เลี่ยง
source : http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000054475
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น