ภาวะโลกร้อนยังเป็นประเด็นที่ทุกคนพูดถึงเสมอ ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและเร่งหาทางรับมือโดยเร็ว เพราะทุกวันนี้ภัยธรรมชาติในรูปแบบของพายุ แผ่นดินไหว ความแห้งแล้งมีให้เห็นกันบ่อยขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้นทุกวัน วันนี้ไลฟ์ ออน แคมปัส ขอร่วมลดโลกร้อนด้วยการพาชมรถโดยสารแนวคิดใหม่ที่ช่วยลดมลภาวะของชาวมจธ. โดยมีระบบการใช้เชื้อเพลิงด้วยไบโอเอธานอล ED95 เป็นคันแรกของประเทศไทย
|
|
รถโดยสารต้นแบบ ใช้เชื้อเพลิงไบโอเอธานอลทดแทนน้ำมันดีเซล |
|
|
หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลอย่าง รศ.ดร.พงพันธ์ แก้วตาทิพย์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยถึงรถโดยสารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมคันนี้ว่า รถคันนี้เป็นรถโดยสาร(ขสมก.)สาธิตที่ใช้ไบโอเอธานอลเป็นเชื้อเพลิง ตามปกติแล้ว รถบริการขนส่งส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันดีเซลซึ่งได้มาจากฟอสซิลใต้ดิน โดยมีการใช้กันมากถึง 60% ของของรถขสมก.ทั้งหมด
|
"ตอนนี้รถยนต์ หรือรถโดยสารส่วนใหญ่ก็ยังใช้น้ำมันกันอยู่ แม้ในขณะนี้จะมีการส่งเสริมให้ใช้แก๊สโซฮอลล์หรือพลังงานทดแทนอื่นๆ ตรงนี้ก็ยังน้อยอยู่ เราก็อยากผลักดันให้มีการใช้ไบโอเอธานอลหรือพลังงานทดแทนอื่นๆให้มากขึ้น ทางเราก็สนใจเชื้อเพลิงที่เป็นไบโอเอธานอล ซึ่งไบโอเอธานอลนี้ เริ่มใช้ครั้งแรกที่สวีเดน ต่อมาก็ขยายไปยังประเทศต่าง เช่น อิตาลี บราซิล จีน ฯลฯ เราก็ได้เก็บข้อมูลตรงนี้มาศึกษา และเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาพลังงานทดแทนตัวนี้ขึ้นมาใช้ในบ้านเรา" หัวหน้าภาคฯ อธิบาย
รศ.ดร.พงพันธ์ เล่าต่อว่า ไบโอเอธานอลทำจากเปลือกสับปะรด กากมันสำปะหลัง กากอ้อย ซึ่งจะไม่เกิดมลภาวะเท่ากับน้ำมันดีเซล เพราะการผลิตน้ำมันดีเซลต้องผ่านกระบวนการตั้งแต่ขุดเจาะ เข้าโรงกลั่น การขนส่งต่างๆ ก็ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในอากาศมากขึ้น ในทางกลับกันไบโอเอธานอลที่ทำจากพืชเหล่านี้ มันช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ทำให้ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้มากถึง 90% ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ ทางมจธ. จึงเล็งเห็นประโยชน์ตรงนี้ที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ จึงมีความสนใจที่จะมาพัฒนาให้รถขนส่งมาใช้เชื้อเพลิงที่เป็นไบโอเอธานอล นอกจากนี้ในส่วนของตัวรถก็ผลิตจากอะลูมิเนียมอัลลอยมีความคงทน และน้ำหนักเบากว่าเหล็กก็จะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง
|
|
ภายในตัวรถ เบาะนั่งสะดวกสบายและสะอาด |
|
|
"เราคาดว่าจะใช้ในรถโดยสารนี้รับ-ส่งนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เรามีการเก็บข้อมูลระยะทางว่ามีทั้งหมด 23 กิโลเมตร เก็บข้อมูลการใช้งาน ข้อมูลปริมาณมลพิษ ฯลฯ ตอนนี้เป็นเพียงต้นแบบ แต่ในอนาคตจะพัฒนาให้ใช้ได้จริง และจะเริ่มส่งเสริมให้เอารถไบโอเอธานอลนี้ไปวิ่งสาย ปอ.21 เริ่มวิ่งจากบางมดไปที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" รศ.ดร.พงพันธ์ เสริม
ไม่เพียงผู้ผลิตเท่านั้นที่อยากผลิตให้มีรถอนุรักษ์พลังงานคันนี้ออกมาวิ่งตามท้องถนนได้จริง แต่ในมุมมองของเด็กๆ ก็อยากใช้บริการรถโดยสารคันนี้ด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากจะช่วยลดมลพิษทางอากาศอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์แล้ว การเดินทางด้วยรถประจำทางขสมก. ยังช่วยประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าน้ำมันได้อีกมากโข
|
