วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อบรมการผลิตเตาอั้งโล่ประสิทธิภาพสูงให้กับชุมชนเทศบาลตำบลเชียงกลาง




วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2553

วันนี้สำนักงานพลังงานจังหวัดน่านได้จัดกิจกรรมอบรมการผลิตเตาอั้งโล่ประสิทธิภาพสูงให้กับชุมชนเทศบาลตำบลเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการบูรณาการแผนพลังงานเข้าสู่ฐานอาชีพ ของชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการวางแผนพลังงานชุมชน 300 ชุมชน ในปี 2552 ซึ่งสำหรับในปีนี้ทางกระทรวงพลังงานได้ต่อยอดกิจกรรมจากปี 2552 โดยจะเน้นไปทางการบูรณาการเข้ากับมิติต่างๆของชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับแผนพลังงาน ซึ่งมีกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมปลุกและปรับปรุงแผน
กิจกรรมที่ 2 จัดเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ผลการประหยัดพลังงาน
กิจกรรมที่ 3 บูรณาการแผนพลังงานเข้าสู่บทเรียนการสอนในท้องถิ่น
กิจกรรมที่ 4 บูรณาการแผนพลังงานเข้าสู่ฐานอาชีพ

สำหรับกิจกรรมอบรมการผลิตเตาอั้งโล่ประสิทธิภาพสูงเป็นกิจกรรมที่ 4 ซึ่งมีตัวแทนชุมชนจากหมู่บ้านต่างที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 30 คน เริ่มงานตอนเช้าประมาณ 9 โมง โดยนายจารุเกียรติ ปัญญาดี พลังงานจังหวัดน่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน และนายอาณัติ จริยโกมล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเชียงกลางเป็นประธานกล่าวเปิดงาน





















ต่อจากนั้นอาจารย์ธนชัย จาระณะ ซึ่งเป็นผู้เชีร่ยวชาญเรื่องการปั้นเตาและเป็นอาสาสมัครพลังงานชุมชน (อสพน.)ของจังหวัดลำปาง ก็ได้เริ่มสอนวิธีการปั้นเตา ซึ่งใช้เวลาในการสอนทั้งหมด 10 วัน ( 20 – 29 พฤษภาคม)













เนื้อหาการสอน บทที่ 1

ส่วนผสมปั้นเตา

ดิน 1 ส่วนผสมแกลบดำ 2 ส่วน


ส่วนผสมปั้นรังผึ้ง

ดิน 1 ส่วน แกลบดำ 2-3 ส่วนนวดให้เข้ากัน



วิธีการปั้นเตา



1. นำแบบชุปน้ำโรยขี้เถ้าแล้วนำมาตั้งบนแผ่นบล็อก




2. นำดินที่นวด แล้วมาใส่ลงในแบบปั้นกดให้แน่น


3. ใช้กำปั้นกดลงตรงกลางแบบแล้วดึงยกขึ้นรูป


4. นำปีกผีเสื้อลงปั่นเพื่อขึ้นรูปด้านในแล้วแต่งด้านบน


5. นำลูกปูนลงกดเพื่อขึ้นรูปหัวเตาแล้วยกออกแล้วแต่งด้านใน



6. แต่งเสร็จยกออกแล้วนำไปเทก่อน โรยขี้เถ้าเล็กน้อย






เนื้อหาการสอน บทที่ 2

ขั้นตอนการเจาะรังผึ้ง

1 นำแผ่นรังผึ้งมาปาดหน้าให้เรียบทุบให้แน่น
2 นำวงรัดมารัดให้พอดี
3 ขีดเส้นผ่านศูนย์กลางสองเส้นติดกัน
4 เจาะรูแรกตรงกลาง
5 เจาะรูที่ 2-3-4-5 ขึ้นข้างบนตามลำดับ
6 หมุนแผ่นที่เจาะ 1-2-3-4-5 เข้าหาตัว และเจาะรูที่ 6-7-8-9 ขึ้นด้านบนเหมือนครั้งแรก
7 หมุนรังผึ้งที่แห้งให้อยู่ในแนวนอน
8 เริ่มเจาะตรงกลางระหว่างแกน จำนวน 8-7-6-5
9 หมุนรังผึ้งด้านที่เจาะเข้าหาตัวแล้วเริ่มเจาะเหมือนครั้งแรกจนครบ 61 รู











เนื้อหาการสอน บทที่ 3

ขั้นตอนการแต่งเตา

1. วัดส่วนสูงโดยยึดส่วนที่ต่ำที่สุดเป็นความสูงของเตา
2. วัดวงกลม แล้วทำการตัดให้กลมตามแบบ
3. ตัดเส้าเตาลงประมาณ ½ เซนติเมตร
4. แต่งดั้งเตาให้พอประมาณ
5. คว้านวงกลมด้านในเตาให้ได้ตามขนาด 17 เซนติเมตร
6. แต่งโค้งด้านในให้กว้างพอประมาณ เพื่อสามารถให้ใส่รังผึ้งได้อย่างสะดวก
7. เจาะช่องลม
8. รีดน้ำ ขัดมัน








เนื้อหาการสอน บทที่ 4

ขั้นตอนการเรียงเตา
1. รองพื้นด้วยแกลบประมาณ 1 คืบ
2. นำเตาที่ตากให้แห้งมาเรียงตามรูป




เนื้อหาการสอน บทที่ 5

ส่วนผสมของการบรรจุเตา

1. ทำการผสม ส่วนผสมฉนวนเพื่อใช้ เป็นฉนวนด้านข้างของเตา
ส่วนผสม ดิน 1 ส่วน : แกลบขาว 5 ส่วน ผสมให้เข้ากัน
2. ส่วนผสมฉนวนรังผึ้ง
ส่วนผสม ดินหมัก 1 ส่วน : แกลบดำละเอียด 5 ผสมให้เข้ากัน
3. ฉนวนยารอยแตกของเตา
ส่วนผสม ดินหมัก 1 ส่วน : สีฝุ่น 1 ส่วน
4. ส่วนผสมของ ปูนซีเมนต์สำหรับปิดรอบขอบเตา
ส่วนผสม ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน : ทราย 1 ส่วน

ขั้นตอนการบรรจุเตา

1. อัดฉนวนรอบๆเตา โดยใช้ส่วนผสมที่เตรียมเอาไว้แล้วมาทำการอัด ดิน 1 ส่วน : แกลบขาว 5 ส่วน
2. อัดทรายหยาบ
3. เจาะช่องลม
4. อัดทรายรอบๆ บริเวณที่ตัดช่องลมออก
5. อัดปูนซีเมนต์
6. ใส่รังผึ้ง
7. อัดฉนวนรังผึ้ง
8. ทาสี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น