เร็วๆ นี้ มีข่าวฮือฮาว่าประเทศเยอรมันยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหรรมของโลก ประกาศกร้าวตัดสินใจจะทยอยปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังเห็นตัวอย่างโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาที่ประสบปัญหาหลังสึนามิถล่มญี่ปุ่น
เยอรมันเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรม ความต้องการไฟฟ้านั้นมหาศาล มากกว่าไทย 5 เท่า มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 17 โรง ผลิตไฟฟ้าได้เกือบ 20,000 เมกกะวัตต์ หรือคิดเป็น 23% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ตอนนี้ปิดถาวรไปแล้ว 8 โรง อีก 6 โรงที่เพิ่งสร้างใหม่จะปิดอย่างช้าที่สุดปี 2021 และอีก 3 โรงจะปิดอย่างช้าที่สุดในปี 2022
ถามว่ายกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วจะเอาไฟฟ้าจากไหน เพราะพลังงานฟอสซิล หลักๆ คือ ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินนั้นสร้างมลภาวะเยอะ ผิดกับเป้าหมายสูงลิบของเยอรมันในการลดก๊าซเรือนกระจก แถมเป็นแหล่งพลังงานที่กำลังจะหมดไป
คำตอบของ Dr. Georg Maue ตัวแทนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน ที่มาร่วมงานเสวนาเรื่องพลังงานหมุนเวียนในเมืองไทย เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.54* ระบุว่า เยอรมันกำลังมีนโยบายเบนเข็มทิศไปสู่พลังงานหมุนเวียนอย่างมโหฬาร แต่ระหว่างที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปิดไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซเพิ่มขึ้นอีก 17 โรง และจะเริ่มจ่ายไฟในปี 2013 อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลพวกนี้น่าจะเป็นล็อตสุดท้าย เพราะในระยะถัดไปประเทศนี้มีเป้าหมายจะใช้พลังงานหมุนเวียนเกือบทั้งหมดภายในปี 2050
การตั้งเป้าหมายในปี 2050 เป็นผลมาจากการเยอรมันตั้งใจจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด มากกว่าที่ตกลงไว้ในพิธีสารเกียวโต ที่น่าสนใจคือ ประเทศนี้ทำการศึกษาความเป็นไปได้อย่างหนัก ไม่ใช่พูดลอยๆ เป็นคำสวยๆ โดยมี 2 กระทรวงหลักที่รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบายพลังงาน นั่นคือ กระทรวงด้านสิ่งแวดล้อม กับ กระทรวงด้านเศรษฐกิจ หลังมหันตภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา รัฐบาลเยอรมันกดดันให้คณะทำงานเร่งการศึกษาให้เสร็จภายใน 1 ปี
ทางออกสำคัญที่สรุปได้ คือ จะมีการเน้นไปที่ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า (Demand-Side Management/ DSM) , พลังงานหมุนเวียน, การสร้างระบบโครงข่ายสายส่ง (Grid) ที่ทั่วถึงและ “ฉลาด”
ทั้งนี้ สัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของเยอรมันในปี 2010 ประกอบด้วย ถ่านหิน 45% นิวเคลียร์ 23% พลังงานหมุนเวียน 17% ก๊าซธรรมชาติ 14% ปิโตรเลียม 1% ขณะที่เป้าหมายในปี 2050 พลังงานหมุนเวียนจะมีสัดส่วนถึง 83% ส่วนของไทยนั้นปัจจุบันใช้ก๊าซเป็นหลักเกือบ 70% ขณะที่แผนพีดีพี 2010 ของไทย (วางแผนล่วงหน้า 20 ปี) จะลดการใช้แก๊สให้เหลือ 40% โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้นิวเคลียร์ราว 5 โรง สำหรับพลังงานหมุนเวียนนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะอยู่ในระดับเล็กน้อยมาก
