วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Guangdong Daya Bay Nuclear Power Station

Number of generating units 2



Power
NSSS thermal power 2905 MWt
Gross electrical power 984 MWe
Net electrical power 944 MWe
Frequency 50 Hz



Reactor Core and Fuel
Active core height 3.66 m
Active core diameter 3.04 m
Fuel inventory 72.4 t HM
Total number of assemblies 157
Fuel material UO2
Enrichment, initial core 1.8%, 2.4%, 3.1%
Enrichment, reload 3.25%
Assembly type AFA
Number of rods per assembly 264
Rod configuration 17 × 17
Cladding material Zircaloy 4
Number of fuel cycles to full burnup 3



Reactor Vessel
Material 16 MND5
Shape cylindrical
Wall thickness 200 mm
Height 13.173 m
Inner diameter 3.99 m
Mass 327 t
Manufacturer Framatome



Containment
Type cylindrical
Design pressure 5.2 bar



Reactor cooling system
Coolant water
Operating pressure 155 bar
Core inlet temperature 293 °C
Core outlet temperature 327 °C
Total coolant mass flow 68520 t/h
Number of loops 3
Number of primary pumps 3
Number of steam generators 3
Primary pump
Voltage 6.6kV
Mass 105 t
Manufacturer Jeumont Schneider
Steam Generator
Mass 330 t
Tube material Inconel 690
Manufacturer Framatome



Steam Cycle
Steam flow rate 1615 kg/s
Steam pressure (SG outlet at full power) 68.9 bar
Steam temperature (SG outlet at full power) 283.6 °C
Steam humidity (SG outlet at full power) 0.25% max
Condenser pressure 75 mbar
Turbine Generator
Maximum rating 984 MWe
Speed 3000 rpm
High Pressure Cylinder 1 double flow
Low Pressure Cylinders 3 double flow
Generator rating 1157 MVA
Generator voltage 26 kV
Manufacturer GEC
Condenser
Cooling medium sea water
Cooling medium flow rate 44 m3/sec
Cooling medium temperature 23 °C
Tube material Titanium



Last Update: August 2008

source : http://home.pacific.net.hk/~nuclear/info0112.htm

Lamma Wind Power Station (overview)

Wind Power Station - An Overview


Lamma Wind Power Station


The launch of the Lamma wind power station represents a new chapter in Hong Kong’s electricity supply history. Wind power can now be harnessed on a commercial scale to supply electricity to local businesses and residents.


This station occupies a land area of 2,500 square metres at the hilltop of Tai Ling.


HEC hopes to achieve three major objectives through this project:


  • explore wind power as a potential supplement to fossil fuels for power generation in Hong Kong
  • gain local knowledge and experience in the planning, design, construction, operation and maintenance of wind turbines in order to possibly widen their application in Hong Kong
  • promote public awareness of the benefits and limitations of wind turbines for power generation in Hong Kong


The wind turbine is grid-connected and monitored from HEC’s control room at the Lamma Power Station.


Site Selection and Wind Turbine Capacity


Lamma Wind Power Station


There are many factors to consider when choosing a site for a wind turbine in Hong Kong, including availability of land and wind resources, proximity to existing transmission network, road access, its impact on indigenous wildlife, nearby residents and visual appeal.



Why Tai Ling, Lamma?


  • Average wind potential of around 200 W/m2 (watts per square metre) and wind speed of 5.5 m/s — sufficient for electricity generation
  • Close to existing power grid
  • Readily accessible by road, making maintenance and transporting equipment convenient
  • No impact on nearby ecosystem
  • Moderate height restriction



How was the capacity of the wind turbine determined?


Map of Lamma Island


Wind speed is very important to the operation of a wind turbine, and wind speed increases with altitude. By increasing the height of the tower, we can expose the rotor to stronger, smoother wind. We can also employ larger rotors, which produce more electricity. However, there is a height restriction of 165 mPD (metres above Principal Datum) for the wind turbine site in Tai Ling, imposed by the Hong Kong Civil Aviation Department. Since the wind turbine has been erected on a hilltop at 92 mPD, the total height of the wind turbine, including the tower and rotor, is set at 71 m, meaning that the highest point of the wind turbine is at 163 mPD.



Tai Ling Site


Tai Ling Site

Site Height(m)
Golden Bauhinia 16m
Tian Tan Big Buddha 26m
Tsim Sha Tsui Clock Tower 45m
Lamma Wind Turbine (800 kW)
Tower Height 46m
Total Height of Tower and Rotor 71


Project Milestones


The construction of the wind power station took nearly five years, from the beginning of a wind monitoring study to final service commissioning. During the course of the project, HK Electric overcame a number of challenges, including the limited choice of suitable sites, height restrictions, environmental concerns, technical difficulties, and problems relating to transporting equipment due to the rugged topography of Tai Ling.


Date Milestones
April 2001 A year-long wind monitoring study begins
April 2003 Site evaluations and selection are carried out
March 2004 Environmental impact assessment confirms that Tai Ling is the most desirable location for a wind turbine
November 2004 HK Electric receives the environmental permit from the government
February 2005 Site formation and civil work begins on the site
August 2005 Equipment arrives from Germany
September 2005 Equipment is transported to the top of Tai Ling. Due to the steep slopes and narrow path, the 50-ton tower is divided into three sections for easier transport and on-site assembly
October 2005 Functional testing, construction of exhibition centre, road works and landscaping
February 2006 Commissioning of wind power station


Technical Data


Construction


Technical Data for Lamma Wind Turbine
Manufacturer Nordex, Germany
Model N50
Rated Capacity 800 kW
Rotor Diameter 50 m
Tower Height 46 m
Cut-in Wind Speed 3 m/s
Rated Power Speed 14 m/s
Cut-out Wind Speed 25 m/s
Rotor Speed 15 / 24 rpm
Total Weight 80 tonnes


Major Components


Major components


Component Function
1 Gear box Gears up the rotational speed of the rotor
2 Pivoting Blade Tips Acts as an aerodynamic brake. When wind speeds of 25 m/s or over are detected, the pivoting blade tips will slow down the wind turbine, and then the hydraulic disk brake will be applied to bring the turbine to a complete stop to protect it
3 Yaw drive Turns the turbine assembly to keep the rotor facing into the wind as wind direction changes
4 Red colour bands and aviation warning light Red colour bands on the blade tips and the aviation warning light installed on the top of the nacelle help ensure aircraft safety
5 Blades Capture the wind and rotate the shaft
6 Tower Supports the wind turbine, houses the control panels and cables, and provides access to the nacelle for maintenance
7 Nacelle Contains the gearbox and the generator
8 Generator Generates electricity by electromagnetic induction as copper coils spin inside huge magnets
9 Wind Vane Measures wind direction and communicates with the yaw drive to orient the turbine properly with respect to the wind
10 Anemometer Measures wind speed and transmits wind speed data to the controller
11 Disc Brake Hydraulic brake that stops the rotor


Project benefits:


  • Supplies "green electricity" with no depletion of natural resources
    • Helps reduce the amount of coal burned for energy by about 350 tonnes annually
  • Contributes to the future development of renewable energy in Hong Kong
    • Provides invaluable practical experience in the construction and operation of wind turbines, and may help Hong Kong expand its use of renewable energy in the future
  • Raises public awareness of renewable energy
    • Exhibition centre aims to promote renewable energy and environmental protection
  • Creates a new landmark for Lamma Island
    • This is the first wind power station in Hong Kong and is expected to attract thousands of visitors every year.


In Harmony with Lamma


HK Electric aims to maintain a harmonious relationship with the environment where it operates. Lamma Island, home to our power station and wind power station, is one of them.


Our wind turbine has been carefully color-coordinated to blend into the local environment. It not only serves a functional purpose, but has also become a unique landmark for Lamma that will attract more visitors and enhance the ecotourism value of the island.


HK Electric’s other initiatives on Lamma Island include Lamma Fund, tree planting, greening and landscaping.


Greening and landscaping


Greening and landscaping


We helped blend the Lamma Power Station into its surroundings with trees and shrubs, rubble mound seawalls and underground transmission cables.



Lamma Fund


Lamma Fund


We set up this special community trust to establish and improve community facilities on Lamma Island, as well as to promote the conservation and ecology of the island.



Enhancing the Natural Environment


Tree planting


HK Electric has been in support of various greenery activities on Lamma Island including tree planting and developing eco-routes. Between 2005 and 2008, HK Electric and The Conservancy Association completed the “Green Lamma Green” programme, planting 2,000 trees and developing three eco-trails to promote eco-tourism on the island.

http://www.heh.com/hehWeb/AboutUs/RenewableEnergy/ExhibitionCentre/LammaWinds_en.htm

Lamma Wind Power Station





Lamma Wind Power Station

With the commissioning of the territory’s first commercial-scale wind power station, Lamma Winds, on Lamma Island in February 2006, Hongkong Electric not only turned a new chapter in Hong Kong’s electricity supply history, but also allowed the local community to enjoy for the first time the supply of electricity generated by wind power - one of the many sources of renewable energy available now.

Here in this section, you will be able to look at the real-time operation of Lamma Winds in Tai Ling on Lamma Island. You will also find out more about the background of this pioneering project, as well as the design, construction and official commissioning of the wind power station.


Lamma Winds also features an Exhibition Centre introducing the station as well as major types of renewable energy and their applications in Hong Kong and other parts of the world. It is open daily from 7am to 6pm (including Saturdays, Sundays and public holidays). Click here to find out how to get there.


Get ready now for a navigation of Hong Kong’s first wind power station in operation and find out more about the use of renewable energy at home and abroad.

The Hongkong Electric Company, Limited (HK Electric)

Electricity Generation

Lamma Power Station
Lamma Power Station
Lamma Power Station
Lamma Power Station
The Hongkong Electric Company, Limited (HK Electric) started operation on 1 December 1890 at 6:00 p.m. and lighted up Hong Kong's first electric street lights in the Central Business District. HEC established its first power station in Wan Chai and the second power station, North Point Power Station, started operation in 1919. The oil-fired Ap Lei Chau Power Station which was the third power station of the Company, was commissioned in 1968 and decommissioned in 1989. Starting from 1990, electricity generation has been entirely carried out at Lamma Power Station.

Lamma Power Station is located at a 50-hectare site at Po Lo Tsui at Lamma Island, which was gazetted and granted by the Hong Kong Government to the Company in December 1978.

