วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำถามที่พบบ่อย : ราคาน้ำมันในประเทศ

ทำไมราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์

การกำหนดราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ข้าว น้ำมัน ผัก และผลไม้ มักจะตั้งราคาสินค้าโดยอ้างอิงตลาดใหญ่ๆ ที่มีปริมาณการซื้อขายสูง สำหรับราคาน้ำมันในประเทศไทยจะอ้างอิงจากตลาดสิงคโปร์ เพราะเป็นศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันโลกที่อยู่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุด รวมทั้งสิงคโปร์ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานตัวแทนบริษัทน้ำมันรายใหญ่ทั่วโลก กว่า 300 บริษัท และมีปริมาณการซื้อขายสูงเช่นเดียวกับตลาดในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ยากต่อการปั่นราคาโดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันอ้างอิงที่ตลาดสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาที่โรงกลั่นในสิงคโปร์ประกาศ ขึ้นมาเอง แต่เป็นตัวเลขราคาที่ผู้ค้าน้ำมันจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าไปตกลงซื้อขายผ่านตลาดกลางสิงคโปร์ ซึ่งราคาดังกล่าวจะสะท้อนจากอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันในภูมิภาคเอเชีย โดยมี Platts เป็นองค์กรที่รวบรวมข้อมูลการซื้อขายน้ำมันแล้วนำมาประเมิน เพื่อประกาศราคาอ้างอิงของตลาดในแต่ละวัน อย่างไรก็ดี หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไม่ได้อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ จะทำให้เกิดความไม่สมดุลในการผลิตและการจัดหาในประเทศ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ไทยตั้งราคาน้ำมันเองต่ำกว่าราคาที่ตลาดสิงคโปร์ จะทำให้โรงกลั่นในประเทศส่งออกน้ำมันไปขาย เนื่องจากได้ราคาสูงกว่า ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันในประเทศได้ ในทางกลับกัน หากโรงกลั่นตั้งราคาน้ำมันสูงกว่าที่ตลาดสิงคโปร์ บริษัทน้ำมันก็หันไปนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์แทน เพราะมีราคาที่ถูกกว่า ทั้งสองกรณีจะทำให้เกิดการนำเข้าและส่งออกโดยไม่จำเป็น ทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งวิธีการกำหนดราคาโดยการอ้างอิงราคาสิงคโปร์นั้น เป็นวิธีการปฏิบัติสากลที่ใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันทั่วโลก


ราคาน้ำมันหน้าปั๊ม มีที่มาอย่างไร โครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกสำเร็จรูปในประเทศประกอบด้วยอะไรบ้าง

ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปที่สถานีบริการ มีโครงสร้างของราคาประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. ต้นทุนเนื้อน้ำมันที่บริษัทน้ำมันซื้อมาจากโรงกลั่น ที่เรียกว่า “ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น” ซึ่งอ้างอิงกับราคาตลาดสิงคโปร์ ส่วนประกอบนี้ของโครงสร้างราคาน้ำมัน คือ รายได้หลักของโรงกลั่นน้ำมัน
2. เงินภาษีและกองทุนที่รัฐเรียกเก็บจากผู้ค้าน้ำมัน ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน โดยส่วนประกอบนี้ของโครงสร้าง ราคาน้ำมัน ขึ้นอยู่กับแนวนโยบายการบริหารภาษี หรือ นโยบายพลังงานของภาครัฐ
3. ค่าการตลาด ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายใน การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าขนส่งน้ำมันจากโรงกลั่นผ่านคลังน้ำมันไปยัง สถานีบริการ ค่าปรับปรุงคุณภาพ ค่าส่งเสริมการตลาด และค่าผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งส่วนประกอบ ที่เป็นค่าการตลาดนี้ คือ รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายของ ผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน
จะเห็นว่า ราคาน้ำมันส่วนใหญ่มาจากต้นทุน เนื้อน้ำมันมากถึง 50-65% รองลงมาเป็นเงินภาษีและที่จ่ายเข้ากองทุน 30-50% ส่วนที่เหลือเป็นค่าการตลาด ซึ่งคิดเป็น 3-5% เท่านั้น ดังนั้นราคาน้ำมันหน้าป็มในประเทศจะถูกหรือแพงนั้น สาเหตุหลักมาจาก ราคาน้ำมันในตลาดโลกและการเก็บเงินกาษีและกองทุน มากกว่าเรื่องค่าการตลาด




ทำไมเวลาราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาหน้าปั๊มในประเทศถึงปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็ว ในขณะที่เวลาราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ราคาหน้าปั๊มกลับปรับลดลงช้า

