เดลินิวส์ วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานให้สัมภาษณ์อย่างอาจหาญเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ปรับราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนให้เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง โดยจะเสนอให้ปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม เป็นต้นไป ในอัตราประมาณ 5-6 บาท/ก.ก. (ประมาณ 75-90 บาท/ถังขนาด 15 ก.ก.) ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้นจาก 18.13 บาท/ก.ก. มาเป็น 23-24 บาท/ก.ก แต่จะค่อยๆปรับหรือปรับครั้งเดียว และจะมีมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้ก๊าซอย่างไร คงต้องไปพิจารณากันอีกทีในที่ประชุมกพช.
ข่าวนี้ทำให้เรื่องการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG กลับมาอยู่ในความสนใจของสื่อและผู้สนใจติดตามข่าวคราวในวงการพลังงานอีกครั้ง เพราะการตรึงราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนไว้ในราคาปัจจุบัน (ซึ่งมีการต่ออายุกันมาอย่างยาวนานหลายรัฐบาล) โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเข้าไปชดเชยราคาให้กับก๊าซหุงต้มที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นมหากาพย์เกี่ยวกับการบิดเบือนโครงสร้างราคาพลังงานที่มีการพูดถึงกันมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนกล้าแตะต้องโครงสร้างนี้ จนทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากประเทศผู้ส่งออกก๊าซ LPG กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าก๊าซ LPG อย่างในปัจจุบัน และรัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จะต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินนโยบายอย่างไรต่อไปกับปัญหาโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มที่คาราคาซังอยู่ในขณะนี้
ก่อนอื่นผมขอเรียนว่า ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีที่มาจาก 3 แหล่ง คือ
1. จากโรงแยกก๊าซ (Gas Separation Plant – GSP) ที่นำเอาก๊าซธรรมชาติ (NG) ในอ่าวไทยมาเข้าโรงแยกก๊าซ แล้วแยกก๊าซ (C2+) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและก๊าซหุงต้มออกมา โดยมีสัดส่วน 51.7% ของปริมาณก๊าซทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ
2. จากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งนำน้ำมันดิบ (ทั้งจากในประเทศและจากการนำเข้าจากต่างประเทศ) มากลั่นแล้วได้เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันเบนซิน ดีเซล และก๊าซหุงต้มด้วย โดยมีสัดส่วน 33.9%
3. จากการนำเข้าจากต่างประเทศในรูปของก๊าซโพรเพนและก๊าซบิวเทนและนำมาผสมกันเป็นก๊าซหุงต้ม โดยมีสัดส่วน 14.4%
ในแง่ของต้นทุน ก๊าซหุงต้มที่ได้จากโรงแยกก๊าซมีต้นทุนต่ำที่สุด รองลงมาคือก๊าซหุงต้มจากโรงกลั่นน้ำมัน และก๊าซหุงต้มที่นำเข้ามีต้นทุนสูงที่สุด โดยปัจจุบันราคานำเข้าผันผวนอยู่ระหว่าง 1,210 – 593 $/ตัน (38.60 – 18.92 บาท/ก.ก.) ในขณะที่ราคขายส่งที่รัฐบาลตั้งเอาไว้ที่หน้าโรงแยกก๊าซอยู่ที่ 332 เหรียญสหรัฐ/ตัน (10.59 บาท/ก.ก.) เท่านั้น
นั่นหมายความว่ารัฐบาลต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาชดเชยการนำเข้าก๊าซหุงต้มถึงตันละ 878 - 261 เหรียญสหรัฐ/ตัน (28-8.33 บาท/ก.ก.) คิดเป็นเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งเงินจำนวนนี้ก็ไม่ได้มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือภาษีอากรของคนทั้งประเทศแต่อย่างใด แต่เป็นเงินที่รัฐบาลเก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันทุกคน โดยเฉพาะผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล ซึ่งไม่ใช่ผู้มีรายได้สูงทั้งหมด แล้วเอาไปชดเชยให้กับผู้ใช้ก๊าซหุงต้ม ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้มีรายได้น้อยทั้งหมด ซึ่งถือเป็นความไม่ยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลเก็บเงินจากผู้ใช้พลังงานชนิดหนึ่งในราคาแพง แล้วเอาไปสนับสนุนผู้ใช้พลังงานอีกชนิดหนึ่งให้ได้ใช้ในราคาถูก ทั้งๆที่ไม่ได้มีข้อสนับสนุนในเรื่องของการกระจายรายได้หรือสร้างความเป็นธรรมในสังคมแต่อย่างใด เพราะผู้ใช้น้ำมันเบนซินและ แก๊สโซฮอล ก็ไม่ได้เป็นผู้มีรายได้สูงทุกคน เช่น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือ เกษตรกรในชนบท หรือแม้กระทั่งคนทำงาน แม่บ้าน ที่ใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างก็ต้องมาแบกรับภาระค่าน้ำมันเบนซินในราคาแพง เพื่อไปอุดหนุนคนใช้รถยนต์ส่วนตัวคันใหญ่ๆ ที่เปลี่ยนมาใช้ LPG หรือคนร่ำรวยที่ใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งๆที่เขามีปัญญาจ่ายในราคาต้นทุนที่แท้จริง