Central Control Room for Lamma Power Station L7 & L8 generating units
Central Control Room for
Lamma Power Station
Central Control Room for Lamma Power Station L7 & L8 generating units
Central Control Room for
Lamma Power Station
The Lamma Power Station and Lamma Power Station Extension have a total installed capacity of 3,736MW with eight coal-fired units, five gas turbine units, one wind turbine, one 550kW solar power system and two combined cycle units. The station was developed in three stages. Stage I, which comprises three 250MW coal-fired units, was completed in 1984. Stage II, comprising three 350MW coal-fired units, one 55MW, and six 125MW gas turbines, was completed in 1991. Stage III, comprising two 350MW coal-fired units, was completed in 1997. In 2002, two 125MW gas turbines were converted to a combined cycle unit with generation capacity of 345MW. Furthermore, the first 335MW gas-fired combined cycle unit was synchronised and started its commercial operation in 2006.

Turbine Hall of the power station
Turbine Hall in Lamma
Power Station
Turbine Hall of the power station
Turbine Hall in Lamma
Power Station
The coal-fired generating units at Lamma Power Station are basically designed for 100% coal firing. To maintain the flexibility in fuel selection, capability for oil firing has been catered for. For economical reasons, all units burn 100% coal under normal operating conditions. Oil firing will only be used for start-up, shutdown or flame stabilization at low loads.

To meet the electricity demand of Hong Kong in the 21st century, two of the simple-cycle 125MW gas turbines were converted into a combined-cycle block with the addition of two heat recovery steam generators and one steam turbine. Waste heat in the flue gas of the gas turbines is utilized to increase the electricity generation capacity. It was then further converted to use natural gas as fuel to generate electricity. All the conversion were completed in 2008. Also, Hong Kong's first commercial-scale wind turbine was put into operation in Lamma in 2006. In July 2010, HK Electric commissioned a commercial-scale solar power system, which is the largest of its kind in Hong Kong, and also the first large scale project applying the amorphous silicon thin film photovoltaic (TFPV) panels in the territory. The total installed capacity is 550 kW. Moreover, Lamma Power Station was expanded for housing additional combined-cycle gas turbine units. The first gas-fired combined cycle unit was commissioned in 2006. For details, please refer to Lamma Wind Power Station and Lamma Power Station Extension.

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

'โซลาร์ ฟาร์ม’ ขุมทรัพย์ใหม่ในตลาดพลังงานไทย

คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญในเรื่องของพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเรื่องการนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า และพลังงานที่น่าจับตามมองที่สุดในตอนนี้ก็คงเป็น ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ เพราะหากพิจารณาดูแล้วก็เรียกว่าเป็นพลังงานที่เกื้อกูลธรรมชาติแทบจะที่สุด
      
       โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซล่าร์ ฟาร์ม จึงค่อยๆ ผุดราวดอกเห็ดไปทั่วทุกทวีป ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ที่ดูเหมาะเจาะไปเสียหมดทั้งเรื่องแสงอาทิตย์อัดเจิดจ้าในยามกลางวัน และภูมิทัศน์แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เอื้อกับโรงไฟฟ้าประเภทนี้อย่างยิ่ง ด้านนโยบายพลังงานของไทยเองก็สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกด้วยการให้เงินอุดหนุน บวกกับนโยบายที่ให้การไฟฟ้าฯ รับซื้อพลังงานอย่างไม่จำกัด
      
       ซึ่งในปัจจุบันก็เอกชนมีการเสนอขายไฟฟ้าต่อ กฟผ.(การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) แล้วกว่า 5,051.0 เมกะวัตต์ ในขณะที่เป้าหมายตามที่รัฐกำหนดไว้ในปี 2565 อยู่ที่ 5,604.0 เมกะวัตต์
      
       นักลงทุนภาคเอกชนเองจึงมองเห็นขุมทรัพย์ในตลาดพลังงาน คลอดโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก อาทิ โครงการโซลาร์ฟาร์ม โคราช 1โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่สุดในอาเซียน ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ที่ทุ่มทุนกว่า 700 ล้าน ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ร่วม 3 หมื่นแผง มีกำลังผลิต 6 เมกะวัตต์ และเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ เมื่อม.ย. ที่ผ่านมา โดยโกยรายเฉลี่ยวันละกว่า 4.3 แสนบาท ฯลฯ
      
       อีกหนึ่งโครงการยักษ์ที่ไม่เอ่ยถึงคงจะไม่ได้ โครงการลพบุรี โซล่าร์ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กำลังผลิต 73 เมกะวัตต์ ในจังหวัดลพบุรี ของบริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด ที่มีมูลค่ากว่า8,000 ล้านบาท ซึ่งดูเหมือนว่าสถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างก็ให้ความเชื่อมั่นในธุรกิจพลังงานประเภทนี้อยู่ไม่น้อย เพราะเดินหน้าสนับสนุนวงเงินกู้อย่างเต็มกำลังเช่นกัน
      
       โซล่าร์ ฟาร์ม ในต่างแดน
      
       ดวงอาทิตย์นั้นเป็นแหล่งรวมความร้อนขนาดมหึมา แม้จะอยู่ไกลนับล้านๆ กิโลเมตรก็ยังสัมผัสได้ถึง จึงไม่แปลกที่บรรดานักวิทยาศาสตร์หัวใส ต่างก็หวังจะนำพลังงานตรงนี้มาแปรสภาพเป็นกระแสไฟฟ้า ถึงแม้พลังงานชนิดนี้จะให้ผลที่ดีเกินคาด แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสำคัญอย่างเรื่องต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงได้
      
       อย่างไรก็ตาม หลายๆ ประเทศเริ่มหันมาสนใจกับเรื่องนี้มากขึ้นโดยเฉพาะ 3 ประเทศมหาอำนาจอย่าง สเปน เยอรมนี และจีน ที่ดูจะจริงจังและเริ่มต่อยอดกับเรื่องนี้มากที่สุด ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 สเปนก็ได้เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โรงไฟฟ้าเยมาโซลาร์ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืนเป็นแห่งแรกของโลก โดยใช้ระบบผลิตไฟฟ้าแบบหอพลังงาน ติดตั้งแผงพีวีเป็นแนวทรงกลมรวม 2,650 แผง ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 1,156 ไร่ โดยคาดว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 110 ล้านหน่วยต่อปี ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ใน 25,000 ครัวเรือน
      
       เช่นเดียวกับที่เยอรมนีก็มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งอยู่ในเมืองอาร์นสตีน ซึ่งอยู่ในหุบเขาและผลิตกระแสไฟฟ้าในลักษณะฟาร์มไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 12 เมกะวัตต์ สามารถป้อนไฟฟ้าหล่อเลี้ยงประชากรได้สูงถึง 900,000 คนเลยทีเดียว
      
       หรือที่จีนที่โครงการจะสร้างโรงงานที่เมืองตงหวง มณฑลกานซู ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ถึง 31,000 ตารางเมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 100 เมกะวัตต์ โดยทุ่มเงินมากกว่า 30,640 ล้านบาท และใช้เวลาก่อสร้างเป็นเวลา 5 ปี โดยแว่วข่าวมาว่ารัฐบาลจีนจะใช้โรงไฟฟ้าตัวนี้เป็นต้นแบบของโรงไฟฟ้าที่จะผลิตต่อไปทั่วประเทศ และต่อไปก็จะขยายธุรกิจด้วยการพลังงานไฟฟ้าไปยังต่างประเทศอีกด้วย
      
       ความน่าจะเป็นในประเทศไทย
      
       เมื่อหันกลับมามองทิศทางของพลังงานทดแทนชนิดนี้ในประเทศไทยก็ดูเหมือนว่าจะมีการตอบรับที่ดีไม่น้อย ทั้งภาครัฐก็มีนโยบายอุดหนุนพลังงานอย่างต่อเนื่อง ภาคประชาชนเองก็ไม่ได้มีการคัดค้านต่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สุดท้ายรูปธรรมที่จับต้องได้ของมันก็กลายเป็นการร่วมทุนในภาคเอกชน
      
       ดร. เดชรัตน์ สุขกําเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น อย่างแรกคือมีความเหมาะสมทางด้านทรัพยากร แม้ดวงอาทิตย์ไม่ได้มีแสงสว่างตลอดเวลา แต่ก็ถือว่าประเทศไทยมีความเหมาะสมกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับหนึ่ง
      
       ด้านแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้ของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 ((Power Development Plan : PDP2010) ก็มีการกำหนดสัดส่วนของพลังงานทดแทนไว้ที่ร้อยละ 8.0 ซึ่งก็เอื้อให้กับธุรกิจพลังงานประเภทนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการลงทุนในเรื่องของพลังงานทดแทนก็ส่งผลให้ภาครัฐเกิดการชะลอตัวในการสร้างโรงไฟฟ้าไปได้ระยะหนึ่ง
      
       “ตอนนี้พลังงานหมุนเวียนจะทำให้เขาลดการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าไปได้จำนวนหนึ่ง ถ้าถามว่าไม่มีพลังงานทดแทนแล้วเรายังเดินหน้าต่อได้ไหม...ได้ครับ พลังงานเราเพียงพอ ไม่ได้ขาด แต่ว่าการมีพลังงานทดแทนมันลดความจำเป็นในการสร้างเพิ่มขึ้น”
      
       ทิศทางของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยนั้นเพิ่มขึ้นตลอด ด้านกระทรวงพลังงานเองก็สนับสนุนเงินทดแทน นโยบายของรัฐบาลเองก็พร้อมรับซื้อพลังงานจากเอกชนทั้งหมด ทิศทางของพลังงานชนิดนี้คงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ หากรัฐบาลยังให้การสนับสนุนต่อภาคธุรกิจที่เข้ามาลงทุนทางด้านพลังงาน
      
       ทั้งนี้ ดร. เดชรัตน์ ทิ้งท้ายในเรื่องแผนยุทศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีว่า ควรกำหนดข้อตกลงการซื้อขายพลังงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมายังมีความหละหลวมกลายเป็นช่องทางฉกฉวยประโยชน์ต่อธุรกิจพลังงานของเอกชน อาทิ การออกใบอนุญาตซื้อขายพลังงาน แต่ถ้าเอกชนไม่สามารถทำตามสัญญาได้ก็ไม่ต้องถูกดำเนินการอะไร เพียงแต่ต้องแจ้งให้รัฐทราบล่วงหน้าเท่านั้น
      
       ด้านสถาบันการเงินรายใหญ่อย่างธนาคารกสิกกรไทย ก็ร่วมเป็นหัวหอกในการปล่อยกู้เพื่อลงทุนในธุรกิจด้านพลังงานแสงอาทิตย์ นพเดช กรรณสูต ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงานธุรกิจลูกค้าบรรษัท ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงปัจจัยทางด้านความเชื่อมั่นในการคืนทุนของธุรกิจพลังงานทดแทนว่า
      
