จู๋ๆ ภูเขาไฟ ฟูจิยามา ก็โผล่มาอยู่ตรงหน้า วันนี้ฟ้าเปิดเต็มที่ แดดจ้า
ลมแรง ฟูจิฯ สวยสง่าสมคำเล่าลือจริง ๆ ช่างขาวโพลนอะไรเช่นนี้
แม้มิใช่ครั้งแรกที่ได้ยล แต่ยังอดตื่นตาตื่นตาใจมิได้
อย่าว่าแต่คนแดนไกลเลย แม้คนญี่ปุ่นเกิดญี่ปุ่นแท้ ๆ
ก็ใช่ว่าทุกคนจะได้สัมผัสภูเขาไฟที่สูง 9 ชั้น ดูสวยทุกมุม
โดยเฉพาะยอดเขาที่เห็นหิมะไหลเป็นทางยาวเหมือนหญิงสาวสวมชุดราตรีหรู
พลิ้วแนบเนื้อ ดั่งจะเริงระบำได้ หรอกนะ
เมื่อเป็นดังนี้ ก็ควรให้เราต้องตะลึงงันกับขุนเขาอันเป็นที่สถิตของเจ้าแม่สุริยะอยู่หรอก ตะลึงงันพอกับข้อมูลที่เปิดเผยว่า มีคนญี่ปุ่นเลือกมาฆ่าตัวตายในป่าบริเวณภูเขาไฟฟูจิปีละเป็นร้อย คนที่ตัดสินใจลาโลก เพียงเดินเข้าไปในป่าเปลี่ยวนั้น เลือกแขวนคอตายกับต้นไม้อย่างเดียวดาย กว่าจะมีผู้มาพบ ชีวิตนั้นก็ออกจากร่างไปแล้ว
ดินแดนอาทิตย์อุทัย ญี่ปุ่น หลังสถานการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิถล่มเมืองฟูกูชิมา (ขึ้นชื่อเรื่องเป็นเมืองผลไม้และแหล่งน้ำพุร้อนออนเซน) เมื่อ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ทำให้เตาปฏิกรณ์ปรมาณูในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลอมละลายเพราะระบบหล่อเย็นไม่ทำ งาน เกิดแก๊สพิษรั่วไหลออกไป ทำให้คนตาย พืชผักผลไม้ และสัตว์ทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา ก็ได้รับรังสีปรมาณูไปทั่ว สินค้าเกษตรเหล่านี้ กินไม่ได้ ขายไม่ออก เกษตรกรแทบหมดตัว ต้องรอจนกว่ารังสีค่อย ๆ จางหายไป ซึ่งกินเวลาเป็นปี ผู้คนจึงค่อย ๆ กลับมา บริโภคสินค้าเกษตรเหล่านี้กันอีกครั้ง
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น 54 โรง ได้รับผลสะเทือนใหญ่หลวง วันที่ 5 เดือน 5 ปี 2555 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 54 โรงก็ถูกปิดลง เพื่อทำการตรวจตรา ซ่อมแซม ปรับปรุง นำเสนอแผนให้รัฐบาลและท้องถิ่นเชื่อมั่นถึงความปลอดภัย ก่อนจะเปิดใช้อีกครั้งหนึ่ง !?!
ล่าสุด คนญี่ปุ่นอยู่ระหว่างทาง 4 แพร่ง จะยอมให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ ยอมแค่ไหน 0%, 20%, 25% หรือ 30% ตามลำดับ เฉพาะหน้าร้อนอันใกล้นี้ คนญี่ปุ่นจะต้องเผชิญกับการขาดแคลนไฟฟ้าใช้ 20% อันเนื่องจากการปิดตัวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ วิกฤติขาดแคลนไฟฟ้านี่ล่ะ จะเป็นตัวเร่งให้รัฐบาลและคนญี่ปุ่นต้องร่วมกันชี้ชะตาว่า จะเดินหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างไร แค่ไหน...
ก็คงเร็ว ๆ นี้แหละ ได้รู้กัน
การเดินทางไปดูโรงไฟฟ้าญี่ปุ่นกับผู้บริหารที่มากความรู้และใจกว้าง แห่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำโดยรองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ธวัช วัจนะพรสิทธิ์, ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรม รัตนชัย นามวงศ์ และทีมพีอาร์ไฟแรง รัชดา ทองอยู่ วิทยากรระดับ 11, เดชา อัครชะนียากร หัวหน้ากองสารนิเทศ, รัชดาพร เสียงเสนาะ วิทยากรระดับ 9 กองสื่อสารภายนอก และ ศิริลักษณ์ ศรีมณฑล วิทยากรระดับ 9 กองสื่อสารภายใน ซึ่งทั้ง 4 คนสังกัดฝ่ายสื่อสารองค์การ พร้อมด้วยสื่อมวลชนอาวุโสจำนวนหนึ่ง ระหว่าง 7-12 พ.ค. ที่ผ่านมา ถือว่า ได้ประโยชน์มาก น่าจะเป็นสื่อคณะแรก ๆ ที่ได้มาสัมผัสคนทำงานในโรงไฟฟ้าที่กำลังปั่นป่วน ไม่นิ่ง วุ่นวายใจ ว่าเขา...
