วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

ชาวบ้านอ่วม!LPGจ่อขึ้น8บาท “อารักษ์”ฟุ้งเตรียมพร้อมช่วยเหลือ

  กระทรวงพลังงาน ส่งสัญญาณทยอยปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนไตรมาสที่ 4 ชี้ต้องเป็นราคาเดียวกันภายใน เม.ย.ปี 2556 คาดราคาขึ้นกว่า 8 บาทต่อกิโลกรัม โวเตรียมมาตรการช่วยเหลือเพียบ ย้ำเปิดลงทะเบียนภาคครัวเรือนแท้จริงก่อนไตรมาส 4 นี้ พร้อมควักเงินกองทุนน้ำมัน 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ตรึงแอลพีจี 20 ล้านครัวเรือน

    นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมต.พลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้เสนอแนวทางลดผลกระทบกับประชาชน จากกรณีราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เม.ย.2555 ที่ผ่านมา โดยให้ทยอยปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เป็นราคาเดียวกันทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในภาคครัวเรือนจะทยอยปรับราคาให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในไตรมาส 4 ของปี 2555 (ก.ย.-ธ.ค.) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจะทยอยปรับในอัตราที่เท่าไหร่ แต่ทั้งนี้กระทรวงพลังงานจะมีมาตรการช่วยเหลือภาคครัวเรือนให้ใช้ราคาเดิม 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555

      ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนก่อนถึงไตรมาส 4 กระทรวงพลังงานจะเปิดลงทะเบียนกลุ่มครัวเรือนที่แท้จริงคาดว่าจะมีประมาณ 20 ล้านครัวเรือน เพื่อให้ความช่วยเหลือ โดยนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจ่ายชดเชยแทน ในเบื้องต้นได้เตรียมไว้ประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนวิธีดำเนินการการนั้นอาจใช้แนวทางการจ่ายเงินเข้าบัญชีประชาชนสำหรับชดเชยราคาแอลพีจีที่ปรับสูงเกินกว่า 18.13 บาทต่อกิโลกรัม

    สำหรับในส่วนของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)รวมถึงผู้ค้าข้าวแกงรถเข็นต่างๆ กระทรวงพลังงานจะพิจารณาให้การช่วยเหลือตามข้อเท็จจริง โดยนำเงินกองทุนอนุรักษ์พลังงานไปช่วยเหลือ พร้อมทั้งให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ต้องอนุรักษ์พลังงานร่วมด้วย หรือหากกลุ่มใดต้องการความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ กระทรวงพลังงานจะเป็นตัวกลางเจรจาช่วยเหลือตามความเหมาะสมต่อไป ส่วนในกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกนั้น กระทรวงพลังงานได้เตรียมเงิน 50 ล้านบาท ช่วยเหลือกลุ่มเซรามิกที่เหลืออีก 200 แห่งต่อไป

    “ราคาแอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมและขนส่งได้ทยอยปรับขึ้นแล้ว แต่ในภาคครัวเรือนจะเริ่มปรับขึ้นไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และจะทยอยขึ้นไปจนถึงราคากลางที่กระทรวงพลังงานกำหนด คือ ราคาที่ไม่ทำให้เกิดการขายข้ามภาค ไม่เกิดการลักลอบไปจำหน่ายต่างประเทศ และสอดคล้องกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนจะไปเท่ากับราคาภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่งในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ปีหน้าที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม” นายอารักษ์ กล่าว

    สำหรับราคาแอลพีจี ปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ราคา คือ ราคาภาคขนส่งอยู่ที่ 20.13 บาทต่อกิโลกรัม ราคาภาคอุตสาหกรรม 30.13 บาทต่อกิโลกรัม และภาคครัวเรือน 18.13 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม หากปรับขึ้นตามราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนให้สะท้อนราคาตลาดโลกที่ปัจจุบัน 884 เหรียญสหรัฐต่อตัน จะทำให้ราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนต้องปรับขึ้นเป็น 26.164 บาทต่อกิโลกรัม หรือปรับขึ้น 8.03 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปัจจุบัน 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ การปรับขึ้นราคาแอลพีจี สุดท้ายนั้นจะต้องพิจารณาราคาแอลพีจีในตลาดโลกเป็นหลักด้วย

    นายอารักษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปตัวเลขครั้งสุดท้าย โดยจะมีการประชุมอีกครั้งระหว่างผู้ประกอบการ กระทรวงพลังงาน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นผู้ศึกษาโครงสร้างราคาเอ็นจีวี โดยตนจะเข้าร่วมประชุมเพื่อสรุปผลกันในเร็วๆ นี้ ส่วนมาตรการช่วยเหลือด้านราคาค่าไฟฟ้านั้น นายกรัฐมนตรีจะพิจารณาอีกครั้งในวันนี้ (1 พ.ค.) โดยเบื้องต้นจะกำหนดให้ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ได้เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าฟรี แทนกฎเกณฑ์เดิมที่กำหนดไว้ที่ 90 หน่วยต่อเดือน เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าเป็นกลุ่มครัวเรือนที่ยากจนและควรได้รับการช่วยเหลืออย่างแท้จริง.
++++++++++++++++

source: http://www.thaipost.net/news/010512/56152

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

ค่าไฟพุ่งประหยัดได้แค่ปลายนิ้ว

ฮอตอิซซู่ : ค่าไฟพุ่ง...ประหยัดได้แค่ปลายนิ้ว

                    กระแสการประหยัดพลังงานใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ หากมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง แต่สังคมมักจะตื่นตัวกันแบบชั่วข้ามคืนเมื่อมีการปรับขึ้นของค่าพลังงานต่างๆ แบบฉับพลัน ดังสถานการณ์ล่าสุดที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้ปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ในบิลค่าไฟประชาชนงวดใหม่ในเดือน พฤษภาคม-สิงหาคมนี้ ถึงอีก 30 สตางค์ต่อหน่วย แน่นอนว่าย่อมส่งผลกับรายจ่ายของทุกคนไม่มากก็น้อย และเมื่อไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ ปัญหานี้จึงเป็นโจทย์ใหญ่ให้ประชาชนต้องนึกถึงคำว่า "ประหยัด" มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว และอาจเป็นการร่วมกันปฏิบัติระยะยาวเพราะพลังงานธรรมชาตินั้นเริ่มเหลือน้อยลงทุกที

อากาศร้อนๆ กับค่าไฟที่เพิ่มมากขึ้นดูท่าจะเป็นเรื่องขัดใจสำหรับนักธุรกิจสาว "แอน" ลภาภิดา หล่อกิติยะกุล ที่แจงว่าถ้าเพิ่มขึ้นระยะนี้ถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันอากาศร้อนอบอ้าว ทำให้ต้องมีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งการเปิดพัดลมและการดื่มน้ำเย็นคลายร้อน อย่างน้อยๆ ในบ้านจะต้องมีพัดลมมากกว่า 1 ตัวอยู่แล้ว และการเปิดพัดลมพร้อมกัน นั่นหมายถึงการใช้ไฟเพิ่มขึ้น จึงเหมือนเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคเข้าไปอีก

"เดี๋ยวนี้ความรู้ต่างๆ เปิดกว้างมากขึ้น ทำให้เรารู้ว่าต้นทุนของการผลิตไฟฟ้า หรือน้ำประปา ซึ่งทำโดยรัฐบาลไม่ได้ขาดทุนแต่อย่างใด อย่างน้อยๆ ถ้าคิดจะขึ้นราคาควรจะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า มองภาพรวมง่ายๆ เมื่อค่าไฟขึ้นสินค้าทุกอย่างก็ต้องขึ้นตามไปด้วย แสดงว่ารายรับเท่าเดิมแต่รายจ่ายเพิ่มขึ้นอาจจะเดือดร้อนกันบ้าง ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัวมีโปรแกรมการตั้งเวลาปิด จึงควรจะตั้งเวลาปิดเครื่องปรับอากาศก่อนตื่นสัก 3 ชั่วโมง ความเย็นในห้องยังคงมีอยู่ อาจจะใช้พัดลมช่วยสักนิด เราตื่นขึ้นมาอาบน้ำแต่งตัวความเย็นจะค่อยๆ หมดไปเราก็ออกจากบ้านไปทำงานพอดี" สาวแอน กล่าว
ด้านสาวออฟฟิศ ณัทรภัทร กมลเศวตกุญ หยิบยกวิธีการประหยัดไฟหลากหลายที่ใช้ได้ผลดีมาแนะนำ ทั้งการใช้หลอดประหยัดไฟภายในบ้าน เครื่องปรับอากาศจะเปิดเฉพาะตอนจะเข้านอนเท่านั้น ปิดม่านกันแดดในห้องนั่งเล่นจะได้ไม่ร้อนมาก อยู่กันหลายคนในห้องเดียวก็สามารถเปิดแอร์ได้ และดูทีวีแค่เครื่องเดียวก็ประหยัดได้มากเช่นกัน

"ส่วนใหญ่จะใช้ไฟฟ้ากับคอมพิวเตอร์มากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น เพราะยุคนี้เครื่องมือสื่อสารนั้นสำคัญกับวิถีชีวิตมาก เลยต้องหาวิธีลดการใช้เครื่องไฟฟ้าชนิดอื่นๆ แทน เรื่องประหยัดไฟฟ้าไม่ใช่แค่เพื่อตัวเอง แต่เหมือนเป็นการช่วยโลกด้วย เพราะอย่างที่รู้ๆ ทุกวันนี้เวลาหนาวก็หนาวมาก หน้าร้อนก็ร้อนจัดกว่าเมื่อก่อน ซึ่งเชื่อว่าทุกคนสัมผัสได้" สาวรุ่นใหม่ให้ความเห็น

อีกมุมของเรื่องการประหยัดที่ไม่ขึ้นกับฐานะความเป็นอยู่ "แตง" ชญานี ศิริรัตน์บุญขจร กรรมการบริหาร บริษัท หลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) บอกว่าถึงค่าไฟฟ้าจะขึ้นมากน้อยย่อมกระทบกับการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทำให้มีต้นทุนการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น อย่างที่บ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายประเภท ก็พยายามประหยัดที่สุดคือปิดเมื่อไม่ใช้งาน หรือใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟ ก็น่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในยุคอะไรก็แพงได้ระดับหนึ่ง

"เป็นเรื่องช่วยไม่ได้จริงๆ เมืองไทยเป็นเมืองร้อน ยังไงก็ต้องเปิดเพื่อปรับอากาศ แต่พยายามเปิดเวลาจำเป็น ถ้าช่วงไหนไม่อยู่บ้านยาวๆ ก็จะปิดเลย ขณะที่ การเปิดๆ ปิดๆ ก็ไม่ว่าช่วยประหยัด เพราะค่าเดินเครื่องใหม่จะแพงกว่าการเปิดไว้นานๆ การประหยัดเป็นหัวใจสำคัญของที่บ้านอยู่แล้ว ถึงเราจะมีพอที่จะใช้จ่ายแต่ก็ต้องทำ เพราะถือเป็นการช่วยเหลือสังคมด้วย ตอนนี้ไฟฟ้าเรานำเข้าแล้วจากลาว พม่า ถ้าช่วยกันได้คนละนิดๆ หน่อยๆ รวมกันก็คงประหยัดพลังงานได้มหาศาล" ผู้บริหารเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ เผย

สำหรับนักวิชาการคนดัง "อ้อ" รศ.ดร.กฤติกา คงสมพงษ์ ชี้มูลเหตุของการขึ้นค่าไฟฟ้าในเวลานี้ว่า มี 2 เหตุผล คือมาจากการเพิ่มต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องควบคุมต้นทุน อีกสาเหตุหนึ่งคือ เป็นการสอนให้คนไทยรู้จักมีวินัยในการใช้ไฟฟ้า เพราะหากปล่อยให้ใช้ไฟแบบที่ผ่านมา อนาคตอาจจะต้องซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้

"เมื่อทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง เราจะมาคัดค้านคงไม่ได้ ก็ต้องรู้จักปรับตัว เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าได้สอนเอาไว้ว่า เมื่อเราไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ ก็ให้ปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์นั้น เชื่อว่าหากภาระที่รัฐบาลแบกรับไม่เหนือบ่ากว่าแรงจนเกินไป คงไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนมาเดือดร้อน เพราะคงไม่คุ้มกับการถูกประชาชนว่ากล่าวแน่นอน และการปรับตัวง่ายๆ อย่างเช่น แทนที่จะรีดผ้าวันละตัวสองตัวเพื่อใส่วันต่อวัน ก็เปลี่ยนเป็นรีดผ้าพร้อมๆ กันหลายตัว เครื่องปรับอากาศก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไว้ตลอดจนเราออกจากบ้าน ปิดก่อน 1 ชั่วโมงและดื่มด่ำกับความเย็นที่เหลือให้คุ้มที่สุด ก็เรียกว่าใช้ไฟอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้ว" ดร.อ้อ แนะ

สอดคล้องกับข้อมูลของ สุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน (สนพ.) ให้ความรู้ถึงมาตรการการประหยัดพลังงานว่า การประหยัดพลังงานถือเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยกระทรวงพลังงานในฐานะกำกับดูแลด้านพลังงานทดแทน ควบคู่กับดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน หากคนไทยทุกคนช่วยกันประหยัดพลังงานทุกวันก็จะสามารถลดการใช้พลังงานโดยรวม 22,000 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นเงิน 59,000 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้เพื่อให้การประหยัดพลังงงานประสบผลสำเร็จ สนพ.จึงได้กำหนดมาตรการออกมา 10 มาตรการ เพื่อเป็นแนวทางให้ประชาชนนำไปปฏิบัติเพื่อประหยัดพลังงานภายในครัวเรือน เริ่มจาก ปิดไฟฟ้า 1 ดวง หรือถอดหลอดไฟที่ไม่ใช้ออก, ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศา จะช่วยประหยัดไฟฟ้า 10 เปอร์เซ็นต์, ตั้งตู้เย็นห่างผนัง 15 เซนติเมตร จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10 เปอร์เซ็นต์, ปิดโทรทัศน์เมื่อไม่มีคนดู หรือเลือกใช้โทรทัศน์ขนาดเล็กเพื่อประหยัดไฟ, ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ 18 วัตต์ แทนหลอดไส้ 100 วัตต์, ถอดปลั๊กเตารีดก่อนรีดเสื้อผ้าเสร็จ 2-3 นาที, เสียบปลั๊กกระติกน้ำร้อนเมื่อใช้, ใช้จอคอมพิวเตอร์ 15 นิ้วแทน 17 นิ้ว และปิดหน้าจอเมื่อไม่ใช้ สุดท้าย อย่าเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งาน

พอได้เห็นการคำนวนหน่วยการประหยัดไฟแบบละเอียดถี่ยิบคำว่า "ช่วยกันคนละนิด" ดูจะเป็นเรื่องที่ทำได้จริง และไม่ยากเลยสักนิดเดียว จริงไหม

Source : http://www.komchadluek.net/detail/20120428/128974/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7.html