สาวน้อยตัวแทนฑูตอนุรักษ์พลังงานอย่าง "แนน" จีราภา ทองอาษา นักศึกษาปีที่ 1 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. ให้ความเห็นที่สอดคล้องว่า รถโดยสายต้นแบบคันนี้เป็นรถที่ช่วยลดการใช้น้ำมัน คือ การใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดมลพิษมากมาย แต่รถคันนี้มีการใช้ไบโอเอธานอลมาเป็นพลังงานทดแทน จึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษมากเท่ารถโดยสารทั่วๆไป แถมฟังก์ชั่นการทำงานทุกอย่างก็ไม่แตกต่างจากรถโดยสารทั่วไป
|
|
"แนน" จีราภา ทองอาษา |
|
|
"มันก็เหมือนรถเติมน้ำมันที่เราใช้กันในกทม.นะคะ แถมสภาพภายในรถดูดีกว่า นั่งสบายกว่า แต่พอมาเป็นรถที่ต้องเติมไบโอเอธานอลก็มีข้อดีมากกว่า เพราะมันช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย ถือเป็นรถรักษ์โลกค่ะ ถ้าเอารถแบบนี้ไปใช้บนท้องถนนจริงๆ หนูคิดว่าดเป็นเรื่องที่ดี อย่างน้อยทุกคนก็จะได้ช่วยกันลดพลังงาน ภายในรถมันสะอาดสะอ้าน คนก็อาจจะหันมาใช้รถเมล์มากกว่า ก็จะลดอัตราการใช้รถส่วนตัวลงไป มลพิษก็ลดลงตามไปด้วย" แนนเล่า
ในฐานะทูตอนุรักษ์พลังงาน มจธ. สาวแนนเชิญชวนว่า อยากให้เพื่อนๆ มาช่วยกันรักษ์โลกของเรา เพราะตอนนี้อย่างที่ทราบกันดีว่าโลกร้อนขึ้น มีอันตรายจากภัยธรรมชาติเกิดขึ้นมากมาย อยากให้ช่วยกันลดสภาวะโลกร้อนอย่างละนิดอย่างละหน่อย แค่เราลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวลง เช่น ทางเดียวกันไปด้วยกัน หรือ ถ้าอยู่ใกล้ๆก็ใช้การเดินเท้าหรือไม่ก็ปั่นจักรยานแทน โดยเฉพาะในภาคของการขนส่งต่างๆควรหันมาใช้ไบโอดีดีเซลหรือไบโอเอธานอลกันให้มากขึ้น
|
|
"น้ำชา" บัญชา เตชะวีรพงศ์ |
|
|
ส่วนหนุ่มทูตอนุรักษ์ฯ อีกคน "น้ำชา" บัญชา เตชะวีรพงศ์ นักศึกษาปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมเครื่้องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. บอกว่า รถไบโอเอธานอลถือเป็นรถใช้พลังงานที่ได้จากธรรมชาติ เพราะไบโอเอธานอลเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตมาจากธรรมชาติจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรถคันนี้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลงได้ เป็นรถที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้มากทีเดียว
"ทางมจธ.เราส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมมาตลอด การที่มีรถคันนี้เป็นคันแรกของไทยก็แสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และโดยส่วนตัวผมก็อยากเห็นรถต้นแบบนี้ไปบริการจริงในกทม. ตอนนี้แม้จะเป็นรถต้นแบบ แต่ในอนาคตผมก็อยากให้มันเป็นในเชิงพาณิชย์เพราะ ถ้ามันได้ไปวิ่งในท้องถนนเยอะๆ ก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้เยอะมากครับ ทำให้โลกของเราดีขึ้นด้วยครับ" น้ำชา เล่า
|
|
อธิการบดี มจธ. และประธานคณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยร่วมทดลองนั่งรถ |
|
|
น้ำชา กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า การลดโลกร้อนมันเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการแยกขยะ หรือการลดใช้ถุงพลาสติก หรือการปิดน้ำ-ไฟเมื่อไม่ใช้แล้ว เป็นต้น ทุกอย่างมันเป็นสิ่งใกล้ตัวทั้งนั้น ทุกคนสามารถทำได้ถ้าเราช่วยกัน และในเรื่องการใช้รถใช้ถนน หากรถประจำทางมีความสะดวกกว่า เราก็อาจจะไม่ต้องใช้รถส่วนตัว เพราะ การใช้รถส่วนตัวจะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซต์ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ยิ่งใช้หลายคันเท่าไหร่ก็ยิ่งมีมลพิษมากขึ้นเท่านั้น ทั้งสิ้นเปลืองน้ำมันและทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย
source : http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000072917 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น