14 ธ.ค. 2555 เวลา 10:53:26 น.
เพื่อตั้งรับและรุกตามทิศทางพลังงานของโลก กระทรวงพลังงานร่วมกับทบวงพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA (International Energy Agency) จัดงานสัมมนาผลการศึกษา "แนวโน้มพลังงานโลกในอนาคต ฉบับปี 2555 (World Energy Outlook 2012 Launch)" โดย นายแฟตตี้ บิวโร (Dr.Fatih Birol) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ IEA ได้กล่าวถึงภาพพลังงานของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปเพราะว่า
การ "ฟื้นคืน" ของการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะการชะลอตัวการพัฒนาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาค้นพบแหล่ง "เชลก๊าซ" ส่งผลในช่วงปี 2563 นี้ สหรัฐจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติ มาเป็นผู้ส่งออกก๊าซแทน จนสามารถพึ่งพาพลังงานในประเทศได้เองในปี 2578
นอกจากนี้ทั่วโลกจะให้ความสนใจด้านพลังงานมายังภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศที่มีความต้องการใช้พลังงานสูง อย่างเช่น ประเทศจีน อินเดีย และในอาเซียน โดยเฉพาะในอาเซียนคาดว่าความต้องการใช้พลังงานจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 80
เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 35 ในช่วงระหว่างปี 2553-2557 ฉะนั้นเท่ากับว่าในอีก 25 ปีข้างหน้า ประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะมีบทบาทมากขึ้นในตลาดพลังงานโลก
"ปัจจัยหนุนมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ความจำเป็นให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการนำเข้าน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้นสูงถึง 70% ของการบริโภคในปี 2578 จากเดิมเติบโตที่ 40% ของการบริโภคในปี 2554 สวนทางกับการส่งออกก๊าซธรรมชาติที่อาเซียนได้เปลี่ยนจากผู้ส่งออกมาเป็นผู้นำเข้ามากขึ้น" นายแฟตตี้กล่าว
จากทิศทางดังกล่าวจึงชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ทั้งสหรัฐและประเทศตะวันออกกลางจะให้ความสนใจมายังประเทศอาเซียนมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2578 การผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางร้อยละ 90 จะถูกส่งตรงมายังประเทศในแถบเอเชียมากขึ้น จากเดิมที่เคยส่งออกอยู่ที่เพียงร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตรวม
และเมื่อพิจารณาจากความต้องการใช้น้ำมันในอาเซียน จีน อินเดีย และประเทศยุโรปที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยิ่งต้องจับตาท่าทีของประเทศสหรัฐว่า จะบริหารจัดการแหล่งเชลก๊าซอย่างไร
นายแฟตตี้ยังฉายภาพพลังงานของโลกต่อว่า ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ในปี 2578 จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ความต้องการใช้ถ่านหินของโลกจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 21 และจะเพิ่มจากความต้องการใช้ในภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนใหญ่ แต่การเปลี่ยนแปลงของราคาถ่านหินเมื่อเทียบกับราคาก๊าซธรรมชาติยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เพราะคาดว่าในปี 2568-2578 นี้ ประเทศอินโดนีเซียจะมีกำลังการผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้นจนสามารถเทียบเท่ากับปริมาณการผลิตของประเทศออสเตรเลียได้ ส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียมีกำลังผลิตถ่านหินคิดเป็น 1 ใน 4 ของปริมาณการผลิตทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น
ส่วนของพลังงานทดแทนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และขยับขึ้นมาเป็นแหล่งพลังงานอันดับ 2 ในปี 2558 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เพิ่มขึ้นคือ การอุดหนุนและคาดว่าจำนวนเงินที่ต้องใช้อุดหนุนพลังงานทดแทนทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 4.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2578 จากปัจจุบันที่อุดหนุนอยู่ที่ 88 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงการที่แผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถูกชะลอออกไปเนื่องจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมาในประเทศญี่ปุ่น
ด้าน นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) กล่าวถึงการที่สหรัฐเปลี่ยนจากผู้นำเข้ามาเป็นผู้ผลิตก๊าซและส่งออกก๊าซในอนาคตนี้ และมีความเป็นไปได้สูงที่การผลิตจะ "แซงหน้า" ประเทศซาอุดีอาระเบียได้
"ปัจจุบัน ซาอุดีอาระเบียมีการผลิตที่ประมาณ 10 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่สหรัฐสามารถผลิตได้มากกว่า 10 ล้านบาร์เรล/วัน แม้การใช้ก๊าซในสหรัฐเฉลี่ยจะอยู่ที่ 25 ล้านบาร์เรล/วัน แต่ก็ถือว่าช่วยลดปริมาณนำเข้าลงได้บ้าง" นายสราวุธกล่าว
ข้อมูลด้านพลังงานโลกในเวทีสัมมนาครั้งนี้ นายสราวุธกล่าวว่าจะถูกนำเสนอในที่ประชุม IEA ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อจัดทำเป็นทิศทางพลังงานโลกในอนาคต ฉบับปี 2555
หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอาเซียน ที่จะจัดขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนกันยายน 2556
source : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1355457256&grpid=03&catid=19&subcatid=1901