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

โรงไฟฟ้าหงสา

โรงไฟฟ้าหงสา





วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

การตั้งราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นในประเทศไทย

source : http://www.dailynews.co.th/article/825/56347

การตั้งราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทย ที่ยังมีผู้คลางแคลงใจกันมากว่า ทำไมเราจึงต้องไปอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ ทำไมเราไม่ตั้งราคาของเราเอง บทความนี้มีคำตอบ




มีเพื่อนส่งเอกสารเผยแพร่สำหรับประชาชนของคณะกรรมาธิการศึกษาและตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เรื่อง “พลังงานไทย... พลังงานใคร?” มาให้อ่าน ซึ่งผมก็เคยอ่านมาแล้วครั้งหนึ่ง พอมาอ่านซ้ำอีกครั้งก็ได้อรรถรสมากขึ้น



อ่านแล้วก็ต้องชมคณะกรรมาธิการฯ คณะอนุกรรมาธิการฯ และคณะบรรณาธิการ ผู้รวบรวมและเรียบเรียงเอกสารนี้ว่าเขียนให้ประชาชนอ่านได้เข้าใจง่ายและสนุกดี น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับภาครัฐว่า ถ้าอยากจะสื่อสารอะไรกับภาคประชาชน โดยเฉพาะเรื่องยากๆอย่างเช่นเรื่องพลังงาน ต้องเอาตัวอย่างแบบนี้ไปทำครับ ถึงจะได้ผล



ข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ในเอกสารก็ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ และมีความน่าสนใจในหลายๆประเด็น ที่สามารถจะนำไปสู่การถกเถียงทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพื่อความกระจ่างต่อสาธารณะชนต่อไป ในสิ่งที่ทางคณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสงสัยเอาไว้



แต่สำหรับบทความของผมในวันนี้ ผมตั้งใจจะอธิบายถึงการตั้งราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทย ที่ยังมีผู้คลางแคลงใจกันมากว่า ทำไมเราจึงต้องไปอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ ทำไมเราไม่ตั้งราคาของเราเอง ทั้งๆที่เราไม่ได้นำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์ แต่เรามีน้ำมันดิบที่ผลิตได้เองในประเทศมากกว่า 40 ล้านลิตร/วันเสียด้วยซ้ำไป อย่างที่อ้างในเอกสารเผยแพร่ของคณะกรรมาธิการฯ



ก่อนอื่นผมต้องเรียนว่าน้ำมันดิบที่เราผลิตได้เองในประเทศนั้นไม่พอใช้นะครับ เราผลิตน้ำมันดิบในประเทศได้ประมาณ 230,000 บาร์เรล/วัน (หนึ่งบาร์เรลมี 159 ลิตร) ก็เกือบๆ 40 ล้านลิตรอย่างที่ระบุในเอกสารฯนั่นแหละ แต่เราใช้วันละ 800,000 บาร์เรล หรือวันละ 127 ล้านลิตรครับ!



อีกทั้งน้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศยังมีคุณภาพที่ไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นน้ำมันในบ้านเราอีกด้วย ทำให้เราต้องส่งออกน้ำมันดิบที่ผลิตได้เกือบทั้งหมดไปขายต่างประเทศ และนำเข้าน้ำมันดิบคุณภาพที่เหมาะสมกับโรงกลั่นของเราเข้ามากลั่นแทน มีผลให้เราต้องนำเข้าน้ำมันดิบถึง 84% ของความต้องการทั้งหมดของประเทศ



ดังนั้นคำกล่าวที่ว่าเราเอาน้ำมันดิบในประเทศซึ่งเป็นทรัพยากรของเราเองซึ่งควรมีราคาถูกมากลั่นขายในราคาแพงตามราคาในตลาดโลก จึงไม่เป็นความจริงครับ



ความจริงก็คือ น้ำมันดิบที่เราผลิตได้เองภายในประเทศก็ถูกส่งไปขายต่างประเทศในราคาตลาดโลก และเราก็นำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศในราคาตลาดโลกมากลั่นขายในประเทศ ดังนั้นราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายในประเทศจึงมีต้นทุนตามราคาน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาในตลาดโลกครับ



ทีนี้มาดูกันว่าทำไมเราต้องไปตั้งราคาน้ำมันตามตลาดสิงคโปร์ เราตั้งราคาของเราเองไม่ได้หรือ คำตอบก็คือได้ครับ แต่ถึงแม้เราจะตั้งราคาของเราเอง ในที่สุดราคาน้ำมันที่สิงคโปร์ก็จะเป็นตัวกำหนดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นในบ้านเราอยู่ดี



เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะระบบการค้าเสรีและการแข่งขันในภูมิภาคยังไงล่ะครับ



ถ้าโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยตั้งราคาหน้าโรงกลั่นแพงกว่าสิงคโปร์มากเกินไป พ่อค้าขายส่งหรือบริษัทน้ำมันที่ไม่มีโรงกลั่นก็จะไปนำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์มาขายแข่งกับโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ โรงกลั่นก็ต้องลดราคาลงมาแข่งขันกับตลาดสิงคโปร์



ในทำนองเดียวกัน ถ้าโรงกลั่นน้ำมันในประเทศตั้งราคาหน้าโรงกลั่นถูกจนเกินไป พวกพ่อค้าคนกลางก็จะแห่มาซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศไทย ส่งออกไปขายต่างประเทศหมด โรงกลั่นก็ต้องขึ้นราคามาให้ใกล้เคียงกับตลาดสิงคโปร์อยู่ดี



เราจะเห็นว่านี่คือกลไกการตลาด และตลาดสิงคโปร์ก็คือตลาดกลางซื้อขายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย และอยู่ใกล้บ้านเรามากที่สุด เราจึงต้องอิงราคาน้ำมันที่ตลาดสิงคโปร์ และไม่เฉพาะประเทศไทย ทุกประเทศในเอเซียก็ล้วนแต่อิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ทั้งสิ้น



อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือสูตรราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นในประเทศ ในเอกสารเผยแพร่ของคณะกรรมาธิการฯ วุฒิสภา ระบุว่า นอกจากมีการอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงโปร์แล้ว ยังมีการบวกค่าโสหุ้ยนำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าขนส่ง (สิงคโปร์-ระยอง/ศรีราชา) ค่าสูญเสียระหว่างขนส่ง (product loss) ค่าประกันภัย และค่าปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ค่าโสหุ้ยเหล่านี้ทำให้ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นในประเทศสูงเกินจริงเป็นภาระต่อประชาชน



ประเด็นนี้ผมเห็นว่าต้องมีการตรวจสอบและพิจารณาในรายละเอียดเพิ่มเติม แต่เท่าที่ผมทราบ การขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางมายังประเทศไทยมีค่าขนส่งที่แพงกว่าไปที่สิงคโปร์ ทั้งนี้เพราะระยะทางที่ไกลกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ด้อยกว่า เช่น ท่าเรือและ jetty เป็นต้น ดังนั้นการบวกค่าขนส่งให้จึงเป็นการให้แต้มต่อกับโรงกลั่นในประเทศในระดับหนึ่ง เพื่อจูงใจให้มาลงทุนสร้างโรงกลั่นในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า แต่ปัจจุบันยังจำเป็นอยู่หรือไม่ ก็ควรจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณากันอีกครั้ง



ส่วนค่าปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้นผมว่าเป็นค่าใช้จ่ายจริงครับ เพราะน้ำมันที่เราใช้อ้างอิงในตลาดสิงคโปร์ทั้งเบนซินและดีเซลนั้น มีคุณภาพต่ำกว่าที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันซึ่งได้มาตรฐานยูโร 4 ดังนั้นค่าปรับปรุงคุณภาพจึงควรคงอยู่ในสูตรราคาหน้าโรงกลั่นต่อไป



อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะกำหนดสูตรราคาหน้าโรงกลั่นอย่างไร เราก็ไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะมีการฉวยโอกาสทำกำไรอย่างไม่สมควร ตราบเท่าที่เราเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี เพราะถ้าสูตรราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยแพงเกินไปอย่างไม่มีเหตุผล ก็จะมีคนนำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์เข้ามาขายแข่งกับโรงกลั่นน้ำมันในประเทศอย่งแน่นอน



แต่เท่าที่ผ่านมาผมยังไม่เห็นมีใครนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศมาขายแข่งกับโรงกลั่นในประเทศเลย แม้แต่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของมาเลเซีย อย่างเปโตรนาสที่เข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกปั้มน้ำมันในประเทศไทย ยังต้องวิ่งขอซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยเลย ไม่เห็นจะไปนำเข้าน้ำมันจากมาเลเซียหรือสิงคโปร์มาขายในประเทศไทยแต่อย่างใด นั่นแสดงว่าราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นของเรายังอยู่ในระดับที่เหมาะสม และกลไกการตลาดได้ทำหน้าที่ของมันอย่างสมบูรณ์แล้ว



ส่วนการขายน้ำมันออกไปต่างประเทศที่ต้องหักค่าใช้จ่ายต่างๆออกไปนั้นก็เป็นเรื่องของการแข่งขันตามกลไกของตลาดอีกเช่นกัน ในเมื่อราคาขายในตลาดสิงคโปร์มันมีค่าขนส่งที่ถูกกว่าและคุณภาพน้ำมันก็ต่ำกว่า เราก็ต้องลดราคาลงไปแข่งขัน เพื่อให้ขายได้ ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต้องขาย



เมื่อเราไม่ขายไปต่างประเทศ เราก็ผลิตได้ไม่เต็มกำลังการผลิต (กำลังการผลิตเรามี 1 ล้านบาร์เรล/วัน ความต้องการอยู่ที่ 8 แสนบาร์เรล/วัน) เมื่อผลิตได้ไม่เต็มกำลังการผลิต ต้นทุนต่อหน่วยก็สูง ถึงแม้จะลดราคาในประเทศลง ยอดขายก็ไม่เพิ่มขึ้น เพราะความต้องการมีแค่นั้น จึงต้องดิ้นรนไปหาตลาดในต่างประเทศ ทั้งๆที่ต้องไปแข่งขันด้านราคา จนบางครั้งถึงกับต้องขายขาดทุนก็ต้องยอม



เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องปกติในการทำธุรกิจ ที่พ่อค้าต้องยอมขาดทุนในการส่งออกเพื่อรักษาธุรกิจในประเทศที่เป็นธุรกิจหลักเอาไว้ ธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันในบ้านเราก็เช่นกัน เป็นธุรกิจทดแทนการนำเข้า ดังนั้นเรื่องของการส่งออกจึงเป็นเพียงธุรกิจรองเท่านั้น ไม่ใช่ธุรกิจหลักของอุตสาหกรรม การขาดทุนหรือไม่มีกำไรในธุรกิจรองจึงเป็นเรื่องปกติ



ทั้งหมดนี้เป็นความพยายามของผมที่จะให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งของเหรียญ ซึ่งอาจจะทำให้ประชาชนเห็นภาพพลังงานไทยได้ลึกยิ่งขึ้น เมื่อเห็นทั้งสองด้านของเหรียญแล้ว ก็เป็นสิทธิของท่านที่จะพิจารณาไตร่ตรองตามที่เห็นสมควร



อย่างไรก็ตามสำหรับผู้มีหน้าที่ให้ข้อมูล ผมอยากให้ท่านให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนทั้งสองด้าน และข้อสำคัญต้องให้ข้อมูลโดยปราศจากซึ่งอคติด้วยครับ!!!



มนูญ ศิริวรรณ

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

ศักดิ์ศรี ​หรือจะหนีพ้น​ความ​เป็นจริง (ตอน​แรก)

source : ข่าว​เศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์​ไทย​โพสต์ -- จันทร์ที่ 23 ​เมษายน 2555
http://www.ryt9.com/s/tpd/1387997



วันก่อนผม​ได้มี​โอกาสดูหนังจีน​เก่า​เรื่องหนึ่งนำ​แสดง​โดย ​โจวซิงฉือ (ดาราคน​โปรดของผม) ชื่อ​เรื่อง"ยาจกซูกับ​ไม้​เท้าประกาศิต"

ขึ้นชื่อ​โจวซิงฉือทุกคน​ก็รู้ว่าหนังตลก​แน่นอน ​แต่ที่ทุกคนคาดคิด​ไม่​ถึงคือ​เนื้อ​เรื่องของหนังพลิกผัน​ให้​แง่คิดอย่าง น่าสน​ใจ (​แม้จะยังออกส​ไตล์หนังจีนอยู่บ้าง)

​เพื่อ​ไม่​ให้ท่าน​ผู้อ่านงุนงงมาก​ไปกว่านี้สรุปสั้นๆ ​ก็คือ ​โจวซิงฉือ​เริ่ม​เรื่องด้วย​การ​เป็นลูกชายพ่อ​เมืองบ้านนอกมีอันจะกิน​แต่ ชะตาพลิกผันต้องกลาย​เป็น "ขอทาน" พูดง่ายๆ ​ก็คือ "หมดตัว" หมดสิ้น​ซึ่งทรัพย์ศฤงคารบรรดามี​ทั้งหลาย​ทั้งปวง ​ซึ่ง​โจวซิงฉือ (​หรือยาจกซู) ยอมรับ​ได้ ​แต่ที่ยอม​เสีย​ไม่​ได้​ก็คือ "ศักดิ์ศรี" ​และหากจะต้องยอม​เสียศักดิ์ศรี​เพื่อ​แลกกับ​ความ​เป็นจริงที่จำต้องอยู่ รอด​ก็​เพียง​เพื่อสักวันหนึ่งจะสามารถ"​เรียกคืน" ศักดิ์ศรี​แห่งตนนั่น​เอง

ผม​เอง​ก็​เป็นคน​เช่นนั้น​เหมือนกัน ยอมรับ​ความ​เป็นจริง ​แต่​ไม่ยอม​ให้​ความ​เป็นจริงกำหนดชะตาชีวิต
​และสัปดาห์นี้ ผมจะพาท่าน​ผู้อ่าน​ไปพบกับประ​เทศๆ หนึ่ง ​ซึ่งขณะนี้กำลังมีปัญหาศักดิ์ศรี​ไม่น้อยกว่ายาจกซู ​และกำลังต่อสู้กับ​ความ​เป็นจริงที่​เหี้ยม​โหด ​เพื่อ​เรียกคืนศักดิ์ศรี​และ​ความยิ่ง​ใหญ่ของตน​เองกลับคืนมา

ผม​เชื่อว่าน่าจะประสบ​ความสำ​เร็จ​และประ​เทศนั้น​ก็คือ "ส​เปน" นั่น​เอง
ส​เปน : นักล่าทองคำสุดขอบฟ้า ที่ยิ่ง​ใหญ่​เหนือกว่าอังกฤษจักรวรรดิ์ที่พระอาทิตย์​ไม่ตกดิน
หลายท่านอาจจะยัง​ไม่ทราบ ​แต่ก่อนที่จะมีอังกฤษ​เป็น​เจ้าครอง​โลก (ก่อนอ​เมริกา) ส​เปนคือประ​เทศที่ยิ่ง​ใหญ่ที่สุด​ในซีก​โลกตะวันตก ​เป็น​เจ้าอาณานิคมที่ครอบครองทวีปอ​เมริกา (​ใต้) ​แทบทุกตารางนิ้ว ​และ​เป็นประ​เทศที่ "บ้าทอง" ที่สุดประ​เทศหนึ่ง จนปรากฏ​เป็นตำนาน​เกี่ยวกับทองมากมายหลาย​เรื่องราวนั่นคือประวัติศาสตร์​ ในยุคศตวรรษที่ 16 ​และ 17