จะอยู่อย่างไรต่อไป??
โรงไฟฟ้าที่ กฟผ.พาไปดูนั้น มีทั้ง โรงไฟฟ้าถ่านหินแบบเปิดที่อิโซโกะ ของกลุ่มบริษัท J-Power เมืองโยโกฮามา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ คาริวา (BWR) เมืองฟูกูชิมา และโรงไฟฟ้าต้นแบบถ่านหินสะอาด IGCC โตเกียว ซึ่งแต่ละแห่งอยู่ระดับแถวหน้าของโลก เช่น คาชิวาซากิ “กินเนสส์บุ๊ก” บันทึกว่า เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่สุดในโลก เป็นต้น
การที่ กฟผ. พานักข่าวไปดูงาน ก็ไม่ใช่พาไปล้างสมองหรือซื้อตัวให้เขียนเชียร์อย่างที่เอ็นจีโอบางคน จินตนาการมั่ว ๆ ไปเองหรอก ที่เค้าพาไป จะได้ไปเห็นกับตา สัมผัสด้วยตัวเอง ว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด หรือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นั้น หน้าตาเป็นยังไง สภาพภายนอกภายในเป็นเช่นไร สกปรกหรือสะอาดขนาดไหน มีกลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็นตลบอบอวลแค่ไหน ขืนให้เอาแต่นั่งฟังเค้าว่า นั่งดูแต่แผ่นพับ วิดีโอ จะไปได้เรื่องยังไง เห็นกับตาเต็ม ๆ จะได้เขียนได้ถูกต้อง เห็นยังไง ก็เขียนอย่างนั้น ไม่บิดเบือน ไม่ต่อเติม
มีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ก็บอกกันตรง ๆ ไม่อ้อมค้อม แต่ละคน ถ้าเป็นนักมวย ก็รุ่นเฮฟวี่เวตแล้ว (ไม่ได้เชียร์กันเอง) แต่มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หลายเรื่อง กฟผ. ก็สะอึก แต่ก็น้อมรับนำไปปรับปรุงแก้ไข นี่เป็นความใจกว้างยิ่ง โดยเฉพาะงานมวลชน การสร้างความเข้าใจกับคนที่ต่อต้าน ซึ่งเป็นงานหินสุด ๆ
แต่วิกฤติพลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้นกับไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านั้น ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นหรอกนะ หน้าที่รัฐบาล และ กฟผ. คือต้องเตรียมหาทางรอดและทางเลือกดีสุด เมื่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังสถานการณ์ฟูกูชิมา สำหรับประเทศไทย แม้ยังไม่ปิดประตูตายซะทีเดียว แต่บอกได้เลย เกิดยากสุด ๆ อีกนานมากเลยกว่าจะได้ตั้งไข่
แล้วทางไหนเล่า...
ทางรอด...
พลังงานไทย???.
เมื่อเป็นดังนี้ ก็ควรให้เราต้องตะลึงงันกับขุนเขาอันเป็นที่สถิตของเจ้าแม่สุริยะอยู่หรอก ตะลึงงันพอกับข้อมูลที่เปิดเผยว่า มีคนญี่ปุ่นเลือกมาฆ่าตัวตายในป่าบริเวณภูเขาไฟฟูจิปีละเป็นร้อย คนที่ตัดสินใจลาโลก เพียงเดินเข้าไปในป่าเปลี่ยวนั้น เลือกแขวนคอตายกับต้นไม้อย่างเดียวดาย กว่าจะมีผู้มาพบ ชีวิตนั้นก็ออกจากร่างไปแล้ว
ดินแดนอาทิตย์อุทัย ญี่ปุ่น หลังสถานการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิถล่มเมืองฟูกูชิมา (ขึ้นชื่อเรื่องเป็นเมืองผลไม้และแหล่งน้ำพุร้อนออนเซน) เมื่อ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ทำให้เตาปฏิกรณ์ปรมาณูในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลอมละลายเพราะระบบหล่อเย็นไม่ทำ งาน เกิดแก๊สพิษรั่วไหลออกไป ทำให้คนตาย พืชผักผลไม้ และสัตว์ทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา ก็ได้รับรังสีปรมาณูไปทั่ว สินค้าเกษตรเหล่านี้ กินไม่ได้ ขายไม่ออก เกษตรกรแทบหมดตัว ต้องรอจนกว่ารังสีค่อย ๆ จางหายไป ซึ่งกินเวลาเป็นปี ผู้คนจึงค่อย ๆ กลับมา บริโภคสินค้าเกษตรเหล่านี้กันอีกครั้ง
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น 54 โรง ได้รับผลสะเทือนใหญ่หลวง วันที่ 5 เดือน 5 ปี 2555 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 54 โรงก็ถูกปิดลง เพื่อทำการตรวจตรา ซ่อมแซม ปรับปรุง นำเสนอแผนให้รัฐบาลและท้องถิ่นเชื่อมั่นถึงความปลอดภัย ก่อนจะเปิดใช้อีกครั้งหนึ่ง !?!