       “เรามองถึงการจัดโครงสร้างธุรกิจก่อน อย่างโครงสร้างของพลังงานแสงอาทิตย์มันมีส่วนประกอบที่สำคัญในเกณฑ์พิจารณาการปล่อยกู้ ไม่ว่าจะเป็น หนึ่ง-การพิจารณาทางด้านผู้ลงทุนก่อน เราจะต้องดูก่อนว่าผู้ลงทุนเองมีความตั้งใจในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน และในส่วนของทักษะความเข้าใจเรื่องของธุรกิจ แล้วก็พิจารณาเรื่องความพร้อมของแหล่งเงินทุนมากแค่ไหน สอง-พิจารณาว่าเคยมีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในต่างประเทศมาก่อนรึเปล่า หรือดูว่ามีการทำสัญญาการซื้อขายไฟกับภาครัฐไหม กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือเปล่า สุดท้ายคือดูว่าคนที่มารับเหมาก่อสร่างโครงการมีความเชื่อถือได้แค่ไหน ซึ่งทุกข้อมันอยู่ในมาตรฐานสากลอยู่แล้ว เมื่อพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้เราก็มีความสามารถมั่นใจได้ว่าธุรกิจพลังงานฯ สามารถที่จะคืนทุนได้”
      
       แสงอาทิตย์ พลังงานทดแทนที่มาพร้อมเงิน
      
       “คนทั่วไปในระดับประชาชนของประเทศเรายังไม่ตื่นตัวด้านพลังงานทางเลือก ซึ่งก็มีอยู่บ้างแต่ไม่มาก ประเด็นต่อมาถ้าเป็นในระดับผู้ประกอบการนั้นก็ตื่นตัวเพราะอยากได้ตังค์ การทำระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อขายไฟฟ้านั้น เรื่องนี้เขาทำกันมานานแล้วเป็นการทำเพื่อกำไร เขาไม่ได้มองเรื่องของพลังงานสะอาดเป็นอย่างแรกแต่มองเรื่องผลกำไรมากกว่า”
      
       นันท์ ภักดี ตัวแทนจากอาศรมพลังงาน (สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม) กล่าวถึงอีกแง่มุมของการพลังงานทางเลือกเรื่องพลังงานทางเลือกในประเทศไทย ทั้งนี้ยังโต้แย้งถึงเรื่องค่าใช้จ่ายของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ว่า แท้จริงแล้วไม่ได้สูงอย่างที่ทราบกัน
      
       “ตอนนี้ที่จีนนั้น อุปกรณ์ในการนำมาใช้ทำระบบ ขายกันอยู่ที่วัตต์ละเหรียญหรือประมาณ 30 กว่าบาท แต่ในบ้านเราอุปกรณ์พวกนี้ขายกันวัตต์ละเป็นร้อยเลย ต่างกัน 3 เท่า เรี่องแบบนี้มันมีความซับซ้อนอยู่สูงเสียจนเราไม่สนใจมันด้วย”
      
       นันท์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่าทุกคนถูกหล่อหลอมว่าจะต้องทำไฟขายให้กับการไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งการไฟฟ้าก็เอาไปขายให้กับครัวเรือนอยู่ดี ดังนั้นมันก็แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนสามารถทำไฟใช้เองได้ แต่ไม่มีใครพูดเพราะสังคมไทยมองเรื่องผลประโยชน์เป็นสำคัญ
      
       อย่างไรก็ตามหากมองในภาพรวมโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เลขามูลนิธิโลกสีเขียว กล่าวว่าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นพลังงานที่สะอาดซึ่งมนุษย์ได้รับมาฟรีๆ แต่กลับยังไม่ได้นำมาใช้งานอย่างเต็มที่ และยังขาดการบริหารจัดการที่ดีพอของการใช้พลังงานหมุนเวียน เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นภาพใหญ่ ไม่ควรมองเฉพาะแค่พลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้น
      
       “พลังงานแสงอาทิตย์นั้นน่าใช้อยู่แล้วแต่มันก็มีข้อจำกัดอะไรหลายๆ อย่างในตัวมันเอง เพราะฉะนั้นเราไม่ควรจะมองแยกส่วนไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ต้องมองเป็นภาพใหญ่ พิจารณาดูว่าศักยภาพของพื้นที่ที่เราตั้งอยู่มีศักยภาพในการผลิตพลังงานประเภทไหน อย่างบ้านเรามีแสงแดดมาก มีชีวมวล ซึ่งสามารถนำมาแปลงเป็นพลังงาน แต่ก็ต้องมาดูว่าจะมีวิธีจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด”
      
       ดร.สรณรัชฎ์ทิ้งท้ายว่า การใช้พลังงานธรรมชาตินั้น ประชาชนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิต โดยภาครัฐจะต้องมีการผลักดันในเชิงเศรษฐกิจเพื่อจูงใจและส่งเสริมให้ประชาชนหันมาผลิตและใช้พลังงานสะอาดกันมากขึ้น
      
       “อย่างที่สเปนมีเป็นกฎหมายเลยว่าทุกบ้านจะต้องมีแผงโซล่าเซลล์ซึ่งการที่จะออกมาเป็นกฎหมายได้ก็ต้องมีการไปคิดระบบเศรษฐกิจที่จะมาสร้างแรงจูงใจและมาช่วยเหลือคนได้”
      
       ก็ไม่รู้ว่าท้ายที่สุดแล้วทิศทางของพลังงานทดแทนจะเพียงพอต่อความต้องการของมวลมนุษยชาติหรือไม่ แต่ถ้ามองภาพปัจจุบันการลงทุนในเรื่องพลังงานทดแทนผ่านโรงงานพลังแสงอาทิตย์ในเมืองไทยนั้น ได้กลายเป็นขุมทรัพย์ให้เหล่าภาคเอกชนเข้ามาลงทุนกันได้อย่างเสรีไปเรียบร้อยแล้ว...
source : http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000085761

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในวงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โลก-ไทย

 


เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้แสดงปาฐกถา “เสาหลักของแผ่นดิน” ในชุด “ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของประเทศไทย” วันนี้ผมขอนำเอาเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งในระดับโลกและในประเทศไทยมาเล่าให้ท่านผู้อ่านครับ

ที่ผมต้องพูดเรื่องนี้เพราะประเทศไทยเรามีแผนที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 5 โรง แผนนี้ “ถูกยัดเยียด” มาตั้งแต่รัฐบาลชุด คมช.จนมาเป็น “แผนพีดีพี 2010” ในช่วง 20 ปีข้างหน้า

ประเด็นที่จะกล่าวถึงในที่นี้มี 3 ข้อคือ (1) สถานการณ์โลกหลังเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นระเบิด (2) การใช้เงินจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานและงบของ กฟผ. รณรงค์อย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงการทำงานขององค์กรระดับโลกด้วย และ (3) ข้อมูลต้นทุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เปรียบเทียบกับพลังงานจากแสงอาทิตย์

กราฟข้างบนนี้มาจากรายงานฉบับร่างของ The World Nuclear Industry Status Report 2010-2011 Nuclear Power in a Post-Fukushima World 25 Years After the Chernobyl Accident , เขียนโดย Mycle Schneider, Antony Froggatt, Steve Thomas (เอื้อเฟื้อโดยลูกศิษย์ของ ดร.ชมพูนุช โมราชาติ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

ตลอดเกือบ 60 ปีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อุบัติขึ้นในโลก เราถูกโฆษณาชวนเชื่อว่ามีความปลอดภัยสูง ประเทศโน้นประเทศนี้เขาก็มีกัน จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของ “ความเจริญ” ไปแล้ว

นั่นเป็นเพียงความจริงบางส่วนเท่านั้น แต่ในกราฟนี้ได้แสดงจำนวนการเปิดใหม่ (แท่งสีเข้ม)และปิดตัวลง (แท่งสีจาง) ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตลอดมาตั้งแต่สร้างเสร็จใหม่ๆ จนกระทั่งมาปิดตัวลงจำนวนมากถึง 14 โรงในปีเดียวคือปี 1990 หลังเหตุการณ์อุบัติเหตุเชอร์โนบิล

ล่าสุดหลังเหตุการณ์ฟูกูชิมะที่ผู้สนับสนุนโฆษณาชวนเชื่อว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุเพียง 1 ใน 10 ล้านเท่านั้น แต่มันก็เกิดจนได้ และมีการปิดตัวไปถึง 6 โรงในประเทศญี่ปุ่น

ก่อนเหตุการณ์ในญี่ปุ่น ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังใช้งานทั้งหมดใน 31 ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 443 โรง (สหรัฐฯ 104, ฝรั่งเศส 58, ญี่ปุ่น 55) ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 62 โรง อยู่ในแผนที่จะสร้าง 158 โรง (จีน 50, อินเดีย 18, รัสเซีย 14) และกำลังมีการเสนอโครงการอีก 324 โรง (จีน 110, อินเดีย 40, รัสเซีย 30 รวมทั้งไทย 5 โรง)

เราถูกโฆษณาว่า “เห็นไหม ประเทศจีนที่กำลังจะเป็นมหาอำนาจใหม่ของโลกก็มีแผนจะสร้างอีกถึง 110 โรง” แต่รายงานฉบับนี้ได้บอกความจริงเพิ่มเติมว่า “จีนลงทุนสร้างกังหันลมมากเป็น 5 เท่าของนิวเคลียร์”

ในปี 2010 ประเทศจีน เยอรมนี และสหรัฐฯ ได้ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดสูงติด 3 อันดับแรกของโลกด้วยเงิน 5.4, 4.1 และ 3.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

แต่ชาวโลกไม่ค่อยได้รับทราบกันเลยว่าเรามีทางเลือกอื่น ซึ่งผมจะเรียนในภายหลังว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ตอนนี้ขอไปที่ประเด็นที่สองครับ

เนื่องจากชาวบ้านที่ทราบข่าวว่าจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดของตน เช่น อุบลราชธานี ตราด ชุมพร และอื่นๆ ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอคำชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการสิทธิฯ ได้ตั้งคำถามกับผู้แทนส่วนราชการว่า “ให้ชี้แจงการใช้งบประชาสัมพันธ์และเตรียมความพร้อมจำนวน 1,800 ล้านบาท”

ผู้แทนปลัดกระทรวงพลังงานตอบว่า “ใช้ไปจริงเพียงประมาณ 745 ล้านบาท แต่จำรายละเอียดไม่ได้ว่าได้ใช้ไปในเรื่องใดบ้าง”

อย่างไรก็ตาม อีกไม่กี่วันต่อมาศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (http://www.tcijthai.com/investigative-story/459) เปิดเผย ได้เปิดเผยว่ามีการใช้เงินไปทั้งสิ้น 1,345 ล้านบาท ดังรายละเอียดในตาราง


 




