วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

น.อ.ดร.สมัย ใจอินทร์ ร.น.: วิกฤตพลังงานเชื่อมโยง AEC และไทย 4/4

โลกมาถึงวิกฤติด้านน้ำมันอีกครั้งหนึ่งถามว่ายิวจะซัดกับอิหร่านไหมก็เป็นเรื่องต้องตามดูกัน เวลานี้ในอิรักบริษัทน้ำมันมีชาติตะวันตกเข้ามาถือสัมปทานทั้งหมดศักยภาพของอิรักผลิตน้ำมันเป็นอันดับ9ของโลก หากมีปัญหาเรื่องน้ำมันของอิหร่านก็ผลิตน้ำมันแทนอิหร่านสบาย แต่ในเมื่อเกิดวิกฤตคนที่เสียประโยชน์ตลอดคนเสียคือคนเอเซียที่เสียเปรียบตลอด การขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุสช่องแคบมะละกาเราเสียประโยชน์มาตลอดอย่างน้อยราคาก็แพงกว่า3 -5 เหรียญ
กรณีสงครามในอิรักภาพเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนเป็นภาพตกขบวบอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทยมีการให้สัมปทานกับ มีปริโตนาสของมาเลเซีย มีส่วนร่วมอีกสองบ่อเป็นบ่อเล็กๆ มี BP Shell มีบริษัทของรัสเซีย ที่สหรัฐแบ่งปันผลประโยชน์น้ำมันให้กับกรณีสงครามของอิรักอย่างมีความสุขแต่น่าเสียดายที่ไม่มีธงชาติไทยในนั้นเลย

จากรูปซ้ายจากอาจาซีร่าสื่อที่เป็นกระบอกเสียงให้ชาติทางตะวันออกกลาง ฝั่งขวาก็เป็นข้อมูลของ BP ยักษ์ใหญ่ค้าน้ำมันซึ่งได้ประโยชน์จากสงครามครั้งนี้ทำให้ฐานะทางการเงินของ BP ฟื้นขึ้นมาซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าคิด
เคยเกิดวิกฤติพลังานที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งผมเรียกว่าวิกฤติลมปาก กรณีที่กาญจนบุรี มันเกิดจาการที่ใครบางคนไปให้สัมภาษณ์กระทบเปรียบเปรยปรเทศเพื่อนบ้านก๊าซเลยสะดุดวิกฤติพลังงานของไทยเลยเกิด กลายเป็นวิกฤติก๊าซจากพม่าไป

การเคลื่อนย้ายน้ำมันผ่านช่องแคบมะละกาซึ่งถือเป็นปริมาณมากที่สุดในขณะนี้ ความเสี่ยงจากช่องแคบมะละกาที่มีการขนย้ายน้ำมันมากที่สุด โดยผมอยากเสนอให้มีการลุกWEAST ในทางResauce ไม่ใช่จากพม่าที่เดียวตรงกลางเข้าไปอีกก็มีอีกเยอะ เพราะเราลุก EAST มานานแล้ว ฐานทัพเรือของเราที่ยังน้อยอยู่จึงอยากฝากให้เพิ่มกำลังทัพเรือตรงนี้เพื่อเพิ่มความั้นคงในทะเล ส่วนในอ่าวไทยไม่ต้องวางกำลังมาก ผมคิดว่าทะเลตะวันตกยังเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย ส่วนจะเกิดวิกฤติหรือไม่ส่วนหนึ่งก็มีมีการเตรียมการจากสหรัฐและอังกฤษหากปิดข่องแคบฮอร์มุสในการสำรองน้ำมัน

สถิติทั้งหมดของการเกิดวิกฤติพลังงานในอดีต ความผันผวนของราคาผู้ซื้อรายเล็กอย่างไรขาดอำนาจต่อรองดูจาก GDP ของเรามีสัดส่วนต่อGDP ในการนำเข้าพลังงานสูง แต่นอกจากนำเข้าเราก็มีการส่งออกไปเป็นเคมีคอลล์ พลาสติก
อนาคตของโลกในกลุ่มกำลังพัฒนาประชากรประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้นหากเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วสังคมมีแต่คนแก่ ด้านการใช้พลังงานเราก็จะแซงเขาในเร็วๆนี้ และด้านรายได้ที่จะเพิ่มขึ้น และเรื่องการใช้พลังงานก็มีดาวรุ่งอย่างพลังงานทดแทนเพิ่มเข้ามา

ตลอดการวิจัยของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างBP มีอิรักเข้าไปอยู่ด้วย แต่ฉากหน้าก็จะบอกว่าไม่ได้อยากพลังงานในอิรัก และคาดว่าต่อไปจากนี้อิรักจะส่งออกน้ำมันมากขึ้นเรื่อยๆ

ผมมองต่อไปพลังงาทดแทนจะเป็นเทรนด์ที่กำลังมามากขึ้นญี่ปุ่นให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การใช้พลังงานจากพืชจะเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยตอนนี้เอ็กทานอลในบราซิลและไทยทำแล้วต้นทุนไม่แพงประเทศไทยต้นุทน18-20บาท และในประเทศไทยมีการใช้พลังงานจากพืช 4 % และจะเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ โดยในการปลูกปาล์มน้ำมันที่ได้ผลผลิตที่ดีอยู่ในพื้นที่ปริมณฑลติดๆ กทม นี่เองและหากปลูกเยอะยังช่วยซับน้ำท่วมได้สเหมือนมีเขื่อน 1 เขื่อนดีๆนี่เอง ก็คือได้ประโยชน์มากจริงๆก็อยากให้มีการส่งเสริมปลูกกันมากขึ้น


พรรคเพื่อไทยเขียนแผนด้านพลังงานยาวไปถึง 10 ปี โดยรัฐบาลตั้งเป้าจากผู้ใช้ 8% เป็นส่งออก 25% ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิชาการตื่นเต้นมาก โดยถือเป็นยุทธศาสตร์ชั้นยอด แต่เราต้องปลูกพืช คงขุดมาเองไม่ได้ ซึ่งตอนนี้เรามีโรงเอ็กเทอนอล 20โรง สามารถสร้างงานได้ให้กับคนในพื้นที่ได้อย่างมาก

Source : http://www.siamintelligence.com/energy-crisis-linkages-aec-and-thailand-4-4/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น