ในช่วงนี้เราคงได้ยินใครต่อใครพูดถึง "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" หรือ AEC กันอยู่บ่อยๆ จนหลายคนอาจเกิดคำถามขึ้นว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมันคืออะไร ? แล้วมันสำคัญกับประเทศเราอย่างไร ? ในที่นี้เรามีคำตอบ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN) ที่จะจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2558 เพื่อสร้างความเป็นเสรีในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน แต่การเปิดเสรีในลักษณะดังกล่าว ความแตกต่างของฐานะเศรษฐกิจระหว่างประเทศในกลุ่มเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงอย่างสูง เพราะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กกว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เหมือนที่กำลังเกิดปัญหากับหลายประเทศในสหภาพยุโรป ดังนั้นเราจึงได้นำข้อมูลเบื้องต้นของ AEC และฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนมาเปรียบเทียบให้เห็น ติดตามรายละเอียดได้จากที่นี่
"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" (Association of South East Asian Nations) หรือ "อาเซียน" (ASEAN) คือองค์กรแม่ของ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" (ASEAN Economic Community : AEC) แนวคิดในการจัดตั้ง AEC ได้ตกผลึกจากการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2545 ที่ประเทศกัมพูชา โดยประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไน, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และพม่า ได้ตกลงกันที่จะจัดตั้ง "ประชาคมอาเซียน" (ASEAN Community) ขึ้น ซึ่งมีลักษณะความร่วมมือระหว่างประเทศคล้ายกับ "สหภาพยุโรป" (European Union : EU)
ประชาคมอาเซียนนี้มี 3 เสาหลัก ประกอบไปด้วย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และประชาคมความมั่นคงอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 พ.ศ.2546 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ขึ้นก่อนภายในปี 2563 โดยอาเซียนได้ทำพิมพ์เขียวในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งมียุทธศาสตร์สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
- การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
- การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
- การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน
- การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
- การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
- การเคลื่อนย้ายบริการเสรี
- การเคลื่อนย้ายการลงทุนสรี
- การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี
- การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี
แผนดำเนินการในเบื้องต้น แบ่งเป็น 8 ขั้นตอน ได้แก่
- เร่งลดภาษีสินค้าใน 9 สาขา ได้แก่ สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร, ประมง, ผลิตภัณฑ์ไม้,
ผลิตภัณฑ์ยาง, สิ่งทอ, ยานยนต์, อิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ให้เร็วขึ้นจากกรอบอาฟตา 3 ปี
- ขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี โดยปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ WTO เพื่อนำไปสู่การลด -
เลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้า
- ปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าให้มีความโปร่งใส มีมาตรฐานที่เป็นสากล
และอำนวยความสะดวกให้แก่เอกชนมากขึ้น
- ตั้งเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการอย่างชัดเจน
เพื่อให้การค้าบริการของอาเซียนเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น
และพัฒนาระบบการยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)
เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบวิชาชีพในสาขาบริการ
- เร่งเปิดเสรีการลงทุนภายใต้กรอบความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (Framework
Agreement on the ASEAN Investment Area : AIA) โดยการลด -
ยกเลิกข้อจำกัดด้านการลงทุนต่างๆ ส่งเสริมการร่วมลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ
และสร้างเครือข่ายด้านการลงทุนของอาเซียนที่มีประสิทธิภาพ
- อำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร โดยให้เริ่มใช้ระบบพิกัดอัตราศุลกากรแบบ
ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature (AHTN)
ในการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม
และพัฒนาระบบพิธีการศุลกากรแบบ Single Window
เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการค้าให้มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งพัฒนาเอกสารด้านการค้าและศุลกากรให้มีความเรียบง่ายและสอดคล้องกันระหว่างประเทศในกลุ่ม
- พัฒนามาตรฐานและความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์
เพื่อให้เกิดความยอมรับร่วมกันในด้านคุณภาพสินค้า การตรวจสอบ การออกใบรับรอง
และปรับปรุงกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ และข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์สาขาต่างๆ
- อำนวยความสะดวกให้กับการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ แรงงานฝีมือ และผู้มีความสามารถพิเศษ ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้งเรื่องพิธีการตรวจลงตรา การจัดทำ ASEAN Business Card และการอำนวยความสะดวกในการย้ายเข้ามาประกอบวิชาชีพ
อย่าไรก็ตาม เมื่อทุกเหรียญมีสองด้าน การร่วมมือทางเศรษฐกิจลักษณะดังกล่าวที่ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ ก็ย่อมมีโทษแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เกษตรกรไทยอาจต้องประสบปัญหาเมื่อสินค้าเกษตรบางชนิดจะถูกตีตลาดโดยสินค้าราคาต่ำกว่าซึ่งนำเข้ามาอย่างเสรี แรงงานฝีมือของไทยจะไหลออกไปทำงานต่างประเทศเพื่อรับค่าจ้างที่สูงกว่า ส่วนแรงงานค่าจ้างต่ำจากเพื่อนบ้านจะไหลเข้ามาแย่งงานกับแรงงานชาวไทย เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง AEC ให้กับประชาชนทุกคน จึงจะสามารถปรับตัวเตรียมรับกับสถานการณ์การเปิดเสรีในหลายๆ ด้านที่กำลังจะมาถึงในอีก 3 ปีนี้ได้
นอกจากนั้นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความเหลื่อมล้ำของฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในกลุ่มความร่วมมือ ประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนจะกลายเป็นเหยื่อของประเทศที่ร่ำรวยกว่า ในขณะเดียวกันประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนก็ยังเป็นภาระให้กับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มที่ต้องคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ฉุดดึงกันล้มไปทั้งกลุ่มด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศ A มีฐานะทางเศรษฐกิจแข็งแกร่ง มีความพร้อมสำหรับการเปิดเสรี, ประเทศ B มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจระดับปานกลาง และประเทศ C เป็นประเทศฐานะยากจน แต่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อเกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกันขึ้น เงินทุนจากประเทศ A จะไหลอย่างเสรีเข้ามาถลุงใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ C จนไม่เหลือซาก และเมื่อประเทศ C ทำท่าจะล้มลง ประเทศ B ก็จำต้องยื่นมาเข้าไปช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามจนมาดึงประเทศ B ให้ล้มตามไปด้วย เท่ากับว่า ประเทศ A ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ ได้ประโยชน์จากทรัพยากรของทั้งประเทศ B และ C ความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวนี้กำลังเกิดขึ้นจริงที่สหภาพยุโรป โดยเฉพาะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศกรีซซึ่งอาจจะดึงให้ประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปต้องพลอยล้มตามไปด้วย
เราจึงได้รวบรวมตัวเลขสถิติที่แสดงฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า ประเทศใดมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและมีแนวโน้มที่จะได้เปรียบจากการเปิดเสรีของ AEC ดังตารางต่อไปนี้
จากตารางที่ 1
แม้ประเทศอินโดนีเซียจะมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศซึ่งปรับความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อแล้ว
(GDP purchasing power parity : PPP) สูงกว่า 1,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
แต่หากหารด้วยจำนวนประชากรแล้ว ชาวสิงคโปร์จะมีอำนาจในการซื้อสูงสุด คือ รายละ
59,900 ดอลล่าร์สหรัฐ ในขณะที่ประเทศในเมื่อปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตของ real
GDP ต่ำที่สุดในกลุ่ม หรือเพียง 0.1% เท่านั้น
จากตารางที่ 2 จะเห็นว่า ประเทศอินโดนีเซียมีรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลสูงมาก
ทิ้งห่างประเทศไทยซึ่งอยู่ในอันดับ 2 กว่าเท่าตัว
แต่ประเทศอินโดนีเซียก็มีงบประมาณขาดดุลสูงถึง 9,900 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
และยังมีหนี้ต่างประเทศเป็นมูลค่าสูงที่สุดในกลุ่มด้วย
ดังนั้นฐานะการคลังของประเทศอินโดนีเซียจึงยังไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร
ประเทศที่มีฐานะการคลังแข็งแกร่งที่สุดในกลุ่ม คือ ประเทศสิงคโปร์
เป็นเพียงประเทศเดียวที่มีงบประมาณเกินดุล มีหนี้ต่างประเทศน้อยมาก
และมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในกลุ่ม
ส่วนประเทศไทยของเราแม้จะมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่ม
แต่ก็มีหนี้ต่างประเทศเป็นมูลค่าใกล้เคียงกัน และมากเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มด้วย