 ผมได้แสดงความเห็นในเวทีปาฐกถาไปว่า การที่หน่วยงานของรัฐใช้เงินของประชาชนทั้งจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานและจาก กฟผ. ไปโฆษณาให้ข้อมูลด้านเดียวกับประชาชน มันเป็นธรรมแล้วหรือ? น่าจะมอบเงินสักส่วนหนึ่งให้กับกลุ่มผู้คัดค้านไปศึกษาข้อมูลในส่วนที่พวกตนเห็นว่าไม่ดี ไม่เห็นด้วย แล้วนำสาระมาเสนอให้สาธารณะพิจารณา ให้สาธารณะได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุด้วยผล

อย่างนี้ซิจึงจะเป็นธรรม อย่างนี้ซิจึงจะเป็นประชาธิปไตย

อนึ่ง รายงานฉบับเดียวกันได้กล่าวถึงความคิดเห็นของคนไทยต่อกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลังเหตุการณ์ฟูกุชิมะว่า “จากการสำรวจความคิดเห็นเมื่อปลายเดือนมีนาคม พบว่า 83% ที่ไม่เห็นด้วยจะมีแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย มีเพียง 16.6% เท่านั้นที่สนับสนุน ครั้นถามว่าถ้าจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดใกล้เคียงกับจังหวัดของตน ปรากฏว่า 89.5% ไม่เห็นด้วย มีเพียง 10.5% ที่เห็นด้วย”

หลังเหตุการณ์ฟูกูชิมะ หลายไประเทศได้ทบทวนแผนที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่น ออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรีเยอรมนีประกาศยกเลิกแผนที่จะต่ออายุโรงไฟฟ้าไปอีกระยะหนึ่ง เป็นต้น แต่ประเทศไทยเราแค่เลื่อนแผนการตัดสินใจว่าจะก่อสร้างในจังหวัดใดไป 3 ปี

เมื่อพูดถึงการใช้เงินของประชาชนมาโฆษณาชวนเชื่ออย่างไม่เป็นธรรมของประเทศไทย ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงในเรื่องเดียวกันขององค์กรที่ชื่อว่า “องค์กรพลังงานสากล” IEA (International Energy Agency)

องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นโดยประเทศร่ำรวย 28 ประเทศ เมื่อปี 1974 เพื่อคานอำนาจกับกลุ่มโอเปก (ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาแต่ดันมีน้ำมันดิบมาก) ที่รวมหัวกันประกาศขึ้นราคาน้ำมันถึง 400% ในปีเดียวคือปี 1973

IEA ได้ให้เงินสนับสนุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ 1986-2008 ด้านพลังงานนิวเคลียร์ถึง 140,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 70% ของงบทั้งหมดในขณะที่ด้าน “การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ” และพลังงานหมุนเวียน ได้รับเพียงร้อยละ 17 และ 13 เท่านั้น ทั้งๆ ที่กำลังผลิตติดตั้งของพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกถึง 381 กิกะวัตต์ มากกว่าพลังงานนิวเคลียร์ที่มีเพียง 375 กิกะวัตต์

ก่อนที่ Dr.Hermann Scheer (ผู้ได้รับรางวัล Alternative Nobel) จะเสียชีวิตไม่นาน เขาได้แซวองค์กร IEA ว่าเป็น “Club of the Rich” หรือ “สโมสรของคนรวย” ซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับ “The Club of Rome” หรือ “สโมสรแห่งโรม” ที่ได้ออกมาเตือนชาวโลกมาตั้งแต่ประมาณปี 1970 ว่าถ้ายังคงพัฒนาที่มุ่งไปที่การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปแล้ว โลกจะพบกับความหายนะ

สำหรับประเด็นที่สาม นับตั้งแต่ปี 2010 งานวิจัยของศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ของ Duke University พบว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ในรัฐ North Carolina ต่ำกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


ประสาท มีแต้ม


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000084629

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นยืนยัน “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” รุ่นใหม่ปลอดภัยกว่ารุ่นฟูกูชิมะ

สภาพความเสียหายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิจิ (แฟ้มภาพจากเอเอฟพี)
ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นยืนยันเทคโนโลยี “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” รุ่นใหม่ปลอดภัยกว่ารุ่นฟูกูชิมะ ชี้ปัญหานิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ที่ไม่สามรถจัดการได้ทันท่วงที ระบุว่านักวิชาการเคยเตือน “เท็ปโก” เมื่อ 2-3 ปีก่อนถึงอันตรายจากสึนามิ แต่ผู้ประกอบการเพิกเฉย

ดร.ทากาโตชิ ทาเกโมโตะ (Dr.Takatoshi Takemoto) วิศวกรนิวเคลียร์จากห้องปฏิบัติการวิจัยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีโตเกียว (Tokyo Institute of Technology) ประเทศญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า จากประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์กว่า 20 ปีของเขานั้น บอกได้เทคโนโลยีโรงไฟฟ้นิวเคลียร์ในปัจจุบันซึ่งเดินมาถึงรุ่นที่ 4 แล้ว มีความปลอดภัยมากกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมะ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นแรก

แม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิจิ (Fukushima Daiichi) ของบริษัทโตเกียวอิเล็กทริกพาวเวอร์ (Tokyo Electric Power Co.) หรือเท็ปโก (TEPCO) จะประสบกับภัยธรรมชาติทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ แต่ในมุมของ ดร.ทาเกโมโตะมองว่าปัญหาที่เกิดนั้นเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ โดยเป็นปัญหาเรื่องการจัดการ ซึ่งหากทำได้ดีปัญหาก็จะไม่ใหญ่โตขนาดนี้ แต่เท็ปโกกลับไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อ 2-3 ปีก่อนนักวิชาการเคยเตือนว่าจะเกิดสึนามิสูงกว่าระดับกำแพง 10 เมตรที่สร้างไว้ แต่ผู้ประกอบการกลับไม่ลงทุนสร้างกำแพงให้มีความสูงในระดับที่น่าจะปลอดภัย

หลังเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติและส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดร.ทาเกโมโตะบอกว่ามีเสียงคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามมา และฝ่ายค้านใช้เป็นเรื่องโจมตีรัฐบาล แต่ขณะนี้ทางรัฐบาลยังไม่ตัดสินใจว่าจะเอานิวเคลีรย์หรือไม่ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานพื้นฐานในสัดส่วนคงที่ 34% และใช้พลังงานน้ำมันเป็นพลังงานหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยเริ่มใช้พลังงานนิวเคลียร์มาประมาณ 50 ปี ซึ่งหลังจากรัฐบาลตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงได้ส่งคนไปศึกษาเทคโนโลยีนี้ที่สหรัฐฯ

ปัจจุบันญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แบบ คือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเตาปฏิกรณ์น้ำเดือด (Boiling Water Reactor: BWR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของมิตซูบิชิ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเตาปฏิกรณ์ความดัน (Pressurized Water Reactor: PWR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของโตชิบา โดยประมาณ 80% ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด ทั้งนี้ญี่ปุ่นมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้งานอยู่ 55 โรง

สำหรับเมืองไทยหากจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บ้าง ดร.ทาเกโมโตะ แนะว่าควรต้องสร้างบุคลากรรองรับ และถ้าพัฒนาคนทางด้านนี้ขึ้นมาแล้วแต่ไทยไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ บุคลากรเหล่านั้นยังไปทำงานในโรงไฟฟ้าอื่นๆ ได้เพราะใช้ความรู้พื้นฐานเดียวกัน

ทั้งนี้ เป็นการเปิดเผยระหว่างการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ระหว่างวันที่ 6-7 ก.ค.54 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ ในหัวข้อ กึ่งศตวรรษนิวเคลียร์ไทย กับอนาคตในทศวรรษหน้า (Half Century and Upcoming Decade of Technology in Thailand)
source : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000083616

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คลิปน่าขนลุก'พายุฝุ่นยักษ์'กลืนเมืองในสหรัฐฯ!!




เอเอฟพี/เดลิเมล์ - พายุฝุ่นลูกมหึมากลืนเมืองฟินิกซ์ มลรัฐแอริโซนา ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯเมื่อวันอังคาร(5) ตามเวลาท้องถิ่น บดบังท้องฟ้าจนมืดมิดหักโค่นต้นไม้และเสาไฟฟ้าระเนระนาด


สำนักข่าวเอบีซีนิวส์รายงานว่าพายุหมุนดำทะมึนขนาดกว้าง 60 ไมล์ สูง 10,000 ฟุต พัดด้วยความแรงลม 96 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติเปิดเผยว่ามันเริ่มก่อตัวเป็นพายุในพื้นที่ทูซอนในช่วงบ่าย จากนั้นเคลื่อนพายุฝุ่นขนาดยักษ์ก็เคลื่อนมาทางเหนือและข้ามทะเลทรายก่อนโหมกระหน่ำเมืองฟินิกซ์

ทั้งนี้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯยืนยันว่าพายุลูกดังกล่าวเป็นพายุฝุ่นขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เคลื่อนผ่านพื้นที่นี้ ขณะที่พายุฝั่นลูกดังกล่าวพัดโค่นต้นไม้ล้มระเนระนาด เสาไฟฟ้าหักโค่นทำประชาชนหลายพันคนไม่มีไฟฟ้าใช้ นอกจากนี้เที่ยวบินที่มุ่งหน้าสู่เมืองฟินิกซ์ก็ต้องเลื่อนกำหนดการบินออกไปก่อน เนื่องจากพายุฝุ่นบดบังทัศนวิสัย






source : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000083172

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รีไซเคิลดีไซน์...ใช้ได้จริง

โลกใบเล็กนี้เต็มไปด้วยขยะ จากประชากรกว่า 6,000 ล้านคน ทุกวันนี้เราอยู่บนกองขยะ

รู้มั้ยว่าโลกใบเล็กที่มนุษย์กว่า 6,000 ล้านคนอาศัยอยู่นั้น เกิด กิน อยู่ นอนหลับ จนถึงหมดลมหายใจไป... แต่ละคนใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองไปมากมาย เราบริโภคแล้วทิ้ง แล้วซื้อใหม่ ใช้แล้วก็ทิ้ง คนกรุงทิ้งขยะกันวันละ 1 กิโลกรัม ต่อคนต่อวัน คิดดูเถิดว่า แต่ละเดือน แต่ละปี ถ้าเอาขยะของคนทั้งโลกมากองรวมกัน คงใหญ่กว่าโลกที่เราอยู่แน่นอน
ขยะทับถมนานปี บ้างไม่ย่อยสลาย คนตายไปเกิดใหม่อีกหลายสิบชาติ ขยะที่เคยทิ้งไปเมื่อชาติก่อนยังคงอยู่ เช่น ผ้าฝ้าย กว่าจะย่อยสลายหมดใช้เวลา 1-5 เดือน เศษกระดาษ 2-5 เดือน เชือก 3-14 เดือน เปลือกส้ม 2 ปี ผ้าขนสัตว์ 1 ปี ไม้ 12 ปี รองเท้าหนัง 25-40 ปี กระป๋องอะลูมิเนียม 80-100 ปี เหล็ก 100 ปี ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก 400-500 ปี ผ้าอ้อมสำเร็จรูป 500 ปี โฟม อันตรายมากไม่มีวันย่อยสลาย ขวดแก้ว ชั่วนิรันดร์...
โลกล้นขยะ มลพิษท่วมเมือง ปัญหาก็เกิดตามา โลกร้อน ธรรมชาติหดหาย มนุษย์นั่นแหละรับผลกระทบไปเต็มๆ ทุกวันนี้ คำว่าโลกร้อน จึงเหมาะนักกับกิจกรรมซีเอสอาร์ หรือโครงการรณรงค์เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร ทำดีมีคำชม แถมช่วยลดอุณหภูมิองศาโลก ที่อาจจะลงทีละนิดๆ แต่ก็ต่อชีวิตให้โลก
ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย...
มีไม่กี่คนนักหรอกที่ลุกขึ้นมา นำขยะทิ้งแล้วกลับมาฟื้นชีวิตใหม่ เอาไปผลิตเป็นสินค้าให้คนใช้ได้จริง หนึ่งในนั้นคือ คุณพจน์ เขียวชอุ่ม แห่ง กรีน ไทย โพรดัคท์ (Green Thai Product) แบรนด์สินค้าจาก "ฟอยล์" หรือ อะลูมิเนียม ฟอยล์ แผ่นพลาสติกบางใสสีเงินวาว ที่เห็นทั่วไปใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ยา เครื่องสำอาง ฯลฯ ฟอยล์ เป็นวัสดุเหลือใช้ ต้องทิ้งแน่ ๆ รอวันย่อยสลาย แต่หนุ่มคนนี้ช่างคิด กลับนำฟอยล์ที่ไร้ค่าในร้านขายของเก่า มาดีไซน์ใหม่เป็นกระเป๋า สมุดโน้ต ขายต่อได้ราคา เป็นนักรีไซเคิลตัวจริง
ความเป็นมาแต่เดิมนั้น คุณพจน์ ทำงานออร์แกไนซ์ จัดกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้องค์กรต่างๆ บทแรกก็ถือว่าเป็นผู้ช่วยกอบกู้สภาวะแวดล้อมโลกแล้ว...
"ทำกิจกรรมหรือซีเอสอาร์ให้บริษัทต่างๆ เช่น พาพนักงานไปปลูกป่าชายเลน สอนการสร้างฝาย อบรมเรื่องการแยกขยะ เป็นต้น พอทำไปทำมาคนที่จ้างเราก็ให้คิดว่าจะทำของชำร่วยหรือของขวัญแจกลูกค้า แต่ขอเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม บางคนให้กระเป๋าผ้าซึ่งก็แจกกันเยอะ แล้วคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้มักจะเก็บเอาไว้ เขาอยากได้สินค้าใหม่ เป้าหมายแรกมองสิ่งรอบตัวก่อน อะไรที่เป็นขยะ คนทิ้งแล้ว เอามาทำอะไรต่อไม่ได้ ตอนแรกคิดถึงบรรจุภัณฑ์จำพวกรีฟิลล์ของน้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก ที่เขาใช้แล้วทิ้งจริง ๆ เป็นขยะเลย ร้านรับซื้อของเก่าก็ไม่เอาเพราะเอาไปรีไซเคิลไม่ได้ ต้นทุนการแยกสีแพง ผมก็เอากลับออกแบบเป็นกระเป๋าใบเล็กๆ ที่ใส่นามบัตร สมุด ไปเสนอตามองค์กรที่ผลิตของเหล่านี้แหละ ไปเสนอเขาซึ่งหลายที่ก็ชอบนะ ทำโครงการขึ้นมาเอารีฟิลล์มาใช้ต่อได้ หรือเอาไปเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งต่อไป แบรนด์ของเขายังอยู่เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่มยี่ห้อนี้ เอารีฟิลล์ที่เขาทิ้งแล้วมาเย็บเป็นกระเป๋า ยังเห็นชื่อแบรนด์อยู่ ถือว่าโปรโมทไปด้วย แต่พอนานไปเราก็รอ ผ่านไป 1 ปี ก็ยังเงียบ..."
แนวคิดดีแต่ไม่มีผู้สนองตอบ เหมือนทำดีแต่ไม่มีคนเห็น คนระดับบริหารจัดการยังติดภาพลักษณ์เดิมๆ แนวคิดเดิมๆ กลัวเสียแบรนด์... การรอคอย 1 ปี ผ่านไปไม่เห็นผล ทำให้เขากลับมาคิดใหม่ ทำใหม่ ประกอบกับตัวเองก็ทดลองหาวัสดุเหลือทิ้งอย่างอื่น มาดีไซน์เป็นของใช้ได้ จนในที่สุดคิดถึง ฟอยล์
"ผมก็ลองออกแบบเป็นกระเป๋า ตอนแรกทำแล้วลงไปเว็บไซต์ บริษัท SCG มาเห็น พอดีเขาจะจัดงานสถาปนิก 53 เขาติดต่อมาว่าอยากได้กระเป๋าใส่เอกสารให้ลูกค้าที่มาร่วมงาน ผมก็ใช้ฟอยล์ ออกแบบเป็นกระเป๋า ผลตอบรับค่อนข้างดี"
วัสดุฟอยล์ ได้จากร้านรับซื้อของเก่า แต่ก็มีข้อกำจัดว่า ฟอยล์ทิ้งแล้วมักมีขนาดไม่ใหญ่ ทำสินค้าชิ้นใหญ่ๆ ไม่ได้ ข้อจำกัดอีกอย่างคือ ความมันลื่นของพื้นผิว ทำให้สกรีนสีใดๆ ไม่ได้ ตามความประสงค์ของลูกค้า เช่น สกรีนชื่อบริษัท โลโก้
"จะเขียนอะไรตกแต่งไม่ได้เลย ผมก็เลยเสนอว่าติดเป็นแถบชื่อของบริษัทหรือโลโก้แล้วเย็บติดด้านข้างเล็กๆ ตรงนี้ตอบโจทย์ลูกค้าไม่ได้เต็มที่ เหตุนี้เองเวลาที่เราสื่อสารกับลูกค้าต้องเพิ่มเป็น 2-3 เท่า"
กระเป๋าใบขนาดใหญ่ขึ้นมาต้องใช้วิธีเย็บฟอยล์เพิ่ม เพราะข้อจำกัดเรื่องขนาดนั่นเอง กระนั้นก็มี Burt's Bee มาใช้บริการ ซึ่งก็น่ารักดี ติดแค่แถบป้ายเล็กๆ ชื่อสินค้า ให้คนถือคนใช้รู้ว่านี่คือกระเป๋าจากวัสดุฟอยล์ ที่ใช้แล้วทิ้ง
"ยังไงฟอยล์ก็ถูกทิ้งอยู่ดี ถ้าผลิตเป็นสินค้าใหม่แล้วลูกค้าไม่ซื้อ มันก็ต้องกลับไปเป็นขยะอยู่ดี ล็อตแรกที่ทำให้ SCG เป็นกระเป๋าราวหมื่นชิ้น ต่อมาก็มีข้อจำกัดอีกว่า งานอีเวนท์เรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ได้มีทุกวัน ผมก็เลยออนไลน์สินค้าออกไป แล้วมองหาสถานที่จำหน่าย มีออเดอร์ต่างประเทศมาก เมื่อต้นปีก็ได้ออกงานแฟร์กับกรมส่งออก ซึ่งทำให้เราพอรู้ทิศทางการตลาด อย่างไรก็ดี ธุรกิจรีไซเคิลจริงๆ อยู่ยาก เหนื่อย หาผู้สนับสนุนค่อนข้างยาก โดยเฉพาะเรื่องทัศนคติ"
แต่โชคดีก็เริ่มเห็น หลังจากออนไลน์ไปแล้ว ตลาดต่างประเทศเห็นแล้วปิ๊ง ติดต่อไปขายต่อ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลย์ ชาวยุโรปที่คาดหวังได้แต่เข้ามาดูและชื่นชม แต่ไม่ซื้อ
"รัสเซียเห็นเขาชอบซื้อไปขายต่อ ส่วนคนไทยก็เริ่มให้ความสนใจ เวลาวางสินค้าผมจะมีวัสดุให้เห็นเป็นชิ้นๆ ว่าเป็นมายังไง เราต้องอธิบาย ฟอยล์ก็มีความหนาและความวาวต่างกัน เช่น บางชิ้นมันมาก บางชิ้นสีเทาอ่อนเข้มไม่เท่ากัน ผมว่าคนไทยกับทัศนคติเรื่องใช้ของรีไซเคิล ต้องปรับเปลี่ยน เริ่มดีขึ้นหน่อยแล้ว เราไม่ค่อยใช้ของรีไซเคิล หรือไม่รู้สึกว่าภูมิใจที่จะใช้สินค้าเหล่านี้ ไม่เหมือนแบรนด์เนม เขาจะคิดว่าสินค้ารีไซเคิลมีก็ได้ไม่มีก็ได้"
แต่ถ้ามีแล้วใช้ก็เท่ากับเราช่วยลดปริมาณขยะ กระเป๋าฟอยล์แบรนด์กรีน ไทย โปรดักท์ เริ่มแตกไลน์ขยายดีไซน์ใหม่ และตั้งราคาขายที่ทุกคนสัมผัสได้เช่น กระเป๋าใส่ไอแพด 300.- ซองมือถือ 150.- กระเป๋าสตางค์ 290.- ซองใส่นามบัตร 100.- กระเป๋าสะพายมีหลายขนาด 200-450.- กระเป๋าใส่ของอเนกประสงค์ ใส่ซีดี ใช้วัสดุอย่างอื่นประกอบกันดูทันสมัยขึ้น เช่น เดินเส้นขอบกระเป๋าด้วยผ้าหรือวัสดุอื่นๆ หรือทำซับในเป็นวัสดุสีสดใส ใช้หนังเทียมมาทำหูหิ้วหรือเดินเส้นขอบ สมุดโน้ตข้างในเป็นกระดาษรีไซเคิลจากเยื่อกระดาษกล่องนม
"ตอนนี้สินค้าเราวางขายในห้างสรรพสินค้า เช่น BeTrend ห้างโรบินสัน สยามพารากอน TCDC ล่าสุดในร้าน Propaganda ที่เขาให้พื้นที่เราเยอะเลย มีทุกคอลเลคชั่น"
ช่วยลดโลกร้อน ต้องช่วยกันใช้สินค้ารีไซเคิล เท่ากับทิ้งขยะน้อยลงวันละชิ้น ให้โลกยิ้มต่อไป...
หมายเหตุ : Green Thai Product โทร.02-513-4838, www.greenthaiproduct.com
คิดดี โปรเจ็คท์...เศษผ้าน่ารัก
ตุ๊กตา พรมเช็ดเท้า กระเป๋าเล็ก-ใหญ่ หมวก พวงกุญแจ ของทำมือล้วนๆ จากเศษผ้าและวัสดุเหลือทิ้ง เป็นของน่ารักๆ รีไซเคิลแท้ๆ จากมูลนิธิบ้านเกร็ดตระการ วางจำหน่ายในโครงการ คิดดี โปรเจ็คท์ (Kiddi Project) ซึ่งหนึ่งในผู้ร่วมโครงการ ได้แก่ อาจารย์จารุพัชร อาชวะสมิต เท็กซ์ไทล์ ดีไซเนอร์ กับเพื่อนๆ นักออกแบบ เป็นอาสาสมัครมาช่วยสอนเด็กสาวจาก บ้านเกร็ดตระการ เป็นศิลปะบำบัดสอนทำผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าที่ไป "ขอเขามา" บางส่วนเป็นผ้าจาก จิม ทอมป์สัน โดยตัดเย็บร่วมกับวัสดุประกอบชิ้นอื่นที่ต้องซื้อ เช่น ห่วงของพวงกุญแจ เส้นด้ายที่ใช้ตัดเย็บ โดยผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่าย รายได้มอบให้เด็กเจ้าของชิ้นงานนั้นๆ ทั้งหมด เช่น กระเป๋าใบละ 200 บาท เด็กๆ จะได้รับเงินเต็มจำนวน มีใบเอกสารแผ่นเล็กๆ แนบอยู่ยืนยันว่า เงินรายได้ให้น้องๆ ทั้งหมด เพื่อเป็นทุนการศึกษาและดำรงชีวิตอยู่ต่อไป
เด็กหญิงจากบ้านเกร็ดตระการ เกาะเกร็ด นนทบุรี เป็นเด็กสาวอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ถูกล่อลวงมาค้าประเวณี มีทั้งเด็กพม่า ลาว กัมพูชา และเด็กไทย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไปเข้าจับกุมแล้วก็จะพาเด็กๆ มาอยู่ที่นี่ ฝึกสอนวิชาชีพให้และรอส่งกลับบ้าน ดังนั้น ผลงานของเด็กๆ เมื่อขายได้จะเก็บเป็นเงินรวบรวมมอบให้แก่เด็กๆ รอเวลาส่งกลับบ้าน...
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า วัสดุรีไซเคิลล้วนๆ ที่สถาบันคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ โทร.02-5845115-6 หรือเลือกดูผลิตภัณฑ์ที่ www.facebook.com/kiddiproject

