แผนภาพแสดงตำแหน่งที่พบฟอสซิลของบรรพบุรุษทั้งคนและลิงในพม่าและแอฟริกา ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่หนักเพียง 100 กรัม (ไลฟ์ไซน์) |
ฟอสซิลที่เพิ่งพบใหม่ในพม่าชี้ว่าบรรพบุรุษของทั้งมนุษย์ ลิง
และลิงไม่มีหางนั้นมีกำเนิดในเอเชียไม่ใช่แอฟริกาอย่างที่เข้าใจ ทั้งนี้
นักวิทยาศาสตร์ถกเถียงกันมานานหลายทศวรรษถึงกำเนิดมนุษย์วานร
โดยฟอสซิลที่ขุดพบในอียิปต์นั้นเป็นหลักฐานที่ยึดกันมานานว่าแอฟริกาเป็นแหล่งกำเนิดของแอนโทรพอยด์นี้
แต่กระดูกที่พบเมื่อ 15
ปีก่อนก็จุดประเด็นถึงความเป็นไปได้ว่าเอเชียอาจเป็นแหล่งกำเนิดของบรรพบุรุษของเราและลิง
ไลฟ์ไซน์ระบุว่าทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ขุดพบฟอสซิลใหม่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ซึ่งอาจจะเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่า “แอนโทรพอยด์” (anthropoids) หรือมนุษย์วานรซึ่งเป็นสัตว์ในตระกูลลิงไพรเมทชั้นสูง (higher primates) นั้นอาจมีกำเนิดในดินแดนที่ปัจจุบันกลายเป็นทวีปเอเชียตะวันออก และเผยถึงก้าวสำคัญในวิวัฒนาการของสัตว์ไพรเมทและมนุษย์
ฟอสซิลดังกล่าวมีชื่อว่า “แอเฟรเชีย ชิจิเด” (Afrasia djijidae) โดย “แอเฟรเชีย” (Afrasia) นั้นแสดงถึงแอนโทรพอยด์ในยุคแรกที่ถูกพบในจุดที่อยู่ระหว่างแอฟริกาและเอเชีย ส่วน “ชิจิเด” (djijidae) นั้นเพื่อรำลึกถึงเด็กผู้หญิงจากหมู่บ้านหนึ่งในใจกลางพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่ขุดพบซากฟอสซิลดังกล่าว ซึ่งหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ค้นหาซากฟอสซิลในตะกอนดินเป็นเวลา 6 ปีพวกเขาก็ได้พบฟันของแอเฟรเชียจำนวน 4 ซี่ ในพื้นที่ซึ่งเข้าถึงได้ด้วยเกวียนเท่านั้น และรถขับเคลื่อนสี่ล้อไม่สามารถเข้าไปได้
ฟันของมนุษย์วานรแอเฟรเชียอายุ 37 ล้านปีนี้คล้ายคลึงกับฟันของแอนโทรพอยด์ในยุคแรกเริ่ม “แอโฟรทาร์เซียส ไลบิคัส” (Afrotarsius libycus) ซึ่งมีอายุราว 38 ล้านปี ที่เพิ่งขุดพบในทะเลทรายซาฮารา (Sahara Desert) ของลิเบียเมื่อเร็วๆ นี้ โดยแอนโทรพอยด์ในลิเบียนั้นแตกต่างจากที่พบในแอฟริกามากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดไว้เยอะ ซึ่งชี้ว่ามนุษย์แอนโทรพอยด์นี้น่าจะมีกำเนิดจากที่อื่น และด้วยว่าคล้ายคลึงระหว่างแอเฟรเชียและแอโฟรทาร์เซียสนั้นชี้ว่าแอนโทรพอยด์ในยุคเริ่มแรกที่สร้างอาณานิคมในแอฟริกานั้นมาจากเอเชีย
การอพยพจากเอเชียนี้ได้ตั้งระยะสำหรับวิวัฒนาการในยุคหลังของลิงเอป (ape) หรือลิงไม่มีหางและมนุษย์ในแอฟริกา โดย ฌอง-ฌาคส์ เจเกอร์ (Jean-Jacques Jaeger) นักวิจัยในทีมและนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยปัวตีเย (University of Poitiers) ในฝรั่งเศสกล่าวกับไลฟ์ไซน์ว่า แอฟริกาเป็นสถานที่กำเนิดของมนุษย์ และเอเชียก็เป็นจุดเริ่มต้นของบรรพบุรุษของเรา
ไลฟ์ไซน์ระบุว่าทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ขุดพบฟอสซิลใหม่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ซึ่งอาจจะเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่า “แอนโทรพอยด์” (anthropoids) หรือมนุษย์วานรซึ่งเป็นสัตว์ในตระกูลลิงไพรเมทชั้นสูง (higher primates) นั้นอาจมีกำเนิดในดินแดนที่ปัจจุบันกลายเป็นทวีปเอเชียตะวันออก และเผยถึงก้าวสำคัญในวิวัฒนาการของสัตว์ไพรเมทและมนุษย์
ฟอสซิลดังกล่าวมีชื่อว่า “แอเฟรเชีย ชิจิเด” (Afrasia djijidae) โดย “แอเฟรเชีย” (Afrasia) นั้นแสดงถึงแอนโทรพอยด์ในยุคแรกที่ถูกพบในจุดที่อยู่ระหว่างแอฟริกาและเอเชีย ส่วน “ชิจิเด” (djijidae) นั้นเพื่อรำลึกถึงเด็กผู้หญิงจากหมู่บ้านหนึ่งในใจกลางพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่ขุดพบซากฟอสซิลดังกล่าว ซึ่งหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ค้นหาซากฟอสซิลในตะกอนดินเป็นเวลา 6 ปีพวกเขาก็ได้พบฟันของแอเฟรเชียจำนวน 4 ซี่ ในพื้นที่ซึ่งเข้าถึงได้ด้วยเกวียนเท่านั้น และรถขับเคลื่อนสี่ล้อไม่สามารถเข้าไปได้