ส​เปน​ไม่​เกี่ยวข้อง (​โดยตรง) กับสงคราม​โลก​ทั้งสองครั้ง ​แต่​ก็​เป็นมหาอำนาจตะวันตก​เพียงประ​เทศ​เดียว​ในยุคปัจจุบันที่อยู่​ใต้​ การปกครองของ​เผด็จ​การทหาร คือนายพลฟรัง​โก ​ซึ่งปกครองส​เปนมาจน​ถึงปี 1975 ​ซึ่งต้องถือว่า​เป็นอะ​ไรที่ผิดปกติมาก ​และมีผล​ทำ​ให้พัฒนา​การทาง​เศรษฐกิจของส​เปนชะงักอยู่พอสมควร ​แต่หลังจากนายพลฟรัง​โกตาย ส​เปน​ก็​ได้​เข้า​เป็นสมาชิก "สหภาพยุ​โรป" ​และ​ก็​ได้พัฒนา​เศรษฐกิจของประ​เทศ​ได้อย่างดี​เยี่ยมตลอด​เวลา​เกือบสี่ สิบปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันส​เปน​เป็นประ​เทศที่​ใหญ่​เป็นอันดับห้า​ในบรรดาสมาชิกประ​เทศ ของสหภาพยุ​โรป ด้วยขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติมากกว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ​เรียกว่า​เป็นรอง​ก็​แค่​เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่ง​เศส อิตาลี​เท่านั้น ​และถ้า​เทียบกับ​ทำ​เนียมจอมยุทธทั่ว​โลก ​ก็มี​เพียงจีน อิน​เดีย รัส​เซีย​และบราซิล​เท่านั้นที่พอฟัดพอ​เหวี่ยง

​และที่สำคัญ​ก็คือ​ใน​เชิง​การ​แข่งขัน​ในตลาด​โลก บริษัทยักษ์​ใหญ่ของส​เปน​ก็ทรงศักดิ์ศรีที่อยู่​ในระดับ​แนวหน้าของ​โลก ธุรกิจมา​เป็น​เวลาช้านาน ​ไม่ว่าจะ​เป็นบริษัท​เท​เลฟอนนิกา ที่อยู่อันดับห้า​ในบรรดา​เท​เลคอมทั่ว​โลก ​หรือบริษัท​เรฟซอล (Repsol YPF) ​ซึ่ง​เป็น​เจ้าพ่อปิ​โตร​เคมี​ในละตินอ​เมริกา มีสาขาทั่ว​โลกกว่า 28 ประ​เทศ ผลิตน้ำมัน​ได้ 1.1 ล้านบาร์​เรลต่อวัน ​หรือธนาคารกรุ๊ปซาน​แทน​เด (Group Santander) ​ซึ่ง​เป็นธนาคาร​ใหญ่อันดับหกของ​โลก​ใน​แง่มูลค่าตลาด (ข้อมูลปี 2010) ​และ​เมื่อรวมบริษัทยักษ์ส​เปน​เข้าด้วย​ก็ติดอันดับฟอร์จูนห้าร้อย​ถึงกว่า สิบบริษัท

​โดยสรุป ส​เปน​ไม่​ใช่ประ​เทศสั่วๆ ที่จะถูก​เขี่ยตก​ทำ​เนียบ​เหมือนกิ้งกือตกท่อ​ได้ง่ายๆ ฉะนั้นที่มีคน​เปรียบว่าส​เปน​ก็​เหมือนกับกรีซ​หรือ​แย่กว่า​เสียอีก ​จึง​เป็นอะ​ไรที่น่าจะดูผิว​เผิน​ไปสักหน่อย ​แต่​ก็ต้องยอมรับว่าวิกฤติ​แฮม​เบอร์​เกอร์​ในปี 2008 ส่งผลกระ​เทือนต่อสุขภาพของส​เปน​เป็นอย่างยิ่ง

ส​เปนกับวิกฤติปี 2008 : หนักหนาสาหัส​แต่น่าจะยัง​ไม่​ถึงตาย (​แต่อาจจะ​โคม่าอีกสักระยะหนึ่ง)
ส​เปน​เริ่มประสบปัญหาวิกฤติ​เศรษฐกิจมาตั้ง​แต่ปี 2007 ​โดยตลอดปี 2007 ​ถึง​ไตรมาส​แรกของปี 2008 ​เศรษฐกิจ​เริ่มชะลออย่างหวาด​เสียว ​และหลังจากนั้น​ก็ดิ่ง​เหวมา​โดยตลอด ​เลวร้ายที่สุด​ก็คือ​ไตรมาส​แรกของปี 2009 ที่ GDP ติดลบ​ถึงกว่า 6% ​และคนว่างงาน​เพิ่มขึ้นทันที​เกือบ 1,000,000 คน
คนว่างงานกลาย​เป็นปัญหาที่หนักหนาที่สุดที่ดูจะยังคงอยู่กับส​เปนอีกนาน ผลจากวิกฤติดังกล่าว​ทำ​ให้ปัจจุบันส​เปนมีคนว่างงาน​ถึงกว่า 4,000,000 คน ​และ​เมื่อ​เทียบอัตราส่วนกับกำลัง​แรงงาน​ทั้งหมด​ก็​เป็นตัว​เลขที่น่าตก​ ใจยิ่ง ​เพราะมอง​ไปที่คนส​เปนสี่คนต้องมีหนึ่งคนว่างงาน ​และหาก​เป็นคนวัยกลางคนขึ้น​ไป (​ซึ่งมักจะหางาน​ใหม่ยากมาก) หนึ่ง​ในสองคนขณะนี้​ไม่มีงาน​ทำ ​และคนยากจะหางาน​ทำ​ได้
​เศรษฐกิจส​เปน​เริ่มดีขึ้น​ในปี 2010 ​และ 2011 ​แต่อัตรา​การ​เติบ​โตทาง​เศรษฐกิจ​ก็ยังอยู่ระหว่าง "​เกินศูนย์" หน่อยๆ กับ​ไม่​ถึงหนึ่ง ​ซึ่ง​ในภาษา​เศรษฐศาสตร์​ก็คือ​ไม่มี​การ​เติบ​โตนั่น​เอง

ฉะนั้น ต้องยอมรับว่าวิกฤติ​เศรษฐศาสตร์ปี 2008 มีผลต่อระบบ​เศรษฐกิจส​เปน​เป็นอย่างยิ่ง ที่สำคัญคือ​การที่คนส​เปนว่างงาน นอกจากจะ​เป็นปัญหาอันสืบ​เนื่องมาจาก"สภาพคล่อง" ​ในระบบที่บังคับ​ให้บริษัทจำนวนมากต้องปิดตัวลง​หรือลด​การจ้างงาน ​แต่ยังคงมีส่วนที่​เกี่ยวพันกับปัญหา "​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขัน" ​เพราะภาคส่งออกของส​เปนยังคงติดลบมาตลอด​เป็น​เวลากว่าสิบปี​แล้ว

​แต่ที่ผมยัง​เชื่อว่าส​เปนยัง​ไม่​เดี้ยง​ก็​เพราะส​เปน​เป็นประ​เทศที่ มีระบบสาธารณูป​โภคพื้นฐานดีมาก ​ใครที่​ได้​ไป​เที่ยวส​เปนจะรู้ว่า​ไม่ว่าจะ​เป็นระบบ​ไฮ​เวย์ ระบบ​โทรคมนาคม ระบบ​ไฟฟ้า ​และพลังงานทด​แทน ​ไม่ว่าจะ​เป็นพลังงาน​แสงอาทิตย์​หรือพลังงานลม ส​เปนล้วน​แต่อยู่​แนวหน้า ฉะนั้น ส​เปนยากที่จะกลาย​เป็น "ประ​เทศร้าง" ​เหมือนหลายประ​เทศ​ใน​เอ​เชียหลังวิกฤติต้มยำกุ้ง

​เหนือสิ่งอื่น​ใดส​เปน​เป็นประ​เทศที่มี "ศักดิ์ศรี" คนส​เปน​เป็นคนที่มี​ความภาคภูมิ​ใจ​ใน​ความ​เป็นชาติส​เปน​ไม่น้อยกว่ามหา อำนาจอื่นๆ​ไม่ว่าจะ​เป็นอังกฤษ​หรือฝรั่ง​เศส คนส​เปน 46 ล้านคน (ราย​ได้​เฉลี่ยคนละ 32,000 ดอลลาร์ต่อปี) ล้วน​แต่​เป็นคนที่มีคุณภาพ ปัจจุบันอุตสาหกรรมที่มุ่ง​เน้น​เทค​โน​โลยี ​ไม่ว่าจะ​เป็น​ใน​เชิง Biotech ​หรือ​ในด้าน Renewable Energy นักวิทยาศาสตร์ส​เปน ​และนักธุรกิจส​เปนล้วน​แต่อยู่​แถวหน้า

​แล้วส​เปนจะนำตัว​เองออกจากวิกฤติดังกล่าว​ได้อย่าง​ไร ​และจะ​เรียกศักดิ์ศรีของตน​เองกลับมา​ได้อย่าง​ไร (​โปรดติดตามตอนต่อ​ไปสัปดาห์หน้า).

วีระ  มานะคงตรีชีพ
23 ​เมษายน 2555

ต้นทุน "รักษ์โลก" มีค่าเท่าไร

source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20120423/447972/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

แม้วันคุ้มครองโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 22 เมษายน ของทุกปีจะผ่านมาแล้วแต่วันนี้ก็เป็นวันที่กระตุกให้ผู้คนหันมาตระหนักถึง สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น


แต่นอกเหนือจากอาการของ โลกที่เราต้องใส่ใจแล้ว เทรนด์รักษ์โลกก็มีต้นทุนที่ต้องจ่ายไม่ใช่น้อยๆ ผลสำรวจของแฮร์ริส พบว่า 34% ของผู้ใหญ่ที่ตอบแบบสอบถาม มีความกังวลเกี่ยวกับโลก ลดลงจาก 43% ในปี 2552 ขณะที่หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ชาวอเมริกันใช้เงินปีละประมาณ 1.75 แสนล้านดอลลาร์ ในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างกรณี ของเครื่องทำความสะอาดอากาศ ภายในอาคาร ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ใช้ชีวิตมากถึง 90% ของทั้งหมดภายในอาคาร ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพตามมา การทำความสะอาดอากาศภายในบ้าน เพื่อกำจัดคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซเรดอนที่ก่อให้เกิดมะเร็ง สารฟอร์มัลดีไฮที่มากับอุปกรณ์กำจัดกลิ่น และเศษซากผิวหนังของสัตว์ ทำให้ชาวอเมริกันควักเงินราว 2 พันล้านดอลลาร์ ซื้ออุปกรณ์เพิ่มคุณภาพอากาศภายในบ้านในปี 2554 อาทิ เครื่องทำความสะอาดสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ แบคทีเรีย และรา ราคาประมาณ 450-1,000 ดอลลาร์

การประหยัดน้ำ ราว 70% ของโลก คือ น้ำ แต่มีไม่ถึง 1% ที่ดื่มได้ ข้อมูลจากหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระบุว่า ครัวเรือนที่มีสมาชิก 4 คน ใช้น้ำทุกวัน วันละ 400 แกลลอนซึ่งราว 27% มาจากการกดน้ำชักโครก ยกตัวอย่าง หัวฝักบัวที่ลดการใช้น้ำเหลือ1 แกลลอนต่อนาที และสามารถประหยัดได้ปีละ 100 ดอลลาร์ มีต้นทุน 42 ดอลลาร์ ส่วนชักโครก"กลาเซียร์ เบย์" ที่ใช้น้ำแกลลอนเดียวในการกดน้ำ มีราคา 198 ดอลลาร์

พืชกำจัดสารพิษที่อาจสร้างผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เช่น ว่านหางจระเข้ ที่ช่วยกำจัดฟอร์มัลดีไฮด์และเบนซิน ที่มาพร้อมน้ำยาทำความสะอาดและสีทาบ้าน เจ้าพืชชนิดนี้มีราคา 14 ดอลลาร์
กระดาษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชาวอเมริกันใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษ 68 ล้านตัน ซึ่งทั้งกระดาษเช็ดมือ เช็ดปาก ทิชชู ที่เป็นมิตรควรมาจากการรีไซเคิล 100% และในปี 2551 ชาวอเมริกันใช้เงิน 4.8 พันล้านดอลลาร์ไปกับกระดาษดีต่อโลก

ที่นอนสีเขียว ซึ่งผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยออร์กานิก น่าจะช่วยปกป้องผิวจากการระคายเคืองและสารเคมี อย่างที่นอนยางลาเท็กซ์ธรรมชาติสลีป เทค ขนาดควีนไซส์ ราคาอยู่ที่ 2,800 ดอลลาร์

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ทั้งเครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องล้างจาน คอมพิวเตอร์ ทีวี สามารถลดต้นทุนได้ด้วยการประหยัดพลังงานและการใช้น้ำ โดยชาวอเมริกันควักเงินราว 8.67 หมื่นล้านดอลลาร์ ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ซื้อโทรทัศน์

หลอดไฟ มีสัดส่วน 18% ของเม็ดเงินที่ใช้ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ล่าสุด"ฟิลิปส์" เปิดตัวหลอดไฟเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ราคา 60 ดอลลาร์ แต่มีอายุใช้งานนานกว่า 20 ปี

เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบตั้งโปรแกรม แต่ละครัวเรือนจ่ายค่าไฟเฉลี่ย 2,200 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งอาจช่วยประหยัดได้ราว 180ดอลลาร์ต่อปี หากใช้อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิแบบนี้ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย เช่น เครื่องของฮันนีเวลล์ที่ขายในราคา 255ดอลลาร์

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดก็กรีนได้ อาทิ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ โดยในปี 255 ชาวอเมริกันใช้เงิน735 ล้านดอลลาร์ไปกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้

หน้าต่าง ประตู ช่องแสงบนหลังคา หากเปลี่ยนมาใช้แบบที่ผ่านมาตรฐานประสิทธิภาพเอเนอร์ยี สตาร์ จะช่วยให้ผู้ใช้ลดรายจ่ายค่าไฟและลดการปล่อยคาร์บอน ฟุตปรินท์ 7-15%

พลังงานแสงอาทิตย์ ราคาบ้านที่ติดตั้งระบบนี้เต็มที่จะมีค่าใช้จ่าย 35,000ดอลลาร์ ส่วนปุ๋ยหมักนอกชายคา โดยเอาขยะที่ย่อยสลายได้มาหมักเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ในสวน โดยถังหมักปุ๋ยที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล "ซอยล์เซฟเวอร์" มีราคา 100 ดอลลาร์