source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/living/20110704/398696/รีไซเคิลดีไซน์...ใช้ได้จริง.html




วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

2 บิ๊ก "ว่องกุศลกิจ" นำเครือน้ำตาลมิตรผลผงาดขึ้นผู้นำธุรกิจ"ชีวพลังงาน" ผลิตไฟฟ้าชีวมวล เตรียมงบฯ 5,000 ล้านบาทขยายโรงงานใหม่ในจังหวัดเลยไฮเทคโนโลยีโคเจนฯ เร่งขยายพื้นที่ปลูกอ้อย เพิ่มกำลังการผลิตน้ำตาลและชีวมวลทั้งทั่วไทย ลาว จีน


นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เปิดเผยว่า ได้ขับเคลื่อนแผนธุรกิจการเป็นผู้นำพัฒนาการลงทุนชีวพลังงานเต็มรูปแบบ โดยใช้อ้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการผลิตน้ำตาล ทำระบบไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อย และเชื้อเพลิงพลังงานที่อยู่ระหว่างศึกษาอย่างเอทานอล


ขณะนี้มีโครงการจะใช้เงิน 5,000 ล้านบาท ขยายโรงงานน้ำตาลที่จังหวัดเลย ผนวกทำโครงการไฟฟ้าชีวมวลไฮเทคโนโลยีด้วยแรงดันไอน้ำจากเครื่อง boiler ประสิทธิภาพสูงเป็นแห่งแรกในลักษณะโคเจเนอเรชั่น จะแล้วเสร็จปลายปี 2555 หรือต้นปี 2556 เบื้องต้นตั้งเป้ากำลังการผลิตน้ำตาล 15,000-20,000 ตันอ้อย/วัน ส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าชีวมวลยังต้องรออีกสักระยะเพื่อประเมินปริมาณชานอ้อยและ ความต้องการใช้งาน

ขณะที่ภาพรวมของตลาดเอเชียปัจจุบันยังขาดแคลนน้ำตาลอยู่ถึง 10 ล้านตัน/ปี แถมประชากรมีกว่า 3,000 ล้านคน โดยมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง จึงเป็นจังหวะและโอกาสของผู้ค้าน้ำตาลทุกรายที่พร้อมจะเข้าไปชิงส่วนแบ่งรายได้ ด้วยการวางกลยุทธ์ลงทุนหาวัตถุดิบมาผลิตป้อนความต้องการตลาดให้ได้มากที่สุด เครือน้ำตาลมิตรผลเองวางแผนมาเป็นอย่างดีนับจากปลายปี 2553 ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัท แมรี่เบอโรว์ ชูการ์ แฟคตอรี่ จำกัด (MSF) 19.99% เป็นเงินรวม 42,783,028 เหรียญออสเตรเลีย ตั้งเป้าจะบริหารการผลิตน้ำตาลป้อนตลาดโลกได้ตลอดทั้งปี ด้วยการใช้ประโยชน์จากฤดูการผลิตสลับกันกับไทย เพราะแต่ละปีไทยจะมีผลผลิตช่วงพฤษภาคม-พฤศจิกายน ส่วนออสเตรเลียจะมีผลผลิตช่วงธันวาคม-เมษายน


ส่วนแผนขยายกำลังการผลิตอ้อย น้ำตาล และไฟฟ้าชีวมวล จะทำควบคู่กันทั้งภายในประเทศ 5 แห่ง คือสิงห์บุรี, กาฬสินธุ์, ด่านช้าง (สุพรรณบุรี), ภูเขียว (ชัยภูมิ) และภูเวียง (ขอนแก่น) ในต่างประเทศ 3 พื้นที่ ได้แก่ 1.บริษัท มิตรลาว จำกัด ดำเนินธุรกิจในสะหวันนะเขต สปป.ลาว มีพื้นที่ปลูกอ้อย 62,500 ไร่ สัมปทาน 40 ปี กำลังการผลิต 500,000 ตันอ้อย/ปี เป็นผลผลิตน้ำตาล 60,000 ตัน/ปี 2.บริษัท กางสี หนานหนิง อีสต์ เอเชีย ชูการ์ จำกัด ในมณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชน จีน มีโรงงานน้ำตาล 5 แห่ง กำลังการผลิตรวม 80,000 ตันอ้อย/วัน หีบอ้อยได้ปีละกว่า 10 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลทรายขาวได้ 1.2 ล้านตัน/ปี ทำไฟฟ้าชีวมวลแห่งเดียวที่ฟูหนาน และเริ่มทยอยทำแห่งที่ 2 ในเมืองหนิงหมิง กำลังการผลิต 15-20 เมกะวัตต์ สัญญา 15 ปี รัฐบาลท้องถิ่นจีนให้แอดเดอร์ 1.40 บาท/หน่วย 3.ออสเตรเลีย จะเน้นการมีส่วนร่วมด้านผลผลิตป้อนตลาดมากกว่าเข้าไปบริหาร


นายอิสระกล่าวว่า ในไทยนั้นต้องการให้รัฐบาลทุกสมัยสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจพลังงานทางเลือกในระบบการผลิตไฟฟ้าให้เกิดการลงทุนอย่างจริงจัง อุดหนุนเงินมาตรการจูงใจส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (adder) ใกล้เคียง ความจริง อย่างไฟฟ้าชีวมวลให้เพียง 30 สตางค์/หน่วย ทั้งที่ได้ประโยชน์ร่วมตั้งแต่เกษตรกรไปจนถึงผู้ประกอบธุรกิจ ต่างจากโซลาร์เซลล์ที่ได้ถึง 8 บาท/ หน่วย พลังงานลมได้ 3 บาท/หน่วย ทำแล้วผู้มีส่วนร่วมได้ประโยชน์น้อยกว่า



นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ กรรมการ ผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอาเซียน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด กล่าวว่า ตั้งเป้าภายใน 2-3 ปีนี้จะใช้ศักยภาพโรงงานไฟฟ้าชีวมวลแห่งแรกใน สปป.ลาว เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 เท่า จากสัมปทานพื้นที่ปลูกอ้อยที่ได้ขณะนี้ 62,500 ไร่ และกำลังจะได้เพิ่มอีกประมาณ 60,000 ไร่ ผลผลิตอ้อยตอนนี้ทำได้ 3 แสนตันอ้อย/ปี สร้างน้ำตาล 36,500 ตัน/ปี ส่งขายตลาดสหภาพยุโรป 95% ขายใน สปป.ลาว 5%



จากนั้นยังได้นำชานอ้อยมาเป็นวัตถุดิบผลิตไฟฟ้าชีวมวลเบื้องต้นขนาด 9 เมกะวัตต์ อนาคตจะทำให้ได้ถึง 20 เมกะวัตต์ ระหว่างนี้สภาพพื้นที่ปลูกสามารถทำได้เพียง 40% ต้องเข้าไปพัฒนาระบบชลประทาน กับลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีการผลิตโดยใช้ความร้อน ร่วมนำวัตถุดิบทุกขั้นตอนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไปสู่การพัฒนาทำคาร์บอนเครดิตต่อไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางพลังงานให้สะหวันนะเขต ซึ่งเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษกำลังเติบโตทั้งการบริโภคและอุตสาหกรรม และเพิ่มความมั่นใจให้เกษตรกรในท้องถิ่น



ทั้งนี้กลุ่มมิตรผลใช้งบ 300 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล ลงทุนซื้อเครื่องจักรทันสมัย สามารถรักษาดูแล สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี โดยภาพรวมแล้วตั้งเป้าร่วมสนับสนุนเศรษฐกิจทั้งไทยและ สปป.ลาว สร้างเสถียรภาพและความเป็นผู้นำพลังงานอาเซียน


source : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1309765560&grpid=00&catid=&subcatid=