“เราต้องดูว่าหากมีพลังงานหมุนเวียนในแผนมากๆ จะส่งผลทางเศรษฐกิจอย่างไร ความยั่งยืนเป็นอย่างไร เราต้องการให้เศรษฐกิจโตด้วย แต่โดยไม่ทำลายตัวเราเองและอนาคตของเรา... เยอรมนีเป็นประเทศอุตสาหกรรมจึงต้องแสดงความรับผิดชอบในการลดการปล่อย คิดว่าจะได้น้อยกว่าที่ลงนามในพิธีสารเกียวโตเสียอีก” Dr.Maue กล่าว
Dr.Maue บอกว่าพลังงานหมุนเวียนจะเป็นไปได้ในแผนพลังงาน ก็ต้องต้องมีนโยบายเรื่องสภาพภูมิอากาศ (climate policy) ซึ่งเยอรมันตั้งเป้าหมายสูง หวังสูง ว่าจะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2050 ให้ได้ 95% เทียบกับปี 1990 ส่วนขณะนี้ลดไปได้ 1 ใน 4 แล้ว
ไม่ใช่หวังดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว (โดยไม่ทำกำไร) เยอรมันยังต้องการเป็น “ผู้นำทางการตลาด” ในเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนด้วย ซึ่งกำลังคืบหน้าไปด้วยดีเพราะตลาดนี้ยังมีผู้เล่นน้อยราย นอกจากนี้การใช้พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าลม, แดด ฯ ซึ่งมันยังมีศักยภาพในลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอซซิลได้มาก สามารถประหยัดได้ 22,000 ล้านยูโร ขณะที่จีดีพีจะยังคงเพิ่มขึ้นตามปกติ
“การลงทุนใหม่เกี่ยวกับพลังงานหมนุเวียนในปีที่แล้ว ทำให้เกิดสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเพิ่ม 17% มีเงินลงทุน 27,000 ล้านยูโร มีการจ้างงานเพิ่ม 370,000 ตำแหน่ง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 120 ล้านตัน”
หากสำรวจตลาด Green Technology เยอรมันมีส่วนแบ่งการตลาดโลกถึง 1,000 พันล้านยูโรในปี 2005 และคาดว่าภายในปี 2020 อาจมีส่วนแบ่งตลาดได้ถึง 2,200 พันล้านยูโร
“นี่คือแรงจูงใจสำคัญให้เกิดยุทธศาสตร์พลังงานแนวใหม่อย่างที่เป็นอยู่” Dr.Maue ว่า
ตัวแทนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมเยอรมันสรุปความสำเร็จของตนว่า แผนพลังงานเช่นนี้เป็นไปได้ เพราะการศึกษาที่ชัดเจน โดยดูว่าปี 2050 เราต้องการอะไร เราต้องการพลังงานอะไรในปีนั้น และจะไปถึงได้อย่างไร จะใช้มาตรการอะไร และประเมินความเป็นไปได้ มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่า เราจะไปไหน อย่างไร เป้าหมายคืออะไร ทุกฝ่ายต้องมีส่วนผลักดันและปฏิบัติจริง อีกส่วนหนึ่งคือยังต้องมีความพร้อมในการสนับสนุนเรื่องการเงินด้วย
สิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการนี้คือการ มีรัฐมนตรีทั้งสองกระทรวงนั่งด้วยกัน โดยแต่ละคนก็มีข้อมูลทางเทคโนโลยีที่แน่นปึก ทั้งคู่มี “clear view” และได้รับความร่วมมือจากภาคีเยอะ โดยเฉพาะภาคประชาสังคม
เขายังอวดว่า เป้าหมายพลังงานหมุนเวียน ในภาคพลังงานโดยรวมนั้นคาดหมายว่าปีสุดท้ายของแผน ต้องมีพลังงานหมุนเวียน 60% เฉพาะส่วนของการผลิตไฟฟ้าต้องเป็นพลังงานหมุนเวียน 80%
