การตั้งถิ่นฐาน สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ใน 100 ปี ข้างหน้า
ตอน: แนวโน้มด้านพลังงาน ที่เป็นปัจจัยหลัก 2/3
(Source : http://www.sunflowercosmos.org/climate_change/climate_change_home/inhabited_2.html)
|
|
แถบสีน้ำตาลเข้ม สีส้ม และเหลือง แสดงค่าศักยภาพรังสี แสงอาทิตย์สูงตามลำดับ
|
|
|
คำตอบเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ ของประเทศไทย
|
|
|
|
|
ความเหมาะสมและแนวโน้มที่เป็นไปได้ จากข้อมูลการสำรวจ ของสำนักงาน
พลังงานแสงอาทิตย์ พบว่าพื้นที่ในประเทศไทย มีศักยภาพสูงเพียงพอที่จะรับ
รังสีดวงอาทิตย์ ในครัวเรือนทั่วประเทศถึง 99%
โดยตัวเลข
รายวันเฉลี่ยต่อปี
ในช่วง 19-20 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 14.3% ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ในช่วง 18-19 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 50.2% ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ในช่วง 17-18 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 27.9 % ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ในช่วง 16-17 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 07.1% ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ในช่วง 15-16 MJ/ตรม.ต่อวัน เท่ากับ 00.5% ของพื้นที่ทั้งประเทศ
เท่ากับมีค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ 18.2 MJ/ตรม.ต่อวัน เพราะฉะนั้นนับว่า มีโอกาสใช้
พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดปี เกือบทั่วประเทศมีความได้เปรียบ
กว่าพลังงานอื่นๆ
|
|
|
|
แผนที่แสดงพลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์ ค่าเฉลี่ยทั้งปี
สีแดงแสดงความเข้มข้นสูงสุดของรังสี ภาพรวมโลกจะรับค่ารังสีราว 45-47%
|
|
|
ความเข้าใจเบื้องต้น เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์
|
|
|
|
ข้อมูลพื้นฐานของ แสงของรังสี ดวงอาทิตย์ จากตำแหน่งดวงอาทิตย์ในท้องฟ้า เรื่องแรก เป็นตัวกำหนดและคำนวณอธิบายถึง ความสามารถจะนำมาใช้งาน
แสงของรังสีดวงอาทิตย์ ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลก เรียก Extraterrestrial radiation (รังสีจากนอกอวกาศ)
ค่าเฉลี่ย 1367 Watts/ตรม.อาจมีค่าสูงต่ำ ±3%
ขึ้นอยู่กับวงโคจรระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ซึ่งบางช่วงเข้าใกล้กันและโลกมีแกน
(Axis) ที่เอียงขณะหมุนรอบดวงอาทิตย์ จึงเป็นมูลเหตุของฤดูกาล
โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดแปลงแปลงเล็กน้อย เกี่ยวกับเวลามาตรฐาน
ท้องถิ่น เวลาที่แตกต่างกัน เรียกว่า Equation of time(เวลาเส้นศูนย์สูตรโลก)
เรานำมาประกอบการเดินเรือในมหาสมุทร ที่นำทางโดยดวงดาว หรือดวงอาทิตย์
ดังนั้นจึงต้องนำมาเป็นข้อมูล คำนวณตำแหน่ง การให้พลังงานจากดวงอาทิตย์และ
สิ่งที่ต้องทราบเพิ่มเติมอีกประการคือ เวลาขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์เพื่อเป็นข้อมูล
ระยะช่วงวันยาว สั้นแต่ละวันของการให้แสงของรังสีดวงอาทิตย์
ด้วยเวลา ที่ต่างๆกันในแต่ละพื้นที่ และฤดูกาลที่ต่างกัน การหักเหของแสง ในชั้น
บรรยากาศของโลก ซึ่งอาจเบาบางมาก แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญควรนำมาคำนวณด้วย ยกตัวอย่างกรณี นี้เพื่อในเห็นภาพชัดขึ้น เรารดน้ำบนพื้นให้เปียกอาจใช้เวลาหลาย