ลดการตัดต้นไม้ด้วยสื่อดิจิทัล

หลายปีที่ผ่านมา เรารณรงค์เรื่องการลดการตัดไม้ทำลายป่ามาตลอด ทั้งทำแคมเปญตำหนิคนที่ลักลอบตัดต้นไม้ ทั้งรณรงค์ให้คนปลูกป่า

ทั้งขู่ให้เห็นถึงผลเสียของการตัดต้นไม้ว่าจะส่งผลกระทบกับโลก กับสัตว์ป่าอย่างไร


แต่แทบจะไม่มีวิธีไหนเลย ที่ช่วยลดการทำลายต้นไม้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ปัจจุบันยังพบว่า ต้นไม้หลายล้านต้น ถูกโค่นไม่เว้นแต่ละวัน แน่นอนพวกเราเองก็ถือว่ามีส่วนในการสนับสนุนให้มีการตัดต้นไม้โดยที่เราไม่รู้ตัว

ลองหันไปมองกองเอกสาร ที่วางกองอยู่บนโต๊ะทำงานดูสิครับ แล้วถามตัวคุณเองว่า คุณหยิบขึ้นมาอ่านเกินหนึ่งครั้งหรือเปล่า หรือบางทีก็แทบไม่ได้อ่านเลย

ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุน การบริโภคกระดาษให้น้อยที่สุด ถ้าจะต้องใช้ก็จะใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ในห้องทำงานของผมแทบจะไม่มีกระดาษ A4 ที่เป็นใบรายงานการประชุม หรือใบเอกสารต่างๆ อยู่เลย เพราะผมนิยมจะเก็บทุกอย่างเป็นในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล

เหตุผลก็คือสะดวกและง่ายดายต่อการจัดเก็บ ไม่ต้องคอยหาลิ้นชัก หรือตู้เก็บเอกสาร ไว้ใส่กระดาษพวกนั้นอีกที ที่สำคัญ เมื่อใช้กระดาษน้อยลง จำนวนของต้นไม้ที่จะถูกตัดมาผลิตกระดาษก็จะน้อยลงตามไปด้วย


ผมเลือกที่จะเก็บงานให้อยู่ในรูปแบบของ PDF File ก็เพราะเราสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทีละหลายหน้า เพราะท้ายที่สุดแล้ว จะแบบไหน เราก็สามารถอ่านข้อความได้ครบถ้วนไม่มีตกหล่นได้เหมือนกัน

ผมจำได้ว่าก่อนหน้านี้ เคยมีกลุ่มดีไซเนอร์กลุ่มหนึ่ง รวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับโลก นั่นคือ ออกแบบตัวหนังสือ ที่ช่วยลดปริมาณของหมึกพิมพ์ โดยออกแบบให้ตัวหนังสือมีรูมากขึ้น จะได้ประหยัดหมึกในการพิมพ์ แทนที่จะพิมพ์ตัวอักษรออกมาเป็นสีดำทึบทั้งหมด

แต่นั่นก็เพียงลดการใช้หมึกพิมพ์ให้น้อยลง เพราะสุดท้ายก็ยังต้องพิมพ์ออกมา และก็ต้องใช้กระดาษในการพิมพ์อยู่ดี แม้ผมจะชอบเก็บงานในรูปแบบ File แต่ด้วยความเคยชิน บางทีผมเองก็เผลอเหมือนกัน ที่จะสั่งพิมพ์เอกสารเหล่านั้นออกมา เคยกันบ้างไหมครับที่กดปุ่ม Print แล้วปรากฏว่ากระดาษที่ออกมาจากเครื่องพรินเตอร์ ไหลออกมาไม่หยุด กว่าจะครบทุกแผ่น เล่นเอาต้นไม้เกือบหมดป่า

เพื่อแก้นิสัยกดปุ่ม Print โดยไม่คิด ทางองค์กรที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่าง WWF จึงคิดโครงการ SAVE AS WWF, SAVE A TREE ด้วยการคิดค้นไฟล์จัดเก็บเอกสารชนิดใหม่ โดยเรียกว่า Green File หน้าตาก็ไม่ต่างจาก Icon ของ ไฟล์ PDF แบบที่เราเคยเห็น เพียงแต่มีรูปต้นไม้สีเขียวอยู่บน Icon

ความพิเศษของไฟล์ตัวนี้ คือ ถูกคิดค้นมาเพื่อจัดเก็บเอกสารให้เป็น File PDF และไม่สามารถ Print ออกมาได้ เพราะเขาสร้างโปรแกรมล็อกเอาไว้ ต่อให้คุณอยาก Print แค่ไหน ก็ Print ไม่ได้ ถือว่าเป็นการบังคับทางอ้อม

จุดดีอีกข้อหนึ่ง คือ ไม่ว่าไฟล์ต้นฉบับของคุณจะเป็นแบบไหน ก็สามารถแปลงไฟล์ให้เป็นในรูปแบบของ Green File ได้หมด ที่สำคัญ WWF ใจดี เปิดโอกาสให้ Download ไปใช้กันฟรีๆ พร้อมทั้งเผยแพร่ไปยัง Website ของบริษัทและองค์กรดังๆ ทั่วโลก เล่นเอาผู้บริหารของแต่ละบริษัท หรือหัวหน้าฝ่ายการเงิน ถึงกับยิ้มแฉ่ง เพราะสามารถประหยัดเงินค่าซื้อกระดาษให้กับบริษัทไปบานตะเกียง

ผลจากการคิดค้นที่แสนชาญฉลาดและรักโลกในครั้งนี้ ทำให้ Green File นี้ เผยแพร่สู่คอมพิวเตอร์ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สามารถส่งต่อถึงกัน เพียงแค่ Attached ไปทางอีเมล ก็ Download ไปใช้กันได้ง่ายๆ แม้แต่ทีมงานในบริษัทของผมเอง ก็มีโปรแกรมนี้ติดเครื่องกันไว้ทุกคน

สำหรับคุณผู้อ่านเอง ก็ยังไม่สายนะครับ ที่จะ Download กันมาใช้ ชวนไป Download กันตอนนี้ได้เลยที่ www.saveaswwf.com นะครับ


ป๋อม ไชยพร โลว์ ประเทศไทย
source : http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/pom/20110704/398280/ลดการตัดต้นไม้ด้วยสื่อดิจิทัล.html

“Super Cool Biz” เพื่อลดการใช้พลังงาน

3 ปีก่อนผู้เขียนได้เคยนำเรื่อง “Cool Biz” ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์เพื่อลดโลกร้อนในปี 2548 ของนางยูริโกะ โคอิเกะ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม

ของประเทศญี่ปุ่นในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีจุนอิจิโร โคอิซูมิ มาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบ โครงการ Cool Biz มีวัตถุประสงค์ให้ข้าราชการและพนักงานบริษัทต่างๆ ในญี่ปุ่นเลิกสวมเสื้อสูทและเนกไท แต่กระตุ้นให้ใส่เสื้อเชิ้ตที่ทำด้วยผ้าเบาสบายและปลดกระดุมเม็ดบนในฤดูร้อน และเปิดแอร์โดยตั้งอุณหภูมิที่ 28 องศาเซลเซียสในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 30 กันยายนของทุกปี



หกปีหลังจากนั้นคือเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา สื่อมวลชนสาขาต่างๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศได้เสนอข่าวเกี่ยวกับแคมเปญ “Super Cool Biz” ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง และเผยแพร่ภาพเกี่ยวกับแฟชั่นโชว์ Super Cool Biz ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นจัดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียวกันอย่างแพร่หลาย


“มหันตภัยคู่” ครั้งประวัติศาสตร์คือแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์และคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ปีนี้ ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองฟูกูชิมาเกิดความเสียหายและต้องการหยุดการผลิตกระแสไฟฟ้าส่งผลให้กรุงโตเกียวและจังหวัดใกล้เคียงประสบปัญหาปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอ โดยปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงฤดูร้อน คือเดือนมิถุนายนถึงกันยายนนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงขอความร่วมมือหน่วยราชการและบริษัทห้างร้านต่างๆ ให้ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง 15% และตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 28 องศาเซลเซียสอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันไฟฟ้าดับเพราะการใช้เกินขีดจำกัด



ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะเคยไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในช่วงฤดูร้อนมาบ้างคงจะตระหนักดีว่าอากาศร้อนจัดใกล้เคียงกับบ้านเรา ดังนั้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนร่วมกันประหยัดไฟฟ้า ในขณะที่อากาศร้อนจัด รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ประกาศแคมเปญ Super Cool Biz ซึ่งถือเป็นขั้นต่อมาของ Cool Biz แต่แตกต่างจากขั้นแรกค่อนข้างมาก


นั่นคือมีการรณรงค์ให้ใส่เสื้อโปโลหรือเสื้อฮาวายและรองเท้าผ้าใบไปทำงาน โดยในบางกรณีก็สามารถนุ่งกางเกงยีนส์และสวมรองเท้าแตะไปก็ยังได้ อีกทั้งประชาชนยังได้รับการแนะนำให้ใช้เสื้อผ้าสีอ่อนและมีเนื้อบางเบา ตลอดจนใช้แผ่นเจลเย็นช่วยคลายร้อนหรือการรับประทานอาหารที่ทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดความร้อนลงด้วย


กระทรวงสิ่งแวดล้อมยังสนับสนุนให้ลดการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานอยู่ที่บ้านในบางกรณี และลาพักร้อน 2 สัปดาห์ในช่วงฤดูร้อนนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสดูข่าวแฟชั่นโชว์ Super Cool Biz ทางเคเบิลทีวีหลายช่อง หนึ่งในนายแบบที่มาเดินบนแคทวอล์คนั้นสวมเสื้อปล่อยชายลวดลายสดใสที่เรียกว่า “คาริยูชิ” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวเกาะโอกินาวาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น พวกเขาจะสวม “คาริยูชิ” ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับเสื้อฮาวายที่เราคนไทยคุ้นเคยไปทำงานหรืองานพิธีการต่างๆ แทนเสื้อเชิ้ตและเนกไทในฤดูร้อนซึ่งอากาศร้อนสุดๆ


ในปี 2543 เมื่อมีการจัดประชุม G8 ที่เกาะโอกินาวานั้น ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ของสหรัฐอเมริกาก็สวม “คาริยูชิ” เป็นครั้งแรกและมีการแพร่ภาพไปทั่วโลก ต่อมาในปี 2548 นายกรัฐมนตรีจุนอิจิโร โคอิซูมิ ก็สวม “คาริยูชิ” ในแคมเปญ Cool Biz ด้วย แต่ “คาริยูชิ” ก็ยังไม่เป็นที่นิยมนอกเกาะโอกินาวามากนัก การรณรงค์ Super Cool Biz ครั้งนี้อาจจะทำให้ชาวต่างชาติรู้จัก “คาริยูชิ” มากขึ้นเช่นเดียวกับชุดกิโมโน