เพื่อตั้งรับและรุกตามทิศทางพลังงานของโลก กระทรวงพลังงานร่วมกับทบวงพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA (International Energy Agency) จัดงานสัมมนาผลการศึกษา "แนวโน้มพลังงานโลกในอนาคต ฉบับปี 2555 (World Energy Outlook 2012 Launch)" โดย นายแฟตตี้ บิวโร (Dr.Fatih Birol) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ IEA ได้กล่าวถึงภาพพลังงานของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปเพราะว่า
การ "ฟื้นคืน" ของการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะการชะลอตัวการพัฒนาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาค้นพบแหล่ง "เชลก๊าซ" ส่งผลในช่วงปี 2563 นี้ สหรัฐจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติ มาเป็นผู้ส่งออกก๊าซแทน จนสามารถพึ่งพาพลังงานในประเทศได้เองในปี 2578
นอกจากนี้ทั่วโลกจะให้ความสนใจด้านพลังงานมายังภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศที่มีความต้องการใช้พลังงานสูง อย่างเช่น ประเทศจีน อินเดีย และในอาเซียน โดยเฉพาะในอาเซียนคาดว่าความต้องการใช้พลังงานจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 80
เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 35 ในช่วงระหว่างปี 2553-2557 ฉะนั้นเท่ากับว่าในอีก 25 ปีข้างหน้า ประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะมีบทบาทมากขึ้นในตลาดพลังงานโลก
"ปัจจัยหนุนมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ความจำเป็นให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการนำเข้าน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้นสูงถึง 70% ของการบริโภคในปี 2578 จากเดิมเติบโตที่ 40% ของการบริโภคในปี 2554 สวนทางกับการส่งออกก๊าซธรรมชาติที่อาเซียนได้เปลี่ยนจากผู้ส่งออกมาเป็นผู้นำเข้ามากขึ้น" นายแฟตตี้กล่าว
จากทิศทางดังกล่าวจึงชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ทั้งสหรัฐและประเทศตะวันออกกลางจะให้ความสนใจมายังประเทศอาเซียนมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2578 การผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางร้อยละ 90 จะถูกส่งตรงมายังประเทศในแถบเอเชียมากขึ้น จากเดิมที่เคยส่งออกอยู่ที่เพียงร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตรวม
และเมื่อพิจารณาจากความต้องการใช้น้ำมันในอาเซียน จีน อินเดีย และประเทศยุโรปที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยิ่งต้องจับตาท่าทีของประเทศสหรัฐว่า จะบริหารจัดการแหล่งเชลก๊าซอย่างไร
นายแฟตตี้ยังฉายภาพพลังงานของโลกต่อว่า ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ในปี 2578 จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ความต้องการใช้ถ่านหินของโลกจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 21 และจะเพิ่มจากความต้องการใช้ในภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนใหญ่ แต่การเปลี่ยนแปลงของราคาถ่านหินเมื่อเทียบกับราคาก๊าซธรรมชาติยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เพราะคาดว่าในปี 2568-2578 นี้ ประเทศอินโดนีเซียจะมีกำลังการผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้นจนสามารถเทียบเท่ากับปริมาณการผลิตของประเทศออสเตรเลียได้ ส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียมีกำลังผลิตถ่านหินคิดเป็น 1 ใน 4 ของปริมาณการผลิตทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น
ส่วนของพลังงานทดแทนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และขยับขึ้นมาเป็นแหล่งพลังงานอันดับ 2 ในปี 2558 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เพิ่มขึ้นคือ การอุดหนุนและคาดว่าจำนวนเงินที่ต้องใช้อุดหนุนพลังงานทดแทนทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 4.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2578 จากปัจจุบันที่อุดหนุนอยู่ที่ 88 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงการที่แผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถูกชะลอออกไปเนื่องจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมาในประเทศญี่ปุ่น
ด้าน นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) กล่าวถึงการที่สหรัฐเปลี่ยนจากผู้นำเข้ามาเป็นผู้ผลิตก๊าซและส่งออกก๊าซในอนาคตนี้ และมีความเป็นไปได้สูงที่การผลิตจะ "แซงหน้า" ประเทศซาอุดีอาระเบียได้
"ปัจจุบัน ซาอุดีอาระเบียมีการผลิตที่ประมาณ 10 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่สหรัฐสามารถผลิตได้มากกว่า 10 ล้านบาร์เรล/วัน แม้การใช้ก๊าซในสหรัฐเฉลี่ยจะอยู่ที่ 25 ล้านบาร์เรล/วัน แต่ก็ถือว่าช่วยลดปริมาณนำเข้าลงได้บ้าง" นายสราวุธกล่าว
ข้อมูลด้านพลังงานโลกในเวทีสัมมนาครั้งนี้ นายสราวุธกล่าวว่าจะถูกนำเสนอในที่ประชุม IEA ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อจัดทำเป็นทิศทางพลังงานโลกในอนาคต ฉบับปี 2555
หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอาเซียน ที่จะจัดขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนกันยายน 2556
source : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1355457256&grpid=03&catid=19&subcatid=1901
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น