นายก
รัฐมนตรีมาเลเซีย
ประกาศลดการอุดหนุนราคาพลังงานกลางเวทีประชุมเชิงวิชาการและนิทรรศการ
อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติระดับโลก หรือ WGC 2012
ตั้งเป้าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในปี 2025 ประชาชนมีรายได้เพิ่มอีกกว่า 2
เท่าตัว
นายนา จิบ อับดุล ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ใช้เวทีการประชุมเวิล์ดแก๊สคอนเฟอเร้นซ์ ประกาศลดการอุดหนุนราคาพลังงานภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้ราคาพลังงานทั้งก๊าซและน้ำมันสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและผลักดันให้ เศรษฐกิจประเทศมาเลเซียเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่ามาเลเซียจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2025 และมีอัตราการเติบโตของจีดีพี ปีละ 6% ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัวจากปัจจุบัน
นายก รัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆที่มีการอุดหนุนราคาน้ำมันทยอยปรับลดการอุดหนุน เพื่อให้ต้นทุุนสะท้อนความเป็นจริง และให้ผู้ใช้ก๊าซได้ปรับตัวเพื่อให้ใช้พลังงานอย่างประหยัด และมองว่าจากนี้ไปจะเป็นยุคทองของก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติคือคำตอบของความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาว
ทั้ง นี้ สมาพันธ์ก๊าซระหว่างประเทศมองว่า ในอนาคตปี 2050 ก๊าซธรรมชาติจะถูกใช้เป็นพลังงานหลัก 1 ใน 3 ของโลก จากปัจจุบันมีการใช้อยู่ 1 ใน 5 และตัวเลขปริมาณการใช้จะเติบโตถึง 40% แต่ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกก็จะปรับตัวสูงขึ้นถึง 30% เช่นกัน และจะมีความผันผวนตามความต้องการของตลาดและปริมาณก๊าซที่มีอยู่ ซึ่งการอุดหนุนราคาพลังงานอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ
สำหรับ การประชุม WGC 2012 ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Gas:Sustaining Future Global Growth เพื่อค้นหาศักยภาพของธุรกิจก๊าซ และบทบาทของก๊าซในยุคเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยมีการหยิบยกประเด็นบทบาทของก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบด้านสภาพอากาศ ความสำคัญของก๊าซธรรมชาติ ปัญหาการขนส่งก๊าซ ที่ส่งผลให้เกิดโครงการแอลเอ็นจีขนาดใหญ่ การเชื่อมโยงระหว่างแหล่งพลังงานกับความต้องการใช้่่ โดยพบว่าปัจจุบันภูมิภาคเอเชียนำเข้าแอลเอ็นจี.สูงถึง 60% ของทั่วโลก
นาย ณอคุณ สิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ภายใน 3 ปีนับจากนี้ การผลิตก๊าซธรรมชาติของไทยจะพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจะเริ่มปรับตัวลดลง ทำให้ไทยต้องเร่งหาแนวทางการนำเข้าก๊าซธรรมชาติมากขึ้น โดยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี เป็นหนึ่งทางเลือกที่กระทรวงพลังงานจะให้ความสำคัญ
source : http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/57237/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
นายนา จิบ อับดุล ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ใช้เวทีการประชุมเวิล์ดแก๊สคอนเฟอเร้นซ์ ประกาศลดการอุดหนุนราคาพลังงานภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้ราคาพลังงานทั้งก๊าซและน้ำมันสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและผลักดันให้ เศรษฐกิจประเทศมาเลเซียเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่ามาเลเซียจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2025 และมีอัตราการเติบโตของจีดีพี ปีละ 6% ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัวจากปัจจุบัน
นายก รัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆที่มีการอุดหนุนราคาน้ำมันทยอยปรับลดการอุดหนุน เพื่อให้ต้นทุุนสะท้อนความเป็นจริง และให้ผู้ใช้ก๊าซได้ปรับตัวเพื่อให้ใช้พลังงานอย่างประหยัด และมองว่าจากนี้ไปจะเป็นยุคทองของก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติคือคำตอบของความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาว
ทั้ง นี้ สมาพันธ์ก๊าซระหว่างประเทศมองว่า ในอนาคตปี 2050 ก๊าซธรรมชาติจะถูกใช้เป็นพลังงานหลัก 1 ใน 3 ของโลก จากปัจจุบันมีการใช้อยู่ 1 ใน 5 และตัวเลขปริมาณการใช้จะเติบโตถึง 40% แต่ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกก็จะปรับตัวสูงขึ้นถึง 30% เช่นกัน และจะมีความผันผวนตามความต้องการของตลาดและปริมาณก๊าซที่มีอยู่ ซึ่งการอุดหนุนราคาพลังงานอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ
สำหรับ การประชุม WGC 2012 ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Gas:Sustaining Future Global Growth เพื่อค้นหาศักยภาพของธุรกิจก๊าซ และบทบาทของก๊าซในยุคเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยมีการหยิบยกประเด็นบทบาทของก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบด้านสภาพอากาศ ความสำคัญของก๊าซธรรมชาติ ปัญหาการขนส่งก๊าซ ที่ส่งผลให้เกิดโครงการแอลเอ็นจีขนาดใหญ่ การเชื่อมโยงระหว่างแหล่งพลังงานกับความต้องการใช้่่ โดยพบว่าปัจจุบันภูมิภาคเอเชียนำเข้าแอลเอ็นจี.สูงถึง 60% ของทั่วโลก
นาย ณอคุณ สิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ภายใน 3 ปีนับจากนี้ การผลิตก๊าซธรรมชาติของไทยจะพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจะเริ่มปรับตัวลดลง ทำให้ไทยต้องเร่งหาแนวทางการนำเข้าก๊าซธรรมชาติมากขึ้น โดยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี เป็นหนึ่งทางเลือกที่กระทรวงพลังงานจะให้ความสำคัญ
source : http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/57237/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น