หรือยูคาตะก็ได้


นายริว มัทสึโมโตะ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมคนปัจจุบันได้เชิญนางยูริโกะ โคอิเกะ ผู้ริเริ่ม Cool Biz และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเดียวกันอีกสองคนไปร่วมการแสดงแฟชั่นโชว์ครั้งล่าสุดนี้ด้วย เขากล่าวว่า Super Cool Biz ไม่ใช่มาตรการชั่วคราวเฉพาะช่วงหน้าร้อน แต่จะเป็นจุดเปลี่ยนวิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์ของชาวญี่ปุ่นนับจากนี้ไป


ต่อมาเมื่อวันที่ 13-14 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เดินทางไปทำธุระที่ประเทศญี่ปุ่น และรู้สึกได้ทันทีถึงความพยายามลดการใช้พลังงานของทุกภาคส่วน ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของตรีเพชรอีซูซุนั้น บันไดเลื่อนคู่ขนาดใหญ่ที่เห็นได้ทันทีเมื่อผ่านประตูใหญ่เข้าไปมีแถบเทปพลาสติกสีเหลืองขนาดใหญ่ปิดกั้นอยู่ พร้อมตัวอักษร “งดใช้เพื่อประหยัดพลังงาน” ผู้มาติดต่อต้องเดินขึ้นบันไดหินแกรนิตไปสู่ชั้นสองที่มีเคาน์เตอร์พนักงานต้อนรับอยู่แทน ไม่ว่าจะเป็นแขกวีไอพีระดับไหนก็ตาม


ในยามค่ำคืนไฟฟ้าตามถนนหนทางบางช่วงถูกปิด ทำให้กรุงโตเกียวที่เคยสว่างไสวดูมืดลง ผู้เขียนได้ทราบจากคนญี่ปุ่นที่ร่วมคณะไปด้วยว่ามีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากขึ้นเพราะผู้ขับรถไม่ชินกับถนนในลักษณะเช่นนี้ แต่เขาก็กล่าวต่อไปว่าในไม่ช้าทุกคนก็จะปรับตัวได้อย่างแน่นอน เพราะก่อนหน้าที่จะเกิดมหันตภัยครั้งยิ่งใหญ่นี้ ชาวญี่ปุ่นได้ใช้พลังงานเกินความจำเป็น เพราะมีอำนาจซื้อสูงทำให้ละเลยเรื่องมาตรการประหยัดต่างๆ เขามองในแง่ดีว่าภัยพิบัติครั้งนี้นอกจากจะสร้างความเสียหายมหาศาลแล้ว ยังช่วยสร้างจิตสำนึกที่มีคุณค่าอย่างยิ่งด้วย


เราคนไทยก็ควรจะได้ “ข้อคิด” จากการรณรงค์ของญี่ปุ่นครั้งนี้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เพื่อลดการใช้พลังงานอย่างจริงจังโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ “ภัยธรรมชาติ” มาสอนเรา !


Tags : ปนัดดา เจณณวาสิน
source : http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/panatda/20110705/398712/Super-Cool-Biz-เพื่อลดการใช้พลังงาน.html

ทางเลือกอื่นนอกจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

ปัญหาสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น อาจทำให้คนไทยหยุดชะงักไม่อยากให้รัฐบาลสร้างโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียรฺ์


ไปได้สักพักหนึ่ง แต่คนไทยนั้นมักลืมง่าย ขณะที่นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจไทยบูชาลัทธิการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น พวกเขาจึงคงอยากสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ โดยอ้างว่า เพื่อให้มีไฟฟ้าพอเพียงที่จะพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปได้



คนที่อยากสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จะอ้างว่าไทยไม่ได้อยู่ในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหวเท่าญี่ปุ่น และโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีรุ่นใหม่กว่าจะปลอดภัยกว่าผลิตไฟฟ้าได้จำนวนมาก และต้นทุนต่ำกว่าโรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนน้อยกว่าด้วย โดยพวกเขาไม่ยอมพูดว่าการเก็บรักษากากสารกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ปลอดภัยนั้นมีต้นทุนสูงมาก และการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีทั้งในช่วงดำเนินการและหลังจากใช้งานเสร็จแล้วมีความเสี่ยงที่จะก่ออันตรายสูง


รายงานของสถาบัน World Watch เรื่องสภาวะอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของโลก ปี ค.ศ. 2010-2011 ให้ข้อมูลที่แตกต่างออกไป


ข้อแรก การสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ว่าโดยรัฐหรือเอกชนที่ว่าต้นทุนต่ำนั้นส่วนหนึ่งเพราะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐสูงมาก เช่น ในสหรัฐ รัฐให้เงินสนับสนุน 39.4 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่สนับสนุนพลังงานลมเพียง 900 ล้านดอลลาร์ ต่างกัน 40 เท่า


สารกัมมันตภาพรังสีที่ใช้งานหมดอายุคือผลิตไฟฟ้าไม่ได้แล้ว (ในเวลาเช่น 50 ปี) จะยังคงจะแผ่สารกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ได้อีกหลายพันหลายหมื่นปี ต้องลงทุนเก็บใส่ถังแน่นหนาเอาไปฝังใต้ทะเลทรายในระดับที่ลึก ซึ่งถึงกระนั้น ก็ยังมีความเสี่ยงเรื่องแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดอยู่ดี ดังนั้น ต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ๆ ไม่ได้ต่ำกว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานอื่น เช่น แสงอาทิตย์ อย่างแท้จริง


การคำนวณเปรียบเทียบต้นทุนผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์และจากแสงอาทิตย์ ในเชิงธุรกิจของรัฐนอร์ท คาโรไลมา ในปี พ.ศ. 2553 พบว่าขณะที่พลังงานจากแสงอาทิตย์มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์ที่ 14 เซนต์ หรือต่ำกว่า พลังงานจากนิวเคลียร์มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์ ราว 14-15 เซนต์ แม้ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จะได้ประโยชน์ทางภาษีของรัฐบาล แต่ต้นทุนไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในอนาคตจะต่ำลงอีกและภายในทศวรรษหน้าจะสามารถแข่งขันกับไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ได้ โดยไม่ต้องพึ่งเรื่องประโยชน์ทางภาษีจากรัฐบาลอีกต่อไป


การอ้างว่าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าไฟฟ้าจากพลังงานอื่นอย่างมากมายก็ไม่จริง ในสหรัฐ ในช่วง 15 ปีแรกของการใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์และพลังลม โรงงานไฟฟ้าจากพลังลมผลิตไฟฟ้าได้ 1.9 พันล้านกิโลวัตต์ (kw) โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าได้ 2.6 พันล้านกิโลวัตต์ (kw) ทั้งที่ไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมากกว่าไฟฟ้าจากพลังงานลม 40 เท่า


โรงงานผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ทั่วโลกผลิตไฟฟ้าในปี 2553 ได้ 375 กิกะวัตต์ (1 gw = 1000 kw) แต่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตทดแทนใหม่ได้ คือ พลังลม พลังน้ำขนาดเล็ก (ไม่รวมเขื่อนขนาดใหญ่) พลังงานชีวมวลและขยะ และพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตรวมกันได้ 381 กิกะวัตต์

ประเทศเยอรมนี ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานลมถึง 40% ของไฟฟ้าทั้งหมด ในสหรัฐสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ผลิตทดแทนใหม่ได้ เพิ่มจาก 2% ในปี ค.ศ. 2004 เป็น 55% ในปี ค.ศ. 2009


ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศใหญ่ เศรษฐกิจเติบโตสูง มีความต้องการใช้พลังงานสูง ก็พัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมมาก ปัจจุบันจีนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้ราว 40 กิกะวัตต์ สูงกว่าการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ซึ่งอยู่ราว 10 กิกะวัตต์ 4 เท่า จีนเป็นประเทศที่บุกเบิกลงทุนพัฒนาการใช้พลังงานลมและพลังงานทางเลือกอื่นมีมูลค่าสูงรองลงมา คือ เยอรมนี สหรัฐ อิตาลี ประเทศในกลุ่มยุโรปอื่นๆ บราซิล แคนาดา สเปน ฝรั่งเศส อินเดีย
พลังงานทางเลือก เช่น ลม แสงอาทิตย์ ชีวมวลและขยะและอื่นๆ น่าจะพัฒนาให้มีต้นทุนต่ำลงได้อีกมาก หากองค์กรระหว่างประเทศและรัฐบาลประเทศต่างๆ ให้การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น ปัจจุบันรัฐบาลหลายประเทศมีแนวโน้มเอียงเข้าข้างธุรกิจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลขนาดใหญ่ที่รวมศูนย์มากเกินไป ใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์กรปรมาณูระหว่างประเทศให้เงินวิจัยและพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์มากกว่า 2 ใน 3 ของงานวิจัยและพัฒนาพลังงานทุกชนิด

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา พลังงานนิวเคลียร์ได้ทุนวิจัยและพัฒนามากกว่าพลังงานหมุนเวียนถึง 5 เท่า ทั้งๆ ที่การลงทุนสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบรวมศูนย์ขนาดใหญ่นั้นอาจจะผลิตไฟฟ้าได้ล้นเกิน และทำให้สังคมใช้พลังงานอย่างไม่ประหยัด พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการผลิตแบบกระจายเป็นหน่วยย่อยจะมีความคล่องตัวยืดหยุ่น ทำให้เราบริหารการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าและปลอดภัยกว่าด้วย


ไทยใช้พลังงานฟุ่มเฟือยเพื่อการบริโภคมากกว่าเพื่อการผลิตมากไป และส่วนใหญ่ใช้ พลังงานจากฟอสซิล ไทยมีแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวลและพลังงานทางเลือกอื่นมาก น่าจะทุ่มเทวิจัยและพัฒนาและให้การสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นได้อีกหลายเท่า รวมทั้งต้องหาทางประหยัดและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ส่งเสริมการขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนตัว ส่งเสริมให้โรงงาน ธุรกิจ อาคารต่างๆ ลงทุนด้วยการประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น โดยการให้เงินอุดหนุนหรือลดภาษีให้ รวมทั้งรัฐบาลควรเลิกอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซ เพราะยิ่งทำให้คนใช้พลังงานฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ รัฐควรส่งเสริม การเกษตรทางเลือกและเทคโนโลยีทางเลือกอื่น ที่ลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลลง เราจะได้ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เสี่ยงภัยสูงมาก


รศ.วิทยากร เชียงกูล

source : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/wittayakorn_c/20110704/398106/ทางเลือกอื่นนอกจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์.html