เป้าหมายด้านประสิทธิภาพพลังงาน ตั้งใจให้ลดพลังงานต้นน้ำถึง 50% ภายในปี 2050 ขณะที่(ย้ำอีกที)เศรษฐกิจก็ต้องเติบโตด้วย ดังนั้น จึงต้องหามาตรการให้ลดใช้พลังงานถึงครึ่งหนึ่ง เช่น การสร้างความร้อนในอาคารนั้นต้องเพิ่มประสิทธิภาพเรื่องนี้ 1-2% โดยการปรับรื้อโครงสร้างเก่า, ปรับปรุงโครงสร้างสายส่ง และอีกมากมายกว่าร้อยมาตรการ ซึ่งกำหนดให้มีการตรวจสอบมาตรการต่างๆ ทุก 3 ปี
ฟังแล้วอย่าเพิ่งอิจฉาหรือทำหน้าไม่เชื่อ ในตอนหน้าเราจะมาลงลึกในแผนพลังงานของเยอรมัน ทั้งเรื่องพลังงานหมุนเวียน โครงข่ายสายส่งอัจฉริยะ และมาตรการต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้เพื่อลดการใช้ไฟ
--------------------------------------------------
*การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ทางออกพลังงานยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ : มุมมองจากเยอรมันนีและไทย"จัดเมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2554 เวลา 8.00 – 16.30 น.ณ ห้องประชุมฟอร์จูน 1 ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียวฟอร์จูนโดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และโครงการวิจัยการวิเคราะห์ทางเลือกของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฯ โดยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
หมายเหตุ เรียบเรียงจากการบรรยายของ Dr. Georg Maue, Federal Ministry for the Environment, Nature Conservation, and Nuclear Safety, Germany
source : http://www.prachatai.com/journal/2011/06/35421
ถามว่ายกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วจะเอาไฟฟ้าจากไหน เพราะพลังงานฟอสซิล หลักๆ คือ ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินนั้นสร้างมลภาวะเยอะ ผิดกับเป้าหมายสูงลิบของเยอรมันในการลดก๊าซเรือนกระจก แถมเป็นแหล่งพลังงานที่กำลังจะหมดไป
คำตอบของ Dr. Georg Maue ตัวแทนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน ที่มาร่วมงานเสวนาเรื่องพลังงานหมุนเวียนในเมืองไทย เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.54* ระบุว่า เยอรมันกำลังมีนโยบายเบนเข็มทิศไปสู่พลังงานหมุนเวียนอย่างมโหฬาร แต่ระหว่างที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปิดไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซเพิ่มขึ้นอีก 17 โรง และจะเริ่มจ่ายไฟในปี 2013 อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลพวกนี้น่าจะเป็นล็อตสุดท้าย เพราะในระยะถัดไปประเทศนี้มีเป้าหมายจะใช้พลังงานหมุนเวียนเกือบทั้งหมดภายในปี 2050
การตั้งเป้าหมายในปี 2050 เป็นผลมาจากการเยอรมันตั้งใจจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด มากกว่าที่ตกลงไว้ในพิธีสารเกียวโต ที่น่าสนใจคือ ประเทศนี้ทำการศึกษาความเป็นไปได้อย่างหนัก ไม่ใช่พูดลอยๆ เป็นคำสวยๆ โดยมี 2 กระทรวงหลักที่รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบายพลังงาน นั่นคือ กระทรวงด้านสิ่งแวดล้อม กับ กระทรวงด้านเศรษฐกิจ หลังมหันตภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา รัฐบาลเยอรมันกดดันให้คณะทำงานเร่งการศึกษาให้เสร็จภายใน 1 ปี