ชั่วโมงกว่าจะแห้งสนิท ถ้าไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์ แต่หากแสงอ่อนๆส่องมาถึงพื้นนั้นจะแห้งภายในไม่กี่นาที
รังสีของดวงอาทิตย์ เกิดจากเงื่อนไขหลอมละลายผสมกันของอะตอม (Fusion)
ภายในแกนกลาง และพัฒนาการเป็น ความร้อนสู่ชั้นนอกซึ่งเย็นตัวกว่า เกิดเป็น
ชั้นบรรยากาศของรังสี ส่องมาสู่โลก โดยรังสีดังกล่าวมีความร้อนไม่มากไปกว่า 5,800 Kelvin
บนชั้นนอกของดวงอาทิตย์ แต่มีระยะความกว้างของคลื่นมาก 200-50,000 nm
โดย 47% เป็นแสงที่มองเห็น (Visible wavelengths) มีระยะความกว้างของคลื่น
380-780 nm ส่วนคลื่น Infrared ที่กว้างกว่า 780 nm ขึ้นไป มี 46% และคลื่น
Ultraviolet ที่ต่ำกว่า 380 nm มี 7% มองไม่เห็นรวมเป็น Extraterrestrial solar
radiation (รังสีดวงอาทิตย์จากนอกอวกาศ)
บางกรณีมีการสะท้อนกลับไปกลับมา จากชั้นบรรยากาศในบางพื้นที่เป็นเรื่องมี
ความสำคัญเช่นกันโดยเฉพาะบริเวณที่ปกคลุมด้วยหิมะ จะสะท้อนกลับได้ดี
แต่ทั้งหมด แสงของรังสีดวงอาทิตย์ จะฉายแสงลงมาบนพื้นผิวตามแนวตรงเป็นการบวกเพิ่มเติมกันระหว่าง Diffuse radiation และ Normal irradiance เรียกว่าGlobal irradiance
|
|
|
|
|
การฉายแสงของดวงอาทิตย์ เป็นแนวตรงทุกฤดูกาล แต่โลกเอียงทำให้ค่ารังสีรับไม่เท่ากัน
|
|
|
|
ถ้าพื้นผิวที่รับแสงเอียงกระดก ก็มีผลต่อการฉายแสงลงมาบน พื้นผิวตามแนวตรง
จะทำให้ทั้งหมดของการฉายแสง Diffuse radiation ร่วมกับ Direct normal ลงบนพื้นผิวที่เอียงกระดกบวกเพิ่ม กับการสะท้อนกลับจากพื้นด้านล่างเป็นธรรมดาของ
ลักษณะพื้นผิวดังกล่าว
ค่าแสงของรังสีดวงอาทิตย์ ทวีคูณมากขึ้นโดยเฉพาะอยู่ในมุม Zenith (เหนือศีรษะ)
เป็นการทำมุมเหมือนตัว T จากนั้นน้อยลงตามลำดับ ตามแนว เหนือ-ใต้ของแกนโลก ลักษณะโดยตรงของผิวพื้นที่เอียงกระดกของโลก เป็นอุปสรรคต่อการฉายแสงแบบ Direct normal
ช่วงกลางวันที่ท้องฟ้าไม่มีเมฆ รังสีของดวงอาทิตย์กระจายตัวและถูกดูดกลืนในชั้นบรรยากาศประมาณ 25% เท่ากับมีค่า แสงของรังสีดวงอาทิตย์ เฉลี่ยราวๆ
1,000 Watts/ตรม. เรียกว่า Direct normal irradiance (การส่องสว่างโดยตรงแบบปกติ) หรือลำแสงปกติ (Beam irradiance) ถ้าแสงนั้นมีการกระจัดกระจายส่องจากพื้นผิวโลก กลับสู่อวกาศเรียกว่า Diffuse radiation (รังสีที่พร่ากระจาย)
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดของโลกมีความเกี่ยวข้องกับ ดวงอาทิตย์ไม่ใช่เฉพาะเรื่องแสง ที่ได้รับในรูปแบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่กล่าวถึงเท่านั้น ดวงอาทิตย์มีผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก มากมายกว่าเข้าใจได้ในขณะนี้
เชื่อว่าพลังงานสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับฤดูกาลบนโลกอย่างลึกๆมากนานแล้ว ขณะนี้พึงเริ่มการศึกษาว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ จะมีผลกระทบอื่นๆบนโลก ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือไม่
|
|
|
|
บางส่วนของรังสี สะท้อนออกไปในอวกาศ
|
|
|
|
|
Solar car ยาว 3.6 เมตร น้ำหนัก 280 กิโลกรัม ความเร็วเฉลี่ย 110 กม./ชั่วโมง
ใช้แบตเตอรี่แบบ NiMH 100 amp/ชั่วโมง 72 V. ( ปี 2008 ประมาณ 4 ล้านบาทในยุโรป)
|
|
|
อนาคตระบบคมนาคม ด้วยพลังงานสะอาดขึ้นตามลำดับ
|
|
|
|
ประวัติศาสตร์เรื่องคมนาคม ที่ผ่านมาในระยะ 30 ปีนี้ จาก ค.ศ.1970 ในโลกมีรถยนต์ 200 ล้านคัน ตัวเลขปัจจุบัน ค.ศ.2006 ในโลกมีรถยนต์รวมแล้ว มากกว่า
