ก่อนอื่น ต้องดูว่า AEC คือการเป็นตลาดและฐานผลิตร่วม เป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งแข่งขัน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และเป็นการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โอกาสและอุปสรรคในการลงทุนในประเทศอาเซียนนั้น ประชากรของเราจะเพิ่มมากขึ้น ตลาดก็ขยายมากขึ้น โอกาสทางธุรกิจก็มี และต้นทุนการผลิตในบางประเทศก็ต่ำกว่า สิทธิประโยชน์ในการลงทุนจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้น แต่อุปสรรคคือยังขาดแรงงานที่มีคุณภาพ ขณะที่ทัศนคติก็ยังมีความแตกต่างกัน
อาเซียนในมุมมองพลังงาน
การใช้พลังงานของไทยต้องใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีลักษณะบิดเบือนกลไกตลาดอยู่ เรายังใช้พลังงานที่เกินตัวอยู่ อนาคตในอีก 20 ปีของเรานั้น ความต้องการก๊าซธรรมชาติในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ขณะที่การจัดหามีแนวโน้มลดลง
ปัจจัยเรื่องราคาและผลกระทบ
ถ้าเปิดเสรีอาเซียนแล้ว LPG ราคาที่เราใช้อยู่จะไม่ใช้ราคานี้ การควบคุมราคา LPG ทำให้ไทยเปลี่ยนจากประเทศส่งออก LPG เป็นผู้นำเข้าและกองทุนน้ำมันฯ ต้องรับภาระการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ถ้าวันนี้เราสามารถปรับราคา LPG ให้สัมพันธ์กับความเป็นจริงได้ ไทยจะไม่ต้องประสบภาวะช็อกกับราคาได้ การควบคุมราคา LPG ทำให้ราคาต่ำกว่าเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดการลักลอบออกนอกประเทศและรัฐต้องชดเชยการนำเข้าจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีการลักลอบแก๊สหุงต้มประมาณ 5,000 ตัน
ภาคธุรกิจต้องมีการเตรียมความพร้อมและกำหนดทิศทางในการก้าวสู่ AEC
- เราจะต้องรู้จักตลาดของเขา และดูพฤติกรรมบริโภคของเขา รวมทั้งศึกษาวัฒนธรรม ระบบกฎหมายของเขาว่าเป็นอย่างไร
- ต้องรู้จุดแข็งจุดอ่อน
- เตรียมความพร้อม และพัฒนาความแตกต่างด้านสินค้า
- เข้าใจสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ต้องมี CSR คือ Care, Share และ Respect และต้องให้ความสำคัญด้านธรรมาภิบาล
ภาครัฐควรสนับสนุนอย่างไร
- ต้องวางแผนร่วมกับภาครัฐ เอกชน เพื่อรองรับ AEC
- สนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ
- ผ่อนคลายกฎระเบียบควบคุมการถือเงินตรา
- เร่งจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาระบบการศึกษา
Source : http://www.siamintelligence.com/energy-crisis-linkages-aec-and-thailand-3-4/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น