ทางออกสำคัญที่สรุปได้ คือ จะมีการเน้นไปที่ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า (Demand-Side Management/ DSM) , พลังงานหมุนเวียน, การสร้างระบบโครงข่ายสายส่ง (Grid) ที่ทั่วถึงและ “ฉลาด”
แผนภาพเปรียบเทียบสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ปี 2010 กับเป้าหมายในปี 2050
Dr. Maue บอกว่าสิ่งที่ทำให้การตัดสินใจระดับนโยบายเป็นไปได้นั้น นอกจากจะเป็นกระแส “ไม่เอานิวเคลียร์” ภายในประเทศแล้ว ยังเป็นเพราะการศึกษาวิจัย ซึ่งได้มีการการวางแผนยุทธศาสตร์นโยบายด้านการผลิตไฟฟ้าของเยอรมัน ซึ่งเพิ่งผ่านรัฐสภาไปเมื่อเร็วๆ นี้ ภายในแผนดังกล่าวดู 3 ปัจจัยหลักคือ ประชากรโลกเพิ่มขึ้น จนปี 2050 จะมี 9 พันล้าน, ความต้องการใช้พลังงานก็มากขึ้นโดยเฉพาะพลังงานฟอสซิล, ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งทำให้ต้องหันไปสู่พลังงานหมุนเวียนทั้งนี้ สัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของเยอรมันในปี 2010 ประกอบด้วย ถ่านหิน 45% นิวเคลียร์ 23% พลังงานหมุนเวียน 17% ก๊าซธรรมชาติ 14% ปิโตรเลียม 1% ขณะที่เป้าหมายในปี 2050 พลังงานหมุนเวียนจะมีสัดส่วนถึง 83% ส่วนของไทยนั้นปัจจุบันใช้ก๊าซเป็นหลักเกือบ 70% ขณะที่แผนพีดีพี 2010 ของไทย (วางแผนล่วงหน้า 20 ปี) จะลดการใช้แก๊สให้เหลือ 40% โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้นิวเคลียร์ราว 5 โรง สำหรับพลังงานหมุนเวียนนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะอยู่ในระดับเล็กน้อยมาก
“เราต้องดูว่าหากมีพลังงานหมุนเวียนในแผนมากๆ จะส่งผลทางเศรษฐกิจอย่างไร ความยั่งยืนเป็นอย่างไร เราต้องการให้เศรษฐกิจโตด้วย แต่โดยไม่ทำลายตัวเราเองและอนาคตของเรา... เยอรมนีเป็นประเทศอุตสาหกรรมจึงต้องแสดงความรับผิดชอบในการลดการปล่อย คิดว่าจะได้น้อยกว่าที่ลงนามในพิธีสารเกียวโตเสียอีก” Dr.Maue กล่าว
สัดส่วนพลังงานหมุนเวียนแบบต่างๆ เทียบปี 2010 กับเป้าหมายในปี 2050
Dr.Maue บอกว่าพลังงานหมุนเวียนจะเป็นไปได้ในแผนพลังงาน ก็ต้องต้องมีนโยบายเรื่องสภาพภูมิอากาศ (climate policy) ซึ่งเยอรมันตั้งเป้าหมายสูง หวังสูง ว่าจะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2050 ให้ได้ 95% เทียบกับปี 1990 ส่วนขณะนี้ลดไปได้ 1 ใน 4 แล้ว
ไม่ใช่หวังดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว (โดยไม่ทำกำไร) เยอรมันยังต้องการเป็น “ผู้นำทางการตลาด” ในเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนด้วย ซึ่งกำลังคืบหน้าไปด้วยดีเพราะตลาดนี้ยังมีผู้เล่นน้อยราย นอกจากนี้การใช้พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าลม, แดด ฯ ซึ่งมันยังมีศักยภาพในลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอซซิลได้มาก สามารถประหยัดได้ 22,000 ล้านยูโร ขณะที่จีดีพีจะยังคงเพิ่มขึ้นตามปกติ
“การลงทุนใหม่เกี่ยวกับพลังงานหมนุเวียนในปีที่แล้ว ทำให้เกิดสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเพิ่ม 17% มีเงินลงทุน 27,000 ล้านยูโร มีการจ้างงานเพิ่ม 370,000 ตำแหน่ง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 120 ล้านตัน”
