เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ ผู้นำของประเทศในเอเชียตะวันออก ประกอบด้วย
ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน
ฟิลิปปินส์ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น
จะร่วมประชุมกันในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ในประเทศไทย ในช่วงวันที่ 30
พ.ค.–1 มิ.ย. 2555 ภายใต้ชื่องานประชุม ’เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์
เอเชีย 2012 (World Economic Forum on East Asia 2012)“
“เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม” เป็นการประชุมสุดยอดผู้นำและนักธุรกิจคนสำคัญของโลก ที่มีจุดกำเนิดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 โดยยุคปัจจุบันจะมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือน ม.ค. ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการประชุมดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับถึงความสำคัญ ในระดับที่สามารถจะกำหนดความเป็นไปของโลกได้เลย ในขณะที่ “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย” เป็นการประชุมย่อยของ “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม” ในส่วนของประเทศในเอเชียตะวันออก ซึ่งก็จัดต่อเนื่องมาราว 20 ปีแล้ว โดยปีที่แล้วจัดที่อินโดนีเซีย
ทั้งนี้ “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม” อาจสามารถกำหนดความเป็นไปของโลกได้ฉันใด “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย” ก็อาจสามารถกำหนดความเป็นไปของเอเชียตะวันออก ที่รวมถึงประเทศไทย ได้ฉันนั้น
เวทีประชุมระดับผู้นำดังกล่าวนี้...ถือว่าสำคัญ
ทั้งในระดับภูมิภาค-ประเทศ...รวมถึงประชาชน
การประชุม “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย 2012” ในไทย ซึ่งจะจัดในกรุงเทพฯ นั้น ผู้นำของประเทศในเอเชียตะวันออกจะร่วมกันถกถึง “ทิศทางเศรษฐกิจของอาเซียน” โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 จะเป็นอย่างไร? และเมื่อรวมตัวกันแล้วทำอย่างไรภูมิภาคนี้จะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ไม่ประสบความล้มเหลว และไม่เกิดปัญหา? เหมือนที่กลุ่มประเทศยุโรปประสบ
เพราะอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญ จะเป็นศูนย์กลางในเอเชียตะวันออก วาระการประชุมครั้งนี้จึงเน้นการเชื่อมโยงทั้งภายในภูมิภาค และประเทศอื่น ๆ ทั้งด้านการขนส่ง ประชากร สินค้าโภคภัณฑ์ ในการประชุมจะเป็น “เวทีหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น” ต่อสถานการณ์ของภูมิภาค ทั้งเศรษฐกิจ สังคม พลังงาน ฯลฯ ของผู้นำระดับประเทศแห่งเอเชียตะวันออก และภาคเอกชนระดับโลกที่ได้ลงทุน หรือสนใจจะลงทุน ในภูมิภาคเอเชีย
กับเรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงในการล้มเหลวหรือเกิดปัญหาเหมือนกลุ่มประเทศกลุ่มอื่น ประเด็นในการประชุมกันก็มีการมุ่งเน้นเพื่อหา “โมเดลที่เหมาะสม” ไม่ว่าจะเป็น...สมดุลโลกกับเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเติบโตสูงขึ้น, นโยบายการเงินต่อเงินเฟ้อ เงินทุนไหลออก ราคาโภคภัณฑ์ผันผวน, สมดุลเติบโตในประเทศกับภูมิภาค, การเติบโตภูมิภาค ส่งผลยกระดับรายได้ประชากร พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี อย่างไร??