ขณะที่ รถไฮบริดทางเลือกใหม่ หากจอดรถยนต์ทิ้งไว้บ้านสัก 2 ครั้งต่อสัปดาห์สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ 1,600ปอนด์ต่อปี ดังนั้นจึงควรขับให้น้อยลงและใช้วิธีคาร์พูลมากขึ้น ขณะที่รถยนต์ไฮบริดเป็นทางเลือกของคนซื้อรถ โดยยอดขายรถไฮบริดในปี 2554 อยู่ที่ 272,948 คัน ในปี 2554
อีกวิธีช่วยประหยัดต้นทุนพลังงาน คือ การใช้ฉนวนบนผนัง หน้าต่าง ประตู และพื้น ซึ่งหากผ่านมาตรฐานเอเนอร์ยี สตาร์ จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ 20%

อาหาร ต้องหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบที่ใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ทำให้อาหารออร์กานิกมีราคาแพงขึ้น โดยยอดขายอาหารออร์กานิกเพิ่มขึ้นจาก 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2551 เป็น 2.67 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี2553

ผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลอย่างเครื่องสำอาง น้ำหอม ครีมกันแดด สบู่ แชมพู ล้วนมีส่วนทำให้เกิดมลภาวะเพิ่มขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ชาวอเมริกันควักเงิน 490ล้านดอลลาร์ ซื้อผลิตภัณฑ์เพอร์ซันนอล แคร์ ในปี 2554


โคเปนเฮเกน เมืองน่าอยู่ตลอดกาล

source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/travel/20120423/447332/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5.html


ทุกครั้งที่มีการสำรวจความเห็นของคนเกี่ยวกับเมืองที่มีความสุขมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม โคเปนเฮเกนมักจะติดอยู่ในอันดับต้นๆ


ของเมืองที่มีความสุข เมืองที่น่าอยู่หรือมีการออกแบบเมืองที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกอยู่เสมอ
โคเปนเฮเกน เป็นเมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ คือประมาณ  5 แสนกว่าคน เมืองนี้ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของเกาะซีแลนด์ เป็นย่านธุรกิจที่สำคัญ เนื่องจากมีการทำประมงและเป็นเมืองท่าของการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม โคเปนเฮเกนยังเป็นเมืองใหญ่ที่สวยงามและน่าสนใจเพราะมีการผสมผสานของวิถีชีวิตที่หลากหลาย

เหตุผลที่โคเปนเฮเกนติด อันดับเมืองน่าอยู่ตลอดกาลน่าจะเป็นเพราะความพยายามสร้างเมืองให้มีความ ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายหรือวัฒนธรรม แม้ว่าเมืองนี้อาจจะไม่สมบูรณ์แบบไปทั้งหมด แต่อย่างน้อยความสำเร็จบางประการก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่เมืองหลวงอื่นๆ ทั่วโลกน่าจะนำไปปรับใช้

ความสมดุลของงานและชีวิต

ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการดำรงชีวิตของชาวเดนมาร์ก บีบีซีเคยระบุว่า คนที่เป็นพ่อและแม่มีสิทธิ์ลาเลี้ยงดูบุตรที่เพิ่งเกิดและลาคลอดได้ตลอดปี โดยแบ่งกันลาคนละ 24 สัปดาห์ และจะได้รับเงินเดือนเต็มเป็นเวลาครึ่งหนึ่งของการลา ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะได้รับเงินเดือนมากถึง 90% และยังสามารถขยายการลาไปได้มากกว่า 9 ปี

นอกจากนี้รัฐบาลยังให้เงินอุดหนุนที่ครอบคลุมถึง 75% ของค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กวัยก่อนอนุบาลรวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของค่า เล่าเรียนและการดูแลสุขภาพ และโดยวัฒนธรรมแล้ว ชาวโคนมไม่ค่อยถูกกดดันให้ต้องทำงานล่วงเวลา จึงมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

ในขณะที่สวัสดิการทุกอย่างทำให้พวกเขาต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูง มาก (เดนมาร์กเป็นประเทศที่เก็บภาษีเงินได้สูงที่สุดในโลก) พวกเขาก็ยินดีที่จะจ่ายเพราะมีความไว้วางใจในรัฐบาลสูงมาก

โครงสร้างพื้นฐาน

โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนที่สำคัญต่อการเป็นเมืองน่าอยู่ของโคเปนเฮเกนคือการเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนเดินถนนและนักปั่นจักรยาน ประชากรราว 35,000 คน หรือ 40% ของชาวโคเปนเฮเกนเดินทางโดยใช้จักรยาน จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองจักรยานอันดับหนึ่งของโลก

ที่นี่ส่งเสริมการใช้จักรยานถึงขั้นให้คนเช่าฟรี โดยให้จ่ายมัดจำไว้ก่อนและคืนเงินให้เมื่อนำจักรยานมาคืนและยังสร้างโครง ข่ายถนนสำหรับจักรยานระยะทางราว 350 กิโลเมตร พร้อมสัญญาณไฟจราจรด้วย รวมถึงมีระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟใต้ดินและรถประจำทางครบครัน คนนิยมใช้บริการรถขนส่งสาธารณะและจักรยานเพราะราคาน้ำมันที่นี่ติดอันดับแพง ที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ภาษีน้ำมันก็แพงมากประมาณ 4 โครนเดนมาร์กหรือ 21 บาทต่อลิตร

สถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนก็เป็นนโยบายที่สำคัญของเมือง อาคารใหม่ส่วนมากถูกกำหนดให้ปลูกพืชและพรรณไม้ปกคลุมหลังคา ส่วนอาคารเก่าก็ถูกดัดแปลงให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด ต้นไม้บนหลังคาจะช่วยลดการไหลบ่าของฝนและช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในอาคาร อันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โคเปนเฮเกนยังพยายามที่จะเสาะหาพลังงานทางเลือกมาใช้ เช่น ซื้อพลังงานลมจากเกาะซัมซู (Samso) ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของโคเปนเฮเกน เพราะซัมซูเป็นเกาะคาร์บอนสมดุล (carbon neutral) หรือมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์และผลิตกระแสไฟฟ้าจาก พลังงานลม 100%
ในฐานะที่โคเปนเฮเกนพยายาม ที่จะทำตัวเองให้เป็นเมืองคาร์บอนสมดุลภายในปี ค.ศ. 2025 การขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืนจึงเป็นความกังวลหลัก และเพื่อแสดงถึงความท้าทายของเป้าหมายที่ต้องการรักษาทั้งสิ่งแวดล้อมและ เศรษฐกิจ ทางเมืองจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำโลก 200 คนในหัวข้อ Global Green Growth Forum ในเดือนตุลาคมนี้

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผู้ประกอบการภาคเอกชนด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และเทคโนโลยีการสื่อสารรวม ถึงนักลงทุนทางภาคเทคโนโลยี ซึ่งเป็นผู้สร้างงานขนาดใหญ่ต่างร่วมมือทำงานกับบริษัทวิจัยของเมืองหลาย บริษัท โคเปนเฮเกนกำลังกลายเป็นเมืองแห่งการเริ่มต้นที่สำคัญ ซึ่งบางส่วนน่าจะมาจากคำมั่นสัญญาเรื่องการออกแบบและวัฒนธรรมของการทำงานร่วมกัน

เมืองนี้เป็นเจ้าภาพจัดงานสนับสนุนผู้ประกอบการหลายงาน เช่น การริเริ่ม "bootcamps" หรือซอฟต์แวร์ที่ทำให้สามารถรันวินโดวส์บนเครื่องแมคอินทอช เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล

การยอมตามใจตัวเองและทำในสิ่งที่ชอบ

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้โคเปนเฮเกนเป็นเมืองแห่งความสุขและน่าอยู่ก็คือวัฒนธรรมที่บริสุทธิ์  ชาวโคเปนเฮเกนรู้ วิธีทำให้ตัวเองมีความสุขและมีช่วงเวลาที่ดีในขณะที่ยังสามารถรักษาสิ่งแวด ล้อมด้วย พวกเขากินอาหารจำพวกออร์แกนิคหรืออาหารที่ผลิตโดยไม่ใช้สารเคมีและชีวภาพใน ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตมากกว่าที่อื่นๆ ในยุโรป และยังเป็นที่ที่มีการผลิตแอลกอฮอล์มากกว่าที่ใดๆ ในยุโรปด้วย (ส่วนมากเป็นออร์แกนิคเช่นกัน)

นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารติดดาวมิชลินถึง 14 แห่ง ซึ่งมากกว่าเมืองอื่นๆ ในสแกนดิเนเวียด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่โนม่า ภัตตาคารชื่อดังของเมืองได้รับรางวัลภัตตาคารที่ดีที่สุดในโลกถึง 2 ปีซ้อน







ต่างชาติจ่อลงทุนพม่า แต่ไฟฟ้ายังขาดแคลน

ภาพมุมสูงแสดงให้เห็นบ่อน้ำมันที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน แห่งหนึ่งของพม่า แม้หมู่บ้านจะตั้งอยู่ท่ามกลางแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเช่นนี้ กลับไม่มีไฟฟ้าใช้ หลายพื้นที่ในประเทศพม่าระบบโครงข่ายไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง รายงานระบุว่ามีประชากรของประเทศเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่มีไฟฟ้าใช้. --REUTERS/Staff. 

 
รอยเตอร์ - ทันทีที่การเลือกตั้งซ่อมในพม่าผ่านพ้นไปได้ด้วยดี หลายประเทศประกาศที่จะพิจารณาและผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรเป็นรางวัลตอบแทน การปฏิรูปของพม่าและสนับสนุนให้พม่าเดินหน้าปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง แม้การผ่อนคลายยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรจะช่วยให้พม่าเดินหน้าพัฒนาประเทศต่อไป ได้ ขณะเดียวกัน ก็เอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนจากชาติต่างๆ ใช้ประโยชน์จากการเปิดประเทศในครั้งนี้ เช่น อังกฤษที่ระบุว่า จะระงับคว่ำบาตร และจะผลักดันให้สหภาพยุโรปพิจารณายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรในระหว่างการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรป ในวันที่ 23 เม.ย. นี้ ก็เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการเข้าไปลงทุนในพม่า ก่อนสหรัฐอเมริกา หรือประเทศอื่น รวมทั้งหลายประเทศที่ไม่มีการคว่ำบาตรพม่า เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย หรือแม้แต่เพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย ที่ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจในพม่าแล้ว
     
       ขณะที่นักลงทุนต่อคิวเรียงแถวอยู่หน้าประตูบ้านในขณะนี้ แต่ระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างพลังงานไฟฟ้าที่เป็น 1 ในปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนต่างชาติต้องคิดหนักก่อนจะเข้าไปในลงทุนไม่ว่าใน ประเทศใดก็ตาม กลับขาดแคลน และไม่เพียงพอใช้บริโภคภายในประเทศ
     
       หลายพื้นที่ในพม่ายังพบว่า ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ประชาชนจำเป็นต้องใช้เครื่องปั่นไฟ เช่น หมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคกลางของประเทศที่ระบุว่า เครื่องปั่นไฟเครื่องเดียวรองรับความต้องการของชาวบ้านกว่า 200 คน บางหมู่บ้านแม้จะตั้งอยู่ใจกลางแหล่งน้ำมัน แต่กลับไม่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าหลักของประเทศ ก็ต้องอาศัยพึ่งพาพลังงานจากแบตเตอร์รี่รถยนต์ หรือก่อกองไฟเพื่อให้มีแสงสว่างในเวลากลางคืน
     
       ปัญหาขาดแคลนพลังงานราคาถูก และเชื่อถือได้เช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่า จะชะลอเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเฟื่องฟูหลังเปิดประเทศ และเมื่อมาตรการคว่ำบาตรถูกยกเลิกลง และเมื่อปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข ก็ทำให้ประชาชนและนักธุรกิจต้องพึ่งพาเครื่องผลิตไฟฟ้าราคาแพงและน้ำมันนำ เข้า ส่วนบรรษัทข้ามชาติที่จ่อเตรียมเข้าลงทุนในพม่าที่เป็นปราการสุดท้ายใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อุดมด้วยทรัพยากร มองว่า ปัญหาขาดแคลนไฟฟ้านี้เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะพลังงานที่เอาแน่เอานอนไม่ได้เป็นอุปสรรคที่ทำให้การลงทุนล่าช้า แต่อีกด้านหนึ่งถือว่าเป็นโอกาสเข้าลงทุนในการขยายโครงข่ายพลังงานในพม่า
     
       การปฏิรูปอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงปีที่ผ่านมา สร้างความคาดหวังว่าคลื่นการลงทุนจากต่างชาติจะช่วยพัฒนาระบบไฟฟ้าของประเทศ หากรัฐบาลพม่าให้ความสำคัญกับการแก้ไขภาคส่วนนี้เป็นอย่างแรก แต่แม้ว่าการปฏิรูปจะคืบหน้ารวดเร็วมากเท่าใด ก็ยังต้องใช้เวลา เนื่องจากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภาคส่วนพลังงานของพม่าถูกละเลยและไม่ได้รับการจัดการที่ดี ยิ่งไปกว่านั้น การยกเลิกโครงการไฟฟ้าสำคัญ 2 โครงการ คือ โครงการเขื่อนมิตโสน ที่จีนให้การสนับสนุน และโรงไฟฟ้าถ่านหินทวายของไทย ที่รัฐบาลพม่าตอบสนองข้อร้องเรียนจากสาธารณชนเกี่ยวกับปัญหาทำลายสิ่งแวด ล้อม อาจทำให้ปัญหาด้านพลังงาน และการลงทุนในอนาคตถอยหลังไปอีก ดังนั้น เม็ดเงินลงทุนจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ในภาคพลังงานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่สุด และเป็นหนึ่งในหลายคำถามที่จะได้ยินจากผู้ที่ประสงค์จะเข้าตั้งฐานการผลิต ไม่ว่าในประเทศใดก็ตาม

ชาวพม่าพาช่างภาพดูเครื่องปั่นไฟ 1 ใน 3 เครื่อง ที่ใช้ผลิตไฟฟ้าให้แก่คนในหมู่บ้านเกือบ 3,000 คน แม้หมู่บ้านแห่งนี้จะอยู่ใกล้กับเมืองพุกาม ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในพม่า แต่โครงข่ายไฟฟ้าของส่วนกลางกลับเข้าไม่ถึง ทำให้ชาวบ้านต้องหันมาพึ่งพาเครื่องปั่นไฟ หรือแบตเตอรี่รถยนต์แทน. --REUTERS/Staff.