ดังนั้นการที่รมว.พลังงานมีดำริจะปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มให้เป็นราคาเดียวกันในทุกภาคส่วน จากที่ทุกวันนี้มีถึงสามราคา คือ ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม ผมจึงคิดว่าเป็นความคิดที่ถูกต้องแล้วและใคร่เสนอแนะให้รัฐบาลใช้ความกล้าหาญทางการเมืองปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม โดยดำเนินมาตรการดังต่อไปนี้พร้อมๆ กันคือ
1. ปรับราคา LPG หน้าโรงแยกก๊าซจากปัจจุบันที่ใช้ราคาตายตัวที่ 332 เหรียญสหรัฐต่อตัน (ซึ่งอ้างอิงที่มาที่ไปไม่ได้) มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2551 มาจนถึงปัจจุบันโดยเปลี่ยนมาเป็นสูตรราคาอ้างอิงราคาตามแหล่งที่มาของก๊าซ LPG คือ ราคาหน้าโรงแยกก๊าซ 60% และราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมัน 40% และให้ใช้ราคานี้สำหรับตลาดก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง โดยมีการปรับสูตรราคาทุกๆ 1 เดือน
โดยราคาที่จะต้องปรับใหม่ตามสูตร 60/40 นี้ ถ้าจะต้องปรับให้สูงขึ้น (เพราะราคา LPG หน้าโรงกลั่นจะสูงกว่าราคาหน้าโรงแยกก๊าซ) ก็ให้ค่อยๆทยอยปรับขึ้นไตรมาสละ 1 บาท/ก.ก. โดยให้ปรับขึ้นได้สูงสุดไม่เกิน 5 บาท/ก.ก. เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชนมากจนเกินไป
2. แยกตลาดอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีออกไปจากตลาดก๊าซหุงต้มทั่วไปโดยกำหนดให้ใช้ราคานำเข้าที่ปรับขึ้นลงตามราคาในตลาดโลกอย่างแท้จริง และควบคุมการใช้ก๊าซ LPG ในกระบวนการผลิตอย่างเข้มงวด
3. เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มครั้งนี้ โดยเฉพาะแม่บ้านที่ใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนและผู้ขับรถ TAXI ที่ใช้ก๊าซ LPG อยู่ในขณะนี้ รัฐบาลควรกำหนดให้ขายก๊าซหุงต้มขนาดถัง 15 ก.ก. (ราคาเนื้อก๊าซ/ก.ก.) ในราคาต่ำกว่าถัง 48 ก.ก.หรือ 50 ก.ก. เพื่อสนับสนุนผู้ใช้ตามบ้านเรือน และเร่งรีบสนับสนุนรถ TAXI ให้หันมาใช้ก๊าซ NGV มากขึ้น โดยใช้เงินที่ประหยัดได้จากการอุดหนุนการนำเข้าก๊าซ LGP จากต่างประเทศมาใช้ในโครงการเหล่านี้
4. ในกรณีที่รัฐบาลต้องการให้มี LPG ราคาเดียวในท้องตลาดสำหรับทั้งอุตสาหกรรม ครัวเรือนและขนส่ง ให้นำต้นทุน LPG จากทุกแหล่งมาหารเฉลี่ยแล้วตั้งเป็นราคาขายราคาเดียวกัน โดยรัฐบาลอาจให้เงินอุดหนุนกับประชาชนผู้มีรายได้น้อยแบบเดียวกับเบี้ยยังชีพคนชรา หรือการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 50 หน่วย/เดือน ดังที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน
5. รัฐบาลอาจบรรเทาผลกระทบการปรับโครงสร้างราคา LPG ด้วยการลดการเก็บภาษีสรรพสามิตและเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันของก๊าซ LPG เพื่อไม่ให้ราคาพุ่งขึ้นสูงมากเกินไปในระยะแรก
ทั้งหมดนี้ผมแนะนำให้ทำโดยรีบด่วนครับ เพราะสถานการณ์พลังงานในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเป็นขาลง และราคา LPG ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ถ้ารีบปรับโครงสร้างตอนนี้ราคาคงปรับตัวขึ้นไม่มากนัก
แต่ล่าสุดเห็นท่านรมว.พลังงานเปลี่ยนท่าทีแล้วว่า จะให้ตรึงราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนไปจนถึงสิ้นปีตามมติเดิมของครม. ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับผู้ใช้ก๊าซ LPG ที่จะได้ใช้ก๊าซถูกกันต่อไป
แต่ก็ต้องแสดงความเสียใจต่อผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลที่ต้องแสดงบทบาทเป็นผู้เสียสละอุ้มผู้ใช้ก๊าซกันต่อไป !!!.