จากตารางที่ 3 อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรมนุษย์มากที่สุดในกลุ่ม
ด้วยจำนวนประชากรที่เกิน 200 ล้านคน และกำลังแรงงานที่เกิน 100 ล้านคน
ต่างกันอย่างลิบลับกับประเทศบรูไนที่มีกำลังแรงงานเพียง 2 แสนคนเท่านั้น
เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าหลังเปิดเสรี
แรงงานต่างประเทศจำนวนมากจะทะลักเข้าสู่ประเทศบรูไน สำหรับประเทศไทยของเรา
แม้มีจำนวนประชากรน้อยกว่าประเทศฟิลิปปินส์
แต่อัตราการว่างงานของประเทศไทยที่ต่ำมากจนติดอันดับต้นๆ ของโลก
จึงทำให้เรามีกำลังแรงงานมากกว่าประเทศฟิลิปปินส์
เส้นความยากจน (Poverty Line) คือ เกณฑ์ชี้วัดที่คำนวณจากมาตรฐานความต้องการบริโภคอาหารและสินค้าจำเป็นขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ เส้นความยากเฉลี่ยทั่วโลก (International poverty line) มีค่าเท่ากับ 1.25 ดอลล่าร์สหรัฐ / คน / วัน สำหรับประเทศไทยมีอัตราส่วนของผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเท่ากับ 8.1% ส่วนประเทศฟิลิปปินส์, พม่า, กัมพูชา และลาว มีอัตราส่วนประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนสูงเกิน 20% ขึ้นไป แสดงว่าประชากรของประเทศเหล่านั้นจำนวนมากยังยากจน และแรงงานในประเทศเหล่านั้นก็เป็นแรงงานที่ได้ค่าจ้างต่ำ
ส่วนในด้านการลงทุนถาวร อาทิ โรงงาน เครื่องจักร เป็นต้น พบว่า ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ของบริษัทระดับโลกหลายบริษัท มีอัตราส่วนการลงทุนถาวรต่อมูลค่า GDP สูงที่สุดในกลุ่ม ในขณะที่ประเทศพม่าซึ่งปิดประเทศมาเป็นเวลานานก็มีอัตราส่วนการลงทุนถาวรต่อมูลค่า GDP ต่ำที่สุดในกลุ่ม
เส้นความยากจน (Poverty Line) คือ เกณฑ์ชี้วัดที่คำนวณจากมาตรฐานความต้องการบริโภคอาหารและสินค้าจำเป็นขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ เส้นความยากเฉลี่ยทั่วโลก (International poverty line) มีค่าเท่ากับ 1.25 ดอลล่าร์สหรัฐ / คน / วัน สำหรับประเทศไทยมีอัตราส่วนของผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเท่ากับ 8.1% ส่วนประเทศฟิลิปปินส์, พม่า, กัมพูชา และลาว มีอัตราส่วนประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนสูงเกิน 20% ขึ้นไป แสดงว่าประชากรของประเทศเหล่านั้นจำนวนมากยังยากจน และแรงงานในประเทศเหล่านั้นก็เป็นแรงงานที่ได้ค่าจ้างต่ำ
ส่วนในด้านการลงทุนถาวร อาทิ โรงงาน เครื่องจักร เป็นต้น พบว่า ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ของบริษัทระดับโลกหลายบริษัท มีอัตราส่วนการลงทุนถาวรต่อมูลค่า GDP สูงที่สุดในกลุ่ม ในขณะที่ประเทศพม่าซึ่งปิดประเทศมาเป็นเวลานานก็มีอัตราส่วนการลงทุนถาวรต่อมูลค่า GDP ต่ำที่สุดในกลุ่ม
จากตารางที่ 4 จะพบว่า สิงคโปร์ คือ ประเทศพ่อค้าตัวจริง
มูลค่าการนำเข้าและส่งออกของประเทศสิงคโปร์สูงเป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม
และทิ้งห่างอันดับ 2 อย่างประเทศไทยไปเป็นเท่าตัว
ในขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศสิงคโปร์ก็อยู่ในอันดับต้นของตาราง
ส่วนประเทศฟิลิปปินส์และเวียดนามเป็นสองประเทศที่อาการน่าเป็นห่วง
เพราะขาดดุลการค้าเป็นมูลค่ามหาศาล และมีมูลค่าดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่ำ
นโยบายการเงินจะสะท้อนผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Discount Rate)
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้ส่งสัญญาณนโยบายการเงินไปยังธนาคารพาณิชย์
และใช้ควบคุมอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ จากตารางที่ 5 จะพบว่า
ประเทศเวียดนามและพม่าซึ่งมีอัตราเงินเฟ้อสูงมาก
ได้ประกาศใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงด้วยเช่นกัน
ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ
กลุ่มต่อมา คือ ประเทศไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจพอจะประคับประคองให้ได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีได้ แต่ก็มีความสุ่มเสี่ยงที่จะพลาดท่าเสียประโยชน์จากการเปิดเสรีได้เช่นกัน หากรัฐบาลไม่ดำเนินนโยบายอย่างถูกต้อง และไม่สร้างความรู้เรื่องการเปิดเสรีให้กับประชาชน
สุดท้าย คือ กลุ่มที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก ได้แก่ ประเทศพม่า, บรูไน, กัมพูชา และลาว ประเทศในกลุ่มนี้โดยเฉพาะพม่าซึ่งกำลังจะเปิดประเทศครั้งใหม่และประเทศกัมพูชาที่มีนายกรัฐมนตรีพร้อมจะขายสมบัติของชาติ จึงมีโอกาสอย่างสูงที่จะถูกคลื่นทุนเคลื่อนย้ายเสรีเข้ามากวาดเอาทรัพยากรในประเทศไป ส่วนประเทศบรูไนและลาวนั้นแม้จะมีเศรษฐกิจขนาดเล็ก แต่ค่อนข้างจะเก็บเนื้อเก็บตัว มีนโยบายบริหารประเทศแบบอนุรักษ์นิยม จึงน่าจะยังพอมีโอกาสรอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกาไปได้บ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น