ในภาวะที่ราคาแก๊สหุงต้มกำลังขยับราคาขึ้น ส่งผลให้พ่อบ้านแม่บ้านได้รับผลรับกระทบ และต้องปรับตัวไปตามๆกัน ไม่ว่าจะเป็นการประหยัด และลดการใช้ในปริมาณที่น้อยลง หรือการหาพลังงานขึ้นมาทดแทน อย่างแก๊ซชีวภาพที่ได้จากมูลหมู มูลวัว ที่มีการนำมาใช้แล้วอย่างแพร่หลายและก็มีประสิทธิภาพ
|
|
นศ.มทร.ธัญบุรีและอาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าของผลงาน |
|
|
นักศึกษาจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สร้างชุดเก็บแก๊สชีวภาพจากโคลนขึ้น เพื่อศึกษาพัฒนา และจะนำไปใช้ได้จริงในอนาคต ซึ่งเจ้าของผลงาน ได้แก่ นายพงศ์วรรธน์ ประเสริฐไพบูลย์, นายชัยวัฒน์ ภิรมย์กล่ำ และนายธีรพงษ์ สันป่าแก้ว โดยมีอาจารย์ชัยรัตน์ หงส์ทอง เป็นที่ปรึกษา
|
|
ย่ำโคลนให้ก๊าซชีวภาพเข้าสู่ลูกบอล |
|
|
|
|
เก็บก๊าซชีวภาพจนเต็มลูกบอลแล้ว |
|
|
เจ้าของผลงานเล่าถึงวิธีการกักเก็บก๊าซชีวภาพจากโคลนว่า ใช้ผู้ปฏิบัติงานสองคนลงไปย่ำ (การกระตุ้น)ให้แก๊สที่ทับถมอยู่ในโคลนด้านล่างลอยตัวขึ้นมาสู่ชุดเก็บที่อยู่ด้านบน และปล่อยให้แก๊สผ่านเข้าลูกบอลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 นิ้ว แล้วนำไปทดลองขั้นต้นกับหัวเตาก๊าซชีวภาพสามารถจุดไฟได้ หลังจากนั้นนำไปวัดค่าโดยเครื่องมือวัดก๊าซชีวภาพแบบพกพารุ่น GFM 416
|
"ผลปรากฏว่ามีค่าก๊าซชีวภาพประมาณร้อยละ 20.8 และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณร้อยละ 0.8 ส่วนที่เหลือเป็นก๊าซชนิดอื่น ๆ เช่น ออกซิเจน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจน และไอน้ำใช้เวลาเพียง 11.16 นาทีในการลงไปเก็บแก๊สชีวภาพก็สามารถนำไปเปิดใช้งาน ได้เฉลี่ย 6.01 นาที โดยการใช้งานจริงได้ทำการทอดไข่สามารถทอดได้จำนวน 2 ฟองต่อการเก็บก๊าซชีวภาพ 1 ครั้ง"
เจ้าของผลงานยังบอกว่า ตั้งใจที่จะพัฒนาชุดเก็บแก๊สให้มีขนาดพกพา เพื่อความสะดวกเมื่อต้องเดินทางและต้องหุงต้มหาอาหาร เพียงแค่มีชุดเก็บแก๊สชีวภาพแบบพกพา พอเห็นแหล่งน้ำก็สามารถลงไปเก็บแก๊สมาใช้หุงต้มได้อย่างที่ไม่ต้องเสียเงิน อีกทั้งในอนาคตยังจะมีการพัฒนาการเก็บและบรรจุแก๊สชีวภาพจากโคลนสำหรับเก็บไว้ใช้ในครัวเรือนต่อไป |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น