งานสัมมนาทางวิชาการ ศูนย์อาเซียนศึกษา สปท.ครั้งที่ 4/45 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 ณ อาคารพฤกษชาติพระทรงชัย สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
พัฒนาการความร่วมมือในการจัดการด้านพลังงานของอาเซียนควรจะเป็นอย่างไร? การที่กลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ค้าพลังงานรายใหญ่ของโลก และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านส่งผลอย่างไร? การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานมีผลกระทบและเปลี่ยนแปลงในภาพรวมอย่างไร? ประเทศไทยควรแก้ไขและรับมือกับปัญหาอย่างไร?งานสัมมนาดังกล่าวได้เชื้อเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานดังนี้
- ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงพลังงาน
- นายวิชัย พรกีรติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต่ำและก๊าซธรรมชาติ ปตท.
- น.อ.ดร.สมัย ใจอินทร์ ร.น. นายทหารฝ่ายเทคนิคอู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ
ข้อคิดในด้านวิกฤตพลังงาน การเชื่อมโยงกับ AEC และทางออกของประเทศไทย ในเบื้องต้น องค์ประกอบที่สำคัญของ AEC กล่าวไว้ประมาณ 3-4 ข้อหลัก
- ตลาดเดียวและฐานผลิตร่วม ต่อไปการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ และการลงทุนจะทำได้ง่ายมากขึ้น การแข่งขันในอาเซียนจะเข้มข้นมากขึ้น การแข่งขันเชิงทรัพยากรมนุษย์จะบ่งชี้ว่าเราจะเป็นผู้นำเศรษฐกิจจริงหรือไม่
- การสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันและอำนาจในการต่อรองเพิ่มขึ้น
- การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
- เมื่ออาเซียนรวมกันเราจะบูรณาการอาเซียนในบริบทโลกอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร
วิกฤตด้านพลังงาน
- แหล่งพลังงานไม่เพียงพอท่ามกลางการแข่งขันในยุคทุนนิยม
- ภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นเราพึ่งพาประมาณ 70% เราจำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานสำรอง
- ราคาของพลังงานแพงเกินไปหรือไม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วิกฤตรุนแรงมากขึ้น กำลังซื้อของอาเซียนมีน้อย
- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า มีพลังงานแล้วอย่าให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวคือมีได้ แต่ต้องมีมากน้อยเพียงใด
วิกฤตพลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าเราไม่ทำอะไร วันนี้ยังไม่เกิด ถ้าเรามองไปอนาคต เราต้องเตรียมรับมือหรือไม่ เราต้องรู้ตัวเราเองก่อนว่าเรามีอะไรบ้าง เมื่อมองไปถึงความต้องการพลังงานในอนาคต ปี 2030 เราจะพบว่าความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นถึง 1.7 เท่า ถ้าเรายังไม่ทำอะไร ความต้องการใช้พลังงานชนิดต่างๆ ทั้งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ พลังงานหมุนเวียน ในภาพรวมของประเทศ เราเชื่อว่าความต้องการใช้พลังงานจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าภาคการผลิตเติบโตขึ้นมาก สัดส่วนการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นมาก
บริบทที่เราจำเป็นต้องรับมือนั้นมีอะไรบ้าง
- ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- เราสามารถชะลอความต้องการได้ ถ้ามีเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
- การเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้เชื้อเพลิง ใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมัน ใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมัน ใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
ทางเลือกพลังงานที่ต้องเลือก มีปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน
- ความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งต้องมีภาระค่าใช้จ่าย เมื่อราคาเชื้อเพลิงแพง เราจะใช้พลังงานไม่มากนัก จุดสำคัญคือทำอย่างไรให้มีการใช้พลังงานอย่างสมดุล
- ต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเชื่อมโยงของพลังงานกับอาเซียน
- ความสามารถในการซื้อพลังงานของอาเซียนยังต่ำ หากเทียบกับในบริบทโลก
- ภาพรวมของอาเซียน ตัววัดประสิทธิภาพของพลังงานในอาเซียนนั้นดีขึ้น 0.5% ต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมาก หากมองไปในอนาคตยังดีอยู่ แสดงว่าที่ผ่านมาเรายังปรับปรุงได้ไม่เต็มที่ ยังมีโอกาสปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้เยอะ
- ชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้หลักๆ คือน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ อาเซียนมีเชื้อเพลิงเหล่านี้เยอะ แต่ dominate ในบางประเทศ เช่นบรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ความสามารถหลากประเทศในอาเซียน
- บรูไน: มีทรัพยากรด้านพลังงานคือ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเยอะ จำนวนประชากรมีน้อย พื้นที่มีนิดเดียว
- สิงคโปร์: พื้นที่น้อย ทรัพยากรเชื้อเพลิงต่างๆ ไม่มี เพราะซื้ออย่างเดียว
- มาเลเซีย: มีก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน มีรายได้ต่อหัวดีกว่าไทย ถ้าเทียบกับความสามารถในการซื้อ
- ไทย: มีน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ
- อินโดนีเซีย: มีถ่านหินเยอะ มีทรัพยากรเชื้อเพลิงมาก
- ฟิลิปปินส์: ไม่ค่อยมีทรัพยากรธรรมชาตินัก คล้ายกับไทย
- การจัดหาแหล่งพลังงานจากประเทศใน AEC ทำได้สะดวกขึ้น
- การแข่งขันเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
- โอกาสนในการขยายและส่งออกเทคโนโลยีพลังงานทดแทนแลการอนุรักษ์พลังงานเพิ่มสูงขึ้น
- การจัดทำมาตรฐานและโครงการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงาน
source : http://www.siamintelligence.com/energy-crisis-linkages-aec-and-thai-1-4/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น