       พม่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดในโลกเฉลี่ย เพียง 104 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อคน เนื่องจากมีประชากรเพียงร้อยละ 25 ที่เข้าถึงโครงข่ายไฟฟ้า นอกจากนั้น ค่าไฟของพม่ายังแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ในนครย่างกุ้ง ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ ค่าไฟอยู่ที่ 35 จ๊าตต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง แต่ค่าไฟจะปรับสูงขึ้น 12 เท่า ในเมืองซิตตเว ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ
     
       สำนักงานสถิติแห่งชาติพม่าระบุว่า ไฟฟ้าพลังงานน้ำเป็นแหล่งพลังงานมากถึงเกือบร้อยละ 70 ของแหล่งผลิตพลังงานในประเทศ ขณะที่เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติครอบคลุมอยู่ที่ร้อยละ 20 และพลังงานจากถ่านหินอีกร้อยละ 9 ส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของพม่าในปีงบประมาณ 2554-2555 อยู่ที่ 2,544 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจาก 1,717 เมกะวัตต์ เมื่อ 4 ปีก่อน และกระทรวงพลังงานไฟฟ้ายังเปิดเผยว่า พม่ามีแผนโครงการก่อสร้างแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า 48 โครงการ โดยเป็นโครงการเขื่อนไฟฟ้า 45 โครงการ ที่จะเพิ่มขนาดการผลิตพลังงานในประเทศมากขึ้น 14 เท่า เป็น 36,635 เมกะวัตต์
     
       ในอีกแง่หนึ่ง พม่าอาจเพิ่มขนาดการผลิตของประเทศด้วยการใช้ประโยชน์มากขึ้นจากแหล่งก๊าซ ธรรมชาติของประเทศ ที่คาดว่ามีอยู่ราว 11-23 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ปัจจุบัน พม่าผลิตก๊าซได้ประมาณ 1,470 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ส่งออกไปไทยถึง 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และใช้ภายในประเทศเพียง 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งตอบสนองความต้องการภายในประเทศแค่ร้อยละ 48 เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอสำหรับใช้งานภายในประเทศ และสำหรับภาคเอกชนได้รับส่วนแบ่งก๊าซธรรมชาติเพียงแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น ซึ่งในอนาคตพม่าวางแผนที่จะแบ่งสัดส่วนก๊าซให้แก่ภาคเอกชนมากขึ้น
     
       อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพม่ายังคงมุ่งมั่นที่จะพึ่งการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนที่จะกลายเป็นแหล่ง พลังงานหลักสำหรับอนาคต ซึ่งจะช่วยให้พม่ายังสามารถส่งออกก๊าซธรรมชาติของประเทศไปยังไทยได้ต่อไป และผ่านท่อส่งก๊าซไปยังจีนตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป ตามนโยบายสำหรับภาคส่วนพลังงานไฟฟ้าคือ การใช้งานโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซเพียงแค่ในระยะสั้น และหันไปพึ่งพาไฟฟ้าพลังน้ำให้เป็นแหล่งคำคัญของพลังงานอย่างพอเพียง รวมทั้งความคาดหวังของรัฐบาลพม่าที่จะสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานภายใน ประเทศให้ได้ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยความช่วยเหลือจากนักลงทุนต่างชาติ หลังมาตรการคว่ำบาตรถูกยกเลิกลง.

Source : http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000049892

"อุ้มค่าไฟ"แค่วาทกรรมการเมือง

source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/sanya/20120423/447960/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87.html


ต้องจับตาค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ เอฟที ของเดือนพ.ค.-ส.ค. 2555 ซึ่งจะเคาะราคาในกลางสัปดาห์นี้ ที่ไม่ต้องลุ้น คือ

  ค่าไฟปรับขึ้นแน่นอนในงวดนี้ เนื่องจากต้นทุนค่าไฟที่เกิดเฉพาะในงวดนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ระบุออกมาแล้วว่าขึ้นไปกว่า 30 สตางค์ต่อหน่วยแล้ว

ยังไม่รวมภาระสะสมจากที่ไม่ได้ปรับค่าเอฟทีตาม ต้นทุนในรอบที่ผ่านๆ มา รวมถึงเหตุสอดแทรกที่เกิดขึ้นต่างๆ นานาในระหว่างรอบอีก เช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติหยุดส่งบ้าง การเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำซึ่งต้นทุนต่ำได้น้อยกว่าแผนบ้าง หรือแม้แต่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด หรือพีค ที่ทำลายสถิติรอบแล้วรอบเล่า จนทะลุ 25,178 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา และคงไม่หยุดเท่านี้ เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นยังมีผลต่อไปตลอดหน้าร้อนปีนี้ หรือจนถึงเดือนพ.ค. รวมต้นทุนส่วนนี้อีกหลายสิบสตางค์ต่อหน่วย

 อย่าง ไรก็ตาม ค่าไฟเป็นสินค้าการเมืองประเภทหนึ่ง ที่ไม่ได้ปรับขึ้นแบบสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แม้จะมีสูตรคำนวณราคา ซึ่งเป็นมาตรฐาน และเปลี่ยนแปลงทุกๆ 4 เดือนก็ตาม เพราะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองในแต่ละช่วงว่า สมควรจะเคาะตัวเลขสวยๆ กันอย่างไร

 ปัจจัยค่าครองชีพก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้องคิดรอบ ด้าน แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องฟังฐานเสียงประชาชนด้วยว่าจะปรับค่าเอฟทีอย่างไรไม่ ให้กระทบฐานเสียงมากเกินไป แม้จะรู้ในใจว่าต้นทุนพลังงานแทบทุกประเภท ซึ่งไม่มีวันจะกลับไปอยู่ในระดับต่ำได้เหมือนในอดีต เรียกได้ว่าเป็นนโยบายสองหน้าที่ไม่สามารถเดินไปไปด้วยกันได้

 แต่ ที่แน่ๆ แม้จะกดให้ค่าเอฟทีต่ำลง ให้คงที่ หรือปรับเพียงเล็กน้อยไม่ครอบคลุมต้นทุนจริง สุดท้ายประชาชนต้องแบกรับภาระ โดยมีการพูดถึงภาระสะสมระดับ 10,000 ล้านบาท จากนโยบายตรึงค่าไฟรอบที่ผ่านๆ มา ซึ่งส่งทอดต่อเนื่องจากรัฐบาลสู่รัฐบาล และรอวันที่จะกลับมาใส่เป็นต้นทุนแทรกซึมในค่าไฟแต่ละงวดนับจากนี้ เพื่อให้ภาระดังกล่าวหายไป เพราะไม่มีใครจะยอมรับไว้ แม้แต่งบประมาณแผ่นดิน

 “ไม่ มีของฟรี” ในโลกใบนี้ เป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้จากค่าเอฟที แม้ในบางงวดจะไม่ได้ปรับขึ้น แต่ต้นทุนที่ยังค้างอยู่ไม่ได้หายไปไหน ยังมีตัวเลขเป็นภาระที่จับต้องได้ และพอกพูนทุกวัน ซึ่งสุดท้ายประชาชนต้องจ่ายอยู่ที่ว่าจะเป็นคนรุ่นไหนจ่ายเท่านั้น ดังนั้นการตรึงราคาพลังงาน เพื่อเป็นของขวัญกับประชาชนเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีเสมอไป
 การตรึงราคาพลังงาน การเข้าไปแทรกแซงเพื่อดูแลประชาชน จึงเป็นแค่วาทกรรมทางการเมือง ที่ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายเพื่อสร้างความชอบธรรมกับประชาชนชั่วคราวเท่านั้น

 การ ประหยัดพลังงาน เพื่อทำให้เงินในกระเป๋าเพิ่ม และลดรายจ่ายของเราทุกคนเป็นเรื่องน่ายินดีกว่า และน่ายินดีกว่านั้น คือ การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าที่ทำให้มีส่วนช่วยประเทศช่วยโลก ไม่ถึงขนาดต้องใช้ชีวิตอย่างลำบาก แต่หากทุกภาคส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย ก็ขึ้นชื่อว่าได้ทำหน้าที่ "พลเมือง" เต็มขั้น

วันดี กุญชรยาคง เรียกเธอว่า...เจ้าแม่โซลาร์ฟาร์ม

source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20120423/447756/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2...%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1.html




วันดี กุญชรยาคง หญิงผู้โลว์โปรไฟล์ แต่ผุดโปรเจก "โซลาร์ฟาร์ม" ในไทยที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป้าหมายแรกสำเร็จแล้ว เป้าหมายถัดไปคือบุกอาเซียน

ขุมทองของนักลงทุนที่นับ วันจะเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในไทยและต่างประเทศ ตามเมกะเทรนด์ของโลก นั่นก็คือ "พลังงานทดแทน" (Renewable Energy) ที่ปัจจุบันมีนักลงทุนมากมายให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ ฐานที่เป็น Sun bright business
 หนึ่งในนั้นคือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) พลังงานหมุนเวียนที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดีในระยะยาวและยังเข้ากับคอนเซปต์ พลังงานสะอาด อย่างไรก็ตามแม้จะมีผู้เล่นมากมาย แต่ "น้อยราย" ที่จะพัฒนาธุรกิจนี้ได้อย่างมีอีโคโนมี ออฟ สเกล เพราะมักจะถอดใจจาก "ต้นทุนการผลิต" ในปัจจุบันที่แพงลิ่ว เมื่อเทียบกับพลังงานประเภทอื่น
 เป็นการลงทุนที่ไม่มีคนกล้าทำ (เท่าไหร่) !
 แต่ไม่ใช่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) ภายใต้การบริหารงานของ "วันดี กุญชรยาคง" ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่  เธอคืออดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โซล่าร์ตรอน จำกัด(มหาชน) ที่โบกมือลาจากตำแหน่งดังกล่าวจากปัญหาภายในซึ่งเป็นข่าวเกรียวกราว เมื่อปี 2550 หลังจากนั้นเธอเลือกที่จะเก็บตัวเงียบเป็นเวลาร่วม 2 ปี ก่อนหวนคืนวงการ
 "2 ปีนั้นมันเป็นจุดเปลี่ยนของพี่ เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตจากคนที่เคยทำงานตั้งแต่ 6-7 โมงเช้า พี่ก็ไปซื้อสปาทั่วกรุงเทพฯ มีสปาที่ไหนพี่ไปซื้อหมด พี่ว่ามันถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนชีวิต คงเป็น Timing ของมันที่เราจะถือโอกาสไปทำอย่างอื่นบ้าง ไปแสวงหาสิ่งใหม่ๆ บ้าง เข้าห้องสมุด ไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก" วันดีเล่า
 ก่อนที่จะกลับมาทำงานอย่าง "บ้าคลั่ง" หลังจากรัฐบาลประกาศให้การสนับสนุนส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) ให้กับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 8 บาทต่อยูนิต เมื่อปี 2551 ทำให้เธอมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ เธอบอก