มนูญ ศิริวรรณ
ข่าวนี้ทำให้เรื่องการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG กลับมาอยู่ในความสนใจของสื่อและผู้สนใจติดตามข่าวคราวในวงการพลังงานอีกครั้ง เพราะการตรึงราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนไว้ในราคาปัจจุบัน (ซึ่งมีการต่ออายุกันมาอย่างยาวนานหลายรัฐบาล) โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเข้าไปชดเชยราคาให้กับก๊าซหุงต้มที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นมหากาพย์เกี่ยวกับการบิดเบือนโครงสร้างราคาพลังงานที่มีการพูดถึงกันมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนกล้าแตะต้องโครงสร้างนี้ จนทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากประเทศผู้ส่งออกก๊าซ LPG กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าก๊าซ LPG อย่างในปัจจุบัน และรัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จะต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินนโยบายอย่างไรต่อไปกับปัญหาโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มที่คาราคาซังอยู่ในขณะนี้
ก่อนอื่นผมขอเรียนว่า ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีที่มาจาก 3 แหล่ง คือ
1. จากโรงแยกก๊าซ (Gas Separation Plant – GSP) ที่นำเอาก๊าซธรรมชาติ (NG) ในอ่าวไทยมาเข้าโรงแยกก๊าซ แล้วแยกก๊าซ (C2+) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและก๊าซหุงต้มออกมา โดยมีสัดส่วน 51.7% ของปริมาณก๊าซทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ
2. จากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งนำน้ำมันดิบ (ทั้งจากในประเทศและจากการนำเข้าจากต่างประเทศ) มากลั่นแล้วได้เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันเบนซิน ดีเซล และก๊าซหุงต้มด้วย โดยมีสัดส่วน 33.9%
3. จากการนำเข้าจากต่างประเทศในรูปของก๊าซโพรเพนและก๊าซบิวเทนและนำมาผสมกันเป็นก๊าซหุงต้ม โดยมีสัดส่วน 14.4%
ในแง่ของต้นทุน ก๊าซหุงต้มที่ได้จากโรงแยกก๊าซมีต้นทุนต่ำที่สุด รองลงมาคือก๊าซหุงต้มจากโรงกลั่นน้ำมัน และก๊าซหุงต้มที่นำเข้ามีต้นทุนสูงที่สุด โดยปัจจุบันราคานำเข้าผันผวนอยู่ระหว่าง 1,210 – 593 $/ตัน (38.60 – 18.92 บาท/ก.ก.) ในขณะที่ราคขายส่งที่รัฐบาลตั้งเอาไว้ที่หน้าโรงแยกก๊าซอยู่ที่ 332 เหรียญสหรัฐ/ตัน (10.59 บาท/ก.ก.) เท่านั้น
นั่นหมายความว่ารัฐบาลต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาชดเชยการนำเข้าก๊าซหุงต้มถึงตันละ 878 - 261 เหรียญสหรัฐ/ตัน (28-8.33 บาท/ก.ก.) คิดเป็นเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งเงินจำนวนนี้ก็ไม่ได้มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือภาษีอากรของคนทั้งประเทศแต่อย่างใด แต่เป็นเงินที่รัฐบาลเก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันทุกคน โดยเฉพาะผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล ซึ่งไม่ใช่ผู้มีรายได้สูงทั้งหมด แล้วเอาไปชดเชยให้กับผู้ใช้ก๊าซหุงต้ม ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้มีรายได้น้อยทั้งหมด ซึ่งถือเป็นความไม่ยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลเก็บเงินจากผู้ใช้พลังงานชนิดหนึ่งในราคาแพง แล้วเอาไปสนับสนุนผู้ใช้พลังงานอีกชนิดหนึ่งให้ได้ใช้ในราคาถูก ทั้งๆที่ไม่ได้มีข้อสนับสนุนในเรื่องของการกระจายรายได้หรือสร้างความเป็นธรรมในสังคมแต่อย่างใด เพราะผู้ใช้น้ำมันเบนซินและ แก๊สโซฮอล ก็ไม่ได้เป็นผู้มีรายได้สูงทุกคน เช่น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือ เกษตรกรในชนบท หรือแม้กระทั่งคนทำงาน แม่บ้าน ที่ใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างก็ต้องมาแบกรับภาระค่าน้ำมันเบนซินในราคาแพง เพื่อไปอุดหนุนคนใช้รถยนต์ส่วนตัวคันใหญ่ๆ ที่เปลี่ยนมาใช้ LPG หรือคนร่ำรวยที่ใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งๆที่เขามีปัญญาจ่ายในราคาต้นทุนที่แท้จริง