และ ’พลังงาน“ ก็เป็นอีกหัวข้อสำคัญของการประชุม
หัวข้อนี้เมืองไทยคนไทยยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญ
จากการที่ภาคเศรษฐกิจของอาเซียนสัมพันธ์กับราคาน้ำมันและพลังงาน เนื่องจากอาเซียนเป็นภูมิภาค “ผู้ใช้” คือแหล่งพลังงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ของภูมิภาค ทางออกด้านพลังงานในภูมิภาคยุคหน้า สิ่งที่สำคัญคือต้องสร้างในเรื่องของ “การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างพลังงานของภูมิภาคใหม่ เพราะกุญแจสำคัญคือ จีดีพี ที่สะท้อนการกิน
ดีอยู่ดีของประชาชน มีความสัมพันธ์กับพลังงาน เพราะการที่จีดีพีจะขยายตัวมีค่าในระดับดีหรือพอใช้ จะต้องพิจารณาตัวเลขต้นทุนพลังงานและการใช้พลังงานของภาคการผลิต นี่คือสาเหตุที่ว่าทำไมโครงสร้างพลังงานจึงสำคัญ และส่งผลต่อการขับเคลื่อนประเทศ ? ซึ่งกับการขับเคลื่อนที่ว่านี้ ก็แน่นอนว่าย่อมรวมถึง “ประเทศไทย” ด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้น ด้านการจัดหาปิโตรเลียม ในปี 2554 พบว่า ก๊าซธรรมชาติที่เป็นพลังงานหลักและมีแหล่งอยู่ในประเทศ ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยผลิตได้เฉลี่ย 3,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ปริมาณการใช้จริงอยู่ที่ 3,317 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จึงต้องนำเข้า โดยนำเข้าก๊าซจากพม่าเฉลี่ย 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และจากแหล่งเจดีเอที่เป็นโครงการร่วมมือบนพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ปัจจุบันมีปริมาณสำรองประมาณ 23 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่ง คำนวณจากปริมาณการใช้ก๊าซในปัจจุบัน ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะหมดลงภายใน 15 ปี!!
ทั้งนี้ กับเรื่องพลังงาน จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ของไทย ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงต้องเร่งพัฒนาสำรวจหาแหล่งขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมและก๊าซในพื้นที่ต่าง ๆ ของภูมิภาคอาเซียน เพื่อจะนำพลังงานมาป้อนให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ ผสานกับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวจากตะวันออกกลาง
ปตท. นั้นเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุม ’เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย 2012“ ซึ่งผู้บริหารของบริษัทฯ ก็สะท้อนถึง ความสำคัญของการประชุม ครั้งนี้...ที่ คนไทยควรจะต้องสนใจ...
’ทำไม-อะไร-อย่างไร???“...ต้องต่ออีกตอน..
“เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม” เป็นการประชุมสุดยอดผู้นำและนักธุรกิจคนสำคัญของโลก ที่มีจุดกำเนิดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 โดยยุคปัจจุบันจะมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือน ม.ค. ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการประชุมดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับถึงความสำคัญ ในระดับที่สามารถจะกำหนดความเป็นไปของโลกได้เลย ในขณะที่ “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย” เป็นการประชุมย่อยของ “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม” ในส่วนของประเทศในเอเชียตะวันออก ซึ่งก็จัดต่อเนื่องมาราว 20 ปีแล้ว โดยปีที่แล้วจัดที่อินโดนีเซีย
ทั้งนี้ “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม” อาจสามารถกำหนดความเป็นไปของโลกได้ฉันใด “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย” ก็อาจสามารถกำหนดความเป็นไปของเอเชียตะวันออก ที่รวมถึงประเทศไทย ได้ฉันนั้น
เวทีประชุมระดับผู้นำดังกล่าวนี้...ถือว่าสำคัญ
ทั้งในระดับภูมิภาค-ประเทศ...รวมถึงประชาชน
การประชุม “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย 2012” ในไทย ซึ่งจะจัดในกรุงเทพฯ นั้น ผู้นำของประเทศในเอเชียตะวันออกจะร่วมกันถกถึง “ทิศทางเศรษฐกิจของอาเซียน” โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 จะเป็นอย่างไร? และเมื่อรวมตัวกันแล้วทำอย่างไรภูมิภาคนี้จะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ไม่ประสบความล้มเหลว และไม่เกิดปัญหา? เหมือนที่กลุ่มประเทศยุโรปประสบ
เพราะอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญ จะเป็นศูนย์กลางในเอเชียตะวันออก วาระการประชุมครั้งนี้จึงเน้นการเชื่อมโยงทั้งภายในภูมิภาค และประเทศอื่น ๆ ทั้งด้านการขนส่ง ประชากร สินค้าโภคภัณฑ์ ในการประชุมจะเป็น “เวทีหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น” ต่อสถานการณ์ของภูมิภาค ทั้งเศรษฐกิจ สังคม พลังงาน ฯลฯ ของผู้นำระดับประเทศแห่งเอเชียตะวันออก และภาคเอกชนระดับโลกที่ได้ลงทุน หรือสนใจจะลงทุน ในภูมิภาคเอเชีย
กับเรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงในการล้มเหลวหรือเกิดปัญหาเหมือนกลุ่มประเทศกลุ่มอื่น ประเด็นในการประชุมกันก็มีการมุ่งเน้นเพื่อหา “โมเดลที่เหมาะสม” ไม่ว่าจะเป็น...สมดุลโลกกับเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเติบโตสูงขึ้น, นโยบายการเงินต่อเงินเฟ้อ เงินทุนไหลออก ราคาโภคภัณฑ์ผันผวน, สมดุลเติบโตในประเทศกับภูมิภาค, การเติบโตภูมิภาค ส่งผลยกระดับรายได้ประชากร พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี อย่างไร??