 ความสำเร็จทางธุรกิจตามมาด้วยฉายาที่คนในวงการที่เรียกเธอว่าเป็น "เจ้าแม่โซลาร์ฟาร์ม" นั่นเป็นเพราะเธอคือผู้บุกเบิกการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในเชิงพาณิชย์ อย่างเป็นเรื่องเป็นราว จนเอสพีซีจีกลายเป็นผู้นำในการพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน
 "ตอนนี้โครงการของเราไม่ใช่แค่ Talk of the town ในประเทศ แต่ทั่วโลกหันมามองเรา ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น โปรเจคของเราใหญ่ที่สุดในอาเซียน ไม่มีใครใหญ่เท่าเรา"
 กับแผนในการพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มจำนวน 34 แห่ง แห่งละ 6 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตกว่า 240 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุนรวมประมาณ 24,000 ล้านบาท โดยโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปี 2556  โดยในปัจจุบัน 7 โครงการได้ขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ไปแล้ว ในสัญญา Non-firm (ไม่ถูกปรับกรณีไม่สามารถส่งไฟฟ้าได้ตามสัญญา) และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 9 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะจำหน่ายไฟฟ้าได้ในไตรมาสสามของปี 2555 และจะเริ่มพัฒนาอีก 18 โครงการภายในปี 2555
 คิดเป็น 25% (หนึ่งในสี่) ของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่รัฐกำหนดไว้ที่ 900 เมกะวัตต์
 ส่งให้เธอกลายเป็น 1 ใน 15 นักธุรกิจหญิงเอเชียที่น่าจับตามองที่สุด ตามการจัดอันนิตยสารธุรกิจชั้นนำ อย่างฟอร์บส์ ในปี 2554 จากธุรกิจที่ดูมีอนาคตและยังเป็นเทรนด์ของโลก (Green Business)
 นั่นเพราะมองเห็นความ"ไม่ธรรมดา"ของผู้หญิงที่ดูจากภายนอกเหมือนจะ"ธรรมดาเอามากๆ"อย่างเธอ
 ทำไมวันดีจึงคิดไม่เหมือนชาวบ้าน ไม่เพียงหลุดวังวนแห่งปัญหาในเรื่อง "ต้นทุนการผลิต"  แบบไม่ปิดกั้นตัวเองจากข้อจำกัด เธอยังมองเห็น "โอกาสทางธุรกิจ" ได้อย่างน่าทึ่ง
 นั่นเพราะคำว่า "กลยุทธ์" คำเดียว
 ทว่าใช่ว่าใครจะคิดได้ วันดีคือผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มานานกว่า 30 ปีมีคอนเนคชั่นเพียบ พ่วงด้วยดีกรีปริญญาโทด้านพลังงานทดแทนทำให้ฐานความรู้แน่น แถมยังจบปริญญาตรีทางกฎหมายที่ใครก็หลอกเธอไม่ได้ง่ายๆ
 "การที่คนอื่นๆ บ่นๆ ว่าการทำโซลาร์แพงๆ แต่เรายังเดินหน้าเพราะเรามีกลยุทธ์ Best Cost  -Best Design -Best Output เราต้องออกแบบให้มีต้นทุน มีกำไรที่เหมาะสมที่ดีต่อนักลงทุน เราเลือกราคาอุปกรณ์ ที่กำหนดไว้เลย การที่เรามีกำลังการผลิตรวม 240 เมกะวัตต์ถือว่าใหญ่มาก ทำให้เราสามารถต่อรองกับซัพพลายเออร์เพื่อให้ได้ราคาที่ดี ขณะเดียวกันรัฐบาลก็สนับสนุน Adder ให้กับผู้ผลิต ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ช่วยได้เยอะเลย" เธอบอก
 ก่อนจะเปรียบเทียบให้เห็นว่า เหมือนเราจะส่งใครเข้าประกวดนางงาม ก็ต้องไปเปรียบเทียบส่วนสูง ไปลดน้ำหนัก เพื่อให้เข้าตามสเปคของกองประกวด
 "เดิมทีต้นทุนการผลิตมันอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อกำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ แต่มันสูงเกินไปจะทำให้ยังไงให้ต้นทุนไม่เกิน 700 ล้านบาท เราก็ต้องไปหาคนที่ซัพพลายอุปกรณ์ ไปแมทชิ่งทุกอย่าง ต้องไปคิดว่ากำลังผลิต 6 เมกะวัตต์ จะผลิตไฟฟ้าได้กี่ยูนิตต่อเมกะวัตต์ เพราะมันไม่เคยมีของจริงที่ใหญ่ขนาดนี้ ต้องประเมินความเข้มของแสงอาทิตย์ในไทยซึ่งมีความเข้มสุดยอดอยู่แล้ว เพื่อหาค่าพลังงานที่จะผลิตได้ต่อยูนิต ต้องคิดต่อว่าใน 3-5 ปีค่าพลังงานจะเป็นเท่าไหร่ เพราะมันคือตัวเลขรายได้ที่จะกลับมาในระยะยาวตลอดอายุโครงการที่ 30 ปี"
 พอเราเห็นว่าทำได้ ก็ต้องพิสูจน์ให้คนอื่นเห็น ด้วยการลงมือทำ กลายเป็นโครงการโซลาร์ฟาร์มจำนวนมาก หลังสิ้นสุดโครงการในปี 2556 เธอยังมีแผนจะขยายกำลังการผลิตโซลาร์ฟาร์มล้อไปตามแผนของรัฐที่จะเพิ่มกำลัง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จาก 900 เมกะวัตต์ เป็น 2,000 เมกะวัตต์ ในระยะ 10 ปี
 "เราต้องมีสัดส่วน 25 % ในนั้น หรือมีกำลังการผลิตอย่างน้อย 500 เมกะวัตต์ ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า พี่รู้แล้วว่าจะลงอะไรบ้างแต่ยังบอกไม่ได้ โดยจะพุ่งเป้าไปในพื้นที่ภาคอีสานและในบางจังหวัดในภาคกลาง เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นที่ราบสูง น้ำไม่ท่วมแน่นอน (ทุกโครงการในปัจจุบันอยู่ภาคอีสาน) และการพัฒนาโครงการในประเทศถือว่าเป็นแผนระยะสั้น" เธอหัวเราะ
 น่าสังเกตว่า 9 โครงการโซลาร์ฟาร์มที่เปิดตัวไป ล้วนเป็นการจับมือกับพันธมิตรไม่ซ้ำหน้า เพื่อช่วยแบกรับความเสี่ยงทางธุรกิจ เสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน แต่นับจากโครงการที่ 10 เป็นต้นไป แม่เสือสาวบอกว่า จะขอทำเอง 100 % (หัวเราะ)
 มีขนมอร่อย ก็อยากเก็บไว้กินเอง !! เธอบอก
 พร้อมกับความเชื่อมั่นในอนาคตธุรกิจว่า พลังงานคือ "ปัจจัยที่ 6" ของการดำรงชีพ โดยเฉพาะเจเนอเรชั่นถัดไป จะต้องใช้พลังงานในรูปแบบใหม่ๆ เพราะพลังงานในอดีต ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน กำลังจะหมดไป นั่นหมายถึงรายได้ที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน
 ไกลกว่าธุรกิจในประเทศ ในปี 2557 แม่เสือสาว ยังมีแผนจะขยายธุรกิจเข้าในอาเซียนโดยเดินเกมใช้บริษัทในกลุ่มอย่างโซล่า เพาเวอร์ เอ็นจิเนียริ่ง (SPE) หยั่งเชิงเข้าไปรับงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงให้กับโครงการโซลาร์ฟาร์มในอาเซียน โดยเฉพาะในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่เธอสนใจมาก เพื่อสำรวจตลาด ไม่แน่ว่าเธอจะรุกเข้าไปลงทุนโครงการโซลาร์ฟาร์มในอาเซียนในภายหลังอย่าง Slow but Sure
 "ตอนนี้มันเป็นความท้าทายเพราะอยากจะพาประเทศไทยเข้าไปอาเซียน เราจะทำยังไง จะวางแผนยังไง จะเข้าไปยังไง เราต้องมีพาร์ทเนอร์อย่างไร วันนี้เรื่องนี้มันเป็นสิ่งใหม่ในอาเซียน ประเทศไทยทำก่อนก็เลยเป็นที่สนใจแต่ไม่ช้าประเทศอื่นๆ ก็จะทำตาม ถ้าเราไม่พัฒนาตัวเองเราก็จะสูญเสียความเป็นหนึ่งให้ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย เขากำลังจะประกาศโครงการออกมาเร็วๆ นี้ เพราะประเทศเขาคนเยอะ เป็นเกาะ ต้องการใช้ไฟฟ้ามาก เขาต้องพัฒนาเพื่อให้คนของเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"
 นั่นคือเป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจของเอสพีซีจี ขณะเดียวกันในส่วนของโครงสร้างองค์กร "การควบรวมกิจการ"  นับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตก้าวกระโดด ทั้งทุนจดทะเบียน รายได้ และราคาหุ้น กลายเป็นแรงส่งการลงทุน เป็นสปอตไลท์ทางธุรกิจที่ทำให้หลายคนจับจ้อง
 ที่ผ่านมา เอสพีซีจี ชื่อเดิมคือ บริษัท สตีล อินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ได้ควบรวมกิจการกับ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด (SPC) ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอนุมัติการควบรวมกิจการเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 ส่งผลให้เอสพีซีจีมี ทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 500 ล้านบาท (แบ่งออกเป็น 500 ล้านหุ้นๆ ละ 1 บาท) ต่อมาได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 515 ล้านบาท ทุนจดทะเบียนที่มากขึ้น บวกกับโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาหุ้นก้าวกระโดดจาก 1 บาทกว่าๆ มาเป็น 20 กว่าบาท และเคยทำราคาสูงสุดได้ถึง 26-27 บาทต่อหุ้น ในส่วนของทรัพย์สินที่มีอยู่ 200 กว่าล้านบาท เมื่อควบรวมกิจการทำให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาเป็น 5,000 กว่าล้านบาท
 หากทั้ง 34 โครงการ (หลายโครงการอยู่ระหว่างการพัฒนา) พัฒนาแล้วเสร็จจะทำให้เอสพีซีจีมีมูลค่าทรัพย์สินรวมกันกว่า  20,000 ล้านบาท รายได้ก็จะเข้ามาเฉลี่ยปีละ 4,000 ล้านบาท วันดี ฉายภาพ
 หันมามองที่โครงสร้างธุรกิจ เอสพีซีจี จะเป็นบริษัทโฮลดิ้ง โดยแบ่งเป็น 3 บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัทโซล่า เพาเวอร์ จำกัด (SPC)  โดยบริษัทนี้จะเป็นผู้ดำเนินโครงการโซลาร์ฟาร์ม เป็นคู่สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขณะที่มีบริษัทสตีล โซล่า รูฟ จำกัด (SSR) เป็นบริษัทสนับสนุนในการผลิตหลังคาแผงโซลาร์ เช่นเดียวกับบริษัท โซล่า เพาเวอร์ เอ็นจิเนียริ่ง (SPE) ดำเนินธุรกิจออกแบบ จัดหาอุปกรณ์ก่อสร้าง และงานบำรุงรักษาโซลาร์ฟาร์ม
 จะเห็นได้ว่า วันดีอุดช่องโหว่ในการควบคุมต้นทุนการผลิตไว้ทุกทิศทุกทาง ด้วยการมีบริษัทผลิตหลังคาแผงโซลาร์ และงานวิศวกรรม เป็นของตัวเอง แบบเบ็ดเสร็จ ไม่ให้ใครกินค่าหัวคิว




------------------------------------
สาวใหญ่ ผู้ "Low Profile"

 มาทำความรู้จัก "วันดี กุญชรยาคง" ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี  จำกัด (มหาชน) หญิงเก่งแถวหน้าวงการโซลาร์ฟาร์มให้มากขึ้น

 "น้อยคนนัก !!!" จะรู้จักตัวตนของเจ้าแม่โซลาร์ฟาร์มผู้เก็บเนื้อเก็บตัว ผู้นี้
 “ดีพี่ชอบ จริงๆ แล้วการมีชีวิตที่ Low Profile เป็นชีวิตที่มีความสุข บ้านเราก็มีผู้ใหญ่อีกหลายท่านที่ทำตัว Low Profile ก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน การเป็นแบบนี้ทำให้พี่มีชีวิตที่ง่ายขึ้น ตั้งแต่การคิด วางแผน ทำงาน เพราะคนไม่สนใจเรามาก” เธอ บอก
 เธอยังเล่าถึงหลักการดำเนินชีวิตส่วนตัวว่า สำหรับเธอแล้วจะแบ่งภารกิจไปตามช่วงวัย ช่วงแรกเกิดจนถึง 25 ปีเป็นช่วงการเรียน พอช่วงอายุ 25-50 เป็นช่วงของการเติบโตในหน้าที่การงาน เพราะฉะนั้นต้องทำให้เต็มที่ เหมือนเส้นกราฟชีวิตที่พุ่งสูงสุด (Peak)
 หลังจากอายุ 50 ปีไปแล้ว ต้องเตรียมลง มุ่งสู่ทางสงบ ไม่ใช่ว่าทำงานหามรุ่งหามค่ำ แม้ว่าเธอจะกลับเข้ามาในธุรกิจนี้อีกครั้งในวัย 50 กว่า ก็ตาม
 หากย้อนเวลากลับไปได้ วันดีบอกว่า เธออาจจะไม่หวนกลับมาทำธุรกิจอีก จากการที่เป็นคนทำอะไรทำจริงจัง แต่ในเมื่อ The show must go on ก็ต้องทำให้ดีที่สุด จะเห็นได้ว่านอกจากเธอจะเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการในเอสพีซีจีแล้ว ยังนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการในทุกๆ บริษัทลูก เพราะยังไม่สามารถวางมือได้
 “จริงๆ พี่ไม่ได้ตั้งใจทำธุรกิจแล้ว พี่อยากส่งผ่านแล้ว ต้องคิดถึงผู้ที่จะมารับช่วงต่อ ตอนนี้ก็รับพนักงานมาอบรมอย่างเดียว ดูว่าคนไหนจะเป็นสตาร์ได้ ก็จะเปิดโอกาสให้เขา คนที่จะเป็นสตาร์ได้คือคนที่ทำมากๆ คิดมากๆ สัมผัสมากๆ มันก็จะเก่ง ถ้ามัวแต่ทำอะไรในหอคอยก็คงจะเก่งยาก คนเราจะประสบความสำเร็จได้จะต้องรู้ ต้องเห็น ในสิ่งที่เป็นจริงมากที่สุดเพราะจะทำให้เราตัดสินใจได้ถูกต้อง ถ้าเราได้ข้อมูลผิดเราก็จะตัดสินใจผิด เพราะฉะนั้นเราต้องมีข้อมูลให้มากที่สุด” วันดีสะท้อนตัวตนของเธอที่เป็นคนลุย และเก็บรายละเอียด (ทุกเม็ด)
 เธอยังยกตัวอย่างว่า งานการเงิน งานเทคนิค จะใช้เทคโนโลยีอะไร ต้องรู้ เหมือนจะซื้อของสักอย่าง ก็ต้องบินไปดูเอง ไม่ใช่ดูแค่ในแค็ตตาล็อก ดูว่าโรงงานเขามีอายุกี่ปีแล้ว ผลิตอะไร มีประสบการณ์อะไรบ้าง เราอาจจะเสียอะไรบ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่การที่เราจะซื้อของเป็น 100 ล้านบาท มันต้องทำแบบนี้
 ในวันที่วันดีกำลังมองหาคนที่ใช่ ! สิ่งที่ทำไปพร้อมกันคือการวางระบบภายในองค์กรให้ดี เพราะเมื่อไรที่เธอลงจากหลังเสือ กลายเป็นคนถือแซ่ ระบบจากรันธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ด้วยตัวมันเอง
 "งานของพี่จะกระจายหมดเป็นจิ๊กซอว์ แม้คนนี้ล้มเหลวก็ยังมีคนนี้ซัพพอร์ตเสมอ คนนี้ไม่อยู่ก็ยังมีคนนี้รับมือ มันคือการบริหารความเสี่ยง เราต้องสร้างระบบให้พร้อม แล้วหาคนมารับช่วงต่อ"
 เธอยังเหมือนคนอื่นๆ ที่อยากได้ซีอีโอที่อยู่กับองค์กรนานๆ เป็นซีอีโอคนเก่ง ประสบความสำเร็จเหมือนกับซีอีโอหลายๆ คนในโลกนี้ใบนี้ แม้จะไม่ดังเท่าคนพวกนี้ แต่ขอให้มีลูกบ้า (งาน)
 "อย่างสตีฟ จ๊อบส์ มาตายตอนดัง เราอยากให้เขาดังตอนที่ยังไม่ตาย หลายๆ สิ่งที่เราทำต้องคิดอยู่ตลอดเวลา พี่ชอบอะไรที่มัน Move go on  ไปเรื่อยๆ สิ่งที่เราทำให้วันนี้มันจะเป็นผู้นำให้กับการเติบโตของเจนเนอเรชั่นถัดไป ยากมากนะกว่าจะขึ้นมาเป็นซีอีโอในวันนี้มันเหมือนพิระมิด เพราะในองค์กรมีคนตั้งเยอะ คนที่เป็นท็อปขององค์กรได้ต้องครีเอทจริงๆ และเขาต้องมีความเสียสละสุดๆ"
 สิ่งที่เราต้องทำคือ การรักษาความเป็นลีดเดอร์ขององค์กรให้ได้ และต้องเข้าไปสู่เป้าหมายที่เรากำหนดให้ได้ เธอบอก
 “พี่พยายามผลักคนอื่นๆ ให้ไปอยู่ในที่สูงๆ อย่างการทำงานทุกวันมันจะมีการสนทนา การประชุม สังเกตเลยว่าถ้ามีผู้นำที่ไหนคนนั้นจะต้องนำแล้วและต้องปิดการสนทนานั้น เพราะพวกนี้ไม่ยอมให้เสียเวลาไปเปล่าๆ พี่ไม่วางแผนตัวเองนะว่าจะเป็นซีอีโออีก 20 ปีข้างหน้า พี่มองตัวเองเป็นซีอีโออีกไม่เกิน 2  ปีแล้วไปนั่งเป็นประธานอย่างเดียว”
 ฟังเธอเล่าแล้วรู้สึกว่าเธอเป็นนักบริหารที่สมบูรณ์แบบ (Perfectionist) อยากรู้ว่า เธอเคยมีความผิดพลาดในชีวิตหรือไม่? วันดีเว้นจังหวะก่อนจะตอบแบบติดตลกว่า เคยทำผิดพลาดมาในชีวิต ก็อย่างเวลาอยากกินอะไรก็ไม่ได้กิน (หัวเราะ)  ก่อนจะบอกว่าถ้าสิ่งใดที่ไม่อยากพลาดก็ต้องเก็บรายละเอียดเยอะๆ เธอย้ำ
 "อย่างตอนนี้พี่งานหนักมากต้องอ่านเยอะ บางวันไม่ได้นอนเลยก็ทำให้ร่างกายเราไม่สมดุล  การวางแผนที่ดีจะทำให้เราผิดพลาดน้อยลง แต่คนที่ไม่ผิดพลาดเลยคือคนที่ไม่ทำงาน" เธอให้แง่คิด
 ช่วงที่เป็นซีอีโออยู่โซล่าตรอน เธอยอมรับว่า มีช่วงเวลาวิกฤติ แต่เธอเตือนตัวเองเสมอว่า ความสุขความทุกข์มันเป็นเส้นด้าย ถ้าก้าวข้ามความทุกข์ได้ก็จะพบความสุข ที่สำคัญอย่าไปตั้งความหวังกับใครว่าจะมาดีกับ (เรา) อย่างนั้นอย่างนี้ เธอบอก
 "เราต้องเชื่อว่าเราทำได้ ต้องคิดบวกอย่าไปคิดแง่ลบ เราคือซีอีโอเราคือผู้ตัดสินใจ จะให้ใครมาถือเส้นด้ายแทนเราไม่ได้"
 หลังรีไทร์ตัวเองจากหน้าที่การงานในอีกไม่กี่ปีจากนี้ วันดีบอกว่า อยากทำงานด้านภูมิสถาปัตย์ (Landscape) เพราะเห็นว่าน่าจะเป็นงานที่สนุกได้มองทั้งภาพรวม และลงลึกในรายละเอียด จะว่าไปก็ไม่ต่างจากงานบริหารองค์กร
 "มันเป็นงานที่สนุกนะ คือพี่เคยเป็นแลนด์ ดีเวลล็อปเปอร์ แต่ไม่เคยทำแลนด์สเคปมาก่อนเลย จ้างเขาหมด งานนี้มันต้องคิดหลายเรื่องคิดเรื่องความโค้ง ความสูง นูน คิดรั้วรูปแบบ ปรับปรุงตกแต่งตลอดเวลาจะเอาต้นไม้อะไร ลงสีอะไร ใบไม้จะออกมาฤดูไหน ต้องรู้จักต้นไม้  มันเป็นโลกที่อยากไป ว่างๆ ก็จะไปเดินคลอง 15  ไปดูต้นไม้" อีกบทสนทนาที่แสดงตัวตนของผู้หญิงที่ชื่อวันดี