850 ล้านคัน อนาคตในปี ค.ศ. 2030 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
เป็นตลาดใหญ่ด้วยความปรารถนาที่ผู้คนต้องอย่างไม่ยุติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประสบสภาวะเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงขึ้น แต่เราต้องมีพื้นที่สำหรับด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีการคมนาคมเป็นสิ่งเชื่อมโยง
รูปแบบสามารถพบเห็นการปรับเปลี่ยนในขณะนี้ คือ การเปลี่ยนไปใช้ก๊าซ การใช้น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันจากถั่วเหลือง จากข้าวโพด ปาล์ม แต่ปัจจัยใช้จากพืชจะมีผลกระทบ ในการสูญเสียพื้นที่ปลูกพืชอาหารสำหรับมนุษย์ำไปด้วย
ค่าเฉลี่ยในการเดินทาง ต้องลดลงจากการใช้พลังงานครึ่งหนึ่ง ด้วยรถรางหรือรถไฟฟ้าแทนรถยนต์ สถานการณ์ข้างหน้า การปฏิวัติพลังงานรถยนต์ เกิดขึ้นอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ แม้ในวันนี้ มีแต่รถขนาดเล็กราคายังสูง สมรถนะความเร็วและระบบต่างๆเริ่มสมบูรณ์ขึ้น ตามลำดับ |
|
|
|
หนุ่มสาวรุ่นใหม่จะยอมรับรถระบบมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่คล้ายรถตุ๊กๆได้หรือไม่
ความเร็ว 85 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ในระยะทาง 150 กิโลเมตร ซึ่งมีจำหน่าบแล้วเช่นกันในยุโรป
|
|
|
|
ต้นแบบเรือพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้ข้ามฟากแม่น้ำในแถบยุโรป
|
|
|
|
ภาพรวมของการคมนาคม มิใช่เฉพาะในเขตเมืองเท่านั้น ที่มีความสำคัญ อนาคตของการแสวงหาหาอาหารจากทะเล มหาสุมทร จะสิ้นเปลืองค่าเชื้อเพลิงมากมาย
ต่อไปเมื่อทรัพยากรในทะเลน้อย หายากขึ้น การใช้เวลาในเส้นทางคงต้องเพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่ายขึ้นอีกมาก รวมถึงระบบขนส่งทางทะเลที่เชื่อมโยงส่งสินค้ากัน อาจเห็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดต้นทุนแทนน้ำมัน
นอกจากพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ ในศตวรรษนี้แล้ว สิ่งที่ยังมีมากมายจนใช้ไม่มีวันหมดตราบใด ในจักรวาลยังคงอยู่คือ Hydrogen ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าธาตุทั้งมวล วันนี้พบว่าเกิดเป็นไอจากการเปลี่ยนแปลงของก๊าซมีเทน มีมากในน้ำและก๊าซธรรมชาติ
ใน 1 แกลลอน Hydrogen (-253 องศา) มีน้ำหนัก 0.27 Kg. น้ำมันหนัก 2.72 Kg.
หากในปริมาตรน้ำหนัก 1 ปอนด์ (0.45 Kg.) เท่ากัน รถที่ใช้น้ำมันเดินทางได้เพียง
19 กิโลเมตร รถที่ใช้ Liquid Hydrogen เดินทางได้ถึง 53 กิโลเมตร (เป็นตัวเลขในการทดลอง)
สามารถนำมาประดิษฐ์รูปแบบใหม่ เรียกว่า Hydrogen fuel cell ใช้กับรถยนต์ได้
แล้วจะเป็นพลังงานที่น่าสนใจ ในที่สุดจะนำมาใช้กับระบบบ้านอยู่อาศัยได้เช่นกัน
เป็นหนทางเลือกแห่งอนาคต
|
|
|
|
Hydrogen fuel cell Car ค่ายจากญี่ปุ่น
|
|
|
|
|
เครื่องบินอนาคตใช้ Hydrogen fuel cell โดยการค้นคว้าทดลองสำหรับ
เครื่องบิน Airbus เป็นผลสำเร็จแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2005
|
|
|
|
|
สถานีจ่าย Hydrogen fuel cell พัฒนาโดย UK Energy Research Centre
|
|
|
|
การขับเคี่ยวของเทคโนโลยี่การคมนาคม จะรุนแรงขึ้นเพราะเป็นตลาดใหญ่มาก
ยังเป็นเรื่องจำเป็นของประชากรโลกทุกคน ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ใดของโลก ต้องมีการเดินทาง ระบบรถยนต์แบบ 2 ระบบ (Hybrid cars) ดูเหมือน ยอมรับมากขึ้น