และ ’พลังงาน“ ก็เป็นอีกหัวข้อสำคัญของการประชุม
หัวข้อนี้เมืองไทยคนไทยยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญ
จากการที่ภาคเศรษฐกิจของอาเซียนสัมพันธ์กับราคาน้ำมันและพลังงาน เนื่องจากอาเซียนเป็นภูมิภาค “ผู้ใช้” คือแหล่งพลังงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ของภูมิภาค ทางออกด้านพลังงานในภูมิภาคยุคหน้า สิ่งที่สำคัญคือต้องสร้างในเรื่องของ “การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างพลังงานของภูมิภาคใหม่ เพราะกุญแจสำคัญคือ จีดีพี ที่สะท้อนการกิน
ดีอยู่ดีของประชาชน มีความสัมพันธ์กับพลังงาน เพราะการที่จีดีพีจะขยายตัวมีค่าในระดับดีหรือพอใช้ จะต้องพิจารณาตัวเลขต้นทุนพลังงานและการใช้พลังงานของภาคการผลิต นี่คือสาเหตุที่ว่าทำไมโครงสร้างพลังงานจึงสำคัญ และส่งผลต่อการขับเคลื่อนประเทศ ? ซึ่งกับการขับเคลื่อนที่ว่านี้ ก็แน่นอนว่าย่อมรวมถึง “ประเทศไทย” ด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้น ด้านการจัดหาปิโตรเลียม ในปี 2554 พบว่า ก๊าซธรรมชาติที่เป็นพลังงานหลักและมีแหล่งอยู่ในประเทศ ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยผลิตได้เฉลี่ย 3,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ปริมาณการใช้จริงอยู่ที่ 3,317 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จึงต้องนำเข้า โดยนำเข้าก๊าซจากพม่าเฉลี่ย 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และจากแหล่งเจดีเอที่เป็นโครงการร่วมมือบนพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ปัจจุบันมีปริมาณสำรองประมาณ 23 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่ง คำนวณจากปริมาณการใช้ก๊าซในปัจจุบัน ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะหมดลงภายใน 15 ปี!!
ทั้งนี้ กับเรื่องพลังงาน จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ของไทย ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงต้องเร่งพัฒนาสำรวจหาแหล่งขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมและก๊าซในพื้นที่ต่าง ๆ ของภูมิภาคอาเซียน เพื่อจะนำพลังงานมาป้อนให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ ผสานกับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวจากตะวันออกกลาง
ปตท. นั้นเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุม ’เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ออน อีสต์ เอเชีย 2012“ ซึ่งผู้บริหารของบริษัทฯ ก็สะท้อนถึง ความสำคัญของการประชุม ครั้งนี้...ที่ คนไทยควรจะต้องสนใจ...
’ทำไม-อะไร-อย่างไร???“...ต้องต่ออีกตอน..
source : http://www.dailynews.co.th/article/223/114761
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น