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

มารู้ลึก..เรื่องไฟฟ้าในพม่ากันเถอะ.. (ตอนจบ)

source : http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=16&cno=3083


ว่ากันต่อเลยเพื่อไม่ให้เสียเวลากับเรื่องแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำของประทศเพื่อนบ้านเรากันเลยครับ 

แผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำของสหภาพพม่า
ใน ปัจจุบันสหภาพพม่ามีการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กังหันก๊าซ กังหันไอน้ำ และโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันดีเซล แต่เนื่องจากการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำจะต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูง และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างยาวนานกว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแบบกังหันก๊าซ และโรงไฟฟ้าแบบพลังความร้อนร่วม ดังนั้นการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำให้ใช้ได้ทันตามความต้องการนั้น จะต้องมีการพัฒนาและวางแผนในระยะยาวทั้งในแง่ของการตอบสนองต่อความต้องการ ใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน

โครงการ ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญที่ถูกบรรจุอยู่ในแผนดำเนินการของการไฟฟ้าแห่ง สหภาพพม่า ในปัจจุบันมี 25 โครงการ โดยมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นจำนวน 12,898 เมกะวัตต์ ได้แก่
1. โครงการ Thanlwin (Tasang) 3,600 เมกะวัตต์
2. โครงการ Thanlwin (Ywathit) 3,500 เมกะวัตต์
3. โครงการ Tamanthi 1,200 เมกะวัตต์
4. โครงการ Yeywa 600 เมกะวัตต์
5. โครงการ Shwezaye 600 เมกะวัตต์
6. โครงการ Tanintharyi 600 เมกะวัตต์
7. โครงการ Hutgyi 400 เมกะวัตต์
8. โครงการ Mawlaik 400 เมกะวัตต์
9. โครงการ Bilin 280 เมกะวัตต์
10. โครงการ Paunglaung 280 เมกะวัตต์
11. โครงการ Nam Kok 150 เมกะวัตต์
12. โครงการอื่นๆ 1,288 เมกะวัตต์
รวม 12,898 เมกะวัตต์

ความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้ากับประเทศไทย
รัฐบาล ไทยและรัฐบาลสหภาพพม่า ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ณ กรุงเทพมหานคร โดยทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมและร่วมมือกันพัฒนาโครงการไฟฟ้าในสหภาพพม่า เพื่อจำหน่ายให้กับประเทศไทยในปริมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งในการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้ง 2 ฝ่าย ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า โดยในส่วนของฝ่ายไทยมีผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  (กฟผ.) เป็นประธาน และมีคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการกองสนเทศเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ และมีผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ ส่วนทางด้านสหภาพพม่า รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการส่งออกไฟฟ้ามายังประเทศไทย (The Committee on the Implementation of Power Export Program to Thailand) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานความร่วมมือในการพัฒนาโครงการดังกล่าว แล้วเช่นกัน

ความคืบหน้าในการหารือเพื่อขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย
คณะ กรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลทั้งของฝ่ายไทยและฝ่ายสหภาพพม่า ได้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2541 ที่เมืองท่าขี้เหล็ก จังหวัดเชียงตุง สหภาพพม่า เพื่อดำเนินการพิจารณาในรายละเอียดของโครงการที่จะมีการรับซื้อไฟฟ้าจาก สหภาพพม่าให้ได้ 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2553 

โดยได้ข้อสรุปที่สำคัญดังนี้
1.โครงการผลิตไฟฟ้าที่ฝ่ายสหภาพพม่าเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณา มีจำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย
โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ มีจำนวน 3 โครงการ ในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่ โครงการ Nam Kok ขนาด 55 เมกะวัตต์ โครงการ Hutgyi ขนาด 400 เมกะวัตต์ โครงการ Tasang ขนาด 3,600 เมกะวัตต์
ทั้ง นี้ โครงการ Nam Kok ได้ลดขนาดกำลังการผลิตจากที่กำหนดไว้ในแผนดำเนินการเดิม จาก 150 เมกะวัตต์ เหลือเพียง 55 เมกะวัตต์ เนื่องจากข้อจำกัดของสภาพภูมิประเทศและธรณีวิทยาของที่ตั้งเขื่อน
โครงการ ผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle) มีจำนวน 1 โครงการ ในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่ โครงการ KANBAUK ขนาด 1,500 เมกะวัตต์
2. กฟผ. ได้แจ้งให้ฝ่ายพม่าทราบว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. (พ.ศ. 2541-2554) ชุด PDP 97-02 ได้กำหนดตัวโครงการผลิตไฟฟ้าที่จะจัดหาเข้าระบบไว้ครบถ้วนตามความต้องการใช้ ไฟฟ้าของประเทศ จนถึงปี 2549 แล้ว ดังนั้น ฝ่ายไทยจะพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่า ในปริมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ได้เฉพาะในช่วงระหว่างปี 2550-2553 เท่านั้น

3. กฟผ. ได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการกำหนดเส้นทางแนวสายส่งไฟฟ้าที่จะ เชื่อมโยงบริเวณชายแดน ระหว่างประเทศสหภาพพม่ากับประเทศไทยไว้แล้ว 5 เส้นทาง และได้เสนอให้ฝ่ายพม่าพิจารณาแล้ว โดยเส้นทางที่เลือกไว้เหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ป่าบริเวณชายแดนของทั้ง 2 ประเทศ น้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น จะหลีกเลี่ยงพื้นที่ป่าบริเวณ 1A พื้นที่สำหรับสัตว์ป่าอาศัย และพื้นที่ป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติ ได้แก่
เส้นทางที่ 1 บริเวณอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
เส้นทางที่ 2 บริเวณอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
เส้นทางที่ 3 บริเวณอำเภอเมือง (บ้านห้วยน้ำขาว) จังหวัดกาญจนบุรี
เส้นทางที่ 4 บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
เส้นทางที่ 5 บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทั้ง 2 ฝ่าย เห็นควรให้แต่ละฝ่ายดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นภายใต้คณะกรรมการเพื่อ ดำเนินการรับซื้อและส่งออกไฟฟ้าจากสหภาพพม่า เพื่อศึกษาในรายละเอียดของเส้นทางแนวสายส่งไฟฟ้าที่เหมาะสมดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องพาดผ่านพื้นที่ป่าบริเวณชายแดนของทั้ง 2 ประเทศต่อไป

มารู้ลึก..เรื่องไฟฟ้าในพม่ากันเถอะ.. (ตอนที่ 1)

source :http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=16&cno=3075


สหภาพ พม่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ อันได้แก่ มณฑลยูนนานของสาธารณรัฐประชาชนจีน กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เวียตนาม สหภาพพม่า และประเทศไทย โดยมีพื้นที่ประมาณ 677,000 ตารางกิโลเมตร ภาคเหนือพื้นที่เป็นภูเขาสูงปกคลุมด้วยป่าไม้ ภาคกลางเป็นพื้นที่ป่าไม้ ภาคใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีชายแดนติดต่อกับประเทศอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย อ่าวเบงกอน และทะเลอันดามัน ในปัจจุบัน สหภาพพม่ามีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 48 ล้านคน ในอดีตแรงงานจำนวนมากเป็นพวกแรงงานไร้ฝีมือ 

ทั้ง นี้ มีสาเหตุมาจากการปิดประเทศ เป็นเวลานานของสหภาพพม่า ทำให้แรงงานในประเทศขาดการฝึกฝน ขาดประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ และขาดความเข้าใจในระบบการค้าเสรี ซึ่งเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี สหภาพพม่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าอย่างมาก โดยเฉพาะพลังน้ำ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ประกอบกับ นับตั้งแต่ปลายปี 2531 เป็นต้นมา หลังจากที่รัฐบาลของสหภาพพม่า ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารประเทศ จากระบบการวางแผนจากส่วนกลาง เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีมากขึ้น โดยดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านการค้าเสรี และเปิดโอกาสให้ต่างประเทศ เข้ามาลงทุน เพื่อส่งเสริมการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าในสหภาพพม่า ทั้งในแง่การตอบสนองต่อความต้องการใช้ภายในประเทศและการส่งออกไฟฟ้าไปยัง ประเทศเพื่อนบ้าน

การจัดองค์กรสาขาพลังงานไฟฟ้าของสหภาพพม่า
กระทรวง การไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่า (Ministry of Electric Power : MOEP) ประกอบด้วย 2 หน่วยงานใหญ่ที่สำคัญได้แก่ กรมพลังงานไฟฟ้า (Department of Electric Power) และการไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่า (Myanma Electric Power Enterprise : MEPE) กระทรวงการไฟฟ้าเป็นหน่วยงานที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 โดยสภาเพื่อการพัฒนาและสันติภาพของรัฐ (The State Peace and Development Council) ได้มีคำสั่งที่ 1/97 ให้แยกงานด้านไฟฟ้าออกมาต่างหากจากกระทรวงพลังงาน (Ministry of Energy : MOE) ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานในสาขาพลังงานไฟฟ้ามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น สำหรับภารกิจหลักของกรมพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ที่เพิ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นพร้อมๆ กับการจัดตั้งกระทรวงฯ มีหน้าที่ รับผิดชอบด้านนโยบายและการวางแผนด้านกิจกรรมไฟฟ้าของประเทศ และทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ของกระทรวงการไฟฟ้า โดยจะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กับนโยบายพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ในส่วนของการไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่าจะมีหน้าที่ความร้บผิดชอบที่สำคัญในการ ดำเนินการด้านการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง และการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประเทศอย่างเพียงพอ

สถานการณ์ด้านการใช้และการผลิตไฟฟ้าของประเทศ
จาก การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ของสหภาพพม่าทั้งทางด้านการค้า และการลงทุนซึ่งได้เพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่มีการเปิดประเทศเป็นต้นมา ได้มีผลทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นจาก 332 เมกะวัตต์ ในปี 2532 เป็น 850 เมกะวัตต์ ในปี 2541 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี และเพื่อตอบสนองกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศดังกล่าว การไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่าได้ขยายกำลังผลิตไฟฟ้าของเครื่องกังหันก๊าซ และไฟฟ้าพลังน้ำให้สูงขึ้น โดยในปี 2541 มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 1,035 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็นระบบผลิตไฟฟ้าแบบเครือข่าย (National Grid System) จำนวน 876 เมกะวัตต์ และนอกระบบเครือข่าย (Outside Grid or isolated System) อีกจำนวน 159 เมกะวัตต์

ภาพรวมของทรัพยากรน้ำ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ

1. ทรัพยากรน้ำ
เนื่อง จากพื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นที่ราบสูง โดยมีทิวเขาทอดยาวจากทิศเหนือและจรดมาทางใต้ ประกอบกับได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้สหภาพพม่ามีฝนตกชุก และมีทรัพยากรน้ำอย่างมากมายล้นเหลือ ในลุ่มน้ำบริเวณ Ayeyarwady, Sittaung, Thanlwin และ Chindwin จากรายงานผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ทรัพยากรน้ำเหล่านี้สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้สูงถึง 37,000 เมกะวัตต์ โดยในจำนวนนี้จะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ประมาณ 25,000 เมกะวัตต์ และที่เหลือจะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดกลาง และขนาดเล็กซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้อีกเป็นจำนวนมากกระจายในบริเวณพื้นที่ ทั่วไปของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้สหภาพพม่าได้ดำเนินการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และผลิตได้เพียง 320 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.86 ของศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดเท่านั้น

2. ถ่านหิน
ได้ มีการประเมินว่าสหภาพพม่ามีปริมาณถ่านหินสำรองรวมทั้งสิ้นประมาณ 200-230 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถ่านหินประเภท Sub-bituminous และอยู่บริเวณพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ โดยมีเหมืองอยู่ 2 เหมือง ได้แก่ เหมืองถ่านหิน Kalewa ขนาดกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น ประมาณ 12,900 ตันต่อปี และเหมืองถ่านหิน Namma ขนาดกำลังการผลิต 25,810 ตันต่อปี อย่างไรก็ดีแหล่ง Kalewa จะเป็นแหล่งถ่านหินที่รัฐบาลของสหภาพพม่าพิจารณาว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนา เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ได้ ในอนาคต

3. ก๊าซธรรมชาติ
ใน ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบนบกได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าแบบ กังหันก๊าซจำนวน 2 หน่วย โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าหน่วยละ 100 เมกะวัตต์ และเนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบนบกมีค่อนข้างจำกัด รัฐบาลแห่งสหภาพพม่าจึงได้มีการพัฒนาและสำรวจหาแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ในทะเล แหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สำคัญซึ่งถูกค้นพบแล้ว คือ ยาดานา คาดว่าจะมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองรวมทั้งสิ้น 10 trillion ลูกบาศก์ฟุต และเยตากุนอีก 1.2 trillion ลูกบาศก์ฟุต
ใน ครั้งหน้าเราจะมาพูดกันถึงข้อที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และความร่วมมือกับประเทศเรา ติดตามอ่านกันให้ได้นะครับ...