เนื่องจากราคาหน้าปั๊มประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบ ได้แก่ ราคาเนื้อน้ำมัน ภาษี และ ค่าการตลาด ซึ่งโดยปกติ ภาษีนั้นจะค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ราคาเนื้อน้ำมันซึ่งอ้างอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์จะมีความผันผวน สูง ดังนั้น หากราคาเนื้อน้ำมันปรับสูงขึ้นโดยไม่การเปลี่ยนราคาหน้าปั๊ม ก็จะส่งผลให้ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันหดลงจนบางครั้งอาจติดลบได้ ดังนั้นผู้ค้าน้ำมันจึงจำเป็นต้องปรับราคาหน้าปั๊มขึ้น เพื่อให้ยังคงมีกำไรบางส่วนอยู่บ้าง
โดย ปกติผู้ค้าน้ำมันจะประวิงเวลาในการปรับราคาหน้าปั๊ม จนกระทั่งค่าการตลาดหดตัวลงไปมาก เนื่องจากผู้ค้าน้ำมันมักถูกผู้บริโภควิจารณ์ในแง่ลบในการปรับขึ้นราคาหน้า ปั๊มในแต่ละครั้ง ดังนั้นจึงจะพบว่า ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำเกือบตลอดเวลา หากติดตามราคาหน้าปั๊มในตลาดโลกอย่างใกล้ชิดทุกวันจะพบว่า ในความเป็นจริงแล้วการที่ผู้ค้าน้ำมันมักถูกวิจารณ์ว่าปรับราคาหน้าปั๊ม เพิ่มขึ้นรวดเร็วนั้น อาจไม่ถูกต้องนัก เพราะปกติผู้ค้าน้ำมันมักจะรอให้ค่าการตลาดลดลงมากๆ ก่อน จึงจะปรับขึ้นราคาหน้าปั๊ม ส่วนช่วงเวลาที่ราคาหน้าปั๊มปรับเพิ่มขึ้นเร็วนั้น น่าจะเป็นช่วงเวลาหลังจากที่ผู้ค้าน้ำมันได้ประวิงเวลาในการปรับขึ้นราคา หน้าปั๊มมาแล้วระยะหนึ่ง ทำให้ค่าการตลาดอยู่ในระดับต่ำมาก จนไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนั้นราคาหน้าปั๊มจึงถูกปรับให้ขยับเพิ่มขึ้นให้ทันกับราคาน้ำมันในตลาด สิงคโปร์ที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งในช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและ รุนแรงนั้น ราคาหน้าปั๊มในช่วงเวลานั้นจะมีการปรับเพิ่มขึ้นบ่อยครั้ง ดังเช่นในปี 2551
ในทางกลับกัน เมื่อราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ปรับตัวลดลง ผู้ค้าน้ำมันมักถูกวิจารณ์ว่า ปรับลดราคาหน้าปั๊มช้า ซึ่งการที่ ผู้ค้าน้ำมันไม่สามารถลดราคาหน้าปั๊มได้ในทันทีนั้น เนื่องจากค่าการตลาดเฉลี่ยโดยรวมของผู้ค้าน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้สืบเนื่องจาก ในช่วงก่อนหน้านั้นที่ราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ได้ปรับตัวสูงขึ้น ผู้ค้าน้ำมันได้มีการชะลอการปรับขึ้นราคาหน้าปั๊ม ทำให้ค่าการตลาดเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ จึงต้องอาศัยเวลาสักระยะหนึ่งให้ค่าการตลาดเฉลี่ยกลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะ สม ผู้ค้าน้ำมันจึงจะลดราคาหน้าปั๊มลง

 

ผู้ค้าน้ำมันในประเทศจะปรับราคาหน้าปั๊ม ดูจากปัจจัยอะไรเป็นสำคัญ

การ ปรับราคาหน้าปั๊มของผู้ค้าน้ำมันจะคำนึงถึง ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก โดยจะดูจากแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันของตลาดและพิจารณาถึงปริมาณอุปทานของ น้ำมันชนิดนั้นด้วย เช่น หากผู้ค้าน้ำมันมีปริมาณน้ำมันดีเซลในคลังของจนเองสูง เนื่องจากความต้องการในตลาดลดลงจากราคาที่แพงขึ้น ผู้ค้าน้ำมันก็อาจสามารถปรับลดราคาหน้าปั๊มได้ เพื่อที่จะระบายน้ำมันดีเซลที่ค้างในคลังของผู้ค้าน้ำมันออกไป ทั้งนี้การปรับเพิ่มหรือปรับลดราคาน้ำมันหน้าปั๊ม ผู้ค้าน้ำมันจะต้องคำนึงถึงค่าการตลาดของตนเองด้วย โดยผู้ค้าน้ำมันต้องการค่าการตลาดที่สูงกว่าต้นทุนการดำเนินธุรกิจของตน เพื่อให้ยังคงทำกำไรได้อยู่


source :  http://topspace.icwdc.com/faqs/index-02-th.php

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น