ล่าสุด คนญี่ปุ่นอยู่ระหว่างทาง 4 แพร่ง จะยอมให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ ยอมแค่ไหน 0%, 20%, 25% หรือ 30% ตามลำดับ เฉพาะหน้าร้อนอันใกล้นี้ คนญี่ปุ่นจะต้องเผชิญกับการขาดแคลนไฟฟ้าใช้ 20% อันเนื่องจากการปิดตัวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ วิกฤติขาดแคลนไฟฟ้านี่ล่ะ จะเป็นตัวเร่งให้รัฐบาลและคนญี่ปุ่นต้องร่วมกันชี้ชะตาว่า จะเดินหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างไร แค่ไหน...
ก็คงเร็ว ๆ นี้แหละ ได้รู้กัน
การเดินทางไปดูโรงไฟฟ้าญี่ปุ่นกับผู้บริหารที่มากความรู้และใจกว้าง แห่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำโดยรองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ธวัช วัจนะพรสิทธิ์, ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรม รัตนชัย นามวงศ์ และทีมพีอาร์ไฟแรง รัชดา ทองอยู่ วิทยากรระดับ 11, เดชา อัครชะนียากร หัวหน้ากองสารนิเทศ, รัชดาพร เสียงเสนาะ วิทยากรระดับ 9 กองสื่อสารภายนอก และ ศิริลักษณ์ ศรีมณฑล วิทยากรระดับ 9 กองสื่อสารภายใน ซึ่งทั้ง 4 คนสังกัดฝ่ายสื่อสารองค์การ พร้อมด้วยสื่อมวลชนอาวุโสจำนวนหนึ่ง ระหว่าง 7-12 พ.ค. ที่ผ่านมา ถือว่า ได้ประโยชน์มาก น่าจะเป็นสื่อคณะแรก ๆ ที่ได้มาสัมผัสคนทำงานในโรงไฟฟ้าที่กำลังปั่นป่วน ไม่นิ่ง วุ่นวายใจ ว่าเขา...
จะอยู่อย่างไรต่อไป??
โรงไฟฟ้าที่ กฟผ.พาไปดูนั้น มีทั้ง โรงไฟฟ้าถ่านหินแบบเปิดที่อิโซโกะ ของกลุ่มบริษัท J-Power เมืองโยโกฮามา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ คาริวา (BWR) เมืองฟูกูชิมา และโรงไฟฟ้าต้นแบบถ่านหินสะอาด IGCC โตเกียว ซึ่งแต่ละแห่งอยู่ระดับแถวหน้าของโลก เช่น คาชิวาซากิ “กินเนสส์บุ๊ก” บันทึกว่า เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่สุดในโลก เป็นต้น
การที่ กฟผ. พานักข่าวไปดูงาน ก็ไม่ใช่พาไปล้างสมองหรือซื้อตัวให้เขียนเชียร์อย่างที่เอ็นจีโอบางคน จินตนาการมั่ว ๆ ไปเองหรอก ที่เค้าพาไป จะได้ไปเห็นกับตา สัมผัสด้วยตัวเอง ว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด หรือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นั้น หน้าตาเป็นยังไง สภาพภายนอกภายในเป็นเช่นไร สกปรกหรือสะอาดขนาดไหน มีกลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็นตลบอบอวลแค่ไหน ขืนให้เอาแต่นั่งฟังเค้าว่า นั่งดูแต่แผ่นพับ วิดีโอ จะไปได้เรื่องยังไง เห็นกับตาเต็ม ๆ จะได้เขียนได้ถูกต้อง เห็นยังไง ก็เขียนอย่างนั้น ไม่บิดเบือน ไม่ต่อเติม
มีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ก็บอกกันตรง ๆ ไม่อ้อมค้อม แต่ละคน ถ้าเป็นนักมวย ก็รุ่นเฮฟวี่เวตแล้ว (ไม่ได้เชียร์กันเอง) แต่มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หลายเรื่อง กฟผ. ก็สะอึก แต่ก็น้อมรับนำไปปรับปรุงแก้ไข นี่เป็นความใจกว้างยิ่ง โดยเฉพาะงานมวลชน การสร้างความเข้าใจกับคนที่ต่อต้าน ซึ่งเป็นงานหินสุด ๆ
แต่วิกฤติพลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้นกับไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านั้น ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นหรอกนะ หน้าที่รัฐบาล และ กฟผ. คือต้องเตรียมหาทางรอดและทางเลือกดีสุด เมื่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังสถานการณ์ฟูกูชิมา สำหรับประเทศไทย แม้ยังไม่ปิดประตูตายซะทีเดียว แต่บอกได้เลย เกิดยากสุด ๆ อีกนานมากเลยกว่าจะได้ตั้งไข่
แล้วทางไหนเล่า...
ทางรอด...
พลังงานไทย???.
source : http://www.dailynews.co.th/article/223/115406
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น