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

อนาคตอาคารเขียว

source : http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/446611

อาคารเขียว ไม่ใช่แค่การทาสีเขียว แต่เป็นอาคารที่ประหยัดพลังงาน น้ำ ไฟ มีธรรมชาติในพื้นที่ และใช้ทรัพยากรทุกอย่างในอาคารอย่างคุ้มค่า จึงจะเป็นอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริงๆ ไม่ใช่แค่ชื่ออาคารเขียวแค่นั้น
:อาคารเขียวในไทย นายจักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ ผู้อำนวยการบริษัทร่วม สถานที่ให้บริการและการจัดการสินทรัพย์ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเสวนาเมื่อเร็วๆนี้ ในหัวข้อ “อนาคตของอาคารเขียวในประเทศไทย” ว่า ปัจจุบันสังคมไทยยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าอาคารเขียวน้อยมาก ทำให้ปัจจุบันมีอาคารเขียวที่เกิดขึ้นจริงและได้ตรงตามมาตรฐานน้อยมากๆ
 “อาคารเขียวสำหรับเมืองไทย ถือว่าอยู่ในช่วงผลักดันให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าอาคารมีความรู้ความเข้าใจและ ความคุ้มค่าในการใช้งานอาคารเขียว เพราะผู้ซื้อหรือผู้เช่านี้เองที่จะเป็นแรงกระตุ้นให้เจ้าของอาคาร หรือผู้ก่อสร้างต้องตอโจทย์ผู้ใช้งานอีกทีหนึ่ง”ผู้บริหารจากบริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
 เขาอธิบายอีกว่า ตึกที่ได้ชื่อว่าเป็นอาคารเขียว ต้องมีคุณสมบัติเด่น 5 ประการคือ พื้นที่และบริเวณรอบอาคารต้องมีธรรมชาติ ทั้งตึกต้องมีระบบประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน รวมถึงก่อสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการทรัพยากรในสำนักงานทุกอย่าง เช่น เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ หรือนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ และสุดท้ายผู้ใช้งานอาคารจะต้องมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ จึงจะถือว่าเป็นอาคารเขียวที่สมบูรณ์แบบ
 “คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการสร้างอาคารเขียวใช้ทุนสูง จะคุ้มค่าไหมถ้าลงทุน ทำให้มองข้ามความจำเป็นและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น”ผู้บริหารจากธุรกิจอสังหา อธิบายและว่า อาคารเขียวอาจมีต้นทุนเพิ่มจากตึกธรรมดา 10% ความคุ้มค่าที่มีคือ ภาคอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง จะหันมาวิจัยและพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นทางเลือก ลดต้นทุนในการนำเข้ามากขึ้น และสุดท้ายค่าวัสดุก่อสร้างจะถูกลงตามตบาดที่มีความต้องการมากขึ้น
 เขายังกล่าวต่ออีกว่า อนาคตเมืองไทยจะมีอาคารเขียวเพิ่มขึ้นแน่ๆ เพราะตอนนี้หลายธุรกิจหันมาตื่นตัวด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น อย่างเช่น บริษัทโตโยต้า บริษัทปูน หรือแม้แต่ธนาคาร ก็เริ่มกันมาสร้างสำนักงานภายใต้คอนเซ็ปต์อาคารเขียวมากขึ้นแล้ว เพราะไม่เพียงคนในองค์กรมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี แต่ยังมีผลดีกับกิจกรรมซีเอสอาร์ของบริษัทเองในแต่ละปีโดยตรงอีกด้วย
 ประโยชน์ของการมีอาคารเขียว ไม่เพียงทำให้องค์กรใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แต่วิศวกร สถาปนิกไทย อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างจะมีประสบการณ์ในการทำงานทั้งการออกแบบ ก่อสร้าง พัฒนาวัสดุที่รองรับอาคารเขียวมากขึ้น

:ภาครัฐพร้อมลุย 
  นาย ดนัย เอกกมล ผู้อำนวยการสำนักกำกับและการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานพยายามจัดกิจกรรมประกวดออกแบบบ้านและอาคารเขียวมาตลอด เพื่อปลูกฝังตั้งแต่เยาวชนและภาคธุรกิจที่ร่วมกิจกรรมมีความรู้เกี่ยวกับคำ ว่าอาคารเขียวว่าดีและคุ้มค่าอย่างไร เพื่อรองรับกระแสอาคารเขียวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน
 นอกจากกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้คนตื่นตัว พพ.ยังออกกฏเกณฑ์พื้นฐานในการก่อสร้างอาคารเขียว เพื่อรองรับการตรวจและรับรองความเป็นอาคารเขียวที่เป็นของไทยขึ้นด้วยจาก เดิมที่อ้างอิงของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจทำให้เราต้องนำเข้าวัสดุของเขามาใช้ในงานก่อสร้างด้วยจึงจะได้ มาตรฐานตามที่ประเทศเขากำหนดไว้
 “ประเทศไทยจะมีมาตรฐานอาคารเขียวเป็นของตัวเอง เพื่อให้ทุกอุตสาหกรรมตั้งแต่วัสดุก่อสร้าง ตกแต่งบ้าน รวมไปถึงนักออกแบบบ้าน วิศวกร ผู้รับเหมาได้ใช้ความรู้และฝีมือของตัวเองอย่างเต็มที่ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ไม่ต้องนำเข้าวัสดุและบุคลากรต่างชาติที่มีความรู้เฉพาะทางโดยตรง ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นการลดต้นทุนอย่างแท้จริง”ผู้บริหารจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวและว่า นอกจากกฎเกณฑ์มาตรฐานในการก่อสร้างแล้ว อนาคตพพ. ยังจะผลักดันให้มีผลต่อการลดหย่อนภาษีรายปีของผู้ประกอบการที่ใช้บริการ อาคารเขียวอีกด้วย เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนหันมาใช้บริการอาคารเขียวกันมากยิ่งขึ้น เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของประเทศ
:กสิกรไทยเป็นมิตร
 นายธีรนันท์ ศรีหงส์  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้บริหารของไทยที่มองเห็นความจำเป็นของการมีสำนักงานเขียว กล่าวว่า สำหรับธนาคารกสิกร แนวความคิดที่จะมีสำนักงานใหม่เกิดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ Green Building เกิดตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน โดยเลือกที่จะสร้างสำนักงานสีเขียวจากการต่อยอดอาคารพาณิชย์เดิมที่มีการก่อ สร้างมาก่อนแต่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้น
 “บริษัทลงทุนไปประมาณ 3 พันล้านบาท ซื้ออาคาร ซื้อที่ดินขนาดประมาณ 5 ไร่ ในเมืองทองธานี และปรับสภาพแวดล้อมด้วยสถาปัตยกรรมทั้งภายในและภายนอก โดยการยึดมาตรฐานความเป็นอาคารเขียว เพื่อให้พนักงานประมาณ 2-3 พันคนมีคุณภาพชีวิตในการทำงานระหว่างวันที่ดี”รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ธนาคารกสิกรไทย กล่าว
 หลังเปิดใช้งานอาคารอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน ผลที่ได้พบว่าคุ้มค่าในระยะยาวอย่างมาก เพราะเมื่อเทียบกับอาคารสำนักงานที่มีขนาดพอๆกัน สำนักงานเขียวของกสิกรมีรายจ่ายในส่วนของค่าไฟถูกกว่า 30% ส่วนการใช้น้ำภายในอาคารก็น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง เนื่องจากมีระบบบำบัดน้ำ แล้วนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่รวมถึงนำไปรดน้ำต้นไม้ในตอนสุดท้าย เพื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 นอกจากเรื่องของพลังงานและระบบน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว สำนักงานเขียวยังเน้นประดับด้วยกระจกใสชนิดพิเศษสะท้อนแสงน้อย แต่รับแสงเข้าภายในอาคารและถ่ายเทความร้อนได้ดี รวมถึงมีระบบควบคุมระดับอากาศภายในอาคารให้มีอุณหภูมิพอเหมาะ เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
 “ทุกองค์กรสามารถปรับอาคารที่มีอยู่เดิมมาเป็นอาคารเขียวที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างตึกใหม่เสมอไป โดยคำนึงถึงทุนในกระเป๋าและความจำเป็นของการลงทุนเปลี่ยน อาจไม่ถึงขั้นได้มาตรฐาน LEED ซึ่งเป็นเกณฑ์อาคารเขียวของสหรัฐอเมริกาก็ได้ เพียงแค่มีความตั้งใจ แม้จะทำได้ไม่ครบอย่างมาตรฐานก็ถือว่ามีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนได้แล้ว”รอง กรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. ธนาคารกสิกรไทย กล่าว
หลังจากนี้ธนาคารกสิกรจะค่อยๆปรับสำนักงานในสาขาอื่นให้เขียวไปเรื่อยๆ เพราะเห็นผลระยะยาวแล้วว่าคุ้มค่ากับการลงทุน

วุ่นแล้ว! เอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง ไม่มีสิทธิ์ ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยราคา

source : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1334647803&grpid=&catid=05&subcatid=0500

มติชนออนไลน์ รายงานว่า  เมื่อไม่นานมานี้  สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชดเชย ราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ของกระทรวงพาณิชย์
  

ประเด็นข้อหารือ คือ  ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ เห็นชอบโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ของกระทรวงพาณิชย์ โดยเป็นการรับจำนำมันสำปะหลัง จำนวน ๑๐ ล้านตัน จำกัดปริมาณการรับจำนำรายละ ๒๕๐ ตัน เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่  ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว กระทรวงพลังงานจึงมีโครงการส่งเสริมการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังสำหรับใช้ เป็นเชื้อเพลิงให้มากขึ้น   ซึ่งจะช่วยดูดซับปริมาณมันสำปะหลังในระบบและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานทด แทนในระยะยาว
  

ในการนี้ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานได้พิจารณาโครงการดังกล่าวเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ และมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิต จากมันสำปะหลัง โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลตำรวจโทวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์)  เป็นประธาน และมีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานหารือปัญหาข้อกฎหมายมายังสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาใช้ในโครงการ และการจ่ายเงินชดเชยโดยตรงให้แก่โรงงานเอทานอล รวม ๒ ประเด็น ดังนี้


๑. การใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง เพื่อสนับสนุนโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น สามารถกระทำได้หรือไม่
  


๒. หากสามารถกระทำได้ สามารถจ่ายเงินชดเชยให้แก่โรงงานเอทานอลโดยตรง ได้หรือไม่

 


ต่อมา  คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๕) ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน โดยมีผู้แทนกระทรวงพลังงาน (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากคำชี้แจงของผู้แทนกระทรวงพลังงานดังนี้
ในคราวที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ โดยการรับจำนำมันสำปะหลังตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอนั้น คณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รับไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาแนวทางขยายตลาดมันสำปะหลังอันจะทำให้เกษตรกรได้รับราคาที่เป็นธรรม มากขึ้น เช่น การนำมันสำปะหลังไปผลิตเป็นเอทานอลเพื่อการส่งออก เป็นต้น 
  


ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงได้จัดให้มีโครงการรับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ โดยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลให้รับซื้อมันสำปะหลังตาม โครงการดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ผลิตเอทานอล
  


อย่างไรก็ดี โดยที่การผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าการผลิตเอทานอลจากมัน สำปะหลังตามราคาที่มีการซื้อขายกันในท้องตลาดและการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล
  


กระทรวงพลังงานจึงมีแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลโดยจะชดเชย ราคาเอทานอลโดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากเห็นว่ากระทรวงพลังงานได้เคยมีประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ให้เอทานอลและไบโอดีเซลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมัน เชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
 


โดยข้อ ๔ ของประกาศกระทรวงพลังงานดังกล่าวกำหนดให้เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระ ราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงน่าจะถือได้ว่าเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการบริหารนโยบาย พลังงาน (กบง.) สามารถกำหนดเงินชดเชยสำหรับเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ของกระทรวงพาณิชย์ได้ตามข้อ ๒ ประกอบกับข้อ ๔ (๔) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ 
   


อย่างไรก็ดี กบง. เห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงมีมติให้สำนักงานนโยบายและแผน พลังงานหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำ สั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ หรือไม่ หากเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว กบง. สามารถใช้จ่ายเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชดเชยราคาเอทานอลที่ผลิต จากมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี ๒๕๕๔/๒๕๕๕ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวโดยจ่ายให้แก่โรงงานเอทานอลโดยตรง ได้หรือไม่



อย่างไรก็ตาม  กบง. ไม่เคยกำหนดให้เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงิน เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือให้ได้รับเงินชดเชยตามข้อ ๔ (๕) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ และไม่เคยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับเอทานอล ผู้ประกอบการโรงงานเอทานอล จึงไม่เคยส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
 

เอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่ได้จากกระบวนการหมักพืชและผลิตภัณฑ์ของพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง อ้อย น้ำตาล กากน้ำตาล ข้าวโพด จึงมีโครงสร้างและคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างจากบรรดาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจาก ปิโตรเลียม
  


คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๕) ได้พิจารณาข้อหารือประกอบกับคำชี้แจงของผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่าในเรื่องนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ๒ ประเด็น โดยมีความเห็นในแต่ละประเด็นดังต่อไปนี้
     

ประเด็นที่หนึ่ง เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ หรือไม่  เห็นว่า   บทนิยามคำว่า "น้ำมันเชื้อเพลิง" ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีด   ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน น้ำมันดิบสังเคราะห์ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตให้ได้ มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ก๊าซ ยางมะตอย หรือก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากปิโตรเลียมทั้งสิ้น แต่ เอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่ได้จากกระบวนการหมักพืช และผลิตภัณฑ์ของพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง อ้อย น้ำตาล กากน้ำตาล ข้าวโพด และมีโครงสร้างและคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างจากบรรดาน้ำมัน ยางมะตอย และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ อันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากปิโตรเลียม กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
           

นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำชี้แจงของผู้แทนกระทรวงพลังงานว่า ในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ไม่เคยกำหนดให้เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงิน เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือให้ได้รับเงินชดเชยตามข้อ ๔ (๕) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ และไม่เคยกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับเอทานอล และผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลก็ไม่เคยส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แสดงว่าแม้ กบง. เองก็เห็นว่าเอทานอลไม่เข้าลักษณะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายก รัฐมนตรี  ที่ ๔/๒๕๔๗ จึงไม่เคยกำหนดให้เอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่ง เงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือให้ได้รับเงินชดเชยตามข้อ ๔ (๕) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๔/๒๕๔๗ เพราะหากเห็นว่าเอ ทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ แล้ว สมควรที่ กบง.  จะกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าเอทานอลต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิงด้วยเพื่อมิให้การจ่ายเงินชดเชยที่อาจมีขึ้นต้องเป็นภาระแก่กองทุนฯ
      


ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๕) จึงเห็นว่า เอทานอลมิใช่น้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗     

ประเด็นที่สอง คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมีอำนาจกำหนดให้ใช้เงินของกองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิงเป็นเงินจ่ายชดเชยราคาเอทานอลให้แก่โรงงานเอทานอลโดยตรงได้หรือไม่   เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยในประเด็นที่หนึ่งแล้วว่า เอทานอลมิใช่น้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี  ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานจึงไม่มีอำนาจกำหนดให้ใช้เงินของกองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิงเป็นเงินจ่ายชดเชยราคาเอทานอลให้แก่โรงงานเอทานอลได้