ฟันของมนุษย์วานรแอเฟรเชียอายุ 37 ล้านปีนี้คล้ายคลึงกับฟันของแอนโทรพอยด์ในยุคแรกเริ่ม “แอโฟรทาร์เซียส ไลบิคัส” (Afrotarsius libycus) ซึ่งมีอายุราว 38 ล้านปี ที่เพิ่งขุดพบในทะเลทรายซาฮารา (Sahara Desert) ของลิเบียเมื่อเร็วๆ นี้ โดยแอนโทรพอยด์ในลิเบียนั้นแตกต่างจากที่พบในแอฟริกามากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดไว้เยอะ ซึ่งชี้ว่ามนุษย์แอนโทรพอยด์นี้น่าจะมีกำเนิดจากที่อื่น และด้วยว่าคล้ายคลึงระหว่างแอเฟรเชียและแอโฟรทาร์เซียสนั้นชี้ว่าแอนโทรพอยด์ในยุคเริ่มแรกที่สร้างอาณานิคมในแอฟริกานั้นมาจากเอเชีย
การอพยพจากเอเชียนี้ได้ตั้งระยะสำหรับวิวัฒนาการในยุคหลังของลิงเอป (ape) หรือลิงไม่มีหางและมนุษย์ในแอฟริกา โดย ฌอง-ฌาคส์ เจเกอร์ (Jean-Jacques Jaeger) นักวิจัยในทีมและนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยปัวตีเย (University of Poitiers) ในฝรั่งเศสกล่าวกับไลฟ์ไซน์ว่า แอฟริกาเป็นสถานที่กำเนิดของมนุษย์ และเอเชียก็เป็นจุดเริ่มต้นของบรรพบุรุษของเรา
ตัวทาร์เซียร์ที่คาดว่ามีขนาดพอๆ กับแอนโทรพอยด์ที่พบในพม่า |
ด้วยรูปร่างของแอเฟรเชียจากเอเชียและแอโฟรทาร์เซียสในแอฟริกาเหนือ ชี้ว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจกินแมลง และขนาดฟันของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ชี้ว่าเมื่อมีชีวิตอยู่บรรพบุรุษของเราหนักประมาณ 100 กรัม หรือมีขนาดประมาณตัวทาร์เซียร์ (tarsier) ในปัจจุบัน
อย่าไงรก็ดี ยังคงมีคำถามปลายเปิดว่าแอนโทรพอดส์ในยุคแรกๆ นั้นอพยพจากเอเชียไปแอฟริกาได้อย่างไร ย้อนกลับไปในอดีตนั้นทั้งสองทวีปนี้แยกจากกันด้วยทะเลที่กว้างกว่าทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) ในปัจจุบันที่เรียกว่า “ทะเลเทธีส” (Tethys Sea) ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่าแอนโทรพอยด์ในยุคแรกนั้นว่ายข้ามทะเลจากเกาะสู่เกาะ และออกจากเอเชียมาถึงแอฟริกา หรืออาจจะล่องแพไปพร้อมซุงจากการพัดพาของธรรมชาติ ซึ่งเกาะวัตถุใดๆ ที่ถูกพัดลงทะเลโดยกระแสน้ำท่วมหรือพายุ ซึ่งพบว่าสัตว์กลุ่มอื่นๆ ก็อพยพจากเอเชียไปยังแอฟริกาในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้
หลังจากที่แอนโทรพอยด์ในยุคแรกเดินทางสู่แอฟริกา สัตว์ชนิดเดียวกันที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ตายเกลี้ยงอยู่ในเอเชีย ซึ่งเจเกอร์กล่าวว่า เมื่อราวๆ 34ล้านปีก่อนนั้นมีธารน้ำแข็งขนาดมหึมาที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเย็นจัดและส่งผลกระทบต่อเอชียมากกว่าแอฟริกา และระหว่างวิกฤตดังกล่าว ทีมวิจัยของเขาสันนิษฐานว่า แอนโทรพอยด์ดั้งเดิมในเอเชียก็สูญสิ้นไปหมด ส่วนแอนโทรพอยด์ที่เราพบในเอเชียปัจจุบันนี้ อย่างชะนีหรืออุรังอุตังนั้นก็อพยพมาจากแอฟริกาเมื่อประมาณ 20 ล้านปีก่อน
ทีมวิจัยยังเชื่ออีกว่าแอนโทรพอยด์ในยุคตั้งต้นนั้นเคยปรากฏในบริเวณระหว่างพม่าและลิเบีย อย่างไรก็ดี ฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวยังไม่ได้รับการขุดค้น ส่วนหนึ่งเป็นเหตุผลในเรื่องความปลอดภัยของการเข้าถึงพื้นที่ อย่างเช่นในแอฟกานิสถาน เป็นต้น อย่างไรก็ดี สำหรับงานวิจัยนี้พวกเขาได้เผยแพร่รายละเอียดลงวารสารโพรซีดิงส์ออฟเดอะเนชันนัลอะคาเดมีออฟไซน์ส (Proceedings of the National Academy of Sciences) ในฉบับออนไลน์
source : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000070145
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น