มีโครงการจูงใจให้เห็นถึงความ สะดวกโดย สามารถเติมพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้จากบริเวณลานจอดรถทั่วไป ติดตั้งระบบไว้ ใช้เวลาเติมไม่กี่นาทีก็เต็ม
อย่างไรก็ตาม จะขึ้นกับมีผู้มีอำนาจในภาครัฐ มีส่วนกำหนดทิศทางพลังงานด้านคมนาคมด้วย เช่น หากผู้มีอำนาจมีส่วนได้เสียกับอุตสาหกรรมน้ำมันนำเข้าการจะพัฒนาให้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ อาจไม่ได้รับการสนับสนุนเต็มที
ในทางตรงกันข้าม หากผู้มีอำนาจมีส่วนได้เสียกับอุตสาหกรรมรถยนต์ อาจจะได้รับการสนับสนุนรถยนต์ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานใหม่ เพื่อการขยายตัวทางการตลาดในประเทศนั้นๆ
แต่ท้ายที่สุดทางออกที่จะชนะเรื่องพลังงานสำหรับรถยนต์
คงมีแนวโน้มเป็นประเภท รถยนต์ไฟฟ้า เพราะเป็นพลังงานที่มั่นคง ทุกประเทศสามารถผลิตเองได้ ต่างจากก๊าซและน้ำมันที่มีแหล่งขุดเจาะในบางประเทศ
|
|
|
|
|
ลานจอดรถเอนกประสงค์ Googleได้ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์กันแดดกันฝน
เป็นแนวโน้มต่อไปพบเห็นต่อไปได้ ในประเทศที่สนับสนุน เรื่องประหยัดพลังงาน
|
|
|
การพัฒนาการขั้นต่อไปเพื่ออนาคต ให้ง่าย และสะดวกขึ้น
|
|
|
|
รูปแบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เเป็นแผ่นๆ PV module ในวันนี้มีการพัฒนาเป็นแบบ
ม้วนโค้งดัดงอ เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน ขณะนี้สามารถทำเป็นแผ่นฟิลม์บางๆ
เพื่อนำไปติดตั้งกับหลังคา
สินค้าของอนาคตจำนวนมาก เริ่มจะมีระบบ Solar cell เข้ามาเป็น Option โดยเน้นสู่กลุ่มทันสมัย มีจำนวนที่ใช้มากขึ้น เช่น โทรศัพท์มือถือ วิทยุ เครื่ิองปรับอากาศ
พัดลม คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ใช้ในกลางแจ้ง
ปัญหาส่วนใหญ่ของอุปกรณ์หลายชนิด ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตในประเทศจีนพบว่าด้อยคุณภาพ ด้วยเน้นต้นทุนต่ำ ขายตามความนิยม เมื่อนำไปใช้ไม่คุ้มค่าทำให้เสื่อมศรัทธาต่อสินค้าในกลุ่มนี้ไปโดยปริยาย
|
|
|
|
Solar panels แผ่นฟิลม์บาง พัฒนาเพื่อบ้านอยู่อาศัย อาคาร ในอนาคต
|
|
|
|
|
Solar panels พัฒนาการใช้ในกองทัพสหรัฐมาก่อนหน้านี้
|
|
|
|
|
รถยนต์รุ่นเก่าใช้น้ำมันและก๊าซ จะถูกปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า จากแบตเตอรี่
|
|
|
|
|
ชีวิตประจำวันอนาคต ไม่พ้นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ต้องมีติดตัว
|
|
|
|
|
สินค้าใหม่ๆ ออกแบบอยู่บนเงื่อนไข Solar panels
|
|
|
|
|
แม้แต่แฟชั่นมีแนวคิด Solar cell เข้าไปเกี่ยวข้อง
|
|
|
|
ต่อไปข้างหน้าจะพบเป็นลักษณะนำมาทาแทนสีทาบ้าน สามารถทาหลังคา ทาผนัง
โดยไม่ต้องติดตั้งแผง Solar cells แม้แต่อาจพ่นบนตัวถังรถยนต์ เพื่อการเก็บค่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ขณะที่ขับบนท้องถนนไปในตัว ด้วย Nanotechnology
นำสารกึ่งตัวนำผสม ลงในสีเพื่อไม่ให้มีข้อจำกัดในการรับแสงแล้วแปลงพลังงานดังกล่าว เข้าระบบเพื่อการใช้งาน
นอกจากนั้น การที่นักวิทยาศาสตร์ รู้ว่า รังสีของดวงอาทิตย์ที่มากับแสงทำให้ได้พลังงานบางส่วนเท่านั้น ต่อไปจะมีการพัฒนาไปสู่ วิธีการเก็บรังสี อื่นๆ เช่น รังสี
Infrared เพื่อให้ได้
รับค่าของพลังงานเพิ่มขึ้นไปอีก หากเป็นเช่นนั้นทำให้ความคุ้มค่าในเรื่อง Solar cell มากขึ้น โดยมีขนาดแผงรับที่เล็กลง
|
|
|
|
|
อยู่ในระหว่างการพัฒนา เพื่อให้รับค่ารังสี Infrared
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น