สัดส่วนตลาดเทคโนโลยีสีเขียวของเยอรมัน
หากสำรวจตลาด Green Technology เยอรมันมีส่วนแบ่งการตลาดโลกถึง 1,000 พันล้านยูโรในปี 2005 และคาดว่าภายในปี 2020 อาจมีส่วนแบ่งตลาดได้ถึง 2,200 พันล้านยูโร
“นี่คือแรงจูงใจสำคัญให้เกิดยุทธศาสตร์พลังงานแนวใหม่อย่างที่เป็นอยู่” Dr.Maue ว่า
ตัวแทนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมเยอรมันสรุปความสำเร็จของตนว่า แผนพลังงานเช่นนี้เป็นไปได้ เพราะการศึกษาที่ชัดเจน โดยดูว่าปี 2050 เราต้องการอะไร เราต้องการพลังงานอะไรในปีนั้น และจะไปถึงได้อย่างไร จะใช้มาตรการอะไร และประเมินความเป็นไปได้ มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่า เราจะไปไหน อย่างไร เป้าหมายคืออะไร ทุกฝ่ายต้องมีส่วนผลักดันและปฏิบัติจริง อีกส่วนหนึ่งคือยังต้องมีความพร้อมในการสนับสนุนเรื่องการเงินด้วย
สิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการนี้คือการ มีรัฐมนตรีทั้งสองกระทรวงนั่งด้วยกัน โดยแต่ละคนก็มีข้อมูลทางเทคโนโลยีที่แน่นปึก ทั้งคู่มี “clear view” และได้รับความร่วมมือจากภาคีเยอะ โดยเฉพาะภาคประชาสังคม
เขายังอวดว่า เป้าหมายพลังงานหมุนเวียน ในภาคพลังงานโดยรวมนั้นคาดหมายว่าปีสุดท้ายของแผน ต้องมีพลังงานหมุนเวียน 60% เฉพาะส่วนของการผลิตไฟฟ้าต้องเป็นพลังงานหมุนเวียน 80%
เป้าหมายด้านประสิทธิภาพพลังงาน ตั้งใจให้ลดพลังงานต้นน้ำถึง 50% ภายในปี 2050 ขณะที่(ย้ำอีกที)เศรษฐกิจก็ต้องเติบโตด้วย ดังนั้น จึงต้องหามาตรการให้ลดใช้พลังงานถึงครึ่งหนึ่ง เช่น การสร้างความร้อนในอาคารนั้นต้องเพิ่มประสิทธิภาพเรื่องนี้ 1-2% โดยการปรับรื้อโครงสร้างเก่า, ปรับปรุงโครงสร้างสายส่ง และอีกมากมายกว่าร้อยมาตรการ ซึ่งกำหนดให้มีการตรวจสอบมาตรการต่างๆ ทุก 3 ปี
ฟังแล้วอย่าเพิ่งอิจฉาหรือทำหน้าไม่เชื่อ ในตอนหน้าเราจะมาลงลึกในแผนพลังงานของเยอรมัน ทั้งเรื่องพลังงานหมุนเวียน โครงข่ายสายส่งอัจฉริยะ และมาตรการต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้เพื่อลดการใช้ไฟ
--------------------------------------------------
*การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ทางออกพลังงานยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ : มุมมองจากเยอรมันนีและไทย"จัดเมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2554 เวลา 8.00 – 16.30 น.ณ ห้องประชุมฟอร์จูน 1 ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียวฟอร์จูนโดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และโครงการวิจัยการวิเคราะห์ทางเลือกของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฯ โดยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
หมายเหตุ เรียบเรียงจากการบรรยายของ Dr. Georg Maue, Federal Ministry for the Environment, Nature Conservation, and Nuclear Safety, Germany
source : http://www.prachatai.com/journal/2011/06/35421
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น