ดังนั้นการที่รมว.พลังงานมีดำริจะปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มให้เป็นราคาเดียวกันในทุกภาคส่วน จากที่ทุกวันนี้มีถึงสามราคา คือ ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม ผมจึงคิดว่าเป็นความคิดที่ถูกต้องแล้วและใคร่เสนอแนะให้รัฐบาลใช้ความกล้าหาญทางการเมืองปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม โดยดำเนินมาตรการดังต่อไปนี้พร้อมๆ กันคือ
1. ปรับราคา LPG หน้าโรงแยกก๊าซจากปัจจุบันที่ใช้ราคาตายตัวที่ 332 เหรียญสหรัฐต่อตัน (ซึ่งอ้างอิงที่มาที่ไปไม่ได้) มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2551 มาจนถึงปัจจุบันโดยเปลี่ยนมาเป็นสูตรราคาอ้างอิงราคาตามแหล่งที่มาของก๊าซ LPG คือ ราคาหน้าโรงแยกก๊าซ 60% และราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมัน 40% และให้ใช้ราคานี้สำหรับตลาดก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง โดยมีการปรับสูตรราคาทุกๆ 1 เดือน
โดยราคาที่จะต้องปรับใหม่ตามสูตร 60/40 นี้ ถ้าจะต้องปรับให้สูงขึ้น (เพราะราคา LPG หน้าโรงกลั่นจะสูงกว่าราคาหน้าโรงแยกก๊าซ) ก็ให้ค่อยๆทยอยปรับขึ้นไตรมาสละ 1 บาท/ก.ก. โดยให้ปรับขึ้นได้สูงสุดไม่เกิน 5 บาท/ก.ก. เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชนมากจนเกินไป
2. แยกตลาดอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีออกไปจากตลาดก๊าซหุงต้มทั่วไปโดยกำหนดให้ใช้ราคานำเข้าที่ปรับขึ้นลงตามราคาในตลาดโลกอย่างแท้จริง และควบคุมการใช้ก๊าซ LPG ในกระบวนการผลิตอย่างเข้มงวด
3. เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มครั้งนี้ โดยเฉพาะแม่บ้านที่ใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนและผู้ขับรถ TAXI ที่ใช้ก๊าซ LPG อยู่ในขณะนี้ รัฐบาลควรกำหนดให้ขายก๊าซหุงต้มขนาดถัง 15 ก.ก. (ราคาเนื้อก๊าซ/ก.ก.) ในราคาต่ำกว่าถัง 48 ก.ก.หรือ 50 ก.ก. เพื่อสนับสนุนผู้ใช้ตามบ้านเรือน และเร่งรีบสนับสนุนรถ TAXI ให้หันมาใช้ก๊าซ NGV มากขึ้น โดยใช้เงินที่ประหยัดได้จากการอุดหนุนการนำเข้าก๊าซ LGP จากต่างประเทศมาใช้ในโครงการเหล่านี้
4. ในกรณีที่รัฐบาลต้องการให้มี LPG ราคาเดียวในท้องตลาดสำหรับทั้งอุตสาหกรรม ครัวเรือนและขนส่ง ให้นำต้นทุน LPG จากทุกแหล่งมาหารเฉลี่ยแล้วตั้งเป็นราคาขายราคาเดียวกัน โดยรัฐบาลอาจให้เงินอุดหนุนกับประชาชนผู้มีรายได้น้อยแบบเดียวกับเบี้ยยังชีพคนชรา หรือการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 50 หน่วย/เดือน ดังที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน
5. รัฐบาลอาจบรรเทาผลกระทบการปรับโครงสร้างราคา LPG ด้วยการลดการเก็บภาษีสรรพสามิตและเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันของก๊าซ LPG เพื่อไม่ให้ราคาพุ่งขึ้นสูงมากเกินไปในระยะแรก
ทั้งหมดนี้ผมแนะนำให้ทำโดยรีบด่วนครับ เพราะสถานการณ์พลังงานในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเป็นขาลง และราคา LPG ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ถ้ารีบปรับโครงสร้างตอนนี้ราคาคงปรับตัวขึ้นไม่มากนัก
แต่ล่าสุดเห็นท่านรมว.พลังงานเปลี่ยนท่าทีแล้วว่า จะให้ตรึงราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนไปจนถึงสิ้นปีตามมติเดิมของครม. ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับผู้ใช้ก๊าซ LPG ที่จะได้ใช้ก๊าซถูกกันต่อไป
แต่ก็ต้องแสดงความเสียใจต่อผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลที่ต้องแสดงบทบาทเป็นผู้เสียสละอุ้มผู้ใช้ก๊าซกันต่อไป !!!.
มนูญ ศิริวรรณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น